วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สจส.-สนย.ไล่บี้ป้ายโฆษณาเถื่อน  พบไม่ถูกต้องสั่งรื้อถอนแก้ไขทันที

สจส.-สนย.ไล่บี้ป้ายโฆษณาเถื่อน พบไม่ถูกต้องสั่งรื้อถอนแก้ไขทันที

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag :
  •  

กทม. แจงป้ายโฆษณาในความดูแล 5 โครงการ พร้อมกวดขันตรวจสอบรื้อถอนป้ายเถื่อนต่อเนื่อง 

นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า กรุงเทพมหานครให้สิทธิเอกชนใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันมีป้ายให้สิทธิ 5 โครงการ ได้แก่ 1.ป้ายเดี่ยว 1,170 ป้ายขนาด 1.2x1.8 เมตร แลกสิทธิดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางอัจฉริยะของ Plan B ประกอบด้วย ป้ายกล่องไฟ 1,120 ป้ายและป้าย LED 50 ป้าย 2.ป้ายเดี่ยวบริเวณทางแยก 125 จุด ขนาด 1.5x3 เมตร ผู้รับสิทธิกลุ่มกิจการค้าจีเนียส เป็นป้ายโฆษณาเลื่อนสลับ 100 ป้าย (1 ป้าย มี 3 ภาพ เป็นของกทม. 1 ภาพ) และป้าย LED 25 ป้าย 3.ป้ายเดี่ยวประชาสัมพันธ์เขต 50 จุด ขนาด 3x5 เมตร ผู้รับสิทธิแอด คูซีน จำกัด เป็นป้ายโฆษณาเลื่อนสลับ 40 ป้าย(1 ป้าย มี 3 ภาพเป็นของกทม. 1 ภาพ) และป้าย LED 10 ป้าย 4.ป้ายเดี่ยว 250 ป้าย ขนาด 1.2x1.5 เมตร แลกสิทธิสถานีจักรยาน ของบริษัท คิวแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ในโครงการจักรยานสาธารณะของกทม. และ 5.ป้ายตอม่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสัมปทาน จำนวน 449 ป้าย ประกอบด้วยป้าย LED ป้ายกล่องไฟ และป้ายภาพนิ่งด้านข้าง ของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)


ในส่วนป้ายโฆษณาประเภทอื่นๆ นั้น ที่ผ่านมาสำนักการจราจรและขนส่ง ได้ขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของป้ายประเภทต่างๆ หากพบว่า มีป้ายที่ติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้จัดเก็บป้ายเหล่านั้นในพื้นที่รับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน ตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 30 วัน และแจ้งผลตรวจสอบและยืนยันตำแหน่งป้ายให้ทราบโดยเร็ว

สำหรับกรณีป้ายโฆษณาบริเวณเชิงสะพานสาทร ป้ายโฆษณาติดกับอาคารเรียนโรงเรียนสัจจพิทยา และป้ายโฆษณาเหนือถนนสาทรขาเข้า ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ Plan B ที่มีข้อสังเกตว่าติดตั้งถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นั้น จากการตรวจสอบป้ายโฆษณาของ Plan B ดังกล่าว จะเป็นป้ายขนาดใหญ่ติดบนอาคารสามารถดำเนินการก่อสร้างก่อนขออนุญาต ตามมาตรา 39 ทวิ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งสำนักการโยธาเป็นผู้รับผิดชอบ โดยป้ายทั้ง 3 จุดคือ จุดที่ 1บริเวณเชิงสะพานสาทร เป็นป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ติดในที่เอกชน จุดที่ 2 ติดกับอาคารเรียนโรงเรียนสัจจพิทยา เป็นป้ายบิลบอร์ดติดบนอาคาร ซึ่งทั้ง 2 จุด ได้ขออนุญาต สนย. ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ และจุดที่ 3 บริเวณเหนือถนนสาทรเป็นป้ายโฆษณาอัจฉริยะคร่อมทางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนป้ายบิลบอร์ดของเอกชนขออนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 39 ทวิ โดยดำเนินการไปก่อนแล้วจึงขออนุญาต

ด้าน นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สำนักการโยธา (สนย.) จะตรวจสอบป้ายโฆษณาบริเวณเชิงสะพานสาทร และป้ายโฆษณาติดกับอาคารเรียนโรงเรียนสัจจพิทยา ว่า ได้รับอนุญาตหรือไม่ หากไม่ได้รับอนุญาตจะดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารต่อไป ส่วนป้ายโฆษณาเหนือถนนสาทรขาเข้าได้ประสานหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ สำหรับป้ายข้างรั้วโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์และบริเวณทางเท้าก่อนถึงซอยพหลโยธิน 55/1 เขตบางเขน จากการตรวจสอบพบว่า ดำเนินการก่อสร้างโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่ได้ออกคำสั่งห้ามใช้อาคารแล้ว

ทั้งนี้ สนย. มีแนวทางการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของป้ายโฆษณาในพื้นที่กรุงเทพฯโดยขั้นตอนการออกแบบ สำหรับป้ายบนดินที่มีความสูง 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร และป้ายบนอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องดำเนินการโดยสามัญวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ขั้นตอนการตรวจสอบรายการคำนวณการออกแบบ สำหรับป้ายบนดินที่มีความสูง 10 เมตรขึ้นไป สำหรับป้ายที่มีพื้นที่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องดำเนินการโดยวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ขั้นตอนการควบคุมการก่อสร้าง 1.ป้ายบนดินที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร 2.ป้ายบนหลังคา ดาดฟ้า หรือกันสาด ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 50 ตารางเมตร ต้องดำเนินการโดยภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา หากป้ายนอกเหนือจากนั้น ต้องดำเนินการโดยสามัญวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธาขึ้นไป และ ขั้นตอนหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ สำหรับป้ายบนดินที่มีความสูง 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ป้ายบนอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป จะตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง แล้วจัดทำรายงานการตรวจสอบอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ใบ ร.1)

สำหรับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ดินเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคาร 9 ประเภท ต้องได้รับการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง แก้ไขความชำรุดสึกหรอและความเสื่อมสภาพโดยดำเนินการตามที่กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 จัดทำรายงานการตรวจสอบอาคารและยื่นรายงานต่อ สนย. เพื่อขอรับใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ร.1) ส่วนป้ายโฆษณาที่ยังไม่ได้ยื่นรายงานการตรวจสอบอาคาร อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตในการดำเนินการทางกฎหมาย โดย สนย. ได้ติดตามผล ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของป้ายโฆษณาดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ อย่างต่อเนื่อง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กทม. ปิดประชุม CMC 2025 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จัดการภัยพิบัติ พร้อมส่งไม้ต่อ ‘กรุงโซล’ กทม. ปิดประชุม CMC 2025 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จัดการภัยพิบัติ พร้อมส่งไม้ต่อ ‘กรุงโซล’
  • กทม.เช็กลิสต์แก้น้ำท่วมจากการก่อสร้างรฟฟ.สีส้มตะวันตกและม่วงใต้ กทม.เช็กลิสต์แก้น้ำท่วมจากการก่อสร้างรฟฟ.สีส้มตะวันตกและม่วงใต้
  • กทม. เปิดเวที ‘Crisis Management 2025’ แลกเปลี่ยน 8 เมืองใหญ่สู้ภัยพิบัติ รับมือวิกฤตในอนาคต กทม. เปิดเวที ‘Crisis Management 2025’ แลกเปลี่ยน 8 เมืองใหญ่สู้ภัยพิบัติ รับมือวิกฤตในอนาคต
  • MEA ลงนาม MOU กับ BPC หน่วยงานการไฟฟ้า’ภูฏาน’ MEA ลงนาม MOU กับ BPC หน่วยงานการไฟฟ้า’ภูฏาน’
  • กทม.โชว์ผลลัพธ์งาน BKK EXPO 2025 คนกรุงร่วมตรวจการบ้านเกือบ 6 หมื่น กทม.โชว์ผลลัพธ์งาน BKK EXPO 2025 คนกรุงร่วมตรวจการบ้านเกือบ 6 หมื่น
  • กทม.แจงก่อสร้างถนนพุทธมณฑลสาย 1 ช่วงที่ 2 ล่าช้า! ปชช.ร้องเดือดร้อน จี้ผู้รับเหมาเข้มปลอดภัย กทม.แจงก่อสร้างถนนพุทธมณฑลสาย 1 ช่วงที่ 2 ล่าช้า! ปชช.ร้องเดือดร้อน จี้ผู้รับเหมาเข้มปลอดภัย
  •  

Breaking News

‘ประเสริฐ’มอง‘ยิ่งลักษณ์’ไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัดตอบกระทบกลับไทย

กทม. ปิดประชุม CMC 2025 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จัดการภัยพิบัติ พร้อมส่งไม้ต่อ ‘กรุงโซล’

กกต.ชงศาลฎีกาฟันอาญา 2 ผู้สมัครสว.สมุทรปราการ เสนอผลประโยชน์แลกลงคะแนน

กทม.เช็กลิสต์แก้น้ำท่วมจากการก่อสร้างรฟฟ.สีส้มตะวันตกและม่วงใต้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved