วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘กสม.’ติงออกกฎ‘ป่วยจิต’ห้ามเป็นขรก. หวั่นเอกชนเอาอย่างไม่จ้างงาน

‘กสม.’ติงออกกฎ‘ป่วยจิต’ห้ามเป็นขรก. หวั่นเอกชนเอาอย่างไม่จ้างงาน

วันพฤหัสบดี ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 13.41 น.
Tag : กสม. ขรก. ข้าราชการ จ้างงาน ป่วยทางจิต เอกชน
  •  

กสม.ติงออกกฎป่วยจิตห้ามเป็นขรก. หวั่นเอกชนเอาอย่างไม่จ้างงาน-ชี้รักษาต่อเนื่องหายขาดได้

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 เห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน


โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจโรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติโดยคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ก่อนประกาศราชกิจจานุเบกษา สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.ดังกล่าวมีการยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ขณะที่มีการเสนอให้โรคจิต (psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นลักษณะต้องห้าม

ซึ่งต่อมา กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคดังกล่าวว่าอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงการมีงานทำของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตและโรคอารมณ์ผิดปกติ และอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและตีตราว่าบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ อันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ

ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2565 กสม. จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อกรณีการกำหนดให้โรคจิต หรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน โดยมีผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนหน่วยงานด้านสุขภาพจิต คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ วุฒิสภา และภาคีเครือข่ายคนพิการร่วมให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ

“ผลจากการประชุมหารือปรากฏรายงานข้อเท็จจริงยืนยันว่า กลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและหายขาดจากโรคได้ หากได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติงานได้” นายวสันต์ ระบุ

นายวสันต์ กล่าวต่อไปว่า ในทางกลับกัน ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....  กลับมิได้ระบุลักษณะของโรคร้ายแรงอื่นที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้ด้วย ดังนั้น การระบุชื่อ “โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติ” ไว้เป็นการเฉพาะ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ และอาจเป็นการเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน อันส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิตฯ

ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในหน่วยงานของรัฐ และไม่สอดคล้องตามหลักการไม่เลือกปฏิบัติดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีให้การรับรอง นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่า การระบุให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน อาจส่งผลให้กลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ ปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการรักษา และทำให้สถานการณ์ความเจ็บป่วยทางจิตเวชในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น

ในเบื้องต้นที่ประชุมจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ข้อ 4.2 โดยนำชื่อ “โรคจิต (psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders)” ออกจากร่าง กฎ ก.พ. ดังกล่าว และนำข้อความใน กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ข้อ (5) “โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด” มาใช้ ซึ่งมีความครอบคลุมโรคโดยรวมแล้ว และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างแท้จริงได้

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษาและพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ ทั้งนี้ การกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ต้องคำนึงถึงสิทธิของคนพิการ

ซึ่งรวมถึงสิทธิของผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิต และโรคอารมณ์ผิดปกติ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิในการทำงาน สิทธิในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี รวมถึงการที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพด้วย ทั้งนี้ กสม. จะรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการ ก.พ. ต่อไป

นายวสันต์ ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตัวแทนจากสำนักงาน ก.พ. ได้รับฟังข้อห่วงใยจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในเวทีที่ กสม. และที่คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ วุฒิสภา จัดขึ้น หลังจากนี้จะได้นำข้อห่วงใยต่างๆ นำเรียนต่อ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป โดยจากการพูดคุยนั้นเข้าใจความปรารถนาดีของทาง ก.พ. ในการปรับปรุงรายละเอียดว่าด้วยโรคต้องห้าม รวมถึงต้องการทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น แต่ในที่ประชุมมองว่าจะเป็นผลเสียเพราะทำให้เกิดการตีตราและนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ

“เรื่องนี้คนที่จะวินิจฉัยจริงๆ ก็มีอยู่ไม่มาก ขณะเดียวกันกระบวนการในการวินิจฉัยก็ใช้เวลาที่นาน แต่ว่าถ้าออกกฎนี้มาก็เข้าใจว่าจะทำให้เกิดการตีความไปในทำนองที่ว่าคนเหล่านี้ทำงานไม่ได้เลย และนอกจากราชการแล้ว เอกชนหรือหน่วยงานต่างๆ ก็อาจจะเอาอย่าง แล้วก็ทำให้การรับคนเหล่านี้เข้าทำงานมีปัญหาเกิดขึ้น กระทบสิทธิ์คนเหล่านี้อย่างรุนแรง ที่อินโดนีเซียก็เคยมีกฎลักษณะนี้ออกมา ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติก็ได้ท้วงติงและเสนอให้ยกเลิก ซึ่งก็อยู่ระหว่างการดำเนินการยกเลิก ของไทยก็ไม่ควรจะใส่เข้าไป” นายวสันต์ กล่าว

น.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ในวันที่ 28 ต.ค. 2565 จะมีเวทีประชุมในเรื่องเดียวกันนี้ ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยที่ผ่านมาทาง ก.พ. ก็รับฟังอย่างมีท่าทีที่ดี และบอกว่าจะรวบรวมข้อมูลเสนอต่อรองนายกฯ วิษณุ เพื่อพิจารณาต่อไป

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กสม.หวั่นส่งผลกระทบไทยหนัก ส่ง‘อุยกูร์’กลับจีน ชี้ชัดขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน กสม.หวั่นส่งผลกระทบไทยหนัก ส่ง‘อุยกูร์’กลับจีน ชี้ชัดขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
  • ‘กสม.’ชื่นชมรัฐบาลเอาจริงออกมติครม.แก้ปัญหา‘คนไร้รัฐ’ แต่ห่วงปัญหาทุจริตทะเบียนราษฎร์ ‘กสม.’ชื่นชมรัฐบาลเอาจริงออกมติครม.แก้ปัญหา‘คนไร้รัฐ’ แต่ห่วงปัญหาทุจริตทะเบียนราษฎร์
  • ‘อุบัติเหตุบนถนน’ปัจจัยทำเด็กเสียชีวิต ‘กสม.’ยกเคส‘รถบัสมรณะ’จี้ตั้งเป็นวาระเร่งด่วน ‘อุบัติเหตุบนถนน’ปัจจัยทำเด็กเสียชีวิต ‘กสม.’ยกเคส‘รถบัสมรณะ’จี้ตั้งเป็นวาระเร่งด่วน
  • ดีเดย์ 1 พฤษภาคม! วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการ-เงินบำนาญขั้นต่ำ ดีเดย์ 1 พฤษภาคม! วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการ-เงินบำนาญขั้นต่ำ
  • ‘กสม.’ประกาศรางวัลคลิปสั้น‘ฮักบ่Hate’ วงเสวนาขอสังคมลดสื่อสารสร้างเกลียดชัง-เพิ่มกฎหมายครอบคลุม ‘กสม.’ประกาศรางวัลคลิปสั้น‘ฮักบ่Hate’ วงเสวนาขอสังคมลดสื่อสารสร้างเกลียดชัง-เพิ่มกฎหมายครอบคลุม
  • ‘กสม.’แนะทางหลวงชนบทยุติโครงการถนนผ่านพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านคลองโยง ‘กสม.’แนะทางหลวงชนบทยุติโครงการถนนผ่านพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านคลองโยง
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved