วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ร่างกม.คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คาดออกเร็วสุดมิถุนาง68-แนะอบรมทักษะต้องสอดคล้องสมัยใหม่

ร่างกม.คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คาดออกเร็วสุดมิถุนาง68-แนะอบรมทักษะต้องสอดคล้องสมัยใหม่

วันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 17.08 น.
Tag : คุ้มครองแรงงาน แรงงาน แรงงานนอกระบบ
  •  

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet Thailand) และโครงการพัฒนาความรู้และความเข้มแข็งกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานเสวนา “เปิดความคิด สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาชีวิตแรงงานนอกระบบ” ที่ รร.ดิเอมเมอรัลด์ ย่านรัชดา-ห้วยขวาง กรุงเทพฯ

นายธนิต โสรัตน์ ประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ชุดที่ 20 (ชุดปัจจุบัน) กล่าวว่า แรงงานนอกระบบซึ่งมีอยู่ประมาณ 21 ล้านคน เป็นกลุ่มเปราะบาง มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงหลักประกันและสวัสดิการของรัฐ มีรายได้ไม่เพียงพอ บางส่วนถึงขั้นมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และมีความเสี่ยงเรื่องความยั่งยืนในการทำงาน ที่สำคัญคือ แรงงานนอกระบบในประเทศไทยจำนวน 1 ใน 4 หรือราว 4.8 ล้านคน เป็นผู้สูงวัย หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีชึ้นไป ซึ่งการศึกษาวิจัยและการออกกฎหมายต้องไม่ลืมเรื่องนี้


“12 ล้านคนเป็นเกษตรกร แล้วก็กระจายไปอยู่ในภาคบริการ อยู่ในฟรีแลนซ์ เฉพาะพวกไรเดอร์-มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตัวเลขก็ประมาณ 3-4 แสนคน ยังมีพวกแท็กซี่ที่เราต้องเอามาบูรณาการด้วย ประมาณร่วมแสนคน 89,000 คน นี่คือตัวเลขเมื่อ 2 ปี แม่ค้าแผงลอยซึ่งตัวเลขยังไม่ชัดเจน ยังมีแรงงานในครัวเรือน ตัวเลขล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีถึง 3 แสนคน นี่ผมยกตัวอย่างมาโดยสังเขป ให้เห็นฉากทัศน์ของการกระจายตัวของแรงงานนอกระบบ” ประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ชุดที่ 20 กล่าว

นางระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ให้นิยามการจ้างแรงงานนอกระบบ ว่า สามารถนับได้ทั้งฝั่งหน่วยธุรกิจและฝั่งแรงงาน หมายถึงไม่ได้อยู่ในระบบทะเบียนของธุรกิจและของแรงงาน โดยธุรกิจไม่ได้จดทะเบียนและแรงงานก็ไม่ถูกนับว่ามีนายจ้าง นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจในระบบที่จ้างแรงงานแบบนอกระบบ เช่น จ้างรายวัน-รายชั่วโมง บางคนทำงานมาเป็นสิบปีก็ยังไม่ถูกบรรจุเข้าเป็นลูกจ้างอย่างเป็นทางการ

โดยการเกิดขึ้นของการจ้างงานแบบนอกระบบ หรือแรงงานนอกระบบ ไม่ได้เกิดเพราะตั้งใจเลือก แต่เป็นเพราะเศรษฐกิจในระบบไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของแรงงานและกิจการต่างๆ ได้ นอกจากนั้น หลักคิดแบบทุนนิยมมักมองเรื่องการลดต้นทุน ท่ามกลางการแข่งขันของภาคธุรกิจที่สูงขึ้น จึงเกิดการใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งบางครั้งก็นึกไม่ถึงว่าจะมี ทั้งนี้ มีข้อค้นพบว่า โลกหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 มีแนวโน้มการจ้างงานแบบนอกระบบเพิ่มมากขึ้น แต่แรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบาง และมีแนวโน้มถูกเอารัดเอาเปรียบ

ทั้งนี้ ข้อแนะนำที่ 204 ของ ILO ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2556 และยังแนะนำจนถึงปัจจุบัน คือ แรงงานนอกระบบไม่ได้เกิดจากการเลือก แต่เกิดจากการขาดโอกาสในการจ้างงาน ซึ่งการที่แรงงานจะเข้าสู่ระบบที่เป็นทางการได้ต้องมีนโยบายที่เอื้อด้วย ทั้งนโยบายภาษี นโยบายท้องถิ่น นโยบายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนโยบายต่อธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้ใช้แรงงานนอกระบบอยู่มาก แต่ SME ก็มีข้อจำกัดในการเข้าระบบ เช่น ต้นทุนในการจดทะเบียน จึงต้องมีนโยบายที่อำนวย

“คนที่เพิ่งออกจากคุก เขามีกฎหมายที่ห้ามทำงานถ้ายังพ้นโทษไม่เกิน 3 ปี สิ่งเหล่านี้มันก็สร้างความยากลำบากกับคนที่พ้นโทษมาก เขาจะหางานทำไม่ได้เลย งานที่เป็นอยู่ในระบบ ก็ดีใจว่า ทางกระทรวงแรงงานได้พยายามเจรจากับนายจ้างในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ว่าจะลดหรือบริการ ก็จะลดเงื่อนไขตรงนี้ได้ไหม? ว่าไม่ต้องถึง 3 ปีได้ไหม? ทำเลยได้ไหม? หรือทำหลังพ้นโทษ 1 ปี? ทำนองนี้ ก็คิดว่าอันนี้มันก็เป็นการที่จะช่วยให้แรงงานที่ต้องอยู่ภาคนอกระบบได้เข้ามา เราอาจต้องไปดูเงือนไขต่างๆ เหล่านี้ ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง” นางระกาวิน กล่าว

นางนภสร ทุ่งสุกใส ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการผลักดันกฎหมาย (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ..... ว่า เดิมทีต้องการเร่งจัดทำตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนแต่ก็ทำไม่สำเร็จ ล่าสุดกำลังอยู่ระหว่างสรุปความคิดเห็นจากที่เปิดรับฟัง ก่อนที่กระทรวงแรงงานจะส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระ และที่ประชุมวุฒิสภา ตามลำดับ โดยคาดว่าน่าจะผ่านออกมามีผลบังคับใช้ได้ประมาณเดือน มิ.ย. 2568

โดยร่างกฎหมายจะแบ่งแรงงานที่เข้าข่ายได้รับความคุ้มครองอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น หาบเร่แผงลอย มอเตอร์ไซค์รับจ้าง กับ 2 ผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ เช่น ผู้รับงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งนอกจากไรเดอร์ส่งสิ่งของต่างๆ แล้วยังมีแพลตฟอร์มรับงานนวดหรือรับทำความสะอาดตามบ้าน เหตุที่เรียกว่ากึ่งอิสระเพราะแรงงานเหล่านี้ต้องอาศัยแพลตฟอร์มในการส่งมอบงาน

ร่างกฎหมายใหม่นี้ยังเป็นการแก้ไขข้อจำกัดที่เกิดจากกฎหมายแรงงานฉบับก่อนๆ ที่แยกกันดูแลแรงงาน 1 คน ในแต่ละเรื่อง เช่น ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน การคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน ฯลฯ โดย (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ..... ถูกร่างขึ้นโดยยึดตัวแรงงานเป็นตัวตั้ง นำมิติการคุ้มครองแรงงานจากในกฎหมายแต่ละฉบับที่มีอยู่เดิมมาห่อรวมกัน อีกทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง คล้ายกับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

นอกจากนั้นยังมีการตั้งกองทุนส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ ซึ่งในส่วนของแรงงานกึ่งอิสระ จะเป็นมาตรการภาคบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มจ้างงานและผู้รับงานผ่านแพลตฟอร์มต้องส่งเงินสมทบด้วย คล้ายกับกองทุนประกันสังคมที่กำหนดให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบ ขณะที่แรงงานอิสระเป็นการจ่ายเงินสมทบแบบภาคสมัครใจ

อนึ่ง ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนที่ว่า สืบเนื่องจากโครงสร้างทางเศรฐกิจเปลี่ยนไป หลายคนไมได้ทำงานเดียวแต่มีอาชีพที่ 2 เสริมเข้ามาด้วย ซึ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา มีการใช้มาตรการควบคุมโรค มีการล็อกดาวน์ปิดกิจการหลายประเภท แต่หลายคนถูกปฏิเสธการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ จนต้องพยายามอุทธรณ์ต่อสู้เพื่อยืนยันตัวตนให้ได้รับสิทธิ์ เช่น ทหาร-ตำรวจชั้นผู้น้อยที่ใช้เวลากลางคืนไปรับจ้างเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานบันเทิง แม้สถานบันเทิงถูกสั่งปิดแต่คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิ์เพราะเป็นข้าราชการ

หรือพนักงานบริษัท-โรงงานที่ใช้เวลาหลังเลิกงานไปขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือขายของในตลาด-หาบเร่แผงลอย แล้วไม่ได้รับสิทธิ์เพราะอย่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 หรือคนขับรถแท็กซี่ที่มีไร่นาอยู่ต่างจังหวัด ก็ไม่ได้รับสิทธิ์เพราะเข้าข่ายเป็นเกษตรกร ทั้งที่ได้รับผลกระทบขาดรายได้ นางนภสร ระบุว่า กฎหมายแรงงานอิสระนี้พยายามอุดช่องว่างดังกล่าวด้วย อย่างในกระทรวงแรงงานเอง ข้าราชการหลายคนก็ใช้เวลาหลังเลิกงานไปเป็นไรเดอร์

“ถ้าเขาไปประสบอุบัติเหตุขณะในเวลาราชการ ก็เป็นเรื่องของข้าราชการพลเรือน แต่ถ้าทันทีที่เขาเลิกงานแล้วเข้าไปสู่อาชีพที่ 2 เขาจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งก็มีเรื่องของกองทุน เรื่องประกันอุบัติเหตุ และถ้าพนักงานบริษัทก็เช่นกัน ในเวลากลางวันคุณอยู่ในมาตรา 33 แต่เวลาตกเย็นคุณไปประกอบอาชีพนี้ คุณก็ต้องได้รับความคุ้มครองในช่วงเวลาที่คุณประกอบอาชีพที่ 2 นี้เช่นกัน เราไม่ได้คำนึงว่าคุณอยู่ตรงนั้นแล้ว เพียงแต่ว่าเมื่อคุณอยู่ในมาตรา 33 คุณอาจได้เรื่องเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิ์ แต่สิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจาก 7 กรณีของมาตรา 33 ก็มีตรงนี้เข้ามาเป็นตัวประกอบในเรื่องของช่วงเวลา” นางนภสร ระบุ

นางกชพร กลักทองคำ ประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ในส่วนของการพัฒนาทักษะอาชีพ ตนเสนอให้ปรับแผนของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้เข้ากับสมัยใหม่มากขึ้นโดยเฉพาะประเด็นความทันสมัยชองอาชีพ อย่างตนอยู่ในกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้รับการแนะนำไปทำกระเป๋าหนัง ทั้งที่อยู่ในกลุ่มที่ทำงานแบบนี้อยู่แล้ว แต่ตนต้องการความแตกต่างจากคนที่รับงานเสริม กรมพัฒนาฝีมือแรงงานอาจต้องพัฒนากันมากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้วคงไม่สามารถบอกได้ว่าฝึกอบรมไปแล้วทำให้มีอาชีพและมีรายได้

ซึ่งในส่วนของผู้ที่ฝึกอาชีพ ควรต้องแยกให้ชัดระหว่างคนที่เป็นอยู่แล้ว ว่าคนกลุ่มนี้ควรต้องไปฝึกอีกหรือไม่ หรือควรต้องครบหลักเกณฑ์หรือไม่ หรือจริงๆ ให้ทำเพียงการทดสอบฝีมือแล้วอาจออกเป็นเอกสารรับรองการันตีให้นำไปติดในสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งเริ่มต้นก็อาจต้องให้ฝึกทักษะกันไป ต้องแยกแตกต่าง อย่าเหมารวมให้เหมือนกัน เพราะความต้องการมันไม่เหมือนกัน

“สำคัญที่สุดคือองค์กรหน่วยงานรัฐ เวลาสนับสนุนไม่ติดตาม ไม่ประเมินผล ให้แล้วก็ไม่ติดตาม ถือว่าทำสำเร็จแล้ว ไม่ติดตามประเมินผล เพราะฉะนั้นการฝึกอาชีพหรือการพัฒนาทักษะต่อยอดต่างๆ ถ้ามันไม่มีการประเมิน แล้วก็แนะแนวให้ความรู้เรื่องการจัดการต่างๆ ฝึกไปก็ไม่สามารถเพิ่มรายได้ได้ อันนี้ที่เป็นปัญหา แล้วตอนนี้หลักเกณฑ์สำคัญก็คือจำนวนคนคุณไม่ต้องบอกว่าจำนวนเท่าไร คุณอย่าไปเอาปริมาณ คุณต้องเอาคุณภาพ” นางกชพร กล่าว

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เช็คที่นี่‘ราชกิจจานุเบกษา’เผยแพร่ประกาศ‘ค่าแรง 400 บาท’ บังคับใช้แล้ววันนี้ เช็คที่นี่‘ราชกิจจานุเบกษา’เผยแพร่ประกาศ‘ค่าแรง 400 บาท’ บังคับใช้แล้ววันนี้
  • ‘รมว.แรงงาน’ นำทัพ Safe@Work 2025 ชู ‘ความปลอดภัย’ เป็น ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ‘รมว.แรงงาน’ นำทัพ Safe@Work 2025 ชู ‘ความปลอดภัย’ เป็น ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’
  • ปลัดฯ‘บุญสงค์’ขอบคุณ 21 บริษัทจัดหางานไทย ร่วมงาน MOL Overseas Matching เกาหลีใต้ ปลัดฯ‘บุญสงค์’ขอบคุณ 21 บริษัทจัดหางานไทย ร่วมงาน MOL Overseas Matching เกาหลีใต้
  • แรงงานร้องรบ.  ปรับค่าแรง492บาททั่วปท.  ยื่น7ข้อเสนอดูแลเร่งด่วน แรงงานร้องรบ. ปรับค่าแรง492บาททั่วปท. ยื่น7ข้อเสนอดูแลเร่งด่วน
  • ‘ก.แรงงาน’ลงลงพื้นที่ติวเข้มหลักประกันให้‘ลูกจ้าง-ผู้ประกันตน’ เพื่อรับสิทธิครบตามกม. ‘ก.แรงงาน’ลงลงพื้นที่ติวเข้มหลักประกันให้‘ลูกจ้าง-ผู้ประกันตน’ เพื่อรับสิทธิครบตามกม.
  • ‘ทหารไทย’เฮ! ‘แรงงาน-กลาโหม-หอการค้า’เซ็น MOU หนุนมีงานทำหลังปลดประจำการ ‘ทหารไทย’เฮ! ‘แรงงาน-กลาโหม-หอการค้า’เซ็น MOU หนุนมีงานทำหลังปลดประจำการ
  •  

Breaking News

คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้

ยกแก๊งมอบตัวแล้ว คนร้ายยิงถล่มใส่รถยนต์ที่ปราจีนบุรี

กลับถึงบ้าน! ร่ำไห้รับ“โชต้า”-ทำพิธีศพเสาร์นี้

‘บิ๊กเล็ก’แจงเข้าใจคลาดเคลื่อน ลั่นไม่เคยพูดชื่อ‘เตีย เซ็ยฮา’ ขอปชช.ไว้ใจนำความสงบสุขสู่แผ่นดินไทย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved