วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สอวช.จับมือ ม.อ.หนุน ECOtive นิเวศสร้างสรรค์ปัตตานี ยกระดับชุมชน แก้ปัญหาความยากจน

สอวช.จับมือ ม.อ.หนุน ECOtive นิเวศสร้างสรรค์ปัตตานี ยกระดับชุมชน แก้ปัญหาความยากจน

วันศุกร์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566, 12.18 น.
Tag : สอวช การศึกษา ปัญหายากจน
  •  

สอวช.จับมือ ม.อ.หนุน ECOtive นิเวศสร้างสรรค์ปัตตานี ยกระดับชุมชน แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน 

ปัตตานี เป็นจังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ สวนทางกับความจริงในอดีต ที่ปัตตานี เคยเป็นเมืองท่าโบราณ ร่ำรวยทั้งวัฒนธรรมและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เชื่อมร้อยสังคมแบบพหุวัฒนธรรม สะท้อนออกมาในรูปของ อาหารของกลุ่มวัฒนธรรมมลายู จีน ไทย งานสถาปัตยกรรมทั้งเรือนพัก อาคารพาณิชย์ วังเก่า สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย รวมถึงดนตรี ศิลปะการแสดง ภายในเมืองปัตตานี เชื่อม 4 ชุมชน ไว้ด้วยกัน ได้แก่ ย่านชุมชนจีนหัวตลาด (กือดาจีนอ) ย่านชุมชนชิโนโปรตุกีส (กลุ่มอาคาร สไตล์ตะวันตก ถนนฤาดี) ย่านชุมชนมลายู (จะบังติกอ) และย่านชุมชนมุสลิม (บริเวณมัสยิด กลางปัตตานี) แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมที่เป็นเสน่ห์ของปัตตานี 


ด้วยเห็นในศักยภาพของแต่ละชุมชน ที่สามารถต่อยอดสู่ความเจริญแบบหยั่งรากเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้กับ ชาว จ.ปัตตานี สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขาปัตตานี จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาระบบนิเวศสร้างสรรค์ เพื่อการเป็นผู้ประกอบการรายย่อยสู่โมเดลพึ่งตนเอง แก้จนนจังหวัดปัตตานี หรือ ECOtive นิเวศสร้างสรรค์ปัตตานีโมเดล เพื่อพัฒนาและทดลองเชิงนโยบายเพื่อออกแบบกลไกการพัฒนาพื้นที่และเศรษฐกิจฐานราก 

 

 

ดร.สิรินยา ลิม ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจนวัตกรรม สอวช. กล่าวว่า สอวช. ในฐานะหน่วยงานด้านนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเอาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมไปเป็นเครื่องมือในการช่วยเพิ่มรายได้ประชากรกลุ่มฐานราก โดยเฉพาะคนยากจนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดของทุนด้านต่าง ๆ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถนำทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดมาบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเลือกพื้นที่ จ.ปัตตานี เนื่องจากที่นี่ติดอันดับความยากจนมาตลอด และยังเป็นที่ซึ่งคนที่อื่นก็จะไม่ค่อยกล้าเข้ามา การพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมขึ้นในพื้นที่นี้ จึงนับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายของหน่วยนโยบาย อย่างไรก็ตาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะช่วยเปลี่ยนมุมมองหลายอย่าง ทั้งคนในเองและคนนอกด้วย สำคัญที่สุดคือเปลี่ยนมุมมองคนที่คิดนโยบายจากส่วนกลาง เพราะเมื่อเราเข้ามาทำความเข้าใจพื้นที่จริง ๆ แล้ว ทำให้เรารู้ว่าแม้ในพื้นที่ที่ถูกมองว่ามีความท้าทายหรือข้อจำกัดมากมาย แต่ผู้คนในพื้นที่กลับมีความกระตือรือร้นมากที่จะพัฒนานวัตกรรม และการนำแนวคิดดังกล่าวเข้าไปในพื้นที่ ไม่ได้เป็นเรื่องยากจนเกินไป แล้วก็เป็นการพัฒนาที่ทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะคนในชุมชนที่สุดท้ายแล้วจะมีความสุขกับนโยบายต่าง ๆ ที่ลงมาด้วย เนื่องจากมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันคิดมาตั้งแต่ต้น

 

 

“เราอยากจะจุดประกายให้คนในชุมชนสามารถสร้างสรรค์และคิดสิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมาสร้างเป็นมูลค่า เป็นกิจกรรม เป็นสิ่งใหม่ ซื่งเหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่าเป็นนวัตกรรม กิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าบรรลุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างมาก และจากที่เราได้ลงมาเห็น มาสัมผัสความสวยงามของธรรมชาติ วัฒนธรรมชุมชน ก็อยากให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ให้มาก และพยายามดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น อย่างไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค เราสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้นมาได้เรื่อย ๆ” คุณสิรินยา กล่าว 

รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา ที่ปรึกษา สอวช. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เราได้ความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ ทั้งผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ช่วยมาประกอบกัน เอาสิ่งละอันพันละน้อยมาร่วมกันจัดขึ้นให้เป็นงานที่น่าสนใจและเป็นที่น่าผ่อนคลาย พักผ่อน และเป็นตลาดธุรกิจเล็ก ๆ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานจากหลายภาคส่วน ได้ให้ความเห็น ให้คำแนะนำ ตั้งคำถาม เหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ชุมชนได้รู้ว่าเขาจะต้องไปปรับปรุงอะไร เพิ่มเติมอะไร ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า เขามาถูกทาง มันสร้างความมั่นใจให้เขา และทำให้การนำเสนอของเขามีชีวิตชีวา หลายผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนพัฒนาขึ้นมามีคนอยากซื้อ โครงการ ECOtive มาช่วยเติมเต็มด้วยกระบวนการวิจัย ทำให้มองเห็นชุมชนและมองเห็นเครื่องมือบางอย่างที่จะช่วยให้เกิดชีวิตชีวาในชุมชน ถามว่า ECOtive แตกต่างจากโครงการอื่นอย่างไร ต้องบอกว่าจุดเด่นของโครงการเราคือการใช้ต้นทุนจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนต่อยอดด้วยนวัตกรรมขึ้นไปเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ ร่วมกับการพัฒนาเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น

 

 

ด้าน ดร.ศริยา บิลแสละ หัวหน้าโครงการฯ ECOtive กล่าวว่า  กิจกรรม ECOtive เป็นการรวมตัวของนักวิจัย ในการที่จะเข้าไปพัฒนาชุมชน ให้มีการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชน โดยการมองทรัพยากรในชุมชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ทุนทางสังคม  ที่ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรในพื้นที่  ปราชญ์ชาวบ้าน การศึกษาต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน เราเข้าไปพูดคุยกับชุมชน และช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่า คนในชุมชนมีศักยภาพอะไรบ้าง ที่เราจะสามารถพัฒนาและดึงศักยภาพของเขาออกมา ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในชุมชน ให้พวกเขามีความคิดในเรื่องของการเป็นผู้ประกอบการ เราจะยกระดับปากท้อง สร้างเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้น ทำให้คนในชุมชนลดปัญหาความยากจนลง ทุกคนมีรายได้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ 

“ECOtive  ทำหน้าที่มองหาและพยายามที่จะสร้างสรรค์ ไอเดีย หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ชุมชน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต่าง ๆ ตอบโจทย์ความต้องการคนในชุมชนเอง หรือแม้แต่คนภายนอกได้  เวลาเราเข้าไปยังพื้นที่ เราจะเห็นศักยภาพของผู้นำ ศักยภาพของคนในชุมชนเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน  ที่มีการรวมตัวกัน นำเสนอไอเดีย เช่น อยากจะทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม  อันนี้เป็นลักษณะของคนในชุมชนที่เราเข้าไปจุดประกาย พยายามปรับกระบวนการความคิดเขาเพื่อให้คมขึ้นเพื่อเป็นผู้ประกอบการที่สามารถให้บริการ หรือผลิตบางสิ่งบางอย่างออกมาแล้วขายออกสู่ตลาด มีรายได้เข้ามาในชุมชนได้จริง นั่นคือเป้าหมายของเรา” ดร.ศริยา กล่าว  

 

 

ดร.ศริยา กล่าวด้วยว่า ในช่วงแรกของการสร้าง นิเวศสร้างสรรค์ปัตตานี เพื่อยกระดับปากท้องของชุมชน เรามองว่าเรากำลังถางทาง ขุดค้นแสวงหา กลุ่มคน กลุ่มเยาวชน กลุ่มแกนนำ ที่จะมาเป็นตัวขับเคลื่อนคนในชุมชน เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาบางสิ่งบางอย่างไปด้วยกันได้ เราเข้าไปเปลี่ยนวิธีคิดที่เป็นแนว Passive คือ แนวแบบนิ่ง ๆ รับอย่างเดียว ให้กลายเป็น Active คือกระตือรือร้นที่จะทำ สามารถกระตุ้นคนในชุมชนให้ Active ตาม และคิดว่าเราผลิตอะไรแล้วขายได้ สามารถเอาเงินหมุนกลับเข้ามาสู่ชุมชน ทำให้คนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นพลังของชุมชนคือทุกคนต้องแอคทีฟ เมื่อกระบวนการคิดที่ทำให้เขาได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว นำไปสู่การต่อยอดจากความคิดให้เห็นรูปเห็นร่างของผลิตภัณฑ์และบริการ  ที่เมื่อสำเร็จแล้วสามารถออกสู่ตลาดได้ แต่ทั้งนี้เราจะต้องมองว่า สิ่งที่เราผลิตมันจะทำให้เกิดอิมแพคภาพใหญ่ และสามารถขยายโอกาสไปสู่ชุมชนรอบนอก ชุมชนที่มีกลุ่มคนที่สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น และสินค้าที่เราให้บริการ ตอบโจทย์ตลาดได้ 

หัวหน้าโครงการ ECOtive กล่าวด้วยว่า ก้าวเล็ก ๆ ของเราเริ่มจากการใช้เฟรมเวิร์คของกระบวนการโค้ช ที่เราเรียกว่า OSCAR model เป็นเฟรมเวิร์ค ที่จะทำให้คนในชุมชนคิดอย่างเป็นระบบ ตัว O คือ Output หรือ Outcome ที่จะให้ชุมชนมองเป้าหมาย และความสำเร็จของเขาว่าคืออะไร ตัว S คือ Situation เป็นสถานการณ์ปัจจุบันของเขาที่มีอยู่ว่าคืออะไร และต้องการให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของเขาไปอยู่ในรูปแบบไหน เขาฝันอยากเห็นเป็นอะไร ตัว C คือ Choice หมายถึงเส้นทางหรือทางเลือก ที่จะทำให้ตัวเขามีโอกาสในการที่จะพัฒนา  อย่างไรก็ตามในทุกเส้นทางมีทั้งบวกและลบ ถ้าเป็นบวกเราจะมีเส้นทางที่จะทำให้มันมีการเพิ่มบวกได้กี่อย่าง แต่ถ้าเป็นลบเราจะให้ทางเลือกเลี่ยงที่จะเป็นลบได้อย่างไร  ตัว A  คือ Action เราจะทำให้ชุมชนปฏิบัติได้อย่างไร ชุมชนจะต้องคิดและวางแผนว่า ในสามเดือน จะทำอะไร 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือนทำอย่างไรเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายและต้องใช้เวลากี่ปี ตัวสุดท้ายคือ ตัว R คือ Review เป็นการประเมินตรวจสอบการทำงานของตัวเอง ของชุมชน ในกระบวนการที่คิดทั้งหมด ถ้าคะแนนเต็มสิบเขาให้คะแนนตัวเองอยู่ที่เท่าไหร่

หัวหน้าโครงการ ECOtive กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการในปีที่ 2 ซึ่งที่ผ่านมาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยในปีที่ 3 และปีถัด ๆ ไป จะหากลไกที่ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่แค่การทดลองเชิงนโยบาย แต่เราต้องการพัฒนาชาวชุมชนปัตตานีให้เป็นผู้ประกอบการที่พึ่งพาตนเองได้.-008 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ศธ.\'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม 'ศธ.'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม
  • พาน้องกลับมาเรียน! ‘สพฐ.’เดินหน้าพาเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา พาน้องกลับมาเรียน! ‘สพฐ.’เดินหน้าพาเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา
  • เด็กต้องมีที่เรียน! ‘บิ๊ก สพฐ.’ย้ำ รร.ยังว่าง รับ ม.1,ม.4 อีกกว่า 3 แสนคน เด็กต้องมีที่เรียน! ‘บิ๊ก สพฐ.’ย้ำ รร.ยังว่าง รับ ม.1,ม.4 อีกกว่า 3 แสนคน
  • ‘ศศินทร์’ชวนผู้สนใจร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เชี่ยวชาญการศึกษา ‘ศศินทร์’ชวนผู้สนใจร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เชี่ยวชาญการศึกษา
  • 4-10 เมษายน นี้ สกร.เปิดสมัครสอบเทียบครั้งที่ 1 4-10 เมษายน นี้ สกร.เปิดสมัครสอบเทียบครั้งที่ 1
  • \'บอร์ดคุรุสภา\'มีมติรับรองปริญญา-ประกาศนียบัตรฯ และเปลี่ยนแปลงการรับรองปริญญา-ประกาศนียบัตรฯของสถาบันอุดมศึกษา 'บอร์ดคุรุสภา'มีมติรับรองปริญญา-ประกาศนียบัตรฯ และเปลี่ยนแปลงการรับรองปริญญา-ประกาศนียบัตรฯของสถาบันอุดมศึกษา
  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved