วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
น่าห่วง! คนไทย13ล้านมีปัญหาสุขภาพจิต ชี้บาดแผล‘เสพ-เศร้า-ปลิดชีพ’เหตุสังคมมุ่งแต่ผลแพ้-ชนะ

น่าห่วง! คนไทย13ล้านมีปัญหาสุขภาพจิต ชี้บาดแผล‘เสพ-เศร้า-ปลิดชีพ’เหตุสังคมมุ่งแต่ผลแพ้-ชนะ

วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 01.27 น.
Tag : ความเครียด ซึมเศร้า สังคมป่วย สุขภาพคนไทย สุขภาพจิต
  •  

18 ก.ค. 2568 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2568” ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ย่านงามดูพลี-สาทร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2568 ที่ผ่านมา โดย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า เรื่องที่น่าสนใจของรายงานฉบับนี้คือข้อมูลที่พบว่าคนไทย 13 ล้านคนเคยมีปัญหาสุขภาพจิต 3 หมื่นคนต่อปีเคยพยายามฆ่าตัวตาย และในจำนวนนี้ 5,000 คนฆ่าตัวตายสำเร็จ

นอกจากนั้น ปัญหาโรคซึมเศร้าก็เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนอายุ 18 – 24 ปี และอีกกลุ่มคือผู้สูงอายุ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มคือกลุ่มเปราะบางพร้อมที่จะแตกหักเสียหาย เช่น ในส่วนของเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเปราะบางเพราะกำลังจะก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่ พยายามสร้างตัวตน แต่ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและสังคมก็พยายามตัดสินให้ไม่เป็นผู้ชนะก็เป็นผู้แพ้ เป็นคนสำเร็จหรือล้มเหลว จึงเป็นแรงกดดันที่พุ่งไปยังเด็กและเยาวชน


“สิ่งที่เรากำลังพูดถึงและพยายามไปแก้คนฆ่าตัวตายหรืออะไรต่างๆ และซึมเศร้า ใต้ยอดภูเขาน้ำแข็งเราจะเห็นว่ากลุ่มที่เสี่ยงต่อการซึมเศร้า เสี่ยงต่อความเครียดและการฆ่าตัวตายอยู่ที่ประมาณ 10% แต่เสี่ยงฆ่าตัวตายประมาณ 5% และกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กทั้งสิ้น ดังนั้นใต้ยอดผู้เขาน้ำแข็งเป็นส่วนที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มเสี่ยงเดี๋ยวเขาจะกลายเป็นกลุ่มโรค และกลายเป็นจิตเวช จิตเภท” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวต่อไปว่า เนื้อหาของรายงานพูดถึงการเสพติดสิ่งต่างๆ เช่น ติดเกม ติดออนไลน์ สารเสพติด ซึ่งไม่สามารถพูดถึงได้แบบแยกเดี่ยวๆ เพราะปัญหาสุขภาพจิตอยู่ที่ตัวเขานั้นเป็นผู้แพ้ แต่เขาก็อยากมีความสุขอย่างผู้ชนะ ซึ่งเมื่อไม่มีก็ต้องไปหาความสุขเทียมจากสารเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กัญชา กระท่อม หรือการติดเกม แม้อาจเรียกว่าเป็นความสุขจอมปลอมหรือความสุขเทียม แต่สำหรับคนคนนั้นคือความสุขเดียวที่เขาหาได้จากภาวะตรงนี้ซึ่งสังคมกดดัน

ดังนั้นในขณะที่ด้านหนึ่งมีเรื่องสุขภาพจิตเชิงบวก เช่น ที่บอกว่าคนไทยมีความสุขเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หรืออันดับ 49 ของโลก รวมถึงมีความพึงพอใจในชีวิตสูงถึงร้อยละ 70 แต่นั่นคือความสุขของผู้ชนะ และอีกด้านหนึ่ง ผู้ที่มีปัญหาจิตเวชสุดท้ายก็จะกลับมาทำร้ายคนอื่นๆ ในสังคม การสร้างสังคมที่มีความสุขมวลรวมจึงต้องใช้การอยู่กันแบบเอื้ออาทรและการดูแลซึ่งกันและกัน

นำไปสู่คำถามใหญ่ที่ว่า การที่ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) สูงขึ้นทำให้คนมีความสุขได้จริงหรือไม่ หรือบริโภคนิยมที่ทำให้เราสุขสบายนั้นเป็นเครื่องมือเดียวหรือไม่ที่ทำให้สังคมมีความสุข เพราะการใช้ระบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยมคือการเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ม้าลายต้องขอบคุณสิงโต เพราะสิงโตจะล่าม้าลายที่ป่วยหรือวิ่งหนีไม่ทัน ทำให้เหลือแต่ม้าลายที่เข้มแข็ง ซึ่งสังคมก็กำลังทำเช่นนั้นกับเด็ก เยาวชนและคนทุกคน เพื่อคัดเลือกผู้แพ้และผู้ชนะ แล้วก็ทิ้งไว้จนเป็นปัญหาซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย  

ทั้งนี้ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ท่านเคยพูดถึงสงครามโรค 3 ยุค คือ 1.โรคติดเชื้อ สามารถเอาชนะได้ด้วยเทคโนโลยี เช่น ยาปฏิชีวนะ วัคซีน 2.โรคจากกิเลสหรือแพ้ใจตนเอง หมายถึงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิ โรคหัวใจ ความดัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารหวาน มัน เค็ม และ 3.สังคมเป็นศัตรูของสังคมเอง หรือสังคมป่วย ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่ร้ายที่สุด ดังนั้นเราจะกลับมาหาวิธีในการที่ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคสังคมและทุกภาคส่วนไม่ได้เอา GDP เป็นตัวตั้ง แต่เอาความสุขของทุกคนเป็นตัวตั้งได้อย่างไร

“อยากเห็นสังคมดีทุกคนจะต้องมาร่วมมือกัน แต่คนที่มีมากยิ่งช่วยได้มาก บริษัทห้างร้านเอกชนต่างๆ มาร่วมกันดูแลสังคมได้อย่างไร คนทุกๆ คน ไม่ต้องคนรวยอย่างเดียว คนที่พอมีพอกินจะช่วยสังคมได้อย่างไร เป็นคำถามที่ฝากไว้ในมือของทุกคน และฝากสื่อที่ช่วยสื่อสารไปต่อ” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

รศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา นักวิชาการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทยเพิ่มขึ้น อย่างในปี 2566 ซึ่งเป็นปีล่าสุดของการเก็บข้อมูล อยู่ที่ 7.94 ต่อแสนประชากร สูงเกินไป รวมถึงในปีดังกล่าวยังมากกว่า 3 หมื่นรายที่พยายามฆ่าตัวตาย หรือเฉลี่ย 85 รายต่อวัน หรือ 5,000 รายที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ หากคิดเป็นวันจะอยู่ที่ 14 รายต่อวัน เป็นจำนวนนี้ที่อยากให้ลดลง

ทั้งนี้ ธรรมนูญสุขภาพได้ระบุเป้าหมายสุขภาพจิตในระยะเวลา 5 ปี 1.คนไทยต้องมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต กับ 2.คนไทยต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตตั้งแต่แรก ลดปัญหากาการเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวช อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 11 ของคนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตน้อย ร้อยละ 30 ปานกลาง ร้อยละ 26 มาก และร้อยละ 31 มากที่สุด ขณะที่เมื่อแยกตามเพศ ผู้ชายจะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตน้อยกว่าผู้หญิง และหากแยกตามอายุ กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคืออายุ 55 ปีขึ้นไป จึงเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องให้การส่งเสริม

“การเข้าถึง เข้าใจ เลือกได้ ปฏิบัติได้ กลุ่มคนที่คิดว่าเป็นทักษะที่ยาก คราวนี้ดูตามอายุ กลุ่มที่โด่งที่สุดที่เห็นคือกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการเข้าถึง ก็คือถ้าเขามีปัญหาสุขภาพจิต ไม่แน่ใจว่าจะต้องไปหาอย่างไร เริ่มตั้งแต่ตอนหาข้อมูลเลยที่เป็นข้อท้าทาย ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกส่วนที่คิดว่ามันเป็น Gap (ช่องว่าง) ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทีเราสามารถไปช่วยส่งเสริมเพิ่มเติมได้” รศ.ดร.มนสิการ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลด “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2568” ฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ https://www.thaihealthreport.com/th/index.php

043...

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • อย่าแลก‘สุขภาพคนไทย’กับ‘หมูปนเปื้อน’สารเร่งเนื้อแดง อย่าแลก‘สุขภาพคนไทย’กับ‘หมูปนเปื้อน’สารเร่งเนื้อแดง
  • รัฐบาลชวนประเมินจิตใจผ่าน www.วัดใจ.com แนะ 4 แนวทางเลี่ยง‘ซึมเศร้าหลังปีใหม่’ รัฐบาลชวนประเมินจิตใจผ่าน www.วัดใจ.com แนะ 4 แนวทางเลี่ยง‘ซึมเศร้าหลังปีใหม่’
  • สุขภาพจิตคนไทยน่าห่วง! สถิติปลิดชีพตัวเองพุ่ง-อาชญากรวัยเยาว์เพิ่ม สุขภาพจิตคนไทยน่าห่วง! สถิติปลิดชีพตัวเองพุ่ง-อาชญากรวัยเยาว์เพิ่ม
  • ‘กรมสุขภาพจิต’กางแผนลดเครียด-ซึมเศร้า‘ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ’ ‘กรมสุขภาพจิต’กางแผนลดเครียด-ซึมเศร้า‘ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ’
  •  

Breaking News

น่าห่วง! คนไทย13ล้านมีปัญหาสุขภาพจิต ชี้บาดแผล‘เสพ-เศร้า-ปลิดชีพ’เหตุสังคมมุ่งแต่ผลแพ้-ชนะ

'ทักษิณ' มอง เศรษฐกิจแย่มานาน จะแก้ข้ามคืนเป็นเรื่องยาก แนะรัฐเร่งสื่อสาร-ต้องเอาความหวังกลับให้คนไทย

'ทักษิณ'ยิ้มแย้มตลอดทางควงแขน'อุ๊งอิ๊งค์'กลับบ้าน ปัดสัมภาษณ์สื่อลั่นประเด็นเยอะแล้ว

’ทักษิณ’ แย้ม อังคารที่จะถึงนี้ ครม. เคาะชื่อ ‘ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved