วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : ‘โรคแอนแทรกซ์’ แพทย์ มข.มีคำตอบ  พร้อมเปิดพฤติกรรมเสี่ยง แนะวิธีสังเกต

รายงานพิเศษ : ‘โรคแอนแทรกซ์’ แพทย์ มข.มีคำตอบ พร้อมเปิดพฤติกรรมเสี่ยง แนะวิธีสังเกต

วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : โรคแอนแทรกซ์
  •  

จากกรณีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) 1 คน ใน จ.มุกดาหาร ซึ่งมีประวัติชำแหละเนื้อวัวก่อนแจกจ่ายรับประทานในหมู่บ้าน โดยมีผู้สัมผัสในกรณีนี้ 247 คน มหาวิทยาลัยขอนแก่นชวนทุกคนมาทำความรู้จักโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) กันให้มากขึ้นเพื่อความตระหนักแต่ไม่ตระหนก

ผศ.นพ.วันทิน ศรีเบญจลักษณ์ อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bacillus anthracis ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียอื่นเล็กน้อย โดยทั่วไปเชื้อจะอยู่บริเวณดินในธรรมชาติและ
ก่อโรคร้ายแรงต่อสัตว์ และทำให้สัตว์ล้มตาย โดยไม่ทราบสาเหตุ พบบ่อย คือ พวกแกะ แพะ โค กระบือ เมื่อมนุษย์ไปสัมผัสกับซากสัตว์หรือสัตว์ที่ติดเชื้อก็จะเกิดโรคได้เช่นกัน การติดต่อจากสัตว์สู่คนเกิดได้จาก เช่น ผู้ที่มีอาชีพชำแหละซากสัตว์โดยตรง ก็สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส รวมถึงการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุกก็อาจจะติดเชื้อได้ รวมถึงกลุ่มอาชีพขนส่งสัตว์ก็อาจจะได้รับสปอร์ที่พุ่งกระจายจนสูดหายใจเข้าไปในปอดได้


ผศ.นพ.วันทิน ยังแนะวิธีสังเกตอาการของโรคแอนแทรกซ์ว่า หากได้รับเชื้อทางผิวหนังผู้ป่วยจะเกิดโรค Cutaneous anthrax ที่ผิวหนัง ลักษณะของแผลจะคล้ายกับรอยบุหรี่จี้ สังเกตได้จากแผลเปิดและมีสะเก็ดตรงกลาง โดยมีจุดที่แตกต่างจากโรคติดเชื้ออื่นๆ คือ มีอาการบวมตึงกว่า และหากไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้าเชื้ออาจจะเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีอาการมีไข้สูง ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อผ่านการรับประทานจะทำให้เกิดแผลชนิดเดียวกันในทางเดิน
อาหารทั้งช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจจะมีถ่ายเป็นเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือดได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อผ่านการหายใจก็อาจจะมีอาการทางปอด เช่น ไอ หายใจหอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก ซึ่งการรับเชื้อทั้งทางเดินอาหารและทางปอดจะมี อาการค่อนข้างรุนแรงและ
มีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งข้อมูล พบว่าระยะฝักตัวของเชื้อ Bacillus anthracis ยาวนาน ได้ถึง 60 วัน แต่โดยปกติอาการ
เหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มุกดาหารวิกฤติพบผู้ป่วยติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์เพิ่ม 1 รายรวม 3 รายสั่งคุมเข้ม มุกดาหารวิกฤติพบผู้ป่วยติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์เพิ่ม 1 รายรวม 3 รายสั่งคุมเข้ม
  • \'อิทธิ\'ยืนยันเอาอยู่ สั่งกรมปศุสัตว์คุมเข้ม \'โรคแอนแทรกซ์\' 'อิทธิ'ยืนยันเอาอยู่ สั่งกรมปศุสัตว์คุมเข้ม 'โรคแอนแทรกซ์'
  • เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง! \'มุกดาหาร\' ยืนยันเสียชีวิต 1 ราย จากโรคแอนแทรกซ์ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง! 'มุกดาหาร' ยืนยันเสียชีวิต 1 ราย จากโรคแอนแทรกซ์
  • ปศุสัตว์นครพนมยกการ์ดสูงตั้งกำแพงกั้นโรคแอนแทรกซ์ เตือนสายซกเล็กงดบริโภคดิบ ปศุสัตว์นครพนมยกการ์ดสูงตั้งกำแพงกั้นโรคแอนแทรกซ์ เตือนสายซกเล็กงดบริโภคดิบ
  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

‘สว.โชคชัย’ ท่องไม่รู้-ไม่เห็นหมายเรียก ‘คดีฮั้วสว.’ ขอดูรายละเอียดก่อน

'รุจิระ บุนนาค' เขียนบทความ 'ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved