วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘อลงกรณ์’อบรมครูยางฯ ชูโครงการนวัตกรรมยางภาคใต้

‘อลงกรณ์’อบรมครูยางฯ ชูโครงการนวัตกรรมยางภาคใต้

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : กยท การยางแห่งประเทศไทย ยางพารา
  •  

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดโครงการฝึกอบรมครูยางอาสา หลักสูตร“การถ่ายทอดเทคโนโลยียางสำหรับครูยาง” ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูยางอาสาได้รับทราบนโยบายการส่งเสริมการเกษตรด้านยางพาราของ กยท.และนำความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยี ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีครูยางอาสาในสังกัด กยท.ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เข้าอบรม


นายอลงกรณ์กล่าวว่า กยท.มีแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ : SECri (SouthernEconomic Corridor of RubberInnovation) โดยโครงการดังกล่าว เดิมคือโครงการจัดตั้งพื้นที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ (Rubber Valley) ที่เคยศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณ อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ขนาดประมาณ 3,500 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาต่อยอดกิจการและความเป็นอยู่ของชาวสวนยางพาราให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อศึกษาความเป็นไปได้พบว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา หรือเป็นพื้นที่ส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา เพื่อรองรับการแปรรูปยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การเป็นต้นแบบเกษตรกรรมสวนยางอย่างยั่งยืนและเกษตรกรรมสวนยาง

อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่ง กยท.กำกับดูแล ในบริเวณ อ.ช้างกลาง (ส่วนที่เหลือจากพื้นที่โครงการฯ) ขนาดพื้นที่ประมาณ 7,910 ไร่ และในบริเวณ อ.ทุ่งใหญ่ ขนาดพื้นที่ประมาณ 25,610 ไร่ มีความเหมาะสมในเบื้องต้นที่จะเป็นพื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรรมสวนยางอย่างยั่งยืนและเกษตรกรรมสวนยางแบบผสมผสาน โดยมี5 Key Moves ของ SECri ได้แก่ 1.การเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมยางพาราไทยด้วยนวัตกรรม (Strengthen)2.การสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมยางพาราที่ครบวงจร (Establish) 3.การเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายถนน เรือ ราง และอากาศ (Connect) 4.ยกระดับเสถียรภาพราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางพารา (Raise) และ 5.บูรณาการระบบต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ยางพารา (Integrate)

อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการลงทุนทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ GPP จังหวัดเพิ่มขึ้น ขยายการสร้างงาน ต่อยอดสู่การพัฒนาการเปิดประมูลยางพาราตลาดท้องถิ่นซึ่งมีแผนพัฒนาโครงการ พ.ศ.2567-2573 งบประมาณ 10,200 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม...จุดเปลี่ยนสู่อนาคตที่สดใส สวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม...จุดเปลี่ยนสู่อนาคตที่สดใส
  • กยท.เดินหน้ามาตรการแสดงแหล่งกำเนิดผลผลิตยาง สร้างโอกาสขยายตลาด-ยกระดับมาตรฐาน กยท.เดินหน้ามาตรการแสดงแหล่งกำเนิดผลผลิตยาง สร้างโอกาสขยายตลาด-ยกระดับมาตรฐาน
  • กยท.ยันประกันรายได้  ชาวสวนยางระยะ4จ่ายถึงมือ กยท.ยันประกันรายได้ ชาวสวนยางระยะ4จ่ายถึงมือ
  • กยท.ขานรับยุทธศาสตร์ยางพารา20ปี กยท.ขานรับยุทธศาสตร์ยางพารา20ปี
  •  

Breaking News

ติด'Top100' นายกฯยินดี 4 มหาวิทยาลัยไทย สุดโดดเด่นในเวทีโลก

'ตม.อุบลฯ'ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล

ศรัทธาไทย-ลาว เวียนเทียนวันวิสาขบูชา บูชา'อุรังคธาตุ'วัดพระธาตุพนมฯ

ผู้ว่าฯชัชชาติ! ผ่านมา 1 ปี'คนกรุง'มองอย่างไร? ต่อผลงาน 17 ด้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved