วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : ผลวิจัยชี้ ‘ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์’ ช่วยลดผู้กระทำผิดซ้ำ

สกู๊ปพิเศษ : ผลวิจัยชี้ ‘ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์’ ช่วยลดผู้กระทำผิดซ้ำ

วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

“กระบวนการที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม”ถูกยกขึ้นมาพูดในงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ความเป็นมาและความคาดหวังต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย” ที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเปิดตัวรายงานวิจัย Harmonious Justice: Thailand’ s Approach to Restorative Justice” และ “คู่มือสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์”(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ฉบับแปลภาษาไทย เพื่อให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมได้มีเครื่องมือในการยกระดับการทำงาน

ศ.(พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ที่ปรึกษาสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวในงานเสวนาว่า ปรัชญาของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ คือ การที่คู่กรณี ผู้เสียหาย
และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตกลงเพื่อหาทางออก โดยทางออกนั้นนำไปสู่การสำนึกผิด เยียวยาชดใช้เพื่อให้เกิดการให้อภัย และการเริ่มต้นใหม่ ที่จะนำไปสู่ความสมานฉันท์ที่ดีขึ้นทั้งเหยื่อ ผู้กระทำผิด รวมถึงชุมชน


“กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในไทยจะเกิดขึ้นได้ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ปรับมุมมองเรื่องโทษทางอาญาที่เน้นการแก้แค้นทดแทน ไปสู่กระบวนการที่เน้นความสมานฉันท์ ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ได้รับความสนใจในต่างประเทศ เพราะกระบวนการที่เน้นลงโทษผู้กระทำความผิดมากเกินไป จนทำให้คดีล้นศาล คนล้นคุก แต่คดีอาชญากรรมไม่ได้ลดลง ถือเป็นปัญหาเรื้อรังภายในประเทศ”

สอดคล้องกับผลวิจัยของ TIJ ซึ่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลในประเทศ โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติ พบว่า หัวใจหลักของกระบวนการสมานฉันท์ที่ทำให้ไม่เกิดการกระทำผิดซ้ำ ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปพร้อมกับกระบวนการยุติธรรม

นายอุกฤษฏ์ ศรพรหม ผู้วิจัยหลักและผู้จัดการโครงการ TIJ วิเคราะห์ถึงส่วนที่จะเติมเต็มจากการวิจัย โดยสะท้อนถึง ข้อค้นพบจากงานวิจัยและได้เล่าเชิงวิเคราะห์ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยว่า กระบวนการเยียวยามีส่วนสำคัญอย่างมากในกระบวนการยุติธรรมที่มองผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางเพราะการเยียวยาจะทำให้เกิดการฟื้นคืนความสัมพันธ์ของคู่กรณีและความสมานฉันท์ในสังคมได้

ส่วนการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้จริง นายอุกฤษฏ์ กล่าวว่า วิธีการนี้ไม่ได้จำกัดให้ใช้เพียงแค่ช่วงก่อนดำเนินคดีอาญาเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้ในชั้นบังคับโทษได้ และในประเทศไทยก็มีกรณีที่ได้ใช้ไปบ้างแล้ว

เมื่อมองในภาพรวม “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในประเทศไทย” ได้รับการยอมรับอย่างมากในคดีเกี่ยวกับเยาวชน และมีการพัฒนากระบวนการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีกฎหมายที่เฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ มาตรา 86 ที่เป็นกระบวนการก่อนเริ่มต้นนำเยาวชนกระทำผิดไปฟ้องคดี สามารถให้ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ มีอำนาจใช้ดุลพินิจเลือกใช้กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ รวมถึงการทำแผนบำบัดฟื้นฟูได้ ทำให้เด็กไม่มีประวัติอาชญากรและมีโอกาสปรับปรุงพฤติกรรม ตลอดจนผู้เสียหายในคดีก็ได้มีส่วนร่วมในการประชุมเชิงสมานฉันท์ ซึ่งในประเทศไทยมักปรากฏในรูปแบบของการประชุมกลุ่มครอบครัว

ศ.เกียรติคุณ อิวอง แดนดูแรนด์ ผู้วิจัยหลักที่ร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูลในประเทศไทย ได้สะท้อนในงานเสวนาว่า ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมของแคนาดา มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดตามข้อกำหนดของสหประชาชาติฯ ที่กระบวนการยุติธรรมของทุกรัฐจะต้องดำเนินการตามแผนแม่บท และส่งเสริมความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

โดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในกระบวนการเยียวยาของผู้ที่ถูกกระทำ ด้านผู้กระทำผิดก็มีโอกาสหวนกลับไปทำผิดซ้ำน้อยลง ขณะเดียวกันก็สามารถทำให้
ผู้ที่กระทำผิดกลับคืนสู่สังคมได้อย่างดีมากขึ้น และยังทำให้คนในชุมชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น

กระบวนการสมานฉันท์นอกจากจะใช้ได้ดีกับคดีอาญาทั่วไปแล้ว ยังใช้ได้ดีกับคดีร้ายแรงที่ผู้เสียหายและผู้กระทำผิดเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก่อน เพราะเมื่อผู้เสียหายกับผู้กระทำผิดได้พบกันจะมีการปฏิสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน

นางสันทนี ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักอัยการสูงสุด มองว่า แม้ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จะถูกมองว่าเป็นทางเลือก แต่ในมุมของเธอ เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สามารถนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนได้

“การรับสารภาพกับการสำนึกไม่เหมือนกันการรู้สำนึกในการกระทำผิด คือ ตระหนักว่าผิด เสียใจรู้ถึงผลกระทบที่จะตามมา และร่วมรับผิดเยียวยาความเสียหายเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ซึ่งต่างจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก”

นายอติรุจ ตันบุญเจริญ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดชลบุรี มองถึงความท้าทายของศาลในการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยระบุว่า เมื่อศาลมีนโยบายให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีมากขึ้น ซึ่งให้ความสำคัญน้อยลงกับการใช้หลักทรัพย์ประกันตัว เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกับคนที่มีหลักทรัพย์ประกันตัว ดังนั้นศาลจึงพยายามเชื่อมกับชุมชนตามภูมิลำเนาของผู้ต้องหาที่ผ่านกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราวให้มากขึ้น ด้วยการตั้งเงื่อนไขให้ผู้ที่ถูกปล่อยตัวชั่วคราวต้องตั้งผู้กำกับดูแลที่มาจากชุมชน เป็นคนที่ทำหน้าที่คอยสอดส่องไม่ให้ผู้ที่ถูกปล่อยตัวไปก่ออันตรายหรือมีพฤติกรรมเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้อง

สำหรับการยกระดับบทบาทของผู้เสียหาย ที่บางกรณีมีความรู้สึกว่าถูกกระทำซ้ำในความผิดบางอย่าง หรือการไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ เพราะกระบวนการไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ค่าเสียหายที่เป็นเงิน ปัจจุบันในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีการให้ความสำคัญกับการเยียวยาผู้เสียหาย โดยเฉพาะการไกล่เกลี่ย ซึ่งมีผู้ประนีประนอมประจำศาลในสาขาอาชีพต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนและเพื่อให้การเจรจาไกล่เกลี่ยมีผลในการปฏิบัติจริงศาลจะมีการระบุเงื่อนไขในกระบวนการคุมประพฤติ

ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เน้นย้ำว่า หัวใจของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ คือ การร่วมกันของทุกฝ่าย และเน้นผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นกระบวนการที่เข้าใจความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้าใจร่วมกับชุมชน

ดังนั้น รายงานวิจัย Harmonious Justice:Thailand’ s Approach to Restorative Justice” และ “คู่มือสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ฉบับแปลภาษาไทย” ที่คณะผู้วิจัย TIJ ได้ศึกษาวิจัย และเรียบเรียงขึ้นมา จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ทำงานในกระบวนการยุติธรรมนำไปปรับใช้ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงช่วยทำให้สามารถเยียวยา แก้ไขอุปสรรคต่างๆ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : วิเคราะห์การเมืองหลังเสร็จการเลือกตั้ง กลุ่มพัฒนามุกดาหารล้มแชมป์เก่าคว้าชัยชนะยกทีม สกู๊ปพิเศษ : วิเคราะห์การเมืองหลังเสร็จการเลือกตั้ง กลุ่มพัฒนามุกดาหารล้มแชมป์เก่าคว้าชัยชนะยกทีม
  • สกู๊ปพิเศษ : เปิดตำนานภูแม่หม้าย นมัสการพระศรีรัตนตรัยรัตน์ สกู๊ปพิเศษ : เปิดตำนานภูแม่หม้าย นมัสการพระศรีรัตนตรัยรัตน์
  • สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา เตรียมนำข้าวขึ้นน้ำ 9 สายพันธุ์  นำแปรรูป สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา เตรียมนำข้าวขึ้นน้ำ 9 สายพันธุ์ นำแปรรูป สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
  • สกู๊ปพิเศษ : ปศุสัตว์บุรีรัมย์ เดินหน้า ยกระดับคุณภาพการผลิต-ตลาด  ของเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อ พร้อมแข่งขัน ในระดับสากล สกู๊ปพิเศษ : ปศุสัตว์บุรีรัมย์ เดินหน้า ยกระดับคุณภาพการผลิต-ตลาด ของเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อ พร้อมแข่งขัน ในระดับสากล
  • สกู๊ปพิเศษ : รมว.สธ.วางศิลาฤกษ์ อาคารสนับสนุนบริการ ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี สกู๊ปพิเศษ : รมว.สธ.วางศิลาฤกษ์ อาคารสนับสนุนบริการ ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • สกู๊ปพิเศษ : ข้าวหอมมะลิ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ แชมป์  ได้เข้าประกวดข้าวหอมมะลิ ระดับประเทศ สกู๊ปพิเศษ : ข้าวหอมมะลิ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ แชมป์ ได้เข้าประกวดข้าวหอมมะลิ ระดับประเทศ
  •  

Breaking News

‘ประเสริฐ’มอง‘ยิ่งลักษณ์’ไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัดตอบกระทบกลับไทย

กทม. ปิดประชุม CMC 2025 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จัดการภัยพิบัติ พร้อมส่งไม้ต่อ ‘กรุงโซล’

กกต.ชงศาลฎีกาฟันอาญา 2 ผู้สมัครสว.สมุทรปราการ เสนอผลประโยชน์แลกลงคะแนน

กทม.เช็กลิสต์แก้น้ำท่วมจากการก่อสร้างรฟฟ.สีส้มตะวันตกและม่วงใต้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved