สพฐ.ถูกตัดลดงบปี 66 ลงจากงบปี 65 ถึง 6 พันล้าน "ธนุ"เผยกระทบต่อการจัดการศึกษา สพฐ.เร่งจัดสำดับความสำคัญใช้งบใหม่
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ลดลงในภาพรวมประมาณ 5,400 ล้านบาท และถูกตัดในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประมาณ 500 ล้านบาท รวมแล้วงบประมาณ ปี 2566 ของ สพฐ.ถูกลดลงจากงบประมาณ ปี 2565 จำนวน 6,000 ล้านบาท งบประมาณที่ถูกปรับลดลง สร้างผลกระทบให้ สพฐ.บ้าง เช่น กระทบการปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างอาคารเรียน แต่ สพฐ.ได้เตรียมวิธีการแก้ไขแล้ว คือต้องจัดลำดับความสำคัญในการในใช้งบใหม่ ส่วนไหนที่รอได้ก็ให้รอไปก่อน ส่วนไหนที่จำเป็นต้องซ่อมแซมเพราะถ้าไม่ทำแล้วจะส่งกระทบกับนักเรียนจนทำให้เด็กไม่มีที่เรียน ก็ต้องจัดให้งบก่อน เป็นต้น
ว่าที่ ร.ต.ธนุ กล่าวต่อว่า สพฐ.เข้าใจรัฐบาล ที่ต้องปรับลดงบ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้น้อย ดังนั้น สพฐ.ต้องมาจัดสรรงบประมาณโดยดูจากลำดับความสำคัญใหม่ทั้งหมด เพื่อใช้งบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเชื่อว่า สพฐ.สามารถบริหารงบประมาณที่มีอยู่ได้ ในส่วนของการถูกตัดงบนั้น สพฐ.ถูกตัดงบลงแทบทุกรายการ เช่น งบลงทุน งบดำเนินงาน งบบุคคลกร เป็นต้น ในส่วนงบบุคลากรที่ถูกตัดนั้น มาจากจำนวนครูของ สพฐ.ลดลง แต่ถ้างบในส่วนนี้ไม่พอสามารถของบกลางจากรัฐบาลมาสมทบได้ อย่างไรก็ตาม ขอให้กลุ่มครูอัตราจ้าง ธรุการ ภารโรง สบายใจได้ว่าในปี 2566 สพฐ.เตรียมงบไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม สพฐ.มีนโยบายว่าหากลูกจ้างคนไหนลาออก เพราะได้อาชีพที่ดีกว่าเดิม จะชะลอการจ้างงานรายใหม่ ส่วนลูกจ้างคนไหนที่ยังอยู่ สพฐ.ยืนยันจะจ้างเหมือนเดิมไม่ให้คนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบหรือตกงาน
"ภาพรวมงบประมาณปี 2566 สพฐ.ได้รับมาประมาณ 2.05 แสนล้านบาท สำหรับเป้าหมายในการใช้งบประมาณ ปี 2566 นั้น สพฐ.ได้ประกาศไว้แล้วว่า ในปีงบประมาณ 2566 จะเป็นปีแห่งการซ่อมสร้าง โดยเฉพาะการซ่อมสร้างเด็กที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ซ่อมเสริมกลุ่มเด็กที่มีภาวะเสี่ยงบกพร่องเรื่องการอ่านออกเขียนได้ เรื่องความปลอดภัยของเด็กทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจ เพราะหลังจากที่เรียนออนไลน์ไป 2 ปี พบว่าเมื่อเด็กกลับมาเรียนในโรงเรียนอาจจะปรับตัวไม่ทัน และอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เด็กเครียกมากขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ สพฐ.ต้องทำให้เด็กเครียดน้อยลง โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของ Active Learning เพราะเราพบว่าการจัดการเรียนการสอน Active Learning ทำให้นักเรียนมีความสุขมากขึ้น" ว่าที่ ร.ต.ธนุ กล่าว
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี