วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ทีมวิจัยด้านไบโอดีเซล ม.อ. ได้รับรางวัลนานาชาติ  นวัตกรรมผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบ 20 วินาที

ทีมวิจัยด้านไบโอดีเซล ม.อ. ได้รับรางวัลนานาชาติ นวัตกรรมผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบ 20 วินาที

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : ทีมวิจัยด้านไบโอดีเซล
  •  

รศ.ดร.กฤช สมนึก ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ม.อ.โดยทีมวิจัยด้านไบโอดีเซล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำผลงานวิจัยกระบวนการผลิตไบโอดีเซลแบบสองขั้นตอนด้วยไฮโดรโซนิกคาวิเทชันแบบโรเตอร์และสเตเตอร์ : Two-stage continuous production process of biodiesel using rotor-stator hydrocavitation ชนะรางวัล SILVER MEDAL AWARD จากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “2021 Japan Design,Idea and Invention Expo” หรือ (JDIE) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดโดย World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA)

สำหรับจุดเด่นของผลงานด้านวิชาการชิ้นนี้ คือ การใช้เทคโนโลยีไฮโดรโซนิกคาวิเทชันแบบโรเตอร์และสเตเตอร์ผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่อง คือ 1.เครื่องปฏิกรณ์ไฮโดรโซนิก โรเตอร์
และสเตเตอร์ ที่สามารถจัดผลิตขึ้นเองได้ภายในประเทศ ช่วยลดการพึ่งพานำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 2.สามารถผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบได้อย่างรวดเร็ว โดยขั้นตอนที่ 1 การลดกรดไขมันอิสระ ใช้เวลาประมาณ 20 วินาที และขั้นตอนที่ 2 การผลิตไบโอดีเซลใช้เวลาภายในเวลาประมาณ20 วินาที ที่อัตราการไหลของน้ำมันปาล์มดิบประมาณ 25 ลิตร/ชั่วโมง โดยทั้งสองกระบวนการสามารถลดปริมาณสารเคมีในการทำปฏิกิริยา


ลักษณะเด่นของผลงานด้านวิชาการรวมถึงความแปลกใหม่จากการค้นพบสิ่งประดิษฐ์นี้ อีกอย่างคือ ทีมวิจัยได้คิดค้นจากการประยุกต์ใช้เทคนิค 3D-printing โดยนำมาสร้าง 3 D-printed rotor ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญทำให้เกิดปรากฏการณ์คาวิเทชันชนิดไฮโดรไดนามิกส์ (Hydrodynamic Cavitation) เพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกรดไขมันอิสระสูง ก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญของงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ด้านไบโอดีเซล

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'เขมรนิวส์'ยกย่องหญิงเขมรจุดชนวน กล้าโต้ทหารไทย ชาวบ้านฝั่งไทยไม่หวั่นพร้อมรับมือ100%

ลุ้นไทยจบตรงไหน!‘กอบศักดิ์’ยกตัวอย่าง‘อินโดฯ-เวียดนาม’ดีลลด‘ภาษีทรัมป์’สำเร็จ

แนวหน้าวิเคราะห์ : ศึก'แดง-น้ำเงิน'เดือดพลั่ก ชิงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ศรีสะเกษ เขต 5 รักษาเก้าอี้‘รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ’?

‘อดีตผู้พิพากษา’ยกฎีกาคดีเลือกสมาชิกวุฒิสภา ชี้ช่องถอดถอน 138 สว.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved