วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : ย้อนอดีตทางรถไฟสายมรณะ กับอธิสรรค์ อินทร์ตรา หน.สนง.จ.กาญจนบุรี  และการจัดงาน‘สัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว-งานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี’ประจำปี 2564

รายงานพิเศษ : ย้อนอดีตทางรถไฟสายมรณะ กับอธิสรรค์ อินทร์ตรา หน.สนง.จ.กาญจนบุรี และการจัดงาน‘สัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว-งานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี’ประจำปี 2564

วันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี ได้รวบรวมข้อมูลความเป็นมา เกี่ยวกับประวัติการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะเอาไว้ เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนคนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ดังนี้

การก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ กองทัพญี่ปุ่นเข้าดำเนินการสำรวจเอง และกรมรถไฟไทย (ชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2494)ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในช่วงแรก เริ่มสร้างจากสถานีหนองปลาดุก (กิโลเมตรที่64+196) ถึงสถานีกาญจนบุรี ระยะทางยาวประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นทางราบโดยตลอด


ส่วนจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกภูมิประเทศเริ่มเป็นเนินสูง มีภูเขาเล็กน้อยและจากน้ำตกขึ้นไปเป็นเขามีลาดชันสูงจนถึงจุดสูงสุดที่เรียกกันว่า “ถ้ำผี” แล้วจึงลาดลงผ่านหมู่บ้านและตำบลน้ำตกไทรโยกจนถึงตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิเป็นระยะทางยาวรวม 88 กิโลเมตร จากนั้นเลียบลำน้ำแควน้อยขึ้นไปจนถึงนิเกะ กิ่งอำเภอสังขละบุรี (อำเภอสังขละบุรีปัจจุบัน) และไปจนถึงพรมแดนไทย-เมียนมา ที่ด่านเจดีย์สามองค์ รวมระยะทาง 303.95 กิโลเมตร

เนื่องจากเป็นทางรถไฟยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในกิจการทหารกองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเป็นสะพานไม้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไม่เสียเวลาในการทำงานโดยในเขตไทยมีจำนวน 359 สะพาน รวมถึงสะพานไม้ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่บ้านท่ามะขามซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว”

การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้เชลยศึกสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราวระดับต่ำห่างจากสะพานเหล็กปัจจุบันไปทางใต้ของลำน้ำประมาณ 100 เมตร หรือเมื่อหันหน้าไปทางสถานีน้ำตก สะพานไม้ชั่วคราวจะอยู่ทางซ้ายมือโดยลงมือก่อสร้างเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำลดลงในปลายเดือนพฤศจิกายน 2485 แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2486 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 เดือน และวางราง

โดยเชลยชาวอังกฤษจากสถานีต้นทางหนองปลาดุกถึงสะพานแห่งนี้ เมื่อวันที่26 มกราคม 2486 จากนั้นวางรางต่อจากสะพานไปถึงกิโลเมตรที่ 100 ระหว่างสถานีท่ากิเลนกับสถานีอ้ายหิต (ที่หยุดรถลุ่มสุ่มในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2486

ต่อมา กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเป็นสะพานเหล็กถาวร ตอม่อคอนกรีต ติดตั้งสะพานเหล็ก11 ช่วง ช่วงละ 20.80 เมตร ในตอนกลาง และสร้างเป็นสะพานไม้ต่อทางฝั่งน้ำด้านตะวันตกโดยลงมือก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2486 แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2486 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 7 เดือน หลังจากเปิดใช้สะพานเหล็กแล้ว ฝ่ายไทยได้เจรจาขอให้กองทัพญี่ปุ่นรื้อสะพานไม้ออก เนื่องจากเรือแพสัญจรผ่านไป-มาไม่ได้ เพราะสะพานไม้ต่ำฝ่ายญี่ปุ่นจึงทำการรื้อสะพานไม้ที่สร้างไว้ในตอนแรกออก แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2487

ภัยทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน2487 เป็นต้นมา สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ได้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดหลายครั้ง และครั้งที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก ทำให้เสียหายถึงกับสะพานช่วงกลางพังลง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2487 แต่ฝ่ายญี่ปุ่นได้เตรียมการแก้ไขล่วงหน้าไว้แล้วโดยทำทางเบี่ยงลงไปยังฝั่งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อใช้ลำเลียงยุทธสัมภาระต่างๆ ข้ามแม่น้ำแล้วให้กรรมกรขนถ่ายยุทธสัมภาระขึ้นตู้รถไฟต่อไป

เมื่อสงครามสงบ กรมรถไฟ ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการซ่อมสะพานเหล็กที่ถูกพันธมิตรทิ้งระเบิดเสียหาย ช่วงที่ 4, 5 และ 6 ตั้งแต่ พ.ศ.2493-2495 การซ่อมในครั้งนั้นได้ยุบตอม่อกลางน้ำตัวที่ 5-6 แล้วสร้างเป็นสะพานเหล็ก 2 ช่วง แทนของเดิมกับเปลี่ยนช่วงสะพานไม้ด้านปลายทางเป็นสะพานเหล็กขนาด 15.35 เมตร จำนวน 6 ช่วง แทนสะพานไม้ รวมความยาวทั้งสิ้น 322.90 เมตร

นอกจาก “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” แล้ว“สะพานถ้ำกระแซ” กิโลเมตรที่ 174+173 ก็เป็นอีกสะพานหนึ่งที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่สร้างในที่จำกัดเลียบไปตามหน้าผาริมแม่น้ำแควน้อย เป็นความยาวประมาณ 340 เมตร ในเบื้องต้นการวางรางในที่จำกัดและเร่งด่วนทำให้ไม่ได้มาตรฐาน เป็นเหตุให้ขบวนรถตกรางลงไปข้างล่างบ่อยครั้งจนเป็นที่เลื่องลือ แต่ต่อมากองทัพญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขให้สะพานมั่งคงดีขึ้นตามลำดับ

ปี 2534-2535 การรถไฟฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขตัวสะพานครั้งใหญ่ เพื่อให้โครงสร้างตัวสะพาน มีความแข็งแรงมั่นคง โดยได้ทำการเปลี่ยนเสาตับไม้และเทคอนกรีตหุ้มธรณีคอนกรีตเดิมพร้อมกับทำธรณีคอนกรีตขึ้นใหม่เพื่อเสริมความแข็งแรงปลอดภัยยิ่งขึ้น และสะพานแห่งนี้ยังคงใช้การได้ดีจนถึงทุกวันนี้

การจัดแสดงแสงและเสียง “งานสะพานข้ามแม่น้ำแคว” การแสดงแสงและเสียงในประเทศไทย มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 โดยกรมศิลปากร ร่วมกับกองทัพเรือจัดขึ้นที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ต่อมาในปีพ.ศ.2520 กรมศิลปากรจัดขึ้นในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากนัก

ต่อมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือ อ.ส.ท. ในขณะนั้น) จัดการแสดงแสงและเสียง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ขึ้นในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ.2523 อันเป็นปีท่องเที่ยวไทย กิจกรรมนี้จึงเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นและมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน

สำหรับการจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควและงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี 2564 ได้กำหนดจัดขึ้น 10 วัน ระหว่างวันที่ 17-26 ธันวาคม 2564 ที่บริเวณลานข้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีและที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมืองกาญจนบุรี สำหรับปีนี้เปิดให้เข้าชมการแสดงแสง สี เสียง และเข้าชมภายในงานฟรี ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายจีระเกียรติภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นางรชยา ภูมิสวัสดิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี นายชำนาญ ชื่นตารองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งดร.กิรดา ลำโครัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี ดร.นพดล สงวนพันธ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

พ.ต.อ.บรรจง อมฤทธิ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี นายอนุชาวรหาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นายทรงวุฒิ ศีลแดนจันทร์ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้า TMK Park อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายวรพัทธ์ แต้มแก้ว ผู้รับสิทธิ์การจัดกิจกรรมภายในงานฯเข้าร่วมแถลง ส่วนการแสดง แสง เสียง (Light and Sound) ย้อนรอยประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้ำแควสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีนี้ ใช้ชื่อชุดการแสดงว่า “ย้อนรอยโศกนาฏกรรมสู่สันติภาพ”

สำหรับกฎกติกาการเข้าชม ทุกคนที่มาภายในงานจะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้องมีผลยืนยันการตรวจหาเชื้อด้วย ATK มาแล้วไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาและต้องผ่านจุดคัดกรองเพื่อวัดอุณหภูมิ หากเป็นคนไทยขอแค่นำบัตรประชาชนมาแสดง ส่วนนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติแค่นำพาสปอร์ตมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น ก็สามารถเข้าชมฟรีได้แล้ว

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ‘ตำรวจไม่ทิ้งกัน’ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.นำคณะเยี่ยม  ผู้เสียสละจากเหตุปะทะในยะลา ปี 2550 รายงานพิเศษ : ‘ตำรวจไม่ทิ้งกัน’ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.นำคณะเยี่ยม ผู้เสียสละจากเหตุปะทะในยะลา ปี 2550
  • รายงานพิเศษ : ชาวผักไห่แห่ชมโขน‘พิพิธโขนวัดย่านฯพินิจภูษาจุฬาพัสตร์’ลานวัฒนธรรม-ยลศิลป์วัดย่านฯ-ยลภูษาจุฬาพัสตร์ปี2568 รายงานพิเศษ : ชาวผักไห่แห่ชมโขน‘พิพิธโขนวัดย่านฯพินิจภูษาจุฬาพัสตร์’ลานวัฒนธรรม-ยลศิลป์วัดย่านฯ-ยลภูษาจุฬาพัสตร์ปี2568
  • รายงานพิเศษ : มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง  นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025 รายงานพิเศษ : มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025
  • รายงานพิเศษ : บ้านโคกสูง จ.ขอนแก่น สานแหจับปลาขาย  สร้างรายได้เดือนละ 50,000 บาท ทั้งหมู่บ้าน รายงานพิเศษ : บ้านโคกสูง จ.ขอนแก่น สานแหจับปลาขาย สร้างรายได้เดือนละ 50,000 บาท ทั้งหมู่บ้าน
  • รายงานพิเศษ : มข.ผนึกกำลังวิชาการ-ท้องถิ่น สร้างเกษตรยั่งยืน  มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากคนอีสาน รายงานพิเศษ : มข.ผนึกกำลังวิชาการ-ท้องถิ่น สร้างเกษตรยั่งยืน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากคนอีสาน
  • รายงานพิเศษ : มาแล้ว เมนูหน้าร้อน ก้อยไข่มดแดง อาหารชั้นสูง  หนึ่งปี มีทานครั้งเดียว ที่จ.อำนาจเจริญ รายงานพิเศษ : มาแล้ว เมนูหน้าร้อน ก้อยไข่มดแดง อาหารชั้นสูง หนึ่งปี มีทานครั้งเดียว ที่จ.อำนาจเจริญ
  •  

Breaking News

ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน

‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’

ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา

‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved