ท่ามกลางสังคมในปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ในชีวิต
ประจำวันของทุกเพศทุกวัยทั่วโลก นับตั้งแต่เราตื่นจนกระทั่งเข้านอน ทั้งในเรื่องส่วนตัว การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฮม สมาร์ททีวี คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอช หรือการติดต่อสื่อสาร เช่น สื่อสังคมออนไลน์(social network) เฟซบุ๊ค อินสตาแกรมทวิตเตอร์ ไลน์ แอปพลิเคชั่น และสังคมไร้เงินสด เป็นต้น อีกทั้งยังมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง อินเตอร์เนต ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือหุ่นยนต์ (Robot) มาใช้ในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น
อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี วงการแพทย์ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ อุตสาหกรรมรถยนต์ที่หันมาผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน จากที่เราจะเห็นว่ามีสิ่งของ แนวคิด นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาและสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมทั้งนั้น อาชีพวิศวกรจึงนับว่ามีความสำคัญต่อโลกและสังคม ดังนั้น วิศวกรรมศาสตร์เองจึงต้องพร้อมที่จะสร้าง “วิศวกรสายพันธุ์ใหม่” ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนและเพื่อผลักดันให้โลกให้ก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตอย่างแท้จริง
เพื่อก้าวให้ทันยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ม.เอกชนอันดับหนึ่งของไทย จากการจัดอันดับของ SCImago Institutions Rankings (SIR) 2021 ที่มีจุดยืนอันแน่วแน่ของการเป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรใหม่ “วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (Process and Industrial Engineering)” เป็นแห่งแรกของไทย
มุ่งปั้นวิศวกรสายพันธุ์ใหม่ด้านวิศกรรมกระบวนการ (Process Engineering) สำหรับนักเรียนนักศึกษาวัย Gen Z ที่มีแนวคิดการทำงานแบบ Work Smart เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุน ซึ่งปัจจุบันวิศวกรกระบวนการนั้นมีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลอย่างมากตั้งแต่การออกแบบและการดำเนินงาน ไปจนถึงการวิจัยและการพัฒนาธุรกิจใหม่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ผศ.ดร.นริศรา อินทรจันทร์ รองอธิการบดี และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการฝ่ายสถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม กล่าวว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาในด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมแม้แต่ด้านการศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปประเทศของรัฐภายใต้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลักดันให้เกิดการขยายตัวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
รวมถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ภายใต้การปฏิรูปตามแนวนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต การประหยัดพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านกำลังคนที่กำลังก้าวไปสู่สังคมของคนสูงวัยมากขึ้น ดังนั้น ม.เทคโนโลยีมหานคร จึงพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการขึ้นมา
โดยนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบ Automation, AI, IoT และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบการผลิต สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและตอบสนองทุกความต้องการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ Demand และ Supply ของตลาดแรงงานและตลาดอุตสาหกรรมของโลกอนาคตได้
ซึ่งวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากวิศวกรรมเคมีและอุตสาหการ โดยนำเอาองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ อาทิ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด และวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน มาบูรณาการความรู้เข้าด้วยกันเพื่อให้นักศึกษาหรือผู้เรียนได้เข้าใจในหลักการและกลไกการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต
รวมถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตต่างๆ หรือวิธีที่จะทำให้เกิดการผลิตสินค้าให้เร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งการออกแบบกระบวนการที่ใช้ในการผลิต เป็นการนำจุดเด่นของทั้งสองสาขาวิชามาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังมีการนำสาขาวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ความปลอดภัย การบริการ การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ และโลจิสติกส์รวมถึงเรื่อง soft skills ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการมารวมไว้ในหลักสูตรตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในยุคอุตสาหกรรม4.0 เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)
“หลักสูตรวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ ที่ MUT จะเปิดสอนหลักสูตรแรกในปีการศึกษา 2565 นี้ นักเรียนที่จะเข้าเรียนในคณะนี้เรียนจบสายไหนมาก็เรียนได้ แต่ควรมีความชอบในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของสาขานี้ ที่ให้ความสำคัญกับความชอบมากกว่าความถนัด เพราะถึงแม้จะไม่มีความถนัดแต่มีความชอบ ทางคณาจารย์ก็มีวิธีที่สอนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
แต่หากไม่มีความชอบในวิชาเหล่านี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนได้โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนมาทางสายอาชีวศึกษา ที่มุ่งหวังว่าอยากเรียนจบแล้วมีงานทำและตั้งใจที่จะทำงานในอุตสาหกรรมโรงงานนั้น ยิ่งตอบโจทย์และสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นด้าน อุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องดื่มเครื่องสำอาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ยาง แก้ว กระดาษ โลหะ ปูนซีเมนต์ ฯลฯ” ผศ.ดร.นริศรา กล่าว
ผศ.ดร.นริศรา กล่าวต่อไปว่า วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ เป็นหลักสูตรที่ควบรวมทั้งด้านกระบวนการและอุตสาหการมาไว้ด้วยกัน ทำให้นักศึกษามีความรู้รอบด้านในเรื่องของ Digital Transformation ที่นำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐานเป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้ตามทันโลกเศรษฐกิจ รวมถึงทุกศาสตร์ที่สำคัญในเรื่องกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ ผู้เรียนจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และลงมือปฏิบัติจริงในโรงงานที่ทางมหาวิทยาลัยจำลองขึ้น
ทำให้มีทักษะพร้อมในทุกด้านที่ตอบรับความต้องการของตลาดแรงงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา อีกทั้งหลักสูตรนี้ได้รับการรับรองด้านวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเคมีจากสภาวิศวกรด้วย และหากนักศึกษาคนใดต้องการที่จะได้ใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ ก็สามารถเรียนต่อวิชาหลักของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการที่เพิ่มมากขึ้นได้
“นักศึกษาที่เรียนจบทั้งวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ จะเป็นบัณฑิตมีศักยภาพที่เต็มเปี่ยมในการเลือกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรกระบวนการ วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรเคมี วิศวกรโครงการ วิศวกรโรงงาน วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรขาย วิศวกรออกแบบ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต นักวิชาการหรือนักวิจัย ผู้จัดการจัดการโรงงาน หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ประกอบการสร้างธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน” ผศ.ดร.นริศรา ระบุ
ผศ.ดร.นริศรา ยังกล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ(Process and Industrial Engineering) ขึ้นเพื่อเปลี่ยนมุมมองของนักเรียนที่มีต่อวิศวกรรมเคมีในอดีตว่าเป็นสาขาที่ยากทำให้เด็กไม่อยากเรียน มาประยุกต์ให้การเรียนนั้นง่ายขึ้นและสนุกขึ้น MUT จึงหวังและเชื่อมั่น
เป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรนี้จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z และจะได้รับความสนใจในการเรียนด้านนี้มากขึ้น
ด้วยกลุ่มคน Gen Z นั้นเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี เป็นคนที่ความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบแสวงหาความรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่ขณะเดียวกันก็เปิดกว้างทางความคิด และมีแนวคิดในการทำงานแบบ Work Smart และมีความสามารถแบบ Multitasking ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคตให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี