วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สธ.เผยทุกจังหวัดติดโอมิครอนครบแล้ว ฟันธง!ปลายเดือนมกราคมแทนที่'เดลต้า'ทั้งหมด

สธ.เผยทุกจังหวัดติดโอมิครอนครบแล้ว ฟันธง!ปลายเดือนมกราคมแทนที่'เดลต้า'ทั้งหมด

วันศุกร์ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565, 13.35 น.
Tag : กระทรวงสาธารณสุข โอมิครอน โควิด โควิดวันนี้ โควิด19 เดลต้า
  •  

วันที่ 21 มกราคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า ขณะนี้ไม่มีจังหวัดไหนที่ไม่พบโอมิครอน ถ้าดูภาพรวมเจอผู้ติดเชื้อโอมิครอน 10,721 ราย

โดยจังหวัดที่พบจำนวนมากที่สุด​กรุงเทพมหานคร 4,178 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,176 ราย,​ ชลบุรี 837 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 451 ราย​, ภูเก็ต 434 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 32 ราย​, ร้อยเอ็ด 355 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศทั้งหมด,​ สมุทรปราการ 329 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 54 ราย,​ สุราษฎร์ธานี 319 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 33 ราย,​ กาฬสินธุ์ 301 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 299 ราย​, อุดรธานี 217 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศทั้งหมด, เชียงใหม่ 214 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 118 ราย,​ ขอนแก่น 214 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศทั้งหมด​


ภาพรวมขณะนี้พบว่า สัดส่วนเป็นโอมิครอน 86.8 % และเดลตา​ (อินเดีย)​ 13.2% เมื่อแยกเป็นกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โอมิครอน 96.9% เดลตา 3.1 % เพราะฉะนั้นจากนี้สันนิษฐานได้ว่าผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศแล้วงพบติดเชื้อจะเป็นโอมิครอนทั้งหมด ส่วนกลุ่มอื่นในประเทศ เป็นโอมิครอน 80.4 % และเดลตา 19.6 %

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวว่า การติดตามสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ดังกล่าว คัดเลือกตัวอย่างจาก 9 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ รวมถึงต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองทุกราย 2.กลุ่มตัวอย่างเพื่อสะท้อนภาพรวมประเทศ 3.กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 4.กลุ่มที่มีอาการรุนแรงและ/หรือเสียชีวิตทุกราย 5.กลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง 6.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 7.กลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน(ติดเชื้อซ้ำ) 8.คลัสเตอร์ใหม่ และ 9.ลักษณะอื่นๆ ที่สงสัยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โดยสุ่มเลือกตัวอย่างผู้ติดชั้อจากแต่ละจังหวัดในพื้นที่ รวมทุกกลุ่มไม่เกิน 140 ตัวอย่าง ต่อสัปดาห์ต่อเขตสุขภาพ

โดยเมื่อแยกการพบโอมิครอนรายกลุ่มนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพื่อสะท้อนภาพรวมประเทศ โอมิครอน 83.77% เดลตา 16.2% คลัสเตอร์ใหม่ โอมิครอน 84.86 % เดลตา 15.1% กลุ่มที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตทุกราย โอมิครอน 67.21% เดลตา 32.8 % กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โอมิครอน 72.35 % เดลตา 27.7% กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โอมิครอน 74.58% เดลตา 25.4 % ลักษณะอื่นๆ ที่สงสัยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน 75.90 % เดลตา 24.1 % และกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน(ติดเชื้อซ้ำ) 100 %

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวอีกว่า​ จะเห็นว่าในกลุ่มคนทั่วไป สัดส่วนที่เจอโอมิครอน 85% เดลตา 15 % แต่มีเดลต้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มติดเชื้ออาการรุนแรง หรือเสียชีวิต พบเดลตาประมาณ 33% หรือ 2 เท่าของกลุ่มแรก อันนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตาแน่นอน ส่วนกลุ่มที่วัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฉีด 2 เข็ม พบเชื้อเดลตาพอสมควร กลุ่มบุคลากรการแพทย์ 25% เป็นเดลตา และสุดท้ายที่น่าสนใจ 8 รายที่มีการติดเชื้อซ้ำเป็นโอมิครอน 100% จากเดิมคนที่ติดเชื้อเดลตาจะมีภูมิสูง แต่ยังสามารถติดเชื้อซ้ำป็นโอมิครอนได้ สะท้อนว่าภูมิเดิมที่มีต่อเชื้อเดิมกันเชื้อโอมิครอนไม่ได้

ทั้งนี้ หากแบ่งการติดเชื้อโอมิครอนตามเขตสุขภาพ จะพบว่า เขต 4, 6, 7, และ 13 กทม. พบโอมิครอนสูงสุด ส่วนเขตอื่นๆ ส่วนใหญ่ 60-80% ก็เป็นการติดเชื้อโอมิครอน ที่น่าสนใจคือเขต 12 ชายแดนใต้ มีการติดเชื้อโอมิครอนเพียง 51.46% อีกครึ่งหนึ่งเป็นเดลตา​ สะท้อนว่าลักษณะของจังหวัดดังกล่าวอาจแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ เช่น ไม่มีสถานบันเทิง หรือไม่มีการรั่วไหลของโอมิครอนที่เข้ามาจากชายแดนต่างประเทศ จึงเป็นเดลตาสายพันธุ์เดิมมากกว่า แต่สุดท้ายโอมิครอนก็จะเข้ามาแทนที่ได้ทั้งหมดในที่สุด​ นำมาสู่ข้อสรุปสถานการณ์โอมิครอนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ สายพันธุ์นี้มีการแพร่กระจายค่อนข้างเร็ว โดยกลุ่มต่างประเทศเกือบ 100% เป็นโอมิครอน ส่วนในประเทศโอมิครอนเฉลี่ย 80.4% ส่วนกลุ่มรุนแรงและเสียชีวิตพบว่าสัดส่วนเดลตายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มทั่วไป กลุ่มได้รับวัคซีนหรือกลุ่มติดเชื้อซ้ำเป็นโอมิครอนมากกว่า

“คาดว่าภายในปลายเดือนนี้สัดส่วนโอมิครอนในประเทศจะสูงเทียบเท่ากับกลุ่มที่เข้ามาจากต่างประเทศหรือมากกว่า 97-98% และสุดท้ายเดลตาจะหายไปในที่สุด ดังนั้น เราต้องอยู่ร่วมกับโอมิครอน จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 ซึ่งไม่ว่าสูตรไหนก็สามารถลดการแพร่ระบาด การติดเชื้อ และยังลดอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ด้วย” นพ.ศุภกิจ​ ระบุ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สธ.ยันเตียงมีพอ  ทั่วปท.ใช้ไป22%  จี้ฉีดวัคซีนโควิด สธ.ยันเตียงมีพอ ทั่วปท.ใช้ไป22% จี้ฉีดวัคซีนโควิด
  • นายกฯห่วงผู้เสียชีวิตจาก‘โควิด’ยังเป็นกลุ่ม608 ย้ำพา‘ผู้สูงอายุ-กลุ่มเสี่ยง’รับวัคซีนประจำปี นายกฯห่วงผู้เสียชีวิตจาก‘โควิด’ยังเป็นกลุ่ม608 ย้ำพา‘ผู้สูงอายุ-กลุ่มเสี่ยง’รับวัคซีนประจำปี
  • ป่วยโควิดขยับ  สายพันธ์ุXBB.1.16 รุกไทย  ระบาดกระจุกตัวกทม. ป่วยโควิดขยับ สายพันธ์ุXBB.1.16 รุกไทย ระบาดกระจุกตัวกทม.
  • ‘โควิด’แรง!แนะฉีดวัคซีน‘เข็มกระตุ้น’ประจำปี ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต ‘โควิด’แรง!แนะฉีดวัคซีน‘เข็มกระตุ้น’ประจำปี ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต
  • ‘ศิริราช’แจงเตียงเต็ม  ผู้ป่วยโควิดล้น  ฝ่ายฉุกเฉินรับเพิ่มไม่ได้ ‘ศิริราช’แจงเตียงเต็ม ผู้ป่วยโควิดล้น ฝ่ายฉุกเฉินรับเพิ่มไม่ได้
  • ‘กรมการแพทย์’ ยันเตียงโควิดเพียงพอ แม้พบผู้ป่วยเพิ่ม ยังควบคุมสถานการณ์ได้ ‘กรมการแพทย์’ ยันเตียงโควิดเพียงพอ แม้พบผู้ป่วยเพิ่ม ยังควบคุมสถานการณ์ได้
  •  

Breaking News

ใครจะทน!! 'หมอปุยเมฆ' น้ำตานอง เผยวินาทียื่นใบลาออก

เปิดโลกใหม่!! ชาวเน็ตประสานเสียงตัวเงินตัวทอง 'น้องบินได้?'(คลิป)

แจงชัดๆ ‘บิ๊กตู่’ยังเก็บของกลับบ้านไม่ได้ ต้องอยู่จนรัฐบาลใหม่ถวายสัตย์

สอย‘20ว่าที่ส.ส.’? ‘จุรินทร์’เชื่อถ้า‘8พรรคร่วม’ยังจับมือกันแน่นก็ไร้ปัญหา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved