วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมกับ วิศวะ จุฬาฯ รร.อัสสัมชัญ พัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมกับ วิศวะ จุฬาฯ รร.อัสสัมชัญ พัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ

วันพฤหัสบดี ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 13.14 น.
Tag :
  •  

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ภราดา ดร.อาวุธ  ศิลาเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมกับ พลเอก ชูชาติ  บัวขาว ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยเป็นความร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็ก ระบบติดตาม และสื่อสาร โดยมีแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม(Auditorium)โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพฯ

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือ ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็ก ระบบติดตาม และสื่อสาร ในระดับโรงเรียน เป็น “โรงเรียนแรกของประเทศไทย”โดยจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับดาวเทียมขนาดเล็กทรงลูกบาศก์(CubeSat)ที่สามารถสื่อสารและตรวจจับข้อมูลได้ และรองรับการปฏิบัติการภายใต้สภาวะเสมือนอยู่ในวงโคจรต่ำร่วมกันส่งดาวเทียมขนาดเล็กทรงลูกบาศก์(CubeSat)ไปทดสอบที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) และมุ่งเน้นจัดสร้างดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อสำรวจและศึกษาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการเคลื่อนที่ลมฟ้าอากาศ จากวงโคจรต่ำ


การพัฒนาสถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณดาวเทียมระบบสถานีและระบบติดตามวัตถุและดาวเทียมเคลื่อนที่วิถีแบบ Suborbital Flight (แบบไม่ถึงชั้นวงโคจรของโลก) ซึ่งมีความเร็วเชิงมุมต่ำ จนถึงความเร็วเชิงมุมสูงการพัฒนาระบบตรวจจับและติดตามดาวเทียมและวัตถุท้องฟ้า

การพัฒนาเทคโนโลยีจรวดหยั่งอวกาศ (Sounding Rocket) เชื้อเพลิงแข็ง ระยะการเคลี่อนในแนวดิ่งไม่เกิน 10 กิโลเมตร เชื้อเพลิงแข็ง ที่สามารถออกไปสู่ชั้น Mesosphere หรือ ชั้น Thermosphere เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปล่อยวัตถุออกไปนอกอวกาศ

นอกจากนี้ ทั้ง 3 ภาคส่วน จะร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและยานยนต์ไร้คนขับการพัฒนาบุคลากร และร่วมกัน พัฒนา เผยแพร่ และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีการบินและอวกาศ แก่เยาวชนไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศ โรงเรียนอัสสัมชัญ และชมรมเทคโนโลยีการบินและอวกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการพัฒนาผลงานและเข้าร่วมการแข่งขันการพัฒนาโครงการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการ

บรรยากาศภายในงาน มีการนำเสนอผลงานของนักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยีอวกาศและการบิน ผ่านการนำเสนอเรื่องราว “ชมรมสเปส เอซี (SPACE AC)” ในมุมมองนักเรียน โดย นายสุวิจักขณ์  ปิยะนพโรจน์ สมาชิกศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมถึงนิทรรศการผลงานของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่ได้รับรางวัลแชมป์โลก จากการแข่งขัน Annual CanSat Competition 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้นำชมศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศโรงเรียนอัสสัมชัญณ ชั้น 6 อาคารอัสสัมชัญ 2003 โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพฯ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ ใช้เป็นห้องปฏิบัติการของนักเรียนชมรมสเปส เอซี(SPACE AC)

ภราดา ดร.อาวุธ  ศิลาเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญ มีแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้จากความร่วมมือครั้งนี้ ไปต่อยอดจากชมรมของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญที่ทำงานด้านเทคโนโลยีอวกาศ ไปสู่ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรม การบิน อวกาศ และเทคโนโลยีขั้นสูง จากความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต ด้านต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีการบินและอวกาศ โรบอต (Robotic, AI)เมตาเวิร์ส(Metaverse), การสร้างงานและแบบงาน 3 มิติ (3D Printer) รวมถึงเผยแพร่ และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีการบินและอวกาศ แก่เยาวชนไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศในอนาคตด้วย”

พลเอกชูชาติ  บัวขาว ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศกล่าวว่า “สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้และบุคลากร ในการต่อยอดผลสำเร็จเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าอันสูงสุด ต่อเยาวชนและประเทศชาติต่อไปในอนาคต เราจะร่วมสร้างอนาคตของประเทศไทย ด้วยการผลักดันให้เกิดคุณค่า ทางเศรษฐกิจและสังคมจาก Space Economy จึงจำเป็นต้องปฏิบัติงาน ในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อจะนำไปสู่ความร่วมมือพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนงาน ตลอดจนข้อบังคับทางกฏหมาย ด้านเทคโนโลยีการบินและอวกาศระดับชาติที่เป็นเอกภาพร่วมกันต่อไป”

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า “ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจที่จะวิจัยสร้างบุคลากร และองค์ความรู้ รวมถึงนวัตกรรมด้านอวกาศ ดาวเทียมและอากาศยานมาอย่างยาวนาน ซึ่งบันทึกความร่วมมือนี้ ถือว่าเป็นจุดเริ่มของการดึงจุดแข็งของทั้งสามหน่วยงานระดับชาติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อการพัฒนาบุคคลากรรุ่นใหม่ ๆ มาสร้างความเข้มแข็งของประเทศไทยต่อไป”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทีมนวัตกรรมไทย-คว้ารางวัล ‘นวัตกรรมระดับนานาชาติ’ ที่ประเทศญี่ปุ่น ทีมนวัตกรรมไทย-คว้ารางวัล ‘นวัตกรรมระดับนานาชาติ’ ที่ประเทศญี่ปุ่น
  • \'นฤมล-รมช.ศธ.\' ร่วมงาน \'วันสถาปนาฯ ครบรอบ 22 ปี สพฐ.\' 'นฤมล-รมช.ศธ.' ร่วมงาน 'วันสถาปนาฯ ครบรอบ 22 ปี สพฐ.'
  • รัฐบาลเตรียมจัด3งานใหญ่ของประเทศ รัฐบาลเตรียมจัด3งานใหญ่ของประเทศ
  • โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน\'ในหลวงรัชกาลที่ ๙\' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา
  • สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนา‘AI เพื่อสังคม 2025’ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนา‘AI เพื่อสังคม 2025’
  • 2 โครงการ บพท. ร่วม 25 มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก 2 โครงการ บพท. ร่วม 25 มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก
  •  

Breaking News

เปิดฉากประชุมผู้นำ'BRICS' 'จิราพร'นำคณะไทยร่วมเป็นครั้งแรก

'อินโดนีเซีย'ผวา! ภูเขาไฟปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านสูง 18 กม.

(คลิป) เปิดภาพ! รั้วกั้นปราสาทตาเมือนธม ถูกรื้อทิ้งสมัย 'ยิ่งลักษณ์' เป็นนายกฯ

ฟังเหตุผลชัดๆ 'เจิมศักดิ์' เสนอศาลฎีกาเรียกแพทองธารเป็นพยานปมชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved