วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ผ้าไทย อัตลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์

ผ้าไทย อัตลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์

วันอังคาร ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : ผ้าไทย
  •  

การแต่งกายด้วยผ้าไทย ถือเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของคนไทยที่สร้างความภาคภูมิให้คนไทยมาช้านาน สะท้อนถึงมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย หากย้อนหลังกลับไปยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะเห็นได้ว่า การแต่งกายของคนไทยมีวิวัฒนาการ จากแค่เครื่องห่มกาย จนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับผ้าไทย
สู่สากล

สมัยรัชกาลที่ ๑ การใช้ผ้าเป็นไปตามฐานะและตำแหน่งหน้าที่การงานเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ร.๑ โปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางชั้นผู้น้อย และราษฎรทั่วไป มีรายละเอียดของเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับที่อนุญาต และไม่อนุญาตให้สวมใส่


สมัยรัชกาลที่ ๒ ปรากฏว่ามีผ้าเพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าโหมด หรือ ผ้าโหมดเทศ เป็นผ้าทอจากอินเดีย ทำด้วยกระดาษเงินและกระดาษทองพันเส้นไหมทอกับไหมสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีน้ำเงิน เป็นลายริ้วหรือเป็นลายดอก ผ้าชนิดนี้ใช้ตัดเสื้อ ตอนแรกๆใช้สำหรับเจ้านาย แต่ต่อมาสามัญชนนำมาใช้ได้ และเป็นผ้าพระราชทานแก่แม่ทัพนายกองที่มีความชอบ

สมัยรัชกาลที่ ๓-๔ มีการกล่าวถึงการแต่งกายของสามัญชนบ้าง ผ้าบางชนิดนิยมใช้กับคนบางกลุ่ม เช่น คนมีเงินนิยมใช้แพรจีนสีต่างๆ โดยห่มหรือเย็บซ้อนกัน ๒ ชั้นใช้ผ้าสีนวลอยู่ข้างใน ริมผ้าขลิบลูกไม้ส่วนมุมผ้าติดพู่ ข้าราชการนิยมนุ่งผ้าปูม แต่เวลาเข้าเฝ้าจะนุ่งผ้าสมปัก ส่วนเจ้านายทรงผ้าลายเขียนทอง ผ้าปักทองแล่ง ผ้าเข้มขาบ

สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจุดเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมงานผ้ามากขึ้น โดย ร.๕ โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าเลิกนุ่งผ้าสมปัก เปลี่ยนมานุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทน และใส่เสื้อสีต่างๆ ตามกระทรวง เช่น ข้าราชการกระทรวงกลาโหมใช้สีลูกหว้า กระทรวงมหาดไทยใช้สีเขียวแก่ กระทรวงการต่างประเทศใช้สีน้ำเงินแก่ อาลักษณ์และโหรใช้สีขาว

ได้ทรงสถาปนา “กรมช่างไหม” ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมเป็นอธิบดีกรม และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้นที่วังใหม่สระปทุม โดยจ้างชาวญี่ปุ่นมาเป็นครูสอน ส่งผลให้มีการจัดทำเครื่องสาวไหมแบบญี่ปุ่น ซึ่งทำงานได้รวดเร็วและเส้นไหมเรียบสม่ำเสมอใช้แทนเครื่องสาวไหมของไทยที่ใช้กันมาแต่เดิม รวมทั้งได้แจกจ่ายเครื่องสาวไหมแบบใหม่นี้ไปให้แก่โรงเรียนช่างไหมที่ตั้งขึ้นในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย รวมทั้งหมดถึง ๔๐๘ เครื่อง เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์แล้ว ไม่มีผู้ใดดำเนินงานต่อ โรงเรียนช่างไหมจึงล้มเลิกไป

สมัยรัชกาลที่ ๖ เริ่มมีการแต่งกายอย่างชาวตะวันตก เช่น ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบนหรือผ้าจีบหน้านาง เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงสำเร็จ ส่วนสไบนั้นมิได้เลิกใช้เสียทีเดียว แต่ใส่เสื้อผ้าลูกไม้แขนยาว แล้วใช้ผ้าสไบพาดทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ผู้ชายก็นิยมนุ่งกางเกงและสวมเสื้ออย่างชาวตะวันตก มีการบัญญัติ คำว่า “ราชปะแตน” ขึ้น โดยนำเอาคำบาลีว่า “ราช” ผสมกับคำว่า “แพตเทิร์น” (pattern=แบบ) ในภาษาอังกฤษและออกเสียงเพี้ยนไปเป็นราชปะแตน มีความหมายว่า “แบบหลวง” เป็นการแต่งกายของข้าราชการในสมัยนั้น โดย เสื้อราชปะแตน เป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิด มีรังดุม ๕ เม็ด ซึ่งปัจจุบันข้าราชการพลเรือนใช้แต่งเป็นเครื่องแบบขาว

สมัยรัชกาลที่ ๗ และรัชกาลต่อๆ มา ความนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมีมาขึ้นตามลำดับ เช่น ให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เปลี่ยนมานุ่งกางเกงขายาวแทน เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รวมทั้งการแต่งกายของสตรีชั้นสูงก็เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมด้วย ส่งผลให้มีการซื้อผ้าจากต่างประเทศมากขึ้น และมีผลกระทบต่อการผลิตผ้าพื้นเมืองภายในประเทศ ซึ่งมักใช้กันเฉพาะในบางโอกาส หรือใช้กันในระดับชาวบ้าน และชนพื้นเมืองในบางท้องถิ่นเท่านั้น

ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีการพัฒนาการทอผ้าโดยใช้เครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งโรงงานทอผ้าสำหรับใช้ในราชการทหารขึ้น เรียกว่า “โรงงานฝ้ายสยาม” เพื่อผลิตผ้าและสำลีใช้ในกิจการทหาร มีการสั่งซื้อเครื่องจักรทอผ้าและฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินงาน นับเป็นการเริ่มต้นอุตสาหกรรมทอผ้าด้วยเครื่องจักรแห่งแรกในประเทศไทย โดยผลิตผ้าสีขาวหรือสีพื้น ไม่มีลวดลายและสีสันงดงามเหมือนผ้าพื้นเมือง สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ และได้จัดตั้งโรงงานทอผ้าของรัฐบาลจวบจนเข้าสู่แผนพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้นเรื่อยมา

จะเห็นได้ว่าการเดินทางของผ้าไทย นอกจากจะบ่งชี้ภูมิปัญญา ฝีมือ ความชำนาญ ยังสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจก่อเกิดเม็ดเงินทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงไม่อาจปฏิเสธในการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าไทยในแต่ละท้องถิ่น หากได้ศึกษาประวัติ จะทราบถึงความน่าทึ่งที่เรามีไม่แพ้ชาติใดในโลกเลย

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวรปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้ สวจ.จัดทำอินโฟกราฟิกรณรงค์การแต่งกายผ้าไทยในระยะที่ ๒ ขึ้น หลังจากที่ระยะแรกได้รับกระแสตอบรับดีมาก โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือช่วยกันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่นพร้อมกับสวมใส่เป็นแบบอย่างเพื่อจัดทำเป็นสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์และสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

โดยระยะที่ ๒ นี้ จะเพิ่มเติมข้อความรายละเอียด ชื่อและแหล่งที่มาของผ้าไทย เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณค่าและความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าไทยในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งให้ประสานความร่วมมือหน่วยงานราชการภายในจังหวัดแต่งกายด้วยผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ วัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าผ้าไทยสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้จริง สามารถพัฒนาต่อยอดด้านการผลิตและแปรรูปผ้าไทยให้ทันสมัย ถือเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์อีกมิติหนึ่งของกระทรวงวัฒนธรรม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มท.จัดประกวดยิงใหญ่  ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’ มท.จัดประกวดยิงใหญ่ ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’
  • มท.จัดประกวดยิ่งใหญ่  ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’ มท.จัดประกวดยิ่งใหญ่ ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’
  • \'เจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรีฯ\'เสด็จเป็นองค์ปธ.ประชุม การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล ประจำปี 2567 'เจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรีฯ'เสด็จเป็นองค์ปธ.ประชุม การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล ประจำปี 2567
  • มท.จัดแข่งประกวด ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายสิริวชิราภรณ์ ตั้งเป้ากว่า7,200ผืน มท.จัดแข่งประกวด ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายสิริวชิราภรณ์ ตั้งเป้ากว่า7,200ผืน
  • ปลัดมท.สนองพระดำริ  สานต่อผ้าลายสิริวชิราภรณ์  จัดอบรมใหญ่ที่เมืองน่าน ปลัดมท.สนองพระดำริ สานต่อผ้าลายสิริวชิราภรณ์ จัดอบรมใหญ่ที่เมืองน่าน
  • ปลัดมท.นำคณะล่องใต้เปิดโครงการ  ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’ ปลัดมท.นำคณะล่องใต้เปิดโครงการ ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’
  •  

Breaking News

นายกฯอิ๊งค์ยินดี 'เติ้น-ทัศนพล'สร้างประวัติศาสตร์ นักขับไทยคนแรกคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าทรี 2025

‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร

‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป

‘เพื่อไทย’ชี้ไม่มีความจำเป็นยุบสภาฯ มั่นใจ'อิ๊งค์'จะเรียกความเชื่อมั่น-ฟื้นศรัทธาปชช.กลับมา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved