วันศุกร์ ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกสว.ประสานกรมพลศึกษา ขับเคลื่อนการวิจัยยกระดับด้านกีฬาของประเทศสู่ระดับนานาชาติ

สกสว.ประสานกรมพลศึกษา ขับเคลื่อนการวิจัยยกระดับด้านกีฬาของประเทศสู่ระดับนานาชาติ

วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 17.05 น.
Tag : สกสว. กรมพลศึกษา กีฬา
  •  

สกสว. และ กรมพลศึกษา ร่วมหารือการขับเคลื่อนการวิจัยด้านกีฬา และ นันทนาการ สร้างความสุข และ สุขภาพที่ดี พร้อมยกระดับความสามารถทางด้านกีฬาสู่ระดับนานาชาติ

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)โดย ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ สกสว. พร้อมด้วย ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และเจ้าหน้าที่ สกสว.ร่วมประชุม หารือ และ ติดตามการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยมีดร.วนิดา พันธ์สอาดผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษาพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และนักวิจัย ให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


 

โอกาสนี้ ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง กล่าวว่า สกสว.มีพันธกิจในการจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณด้านววน. ของประเทศ รวมถึงบริหารระบบงบประมาณด้าน ววน. ผ่านการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. ซึ่งแบ่งออกงบประมาณเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund-SF) ตามแนวนโยบายระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ แผนด้าน ววน. หรือ ประเด็นเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งประเด็นที่เกิดจากความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงซึ่งสร้างผลกระทบในวงกว้าง ให้กับหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ทั้ง 9 แห่งและ งบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund-FF) โดยจัดสรรในรูปแบบงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานตามพันธกิจการพัฒนาประเทศ ทั้ง 190 หน่วยงาน

ทั้งนี้ สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดสรรงบประมาณสำหรับแผนงาน หรือ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือ โครงการวิจัยและนวัตกรรม ตามพันธกิจของหน่วยงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสามารถตอบสนองแนวนโยบายระดับชาติ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน และ ประเทศต่อไป  

 

ด้าน ดร.วนิดา พันธ์สอาดกล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนาและเผยเเพร่องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการออกกำลังกาย กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นพันธกิจหนึ่งของกรมพลศึกษา ที่จะต้องมีการศึกษาและวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการกีฬาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน สกสว. ได้จัดสรรงบประมาณ จากกองทุน ววน. ให้ดำเนินการศึกษาและวิจัย ในปี 64-65 อาทิ การวิจัยเรื่องตัวบ่งชี้ของการมีสุขภาพสมองที่ดี : การพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความสามารถทางสมองของวัยรุ่นไทยซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาทางด้านสุขภาพ ความคิด ร่างกาย จิตใจ ของวัยรุ่นไทยได้อย่างเหมาะสมการวิจัยเรื่อง อิทธิพลของความสามารถทางสมองที่มีต่อระดับความสามารถทางการกีฬาของนักกีฬาเยาวชนชายไทย : เครื่องมือสำหรับค้นหานักกีฬาที่มีพรสวรรค์ การวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบกิจกรรมนันทนาการที่มีผลต่อความสามารถทางสมองในผู้สูงอายุ

รวมถึงการวิจัยเรื่อง คุณลักษณะนักกีฬาระดับโลกสำหรับอนาคต : การค้นหาเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษในกีฬาฟุตบอลเพื่อเป็นต้นแบบในการค้นหาและคัดเลือกนักฟุตบอลในระดับเยาวชนและสามารถพัฒนานักฟุตบอลให้มีศักยภาพสูง ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาฟุตบอลอย่างยั่งยืนและมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในกระบวนการคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติ  และ การวิจัยเรื่อง ตัวบ่งชี้ความฉลาดจากกิจกรรมนันทนาการ : การศึกษาและพัฒนาคะแนนเกณฑ์มาตรฐานความฉลาดในการเล่นของวัยรุ่นไทย

สำหรับการวิจัย ใน ปี 2566อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ 1. การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะสำคัญของการเป็นนักกีฬาเยาวชนศักยภาพสูง : การศึกษาตัวแปรทางสรีรวิทยาสัดส่วนร่างกายทักษะกีฬาและความสามารถทางการรู้คิดของสมองของนักกีฬาฟุตบอล2. การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะสำคัญของการเป็นนักกีฬาอาชีพ : การศึกษาตัวแปรทางสรีรวิทยา สัดส่วนร่างกาย ทักษะกีฬาและความสามารถทางการรู้คิดของสมองของนักกีฬาฟุตบอล และ 3. การวิจัยเรื่อง การสร้างและพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสุขที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2567 และ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ สร้างผลกระทบด้านความสุข และสุขภาพที่ดีของคนไทย อีกทั้งยกระดับความสามารถของนักกีฬาไทยให้เทียบเท่าระดับนานาชาติ และระดับโลก 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกสว.ผนึกกำลังPMU ทำ Impact Pathway มุ่งขับเคลื่อนงานวิจัย ตอบโจทย์แผน ววน. ของประเทศ สกสว.ผนึกกำลังPMU ทำ Impact Pathway มุ่งขับเคลื่อนงานวิจัย ตอบโจทย์แผน ววน. ของประเทศ
  • สกสว.ร่วมมือกับธนาคารโลกในการพัฒนานวัตกรรมในประเทศไทย สกสว.ร่วมมือกับธนาคารโลกในการพัฒนานวัตกรรมในประเทศไทย
  • สกสว.จัดเสวนาออนไลน์แผนงานวิจัย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ EP.1: ChatGPT AI Chatbot สกสว.จัดเสวนาออนไลน์แผนงานวิจัย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ EP.1: ChatGPT AI Chatbot
  • สกสว.ร่วมมือSTCSM จีน ยกระดับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว.ร่วมมือSTCSM จีน ยกระดับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สกสว.ร่วมมือSTCSM จีน ยกระดับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว.ร่วมมือSTCSM จีน ยกระดับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • \'สกสว.-สภาพัฒน์\'ประสานพลัง ขับเคลื่อน ววน. พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ4ภาค 'สกสว.-สภาพัฒน์'ประสานพลัง ขับเคลื่อน ววน. พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ4ภาค
  •  

Breaking News

ตำรวจไซเบอร์รวบผัวเมียแสบ หลอกขายทุเรียนออนไลน์ หมายจับนับ 10 คดี

เช็กท่าทีก้าวไกล! 'ชัยธวัช'ย้ำ'รบ.แห่งชาติ'ไม่ช่วยยุติความขัดแย้ง

‘ส.ว.จเด็จ’บอกดีแล้ว ไร้การตอบรับชงตั้ง‘รัฐบาลแห่งชาติ’

‘บิ๊กโจ๊ก’จ่อสรุปคดี‘แอม’สัปดาห์หน้า อึ้งมี‘ไซยาไนด์’1ขวดในมือ พบผู้เสียชีวิต 11 ศพ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved