กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ‘รวมตัวกัน’ เดินทางมายื่นหนังสือประท้วงเรื่อง ‘กระเทียมราคาตก’ และไม่มีผู้รับซื้อต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นให้ดำเนินการชะลอการนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ และให้พยุงราคากระเทียมในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท
วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ได้มีเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม พื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และพื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 100 คน นำโดย นายทินกร, นายอาวุธ และนายนิรันดร์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องสอน พากันเดินทางมายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนติดธุระราชการเป็นประธานเปิดคลินิกเกษตรที่อำเภอปาย จึงได้มอบหมายให้ผู้แทนเป็นผู้มารับหนังสือดังกล่าว ส่วนในพื้นที่อำเภอปาย ทางกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า และอำเภอปาย จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยมวลชนประมาณ 100 คน เช่นกัน
นอกจากจะมีการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้มีการยื่นหนังสือต่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.เขต 1 จังหวัดพะเยา , นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสมบัติ ยะสินธุ์ สส.แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่อำเภอแม่สะเรียง
โดยในหนังสือที่ยื่นนั้นระบุว่า ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องฮ่องสอน เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนประท้วง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีประชากรในพื้นที่จำนวน 287,644 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกรรม พืชที่ปลูกได้แก่ข้าวโพด ถั่ว และกระเทียม เป็นต้น โดยในปัจจุบันพืชที่นิยมปลูกเป็นส่วนมากได้แก่กระเทียม ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาราคากระเทียมตกต่ำ และไม่มีพ่อค้ามารับซื้อกระเทียมในพื้นที่ปัจจุบัน มีกระเทียมแห้งคงเหลือในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 4,422.25 ตัน มีเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 1,117 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2568)
ในเบื้องต้นสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เสนอแนวทางการกระจายกระเทียมจากผู้ผลิผลิตไปสู่ตลาดปลายทางโดยตรง จำนวน 5 แนวทาง ดังนี้ (1) การเชื่อมโยงการจำหน่ายผลผลิตกระเทียมมัดปี้งจากผู้รวบรวมหรือเกษตรกรของจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปสู่ผู้ค้ารายใหญ่ในต่างจังหวัดผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความพร้อม (2) การเชื่อมโยงการจำหน่ายกระเทียมมัดแต่งแล้ว จากผู้รวบรวมหรือเกษตรกรของจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ในต่างจังหวัดผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความพร้อม (3) การเชื่อมโยงการจำหน่ายกระเทียมแกะกลีบเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง โดยสำนักงานพาณิชย์ได้สานกับผู้รับจ้างจัดงานแสดงสินค้าในงานแม่ฮ่องสอนม่วนใจ ระหว่างวันที่ 2-6กรกฎาคม 2568 ให้จัด Layer เข้ามาเจรจารับชื้อกระเทียมแกะกลีบจากเกษตรกรหรือผู้รวบรวมที่มีความพร้อมของจังหวัด
(4) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาสถานที่ให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะนำกระเทียมไปจำหน่ายปลีกให้กับผู้บริโภคโภคโดยเบื้องต้น ศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ยินดีให้สถานที่ในการจำหน่ายสินค้าหากผู้ประกอบการมีความประสงค์จะจำหน่ายในสถานที่ใด สำนักงานฯ จะดำเนินการประสานให้ต่อไป และ (5) เห็นควรมีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน ขอให้ประสานกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กระเทียมเป็นวัตถุดิบ เพิ่มปริมาณการใช้กระเทียมไทยเป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูปสินค้า เพื่อเพิ่มปริมาณความต้องการกระเทียมไทย อันจะส่งผลให้เกิดการรับซื้อกระเทียมเพิ่มมากขึ้นโดยพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอนพื้นพื้นที่ที่มีการปลูกกระเทียมมากที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายนิรันดร์ จันทร์แค้น นายก อบต.ห้วยผา อ.เมืองแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จากทั้ง 5 แนวทางที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเสนอมมานั้น สามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้เพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณผลผลิตกระเทียมที่ผลิตได้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และบางมาตรการปฏิบัติได้ยาก จึงมีผู้เข้าร่วมโครงการฯน้อย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงใคร่ขอให้ท่านพิจารณาและให้ความช่วยเหลือมเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหากระเทียมราคาตกต่ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังนี้
1. การนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการดังนี้ 1.1 ขอให้ชะลอการนำเข้ากระเทียม และพืชผักอื่นๆจากต่างประเทศ เป็นเวลา 3 - 6 เดือน เพื่อให้กระเทียมในประเทศมีราคากระเตื้องขึ้นและมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ 1.2 ควรกำหนดปริมาณกระเทียมที่นำเข้าให้มีปริมาณที่เหมาะสมพอดีกับปริมาณผลผลิตในประเทศ เมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคภายในประเทศ โดยตรวจสอบข้อมูลปริมาณผลผลิตให้ตรงกับข้อเท็จจริง และ 1.3 ขอให้เข้มงวดในการป้องกันการลับลอบนำเข้ากระเทียมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อมีการตรวจยึดให้มีการทำลายทิ้ง เนื่องจากแต่เดิมเคยนำของกลางไปประมูลจำหน่าย ทำให้มีกระเทียมจำหน่ายภายในประเทศ ไม่ช่วยแก้ไขปัญหากระเทียมราคาตกต่ำ
2. แก้ไขปัญหาเรื่องราคาของผลผลิต ขอให้ช่วยพยุงราคา รักษาราคาอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งในปัจจุบันต้นทุนกระเทียมแห้งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 40 บาท ขอให้ช่วยซื้อในราคากิโลกรัมละ 50 บาท การให้บริษัท ห้างจำหน่ายสินค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือโรงงาน รับซื้อกระเทียมไทยตกลงซื้อขายที่แน่นอน กับกลุ่มผลิตกระเทียมในพื้นที่ ในปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณ การใช้ของบริษัท ห้างจำหน่ายสินค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือโรงงานนั้นๆ และ 3. ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หาวิธีการลดต้นทุนการผลิตกระเทียม และหาพืชใหม่ๆที่มีความต้องการของตลาด ผลตอบแทนสูงใกล้เคียงกระเทียม ส่งเสริมปลูกทดแทนกระเทียมทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงขอเรียนให้ท่านทราบถึงปัญหาและพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร่งด่วนต่อไป
สำหรับปัญหาเรื่องราคากระเทียมตกต่ำและไม่มีพ่อค้าเข้ามารับซื้อกระเทียม เป็นปัญหาเรื้อรังของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีหลายครั้งที่เกษตรกรต้องลงปิดถนนทางเข้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งสองเส้นทางคือทางหลวงหมายเลข 1095 ที่อำเภอปาย และทางหลวงหมายเลข 108 ที่อำเภอแม่สะเรียง ทางแก้ของรัฐบาลคือเอาเงิน คจก.มาให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม โดยมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง การแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัดล้มเหลว ทั้งที่มีสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าวมาโดยตลอด การไม่สนใจเมื่อมีการผลิตและผลผลิตออกสู่ท้องตลาด หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกลับไม่สนใจ จนมีการร้องเรียนต่อสื่อแล้วจึงค่อยมาประชุมหาทางแก้ปัญหา ซึ่งมันสายเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาได้ จนทำให้สถานการณ์บานปลายและไปเข้าทางนักการเมืองที่ได้ผลประโยชน์จากเกษตรกรตาดำๆ ///-026
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี