วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิจัยจุฬาฯสร้างแอป‘DMIND’ ใช้ AI คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

นักวิจัยจุฬาฯสร้างแอป‘DMIND’ ใช้ AI คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

นักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้าง “DMIND” นวัตกรรม AI คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ที่ให้ความแม่นยำ เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดภาระแพทย์และนักจิตวิทยาในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในระดับที่น่ากังวล โดยในปี 2564 มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คน และมีสถิติผู้พยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6 คนต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70%ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คาดการณ์กันว่าในอีก 18 ปีข้างหน้า จะส่งผลกระทบกลายเป็นภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้อันดับ 1 ของทั่วโลก


“DMIND เป็นเครื่องมือที่นำมาช่วยงานจิตแพทย์ คัดกรองว่าใครคือเคสเร่งด่วนที่ต้องช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คนที่มีอาการโรคซึมเศร้าเบาหน่อยค่อยมีการช่วยเหลือในลำดับต่อๆ AI จะประเมินลักษณะภาวะซึมเศร้าออกมาเป็นคะแนน หากคะแนนอยู่ในเกณฑ์สีเขียว คือยังอยู่ในภาวะปกติ สีเหลืองมีภาวะซึมเศร้า นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับเพื่อให้คำปรึกษาภายใน 7 วัน และสีแดง หมายถึงภาวะซึมเศร้ารุนแรง นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับภายใน 1-24 ชั่วโมง”พญ.โสฬพัทธ์กล่าว

ด้าน รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า DMIND ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน ส่วนแรกคือตัวแอปพลิเคชั่นในหมอพร้อม เมื่อคนไข้เข้ามาใช้งาน เมื่อมีการพูดคุยกับคนไข้ผ่านแอปฯก็จะได้ข้อมูลออกมาเป็นไฟล์วีดีโอ และถูกส่งต่อไปให้ AI วิเคราะห์ในส่วนที่สอง และส่วนสุดท้ายคือ Web Baseที่แพทย์สามารถเข้ามาตรวจสอบย้อนหลังได้ หากมีผู้ใช้งานคนไหนที่ดูแล้วมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ก็จะมีแพทย์หรือนักจิตวิทยาจากสายด่วนกรมสุขภาพจิตเข้าไปติดตามดูแล

ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงเข้าไปในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม เลือกส่วนใช้งาน “คุยกับหมอพร้อม (Chatbot)” เลือก “ตรวจสุขภาพใจ” เลือก “ตรวจสุขภาพใจกับคุณหมอพอดี” จากนั้นก็จะเป็นส่วนของการตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยคัดกรองและประเมินตัวเอง (ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่สะดวกใจที่จะใช้งานแบบต้องอัดเสียง เปิดกล้อง หรืออัดวีดีโอ) หากต้องการการประเมินเชิงลึก ผู้ใช้งานก็จะต้องอนุญาตให้มีการเปิดกล้องบันทึกเสียงและภาพเพื่อการประเมินและพูดคุยกับหมอพอดี (อวตาร์) โดยข้อมูลภาพและเสียงจะถูกเก็บเป็นความลับ

“จากสถิติที่ผ่านมาที่เรานำ DMIND เข้าไปช่วยคัดกรองเบื้องต้น ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ทำให้สายด่วนฯ สามารถดูแลผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนได้ทันท่วงทีเป็นร้อยๆ เคส จากที่ได้ทดลองนำไปใช้ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 75% ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณคนไข้นับหมื่นรายที่ได้รับการคัดกรองโดย DMIND สามารถช่วยลดภาระงานของแพทย์ไปได้ค่อนข้างมาก และโครงการก็ยังมองหาหน่วยงาน โรงพยาบาล บริษัททางด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา หรือหากแพลตฟอร์มที่อยากจะนำ AI ตัวนี้ไปต่อยอดใช้งานต่อก็ยินดีเปิดรับ” รศ.ดร.พีรพล กล่าวทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กมว.เข้มโทษจรรยาบรรณ เตือนครูทำผิดมีผลพิจารณาต่อใบอนุญาตฯ-ขั้นเงินเดือน-การขอรับรางวัล กมว.เข้มโทษจรรยาบรรณ เตือนครูทำผิดมีผลพิจารณาต่อใบอนุญาตฯ-ขั้นเงินเดือน-การขอรับรางวัล
  • \'สพฐ.\'เดินหน้าลดหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ชูโมเดลแก้หนี้ครูโคราช ขยายผลทั่วประเทศ 'สพฐ.'เดินหน้าลดหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ชูโมเดลแก้หนี้ครูโคราช ขยายผลทั่วประเทศ
  • \'อิสระ\'โชว์วิชั่น ยกระดับสถาบันพระปกเกล้า ให้เป็นผู้นำทางคลังสมองของอาเซียน 'อิสระ'โชว์วิชั่น ยกระดับสถาบันพระปกเกล้า ให้เป็นผู้นำทางคลังสมองของอาเซียน
  • ‘วัดพระธรรมกาย’จัดบวชนานาชาติ 13 สัญชาติ กว่า 120 รูป มุ่งศึกษาพระธรรม ‘วัดพระธรรมกาย’จัดบวชนานาชาติ 13 สัญชาติ กว่า 120 รูป มุ่งศึกษาพระธรรม
  • ไทยพีบีเอสร่วมขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทยในงาน \'SPLASH และ TCX 2025\' สู่เวทีนานาชาติ ไทยพีบีเอสร่วมขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทยในงาน 'SPLASH และ TCX 2025' สู่เวทีนานาชาติ
  • สถาบันสื่อและบริหารธุรกิจไทย-จีน จับมือ ม.อุซเบฯ พัฒนาหลักสูตร BRI หนุนเศรษฐกิจสองชาติ สถาบันสื่อและบริหารธุรกิจไทย-จีน จับมือ ม.อุซเบฯ พัฒนาหลักสูตร BRI หนุนเศรษฐกิจสองชาติ
  •  

Breaking News

‘ภูมิธรรม’พบเทงบลงพื้นที่‘ภท.’บางแห่งสูง700ล้าน แฉ‘อนุทิน’เซ็นเอกสารไม่ตรงกับที่ลงในระบบ

‘ณัฐพงษ์’ฟุ้ง‘ปชน.’พร้อมทำหน้าที่แม้‘ฉบับส้ม’ถูกตีตก หวังเปิดประตูนิรโทษให้กว้างที่สุด

ลูกน้อง'สส.สงขลา' อุ้มชาย65ปีรุมกระทืบสาหัส อ้างสร้างความวุ่นวายในหมู่บ้าน

นับถอยหลัง’แอลเอ2028’ เจ้าภาพเปิดปฏิทินพร้อมจัด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved