วันอังคาร ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'กสม.'ระดมความเห็นจัดทำข้อเสนอช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง

'กสม.'ระดมความเห็นจัดทำข้อเสนอช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง

วันศุกร์ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565, 19.40 น.
Tag : กสม. กลุ่มเปราะบาง
  •  

กสม.ระดมความเห็นจัดทำข้อเสนอช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง ถอดบทเรียนวิกฤตโควิดรับมืออุบัติภัยใหม่ ครูโรงเรียนอิสลามวอนรัฐช่วยเด็กโรฮิงยา

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะนางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการประชุมกลุ่มย่อยเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นหนึ่งในการจัดงาน“สมัชชาสิทธิมนุษยชน:เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษ กสม.” ว่าแม้ว่ารัฐบาลพยายามแก้ปัญหาและควบคุมโรคโควิดแต่ยังมีข้อท้าทายหลายประการโดยเฉพาะการฟื้นฟูภายหลังโควิด รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือกับอุบัติภัยต่างๆเพราะเมื่อเกิดวิกฤตก็เกิดการเรียนรู้และกระบวนการต่างๆดังนั้นการได้สรุปบทเรียนจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง รวมถึงการได้มารับฟังความเห็นต่างๆเพื่อทำเป็นข้อเสนอในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับเป็นนโยบาย เมื่อเกิดวิกฤตโควิดทั่วโลกและมีนวตกรรมใหม่ๆในการช่วยเหลือชาวบ้าน ทำอย่างไรถึงจะมีการพัฒนาเชิงระบบ


นายกิตติ อินทรกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า แรกเมื่อเกิดวิกฤตโควิดส่วนราชการเองก็ไม่รู้ว่าใครจะทำอะไรบ้าง สิ่งที่เราพบในภูเก็ตเมื่อสถานประกอบการถูกปิด พนักงานไม่มีรายได้ โจทย์ของเราคือช่วยเขาอย่างไรเพราะวันหนึ่งเขาอยากกลับบ้านแต่ก็กลับไม่ได้เพราะมาตรการปิดจังหวัดห้ามข้ามสะพานสารสิน เมื่อเขาอยู่บ้านเช่าและต้องถูกให้ออกเพราะไม่มีเงินจ่าย แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตขณะนั้น บอกให้ใช้งบประมาณเต็มที่แต่ต้องดูระเบียบให้ชัดเจน ทำอย่างไรให้เขาได้อยู่ในห้องเช่าต่อไป หากไปอยู่กับเพื่อนก็ช่วยสนับสนุนงบประมาณ 

“ในช่วงวิกฤตผมมีหน้าที่นั่งเช็คเฟสบุคว่ามีใครต้องการนม หรือมีใครเดือดร้อนที่ไหนบ้าง ทำให้ไม่มีการร้องเรียนเลย สิ่งที่เราต้องทำต่อคือเราควรมีแหล่งผลิตอาหารและดึงพืชผลมาใช้ในภาวะวิกฤตหรือไม่ เรามีนิคมสร้างตนเองอยู่กว่า 40 แห่ง เราอาจต้องเริ่มวางแผน ที่สำคัญอีกเรื่องคือทุนมนุษย์ที่หายไปเพราะเด็กๆขาดทักษะเนื่องจากการออนไลน์ เราต้องกลับมาดูว่าหลักสูตรการอบรมต่างๆตอบโจทย์ของโลกหรือไม่โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง”นายกิตติ กล่าว

นายสุรเดช ลุนิทรานนท์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่าปัจจุบันสถานประกอบการ 80 %ในเชียงใหม่ก็ยังไม่ฟื้นตัว โดยสถานการณ์โควิดรุนแรงขึ้นหลังจากเริ่มมีการรับเชื้อจาก กทม. เราได้เข้าไปในชุมชนทำให้รู้ว่าเรื่องความรู้ความเข้าใจสำคัญมากเพราะเกิดการรังเกียจคนที่ติดเชื้อโควิด ขณะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ใช้งบประมาณมหาศาลในการซื้อถุงยังชีพ ซึ่งไม่แน่ใจว่าถุงเหล่านี้ลงไปถึงประชาชนหรือไม่ เพราะกระจุกตัวและส่งไปยังชาวบ้านที่เป็นฐานเสียงของสมาชิกสภาเทศบาล ทำให้ชาวบ้านบางส่วนได้ถุงยังชีพแต่บางส่วนไม่ได้  ที่รุนแรงกว่านั้นคือคนที่ปิดชุมชนและปิดบ้านเพราะเมื่อติดโควิดแล้วไม่รู้ทำอย่างไร เราจึงดึงองค์กรต่างๆให้ความช่วยเหลือโดยโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชนเข้ามาช่วยกันหนุนเสริม 

“คนที่มีส่วนสำคัญในเรื่องนี้คือ อสม.ซึ่งมีอยู่กว่า 2 ล้านคน เขาเข้าถึงคนในทุกระดับ ถ้าเราติดอาวุธทางปัญญาและให้ความรู้เขา ตรงนี้คือทางออก เราพบว่าในชนบทมีการจัดการเรื่องโควิดดีกว่าในเมือง ทุกอย่างจะดีกว่านี้หากการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น หากอิงกรอบราชการแบบเดิมมีแต่เละเพราะมีช่องว่างและไม่ทันสถานการณ์”นายสุรเดช กล่าว

น.ส.ทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า ในช่วงแรกของสถานการณ์โควิดเด็กไร้บ้านโดยเฉพาะต่างด้าวไม่มีที่ไหนรักษา เราพยายามหาพื้นที่เพราะเรามีข้าวของที่สมาชิกและเครือข่าย สนับสนุน แต่เด็กเร่ร่อนไม่มีที่พักและจะกลายเป็นคนที่แพร่โควิดทั่ว กทม.เพราะพวกเขาต้องตระเวนเดินทางตลอด ในที่สุดโรงพยายาบาลจุฬาภรณ์ได้รับเข้าไปตรวจโดยไม่มีการแยกครอบครัว

“ยังมีกรณีพ่อแม่ติดโควิด แต่เด็กไม่ติดและมาติดภายหลังจึงไม่รู้ว่าจะเอาเด็กไปไว้ที่ไหน ในที่สุดโรงพยาบาลจุฬาฯรับไปทั้งหมด ในขณะที่เราพยายามหาทางออกในการรักษา แต่ยังมีเด็กเร่ร่อนกลุ่มอื่นๆที่หิว เราระดมถุงยังชีพแจกไปเกือบ 6 หมื่นชุด”น.ส.ทองพูล กล่าว

นายอดิศร เกิดมงคล กล่าวว่า นับถึง 30 เมษายน 2565 มีแรงงานข้ามชาติติดโควิดกว่า 2 แสนคนหรือประมาณ 10% โดยช่วงแรกพบน้อยมากจึงเกิดข้อสงสัยเมื่อไปดูพบว่าคนกลุ่มนี้มีความเปราะบาง โดย เรื่องเศรษฐกิจ เช่นไม่ได้ค่าจ้างหรือได้น้อยลง ถ้าเป็นแรงงานไทยสามารถหางานใหม่ได้ไม่ยาก แต่แรงงานข้ามชาติมีข้อกำหนด เช่น ต้องหางานให้ได้ภายใน 30 วัน สิ่งที่เราพบว่ามีคนจำนวนมากที่เมื่อติดเชื้อก็ถูกให้ออกจากห้องพัก จึงต้องไปอยู่กับเพื่อน บางห้องเล็กๆอยู่กัน 10 คน ขณะที่ระบบการช่วยเหลือก็ทำไม่ได้ 

“ความเปราะบางมีตั้งแต่แรกเพราะวิธีคิดของรัฐไม่เห็นว่า คนกลุ่มนี้ต้องเข้าไปจัดการ นอกจากนี้กลไกรัฐจัดการไม่ได้ สิ่งที่เป็นความยากในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพราะเรามีอคติ และกลไกนโยบายเดิมที่มองเขามีปัญหา ที่น่าสนใจคือมีมายาคติบางอย่างมองเขาเป็นคนอื่น”นายอดิศร กล่าว

ขณะที่ตัวแทนครูโรงเรียนอิสลามแห่งหนึ่งกล่าวว่า โรงเรียนได้รับผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะโรฮิงญามาดูแล แม้คนเหล่านี้จะรอเดินทางไปประเทศปลายทาง แต่ไม่มีวีซาจึงไม่ได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควร มีนักเรียนจำนวนมากต้องเสียชีวิตเพราะโควิดและไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงอยากเป็นเสียงแทนเด็กๆที่เป็นมนุษย์เหมือนเรา อยากให้ผู้ใหญ่ได้มองเห็นและให้การช่วยเหลือ

ทั้งนี้ในการประชุมสมัชชาครั้งนี้ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มคนเปราะบางใน 5 กลุ่ม เช่นกลุ่มเข้าไม้ถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มสถานะบุคคล เป็นต้น โดยจะมีการรายงานผลสรุปกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มในเวทีใหญ่ในวันที่ 2 กันยายนนี้ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอระดับนโยบาย

-001

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘กสม.’ขอนายกฯไม่เลื่อนบังคับใช้กฎหมายป้องกัน‘ทรมาน-อุ้มหาย’ ‘กสม.’ขอนายกฯไม่เลื่อนบังคับใช้กฎหมายป้องกัน‘ทรมาน-อุ้มหาย’
  • ‘กสม.’ยกเคส‘บางเขน’ วอนผู้ที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหา‘ที่ดินตาบอด’ ‘กสม.’ยกเคส‘บางเขน’ วอนผู้ที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหา‘ที่ดินตาบอด’
  • กสม.เปิดสถิติร้องเรียนละเมิดสิทธิมนุษยชนปี 65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ กสม.เปิดสถิติร้องเรียนละเมิดสิทธิมนุษยชนปี 65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • กสม.เผยผลสอบ 4 ประเด็นร้องเรียนละเมิดสิทธิชาวบางกลอย แนะคุ้มครองชาติพันธุ์ กสม.เผยผลสอบ 4 ประเด็นร้องเรียนละเมิดสิทธิชาวบางกลอย แนะคุ้มครองชาติพันธุ์
  • ‘กสม.’ชี้ข้อพิพาท‘เกาะหลีเป๊ะ’กลุ่มชาติพันธุ์มองต่างเรื่อง‘กรรมสิทธิ์ที่ดิน’แนะรัฐเร่งแก้ปัญหา ‘กสม.’ชี้ข้อพิพาท‘เกาะหลีเป๊ะ’กลุ่มชาติพันธุ์มองต่างเรื่อง‘กรรมสิทธิ์ที่ดิน’แนะรัฐเร่งแก้ปัญหา
  • กสม.แนะตร.ใช้วิธีอื่นแทนล่อซื้อคดีค้าประเวณีเลี่ยงละเมิดสิทธิ-สื่อตีข่าวต้องระวัง กสม.แนะตร.ใช้วิธีอื่นแทนล่อซื้อคดีค้าประเวณีเลี่ยงละเมิดสิทธิ-สื่อตีข่าวต้องระวัง
  •  

Breaking News

สำนักพระราชวังปิดลงนามถวายพระพร 'พระองค์ภา'ที่ รพ.จุฬาฯ

'โม อมีนา'เผย'อ๋อม อรรคพันธ์'ป่วยมะเร็ง พบชิ้นเนื้อใกล้หัวใจ

ทบ.แจ้งเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ 1-16 ก.พ.66

'นอท'แย้มยังมีโปรเจ็คอีกเยอะรอคลอด อุบกลับมาขายหวยออนไลน์อีกหรือไม่?

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved