วันพุธ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'ตร.ไซเบอร์'แนะปชช.วิธีตรวจสอบ‘เพจปลอม’ ถ้าถูกหลอกรีบแจ้งแบงก์ระงับบัญชีทันที

'ตร.ไซเบอร์'แนะปชช.วิธีตรวจสอบ‘เพจปลอม’ ถ้าถูกหลอกรีบแจ้งแบงก์ระงับบัญชีทันที

วันศุกร์ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 22.35 น.
Tag : ตำรวจไซเบอร์ เพจปลอม
  •  

ตำรวจไซเบอร์แนะปชช.วิธีตรวจสอบ‘เพจปลอม’ ย้ำหากถูกหลอกรีบแจ้งแบงก์ระงับบัญชีก่อนแล้วค่อยแจ้งความ

25 ส.ค. 2566 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม จัดการบรรยายเรื่อง “วัคซีนไซเบอร์ (Vaccine Cyber)” โดยวิทยากรคือ พ.ต.ท.ดร.ปุริมพัฒน์ ธนาพันธ์สิริ รองผู้กำกับการ กองกำกับการ 4 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวถึงเรื่องการปลอมแปลงเพจเฟซบุ๊กเพื่อใช้หลอกเหยื่อทั้งการขายสินค้าออนไลน์และการหลอกให้ลงทุน (เช่น หุ้นหรือสกุลเงินดิจิทัล) ว่า มีวิธีสังเกตเพจที่เชื่อถือได้ หรือเพจที่น่าสงสัยว่าเป็นของมิจฉาชีพ ดังนี้


1.เครื่องหมายถูกสีฟ้าที่ชื่อเพจ โดยองค์กรที่เป็นเจ้าของเพจต้องเสียค่าบริการเดือนละ 349 บาทให้กับทางเฟซบุ๊กเพื่อยืนยันว่าเป็จเพจจริง 2.จำนวนคนกดถูกใจ (Like) กดติดตาม (Follow) หรือแสดงความคิดเห็น (Comment) หากเป็นเพจจริงของบุคคลหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงแล้วโดยปกติยอดผู้ติดตามมักจะสูง แต่หากเพจใดมียอดเหล่านี้น้อยอย่างน่าสงสัย เช่น กดถูกใจ 2 คน ก็ให้คิดไว้ก่อนว่าเพจนี้น่าสงสัย

3.ประวัติการตั้งเพจ สามารถดูได้ในหมวด “เกี่ยวกับ” และ “ความโปร่งใสของเพจ” โดยหากเป็นเพจที่สร้างมานานแล้วก็ค่อนข้างน่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องดูการเปลี่ยนชื่อเพจด้วยเพราะบางเพจมีการเปลี่ยนชื่ออย่างน่าสงสัย อาทิ ตั้งเพจครั้งแรกเป็นเพจนาฬิกา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเพจทุเรียน จากนั้นก็พบว่าเปลี่ยนเป็นเพจอุปกรณ์เล่นวีดีโอเกม รวมการเปลี่ยนชื่อเพจ 3 ครั้งเป็นสินค้าคนละออย่าง ลักษณะนี้ก็ดูไม่ปกติ และ 4.คนดูแลเพจ (แอดมิน) อาทิ ชื่อเพจเป็นแม่ค้าออนไลน์ชื่อดังท่านหนึ่งในประเทศไทย แต่แอดมินเพจอยู่ที่ประเทศจีน 4 คน อาร์เจนตินา 1 คน อยู่ที่กัมพูชา 1 คน 

“พวกนี้จะซื้อเพจปลอมต่อกันมาเรื่อยๆ และทุกครั้งที่เขาซื้อมันจะมีคนเข้ามาติดตามเยอะขึ้นเรื่อยๆ อย่างเพจนี้ถ้าเราอยากจะรู้ว่ามันจริงหรือเปล่า เราดูอันแรกไม่มีติ๊กถูกก็เริ่มไม่มั่นใจแล้วว่ามันเป็นเพจอะไรกันแน่ เข้ามาดูความโปร่งใสของเพจ กดเลยครับทั้งหมด สร้างเมื่อปี 2022 ใช่ไหม ดูเลย คุณเทรดเก่งนักใช่ไหม เหมือนเดิมเลยครับ สร้างเมื่อปี 2022 คนดูแล กัมพุชา ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ อินเดีย เวียดนาม ไม่ใช่ของไทยแน่ครับ อันนี้อันตรายแน่” พ.ต.ท.ดร.ปุริมพัฒน์ กล่าว

ด้าน พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 บช.สอท. เปิดเผยว่า ในช่วงเวลาปีเศษๆ ในประเทศไทยเกิดความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์ คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ตำรวจสามารถตามอายัดเงินไว้ได้เพียง 700 กว่าล้านบาท มีผู้เสียหายแล้วกว่า 3 แสนราย ซึ่งจำนวนนี้นับเฉพาะคนที่มาแจ้งความเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วน่าจะมีกว่านี้เพียงแต่อาจถูกหลอกเป็นจำนวนเงินไม่มากจึงปล่อยผ่าน ส่วนเหตุอาชญากรรมออนไซเบอร์ที่ได้รับแจ้งมากที่สุด คือการซื้อของแล้วไม่ได้ของตามที่ผู้ขายแจ้งไว้

ขณะที่ในเดือน ก.ค. 2566 เพียงเดือนเดียว เท่าที่มีการมาแจ้งความพบความเสียหายรวมคิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 1 พันล้านบาท และข้อมูลของวันที่ 21 ส.ค. 2566 เพียงวันเดียว มียอดความเสียหายในระบบการแจ้งความถึง 56 ล้านบาท ทั้งนี้ ลำพังกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) เพียงหน่วยเดียวจากทั้งหมด 5 กองบังคับการ แต่ละวันรับแจ้งความจากประชาชน 50-60 คน หรือ 3 หมื่นคดีต่อปี ยอคความเสียหายอยู่ที่ 10 ล้านบาทต่อวัน

“เวลาเกิดเหตุแก๊งดูดเงิน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โรแมนซ์สแกม ไฮบริดสแกม อะไรก็แล้วแต่ แล้วรู้ว่าโดนดูดเงินไป โดนโกงไป ท่านยังไม่ต้องรีบหาตำรวจ ท่านโทร.ไปที่เบอร์โทรศัพท์ด่วนของแต่ละแบงก์ โทร.ไปเลยครับ เพื่อรีบระงับบัญชี แต่การระงับบัญชีของเราเขาจะระงับได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง จากนั้นท่านไปโรงพักที่ใกล้บ้าน ตรงไหนก็ได้ ขอเลขเคสไอดีแบงก์มาให้แล้วแจ้งความเลย แล้วเอาตราครุฑมาให้แบงก์ เพื่อใช้คำว่าอายัดบัญชี ของพนักงานธนาคารศูนย์กลางเขาจะใช้คำว่าระงับบัญชี” พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์

พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมประเด็นการรับรองเพจเฟซบุ๊ก ว่า การมีเครื่องหมายถูกที่เพจเฟซบุ๊กแสดงว่าเพจนั้นเป็นเพจจริง แต่ก็มีบริษัทหรือองค์กรอีกมากที่ไม่ลงทุนให้มีเครื่องหมายถูกบนเพจของตนเอง จึงแนะนำประชาชนให้ดูยอดคนกดถูกใจ กดติดตาม หรือแสดงความคิดเห็น ตลอดจนประเทศที่อยู่ของแอดมินเพจประกอบด้วยว่าเพจนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่

-001

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ตำรวจไซเบอร์รวบเครือข่ายแอป‘ไทยเดลี่’ ตุ๋นอ่านข่าวแล้วได้ตังค์ เหยื่อสูญเฉียด 4 ล้าน ตำรวจไซเบอร์รวบเครือข่ายแอป‘ไทยเดลี่’ ตุ๋นอ่านข่าวแล้วได้ตังค์ เหยื่อสูญเฉียด 4 ล้าน
  • ‘เพจเฟซบุ๊กปลอม’ดูอย่างไร!แนะ‘3 เทคนิค’เช็คหลอกขายของออนไลน์ ยอดติดตามเกินจริง ‘เพจเฟซบุ๊กปลอม’ดูอย่างไร!แนะ‘3 เทคนิค’เช็คหลอกขายของออนไลน์ ยอดติดตามเกินจริง
  • ‘คอหวย’ระวัง!‘ตำรวจไซเบอร์’เตือนเพจขายลอตเตอรี่ออนไลน์ปลอมระบาดหนัก ‘คอหวย’ระวัง!‘ตำรวจไซเบอร์’เตือนเพจขายลอตเตอรี่ออนไลน์ปลอมระบาดหนัก
  • คนหลอกคืนหลอน‘ฮาโลวีน’!ระวังลวงแจก‘ของฟรี’เอาข้อมูลส่วนตัว ตุ๋นโอนเงินค่าประกัน คนหลอกคืนหลอน‘ฮาโลวีน’!ระวังลวงแจก‘ของฟรี’เอาข้อมูลส่วนตัว ตุ๋นโอนเงินค่าประกัน
  • เปิดเล่ห์แก๊งคอลฯ!รวบอีกหนึ่งอ้างเป็นตำรวจ หลอกเหยื่อติดตั้งแอปดูดเงินกว่า 3 ล้าน เปิดเล่ห์แก๊งคอลฯ!รวบอีกหนึ่งอ้างเป็นตำรวจ หลอกเหยื่อติดตั้งแอปดูดเงินกว่า 3 ล้าน
  • ‘ข้าราชการเกษียณ’ระวัง!ตำรวจไซเบอร์เตือน 3 ภัยออนไลน์หลอกตุ๋นสูญเงิน ‘ข้าราชการเกษียณ’ระวัง!ตำรวจไซเบอร์เตือน 3 ภัยออนไลน์หลอกตุ๋นสูญเงิน
  •  

Breaking News

มท.เปิดตัวเลขลงทะเบียน‘หนี้นอกระบบ’วันที่ 6 ยอดมูลนี้พุ่งรวม 3.3 พันล้านบาท ‘กทม.’ยังแชมป์

ศธ.ร่ายยาวสารพัดปัญหาต้นเหตุฉุด PISA ตกต่ำ ลั่นปี2025ต้องดีขึ้น

พรุ่งนี้ปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน0.50บ./ลิตร ส่วนน้ำมันในกลุ่มดีเซลราคาคงเดิม

แนวหน้าTalk EP.31 : 'ปรเมษฐ์ ภู่โต' คุยกับ 'ชัชวาล แพทยาไทย' มือเปิดประเด็นหมูเถื่อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved