วันอังคาร ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
อัพเดตความรู้!เปิดผลวิจัยพบโควิด ส่งผลกระทบ‘สมองและความจำ’

อัพเดตความรู้!เปิดผลวิจัยพบโควิด ส่งผลกระทบ‘สมองและความจำ’

วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566, 08.45 น.
Tag : โควิดวันนี้ โควิด ธีระ วรธนารัตน์ หมอธีระ โอมิครอน ความจำ
  •  

อัพเดตความรู้!เปิดผลวิจัยพบโควิด ส่งผลกระทบ‘สมองและความจำ’

12 มีนาคม 2566 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 มีเนื้อหาดังนี้...


12 มีนาคม 2566

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฝรั่งเศส

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.05 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.05

...อัพเดตความรู้โควิด-19

1. กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอยู่แล้ว หากติดเชื้อโรคโควิด-19 จะประสบปัญหาความคิดความจำถดถอยลงเร็วกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ 3.6 เท่า

นี่คือผลจากการวิจัยของ Merla L และคณะ จากประเทศอิตาลี ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ Journal of Clinical Medicine เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

สะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของการดูแล ป้องกัน ไม่ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วป่วยรุนแรงและเสียชีวิตดังที่ทราบกันดี แต่หากมีโรคประจำตัวต่างๆ การติดเชื้อโควิด-19 ก็จะทำให้เสี่ยงมากขึ้น และยังส่งผลต่อโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมด้วย

2. ไวรัสโควิด-19 นั้นไม่ได้ติดเชื้อแค่ทางเดินหายใจ แต่ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทได้ โดยปัจจุบันเชื่อว่ามีกลไกที่เป็นไปได้หลายหลายกลไก

Leng A และคณะ จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่บทความวิชาการทบทวนความรู้เกี่ยวกับกลไกที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพในสมองและระบบประสาทหลังจากที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 และนำไปสู่อาการผิดปกติต่างของผู้ป่วย Long COVID ตามมา

ด้วยความรู้ปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นไปได้หลายกลไก ได้แก่ การที่ไวรัสเข้าไปที่เซลล์สมองและระบบประสาทโดยตรง (SARS-CoV-2 neurotropism), การที่ไวรัสกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กอุดตัน รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองในเวลาต่อมา (viral-induced coagulopathy), การเกิดปัญหาที่เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (endothelial disruption), การกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบทั่วร่างกายหรือในระบบต่างๆ (systemic inflammation), การกระตุ้นให้เกิดการทำงานมากขึ้นของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ (cytokine overactivation) และการเกิดการทำงานผิดปกติของเซลล์ในระบบประสาทประเภทนิวโรเกลีย (neuroglial dysfunction) ฯลฯ

ทั้งนี้นักวิจัยทั่วโลกยังคงทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์ว่ากลไกใดจะเป็นกลไกหลักที่จะอธิบายพยาธิกำเนิดของภาวะผิดปกติทางสมองและระบบประสาทในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID

...การดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ใส่ใจสุขภาพ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็น

ช่วยกันปรับสภาพแวดล้อม ที่บ้าน ที่ทำงาน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว ให้มีการระบายอากาศที่ดี

ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

อ้างอิง

1. Journal of Clinical Medicine. 25 February 2023.

2. Cells. 6 March 2023.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โควิดไทยรอบสัปดาห์ขยับ เสียชีวิต68ศพ ยอดติดเชื้อเพิม3,085ราย โควิดไทยรอบสัปดาห์ขยับ เสียชีวิต68ศพ ยอดติดเชื้อเพิม3,085ราย
  • สธ.ยันเตียงมีพอ  ทั่วปท.ใช้ไป22%  จี้ฉีดวัคซีนโควิด สธ.ยันเตียงมีพอ ทั่วปท.ใช้ไป22% จี้ฉีดวัคซีนโควิด
  • นายกฯห่วงผู้เสียชีวิตจาก‘โควิด’ยังเป็นกลุ่ม608 ย้ำพา‘ผู้สูงอายุ-กลุ่มเสี่ยง’รับวัคซีนประจำปี นายกฯห่วงผู้เสียชีวิตจาก‘โควิด’ยังเป็นกลุ่ม608 ย้ำพา‘ผู้สูงอายุ-กลุ่มเสี่ยง’รับวัคซีนประจำปี
  • ป่วยโควิดขยับ  สายพันธ์ุXBB.1.16 รุกไทย  ระบาดกระจุกตัวกทม. ป่วยโควิดขยับ สายพันธ์ุXBB.1.16 รุกไทย ระบาดกระจุกตัวกทม.
  • ‘โควิด’แรง!แนะฉีดวัคซีน‘เข็มกระตุ้น’ประจำปี ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต ‘โควิด’แรง!แนะฉีดวัคซีน‘เข็มกระตุ้น’ประจำปี ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต
  • ‘ศิริราช’แจงเตียงเต็ม  ผู้ป่วยโควิดล้น  ฝ่ายฉุกเฉินรับเพิ่มไม่ได้ ‘ศิริราช’แจงเตียงเต็ม ผู้ป่วยโควิดล้น ฝ่ายฉุกเฉินรับเพิ่มไม่ได้
  •  

Breaking News

‘มะพร้าว’ : น้ำหน้าร้อน

อาหารกับโรคประจำตัว เรื่องที่หลายคนมองข้าม

มาแน่! วันนี้ทั่วไทยฝนตกหนักมาก 'กทม.-ปริมณฑล'ไม่รอดร้อยละ 60

ลูกหนี้กู้ซื้อบ้านแย่ ดอกเบี้ยแพงจ่ายค่างวดเพิ่ม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved