วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 8 มกราคม 2562

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 8 มกราคม 2562

วันอังคาร ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562, 16.38 น.
Tag : สรุปมติคณะรัฐมนตรี ครม. คณะรัฐมนตรี
  •  

8 ม.ค.62 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย


1.เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

                   3. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

                   4. ให้กระทรวงการคลังและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป 

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกา

                   1. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 

                             1.1 กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน            ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                             1.2 แก้ไขเพิ่มเติมประเภทเงินนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ                  ขนาดย่อม ได้แก่ เงินสถาบันการเงินนำส่งเงินและเงินเพิ่ม

                             1.3 กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละไม่เกิน 0.001 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองตามอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)               ตามกฎหมายว่าด้วยปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง

                             1.4 กำหนดให้สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ ทั้งนี้                ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และให้สำนักงานมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้สถาบันการเงินนั้นชำระเงินดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด

                             1.5 เพิ่มประเภทการใช้จ่ายของเงินกองทุนส่งเสริม SMEs ในส่วนของเงินที่สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริม SMEs ให้ชัดเจน โดยกำหนดให้เงินที่สถาบันการเงินนำส่งดังกล่าวใช้จ่ายเพื่อให้              ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นลูกหนี้และมีปัญหากับสถาบันการเงิน

                   2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... เป็นการปรับ             ลดอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จากปัจจุบันที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง เป็นให้ลดอัตราเงินนำส่งลงเหลือร้อยละ 0.009 ต่อปีของยอดเงินฝาก            ถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง

 

2.เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของ             สำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยกำหนดให้สอดคล้องกับหลักสากลที่นานาประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน (Marine Insurance Act 1906 และ Insurance Act 2015 ของประเทศอังกฤษ) ดังนี้

                   1. หมวด 1 สัญญาประกันภัยทางทะเล กำหนดให้สัญญาประกันภัยทางทะเลใช้แก่การประกันภัยทางทะเลทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และกำหนดให้คู่สัญญาสามารถตกลงใช้กฎหมายนี้กับการประกันภัยในการขนส่งแบบอื่น คือ ทางบกและทางอากาศด้วย

                   2. หมวด 2 การเปิดเผยข้อความจริงและคำแถลง กำหนดหลักการเรื่องความสุจริตอย่างยิ่งระหว่างคู่สัญญา และผลของการละเมิดหลักสุจริตที่จะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ รวมทั้งเพิ่มหลักการเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยทุจริต Fraudulent Claim ซึ่งปรับปรุงมาจาก Case Law และ Insurance Act 2015

                   3. หมวด 3 ส่วนได้ส่วนเสียอันสามารถเอาประกันภัยได้ กำหนดหลักการเรื่องส่วนได้ส่วนเสียว่า           ผู้เอาประกันภัยต้องคาดหมายว่าจะได้มาซึ่งส่วนได้เสียขณะขอเอาประกันภัย มิฉะนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆะ

                   4. หมวด 4 มูลค่าอันสามารถประกันภัยได้ กำหนดวิธีการคำนวณมูลค่าอันเอาประกันภัยได้ Insurable Interest ในการประกันภัยตัวเรือ สินค้า ค่าระวาง เพื่อการจัดทำประกันภัยให้เหมาะสม

                   5. หมวด 5 กรมธรรม์ประกันภัย

                             5.1 กำหนดวิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย และการลงลายมือชื่อ การประทับตรา การเปิดช่องสำหรับวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการอื่นที่อาจพัฒนาขึ้นในอนาคต

                             5.2 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบรายเที่ยว ซึ่งคุ้มครองในเส้นทางที่ตกลงกัน จากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่แห่งอื่น เมื่อไปถึงความคุ้มครองก็จะสิ้นสุด

                             5.3 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดระยะเวลา ซึ่งระยะเวลาคุ้มครองเริ่มต้นและสิ้นสุดตามวันเวลาที่ระบุหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย 

                             5.4 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดมูลค่า กรณีเกิดความเสียหายสิ้นเชิง จะชดใช้ตามมูลค่าที่ตกลงโดยไม่ต้องนำสืบความเสียหายที่แท้จริง

                             5.5 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบไม่กำหนดมูลค่า กรณีเกิดความเสียหายสิ้นเชิง จะชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริงตามสูตรในหมวด 10 

                   6. หมวด 6 คำรับรองและข้อกำหนด กำหนดกรณีที่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยตกลงยอมรับกันว่า ข้อเท็จจริงใดจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่อันเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงภัย ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ผู้รับประกันภัยอาจหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาในบางกรณี

                   7. หมวด 7 การเดินทาง กำหนดเกี่ยวกับเส้นทางหรือการเดินทาง ใช้กับกรมธรรม์ประกันภัยแบบรายเที่ยว หลักการเรื่องเส้นทางที่ตกลงกันหรือเส้นทางที่เหมาะสม (Proper Route) ในกรณีที่ไม่มีการตกลง (Agreed Route) และผลกระทบตามความคุ้มครองกรณีที่มีการเดินเรือออกนอกเส้นทาง

                   8. หมวด 8 เบี้ยประกันภัย กำหนดหลักการเรื่องเบี้ยประกันภัย และหน้าที่ในการชำระเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย รวมทั้งกำหนดให้กรณีการทำประกันภัยผ่านนายหน้าประกันภัย ความผูกพัน           ตามสัญญาประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยอาจเกิดขึ้นสมบูรณ์ 

                   9. หมวด 9 ความเสียหาย กำหนดลักษณะความเสียหาย ความเสียหายที่การประกันภัยทางทะเลไม่ให้ความคุ้มครอง การจงใจก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากความล่าช้า ลักษณะของความเสียหายสิ้นเชิงและความเสียหายบางส่วน

                   10. หมวด 10 การประเมินค่าสินไหมทดแทน กำหนดวิธีการคำนวณจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่วัตถุที่เอาประกันภัยเสียหายสิ้นเชิงหรือบางส่วนตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดมูลค่าและไม่กำหนดมูลค่า

                   11. หมวด 11 การรับช่วงสิทธิ กำหนดสิทธิให้ผู้รับประกันภัยสามารถรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากบุคคลภายนอกที่ทำละเมิดเป็นเหตุให้วัตถุที่เอาประกันภัยเสียหาย

                   12. หมวด 12 การประกันภัยซ้ำซ้อน กำหนดวิธีการชดใช้ในกรณีที่มีการประกันภัยซ้ำซ้อน Double Insurance และจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมสูงกว่าความเสียหาย

                   13. หมวด 13 การประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า กำหนดหลักการเรื่องการประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า Under Insurance โดยให้ผู้เอาประกันภัยรับประกันภัยตนเองในส่วนที่ขาด Self – Insurance

                   14. หมวด 14 การประกันภัยแบบสหการ กำหนดนิยามการประกันภัยแบบสหการ คือ กรณีผู้ที่มีความเสี่ยงภัยเหมือน ๆ กัน มาร่วมรับประกันภัยซึ่งกันและกันในความเสี่ยงภัย ซึ่งโดยปกติผู้รับประกันภัยจะไม่รับประกันภัย โดยจัดตั้งเป็นสมาคมประกันภัยแบบสหการของเจ้าของเรือ P&I Club (Protection and Indemnity Club)

                   15. หมวด 15 อายุความ (ได้เทียบเคียงหลักการมาจาก Limitation Act 1980) กำหนดให้

                             15.1 การเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีอายุความสองปีนับแต่วันที่เกิดความเสียหาย

                             15.2 การเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย มีอายุความสองปีนับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด 

                             15.3 การเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่อ มีอายุความหกปีนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยต่อได้

 

3.เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพสัตวบาล พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพสัตวบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

                   3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   1. กำหนดให้ “วิชาชีพสัตวบาล” หมายความว่า วิชาชีพเกี่ยวกับการจัดการใด ๆ ต่อสัตว์เลี้ยง              การจัดการผลผลิตและผลิตภัณฑ์สัตว์ และให้รวมถึงการจัดการด้านต่าง ๆ ที่มีผลทำให้สัตว์แข็งแรงสมบูรณ์ “สัตว์เลี้ยง” หมายถึง สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การบริโภค การใช้งาน การใช้ผลผลิต และเพื่อความพึงพอใจของมนุษย์ เช่น การเลี้ยงสัตว์สวยงาม ทั้งนี้ ไม่รวมสัตว์น้ำและสัตว์ป่า

                   2. ให้มีสภาสัตวบาลเป็นนิติบุคคล โดยมีอำนาจหน้าที่รับขึ้นทะเบียน และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสัตวบาล รับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรอนุมัติบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพ             สัตวบาลของสถาบันต่าง ๆ รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรม เป็นต้น

                   3. กำหนดให้รายได้สภาสัตวบาลมาจากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สิน และกิจกรรม                       ตามวัตถุประสงค์ เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาสัตวบาล รวมถึงดอกผลของเงินและทรัพย์สินดังกล่าว

                   4. ให้สมาชิกสภาสัตวบาล ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีความรู้ในวิชาชีพสัตวบาลโดยได้รับปริญญาในสาขาวิชาชีพสัตวบาล สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการผลิตสัตว์จากสถาบันที่สภาสัตวบาลรับรอง

                   5. กำหนดสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก คือ ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสัตวบาล

                   6. ให้มี “คณะกรรมการสัตวบาล” ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรรมการที่มาจากหน่วยงานราชการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการสัตวบาลตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ                สภาสัตวบาล จัดตั้งสำนักงานของสภาสัตวบาล เป็นต้น 

                   7. ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพสัตวบาล หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสภาสัตวบาล

                   8. ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสัตวบาล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท ก. และประเภท ข. และ                   ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสัตวบาลต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

                             8.1 ประเภท ก. ต้องได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตหรือสูงกว่าในสาขาสัตวบาล หรือสัตวศาสตร์ หรือเทคโนโลยีการผลิตสัตว์จากสถานศึกษาในประเทศไทย ที่ทบวงมหาวิทยาลัยหรือสำนักงาน          การอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการรับรองและสภาสัตวบาลรับรองและเป็นสมาชิกแห่งสภาสัตวบาล และสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย เป็นต้น

                             8.2 ประเภท ข. มีความรู้ในวิชาชีพสัตวบาล โดยได้รับปริญญาสาขาอื่นที่มิใช่สัตวบาล               สัตวศาสตร์ หรือเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ หรือได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือวุฒิบัตรหรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่สภาสัตวบาลรับรอง และผ่านการสอบความรู้ตามข้อบังคับสภาสัตวบาลและเป็นสมาชิกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย

 

4.เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้

                   1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 

                   2. เห็นชอบในหลักการของวิธีการจัดสรรงบประมาณระยะยาวและต่อเนื่องของหน่วยงานของรัฐในการจัดทำโครงการการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

                   3. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

                   สาระสำคัญของร่างระเบียบ

                   1. กำหนดบทนิยาม “การพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ” “หน่วยงานเจ้าของโครงการ” “หน่วยงานที่รับทำโครงการ” “ผู้เข้าร่วมโครงการ” และ “รัฐวิสาหกิจ” โดย “การพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ” หมายถึง การเสาะหานวัตกรรมที่หน่วยงานของรัฐต้องการใช้หรือต้องการนำไปแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง แต่ยังไม่สามารถใช้องค์ความรู้หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แก้ปัญหาได้ หรือยังไม่สามารถผลิตหรือให้บริการได้ภายในประเทศ

                   2. ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ ประกอบด้วย 1) หน่วยงานเจ้าของโครงการ 2) ผู้บริหารโครงการ 3) หน่วยงานที่รับทำโครงการ และ 4) ผู้เข้าร่วมโครงการ

                   3. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีแผนรายจ่ายเพื่อการนำเข้าเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากต่างประเทศ จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับจัดทำและบริหารโครงการ

                   4. กำหนดวิธีการดำเนินโครงการ ดังนี้

                             4.1 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการให้ทุนแก่หน่วยงานที่รับทำโครงการ หรือหน่วยงานที่รับทำโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ 

                             4.2 การดำเนินโครงการให้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาความเป็นไปได้ ระยะที่ 2 การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการใหม่ และระยะที่ 3 การนำต้นแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือบริการใหม่ จำนวนหนึ่งไปทดสอบการใช้งานและการรับรองคุณภาพ

                             4.3 เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วในแต่ละระยะ ให้มีการประเมินผลโครงการเพื่อพิจารณา            การให้ทุนในระยะต่อไป

                   5. ให้มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการ และ 2) คณะกรรมการประเมินผลโครงการ

                   6. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและผลประโยชน์อื่นใดที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ ให้ตกเป็นของหน่วยงานที่รับทำโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

                   7. กำหนดให้ วท. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                             7.1 สวทช. มีหน้าที่ให้คำปรึกษา เสนอแนะ เชื่อมโยงกลไกการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง และให้ความช่วยเหลือหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่รับทำโครงการ และมีหน้าที่จัดให้มีแนวทางการดำเนินโครงการและระบบข้อมูลกลาง ซึ่งต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

                             7.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอำนาจออกหลักเกณฑ์ วิธีการและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจในการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ

 

5.เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา 12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2562

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา 12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และดำเนินการต่อไปได้

                   ตช. เสนอว่า

                   1. หลังจากคณะรัฐมนตรีได้ลงมติและมีกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราตามมาตรา 12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียวเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2561 แล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติผู้โดยสารที่มาขอรับการตรวจลงตรา                ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa ON Arrival) ในช่วงก่อนมีการยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและช่วงที่มีการยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมแล้ว พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยและขอรับการตรวจตรา มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

ช่องทางอนุญาต

ช่วงระยะเวลา

1 ต.ค. – 14 พ.ย. 61 เก็บค่าธรรมเนียม

15 พ.ย. – 31 ธ.ค. 61 ยกเลิกค่าธรรมเนียมฯ

เพิ่ม

คิดเป็น %

ด่าน ตม. ทอ. สุวรรณภูมิ

190,543

521,435

330,892

173 %

ด่าน ตม. ทอ. กรุงเทพ

121,749

269,496

147,747

143 %

ด่าน ตม. ทอ. ภูเก็ต

85,357

193,815

108,458

128 %

ด่าน ตม. ทอ. เชียงใหม่

21,643

74,979

53,336

246 %

ด่าน ตม. ทอ. หาดใหญ่

341

462

121

35 %

                   2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประสานงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองขอให้พิจารณาดำเนินการขยายเวลาการใช้มาตรการการตรวจลงตรา (Visa On Arrival) ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเห็นว่า จากการติดตามผลการดำเนินมาตรการดังกล่าวส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวยื่นขอการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2561 จำนวน 1,030,561 คน โดยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 70.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ประกอบกับเป็นการขยายผลในการกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงหน้าฤดูกาลท่องเที่ยวที่สำคัญคือ เทศกาลตรุษจีนและเทศกาลสงกรานต์

                   สาระสำคัญร่างกฎกระทรวง

                   1. ขยายมาตรการในการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราของคนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน ในกรณียื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ  ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) ที่มีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียมประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว จำนวนเงิน 2,000 บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นการชั่วคราวต่อไปอีก

                   2. ในการยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตามข้อ 1 มีการกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับต่อเนื่องจากที่ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมไว้เดิมจนถึงหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์คือวันที่ 14 ม.ค. 2562 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2562

 

6.เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ  สังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

อก. เสนอว่า

          1. เนื่องจากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ซึ่งมีผลให้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ถูกยกเลิกไป และส่งผลให้กฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรมและดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรม หรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 ถูกยกเลิกไปด้วย อก. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. .... ทั้งนี้ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้ “แร่” หมายความรวมไปถึงหินตามที่กฎกระทรวงกำหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทราย ตามที่กฎกระทรวงกำหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กำหนดให้รัฐมนตรี อก. มีอำนาจในการออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

          2. อก. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. ... ขึ้นใหม่ โดยร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีหลักการลักษณะเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกแต่ได้กำหนดหลักการเพิ่มเติม โดยให้ยกเว้นดินมาร์ลที่นำไปผ่านกระบวนการเป็นดินสอพองและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพื้นบ้านไม่ถือเป็นดินอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับภูมิปัญญาของชาวบ้าน

          3. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในการใช้หิน ดิน หรือทรายที่มีคุณลักษณะเฉพาะและการนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด รวมทั้งรัฐสามารถกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักเกณฑ์ทางวิชาการวิศวกรรมเหมืองแร่ และก่อให้เกิดรายได้ของภาครัฐจากการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ ซึ่งรายได้ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์โดยรวม

จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ

           สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

ประเด็น

รายละเอียด

1. กำหนดชนิดของหินประดับ

กำหนดให้หินจำนวน 10 ชนิด เป็นหินประดับ ได้แก่ หินกรวดมน (Conglomerate) หินกรวดเหลี่ยม (Breccia) หินแกรนิต (Granite) หินชนวน (Slate) หินทราเวอร์ทีน (Travertine)หินทราย (Sandstone) หินนาคกระสวย (Serpentinite) หินไนส์ (Gneiss) หินบะซอลต์ (Basalt) และหินปูน (Limestone)

2. กำหนดชนิดของหินอุตสาหกรรม

กำหนดให้หินอุตสาหกรรม ได้แก่ หินชนิดอื่น นอกเหนือจากหิน 10 ชนิด ดังกล่าวข้างต้น และหิน 10 ชนิดดังกล่าวข้างต้นที่มีปริมาณสำรองเพียงพอ หรือมีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นหินประดับตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

3. กำหนดชนิดของดินอุตสาหกรรม

กำหนดให้ดินจำนวน 7 ชนิด เป็นดินอุตสาหกรรม ได้แก่ ดินขาว ดินซีเมนต์ ดินทนไฟ (Fire Clay) ดินเบา หรือไดอะทอไมต์ (Diatomite) หรือไดอะตอมเมเชียสเอิร์ท (Diatomaceous earth) ดินมาร์ล ดินเหนียวสี และบอลเคลย์ (Ball Clay)

4. กำหนดชนิดของดินที่ไม่ถือเป็นดินอุตสาหกรรม

- ดินมาร์ลที่นำไปผ่านกระบวนการแต่งเป็นดินสอพอง และใช้เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

 - ดินเหนียวสีที่ใช้เพื่อประโยชน์ในงานหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรมพื้นบ้าน

5. กำหนดชนิดของทรายอุตสาหกรรม

- กำหนดให้ทรายอุตสาหกรรม ได้แก่ ทรายแก้ว หรือทราย           ซิลิกา

6. กำหนดอำนาจของอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

- ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ และลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ ของดินอุตสาหกรรมและทรายอุตสาหกรรม

 

7.เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกีฬามวย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกีฬามวย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา

ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   1. เพิ่มบทนิยาม คำว่า “มวยไทย” “การแข่งขันกีฬามวย” “ค่ายมวย” “ครูมวย” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเหมาะสมยิ่งขึ้น 

                   2. กำหนดองค์ประกอบคณะกรรมการกีฬามวย และให้คณะกรรมการกีฬามวยมีหน้าที่และอำนาจ ได้แก่ (1) ส่งเสริม สนับสนุนอนุรักษ์และเผยแพร่มวยไทย หรือกีฬามวย (2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคคลในวงการมวย (3) วางแผนและกำหนดมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับกีฬามวยเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักมวย เป็นต้น

                   3. กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าแข่งขันกีฬามวยต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และนักมวยที่ประสงค์จะเข้าแข่งขันกีฬามวยในต่างประเทศ ต้องได้รับความยินยอมจากนายทะเบียน ตลอดจนผู้เยาว์ที่ประสงค์จดทะเบียนเป็นนักมวยต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน

                   4. กำหนดให้ผู้จัดการนักมวย ผู้ตัดสิน ผู้จัดรายการแข่งขันมวย และนายสนามมวยต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน 

                   5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวยอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกำหนดให้ผู้จัดรายการแข่งขันกีฬามวยที่จัดการแข่งขันที่มีนักมวยซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมการแข่งขันต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมของนักกีฬามวยนั้นด้วย

                   6. กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการกีฬามวย ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีก 4 คน โดยมีหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนด

                   7. กำหนดให้บุคคลในวงการมวยมีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนกับบุคคลในวงการกีฬามวยอื่นหรือได้รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

 

เศรษฐกิจ- สังคม

8.เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติให้ กษ. ดำเนินงานโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกำหนดแผนงานโครงการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2566) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 21,000 ล้านบาท

                   2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.)  และสำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดหาแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560

                   สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ  ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   1. โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในแผนการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา 9 แผนงาน โดยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาถึงปากแม่น้ำ โดยการขุดคลองระบายน้ำหลากสายใหม่เพื่อผันน้ำเลี่ยงเมืองพระนครศรีอยุธยาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อำเภอบางบาล  ถึงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  รวมความยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถระบายน้ำได้สูงสุด  1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  นอกจากนี้                    ยังเป็นโครงการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ให้เร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

                   2. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบในหลักการการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการฯ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว  แบ่งเป็น                (1) การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนประมาณร้อยละ 75 เข้าใจในวัตถุประสงค์และประโยชน์ของโครงการ  (2) การสำรวจปักหลักเขต โดยได้ดำเนินการปักหลักเขตชลประทานแล้วเสร็จเป็นระยะทาง 22 กิโลเมตร  (จากระยะทางทั้งหมด 22.50 กิโลเมตร) และ (3) การจัดหาที่ดิน โดยราษฎรเจ้าของที่ดินได้ยื่นคำขอรังวัดแล้ว จำนวน 482 แปลง ดำเนินการรังวัดที่ดินแล้ว  จำนวน 164 แปลง  ตรวจสอบทรัพย์สินแล้ว จำนวน 78 แปลง  และได้ดำเนินการจ่ายเงินค่าที่ดินและค่ารื้อย้ายแล้ว จำนวน 52 แปลง  คิดเป็นเนื้อที่ 129 ไร่ 3 งาน 26.20 ตารางวา  เป็นเงินจำนวน 87.32 ล้านบาท (จากทั้งหมด 440 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2,710 ไร่) นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 เห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเพื่อขอเวนคืนที่ดินเพื่อใช้ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ด้วยแล้ว

                   3. ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบคลองระบายน้ำหลากและอาคารประกอบ  พร้อมส่วนประกอบอื่น เสร็จแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2561 และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561  ได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติเปิดโครงการและงบประมาณต่อไป

                   4. โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่จัดอยู่ในประเภทหรือกิจการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)  จึงได้จัดทำแผนงานป้องกัน  แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง แผนงบประมาณให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ตามแผนงานที่วางไว้  วงเงิน 100.97 ล้านบาท (รวมอยู่ในวงเงินงบประมาณโครงการ)

 

9.เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ พร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดสกลนคร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติให้ กษ. (กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ  พร้อมระบบส่งน้ำ  จังหวัดสกลนคร มีกำหนดแผนงานโครงการ 5 ปี (งบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2566) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 1,249 ล้านบาท

                   2. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.)  พิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงานของโครงการต่อไป

                   สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                    สาระสำคัญของเรื่อง

                   โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ พร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในลำน้ำยามบริเวณบ้านก่อไว้ช่วยเหลือการเพาะปลูกโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง  ให้แก่พื้นที่บางส่วนของอำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร  เนื่องจากในฤดูแล้งราษฎรในพื้นที่โครงการไม่มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค – บริโภค  และการเกษตรกรรมเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลา  และทำการประมง  รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยโครงการ ฯ ไม่จัดอยู่ในประเภทหรือกิจการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และโครงการได้ดำเนินการสำรวจ – ออกแบบ  งานประตูระบายน้ำหัวงาน  อาคารประกอบ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560 และระบบส่งน้ำฝั่งขวาและระบบส่งน้ำฝั่งซ้าย อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และได้จัดหาที่ดิน เพื่อการก่อสร้างโครงการประมาณ 730 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1,640 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เนื้อที่ประมาณ 1,575 ไร่ และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์เนื้อที่ประมาณ 65 ไร่  โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมด้านการสำรวจปักหลักเขต  เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านการจัดหาที่ดินได้ทันทีเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เริ่มดำเนินโครงการ  ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบการดำเนินโครงการฯ

 

10.เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง – น้ำก่ำ  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทาน ดำเนินโครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง – น้ำก่ำ             อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร มีกำหนดแผนงานโครงการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2566) กรอบวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,100 ล้านบาท

                   2. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.)  พิจารณาจัดหาแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป

                   สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง – น้ำก่ำ  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตอำเภอเมืองสกลนคร  และอำเภอโคกศรีสุพรรณ  โดยการก่อสร้างคลองผันน้ำเพื่อตัดยอดน้ำจากลำน้ำพุงก่อนไหลลงสู่หนองหาร โดยผันน้ำลงสู่ลำน้ำก่ำ  สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่หนองหารได้ประมาณ 55  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และช่วยเหลือประชาชนเพื่อการอุปโภคบริโภค  การเกษตร

 

11.เรื่อง ขออนุมัติกรอบงบประมาณโครงการณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ พ.ศ. 2563 – 2565

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบงบประมาณโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทย ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ  พ.ศ. 2563 – 2565 วงเงินงบประมาณรวม 359,733,400 บาท และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  เพิ่มการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้กับเกษตรกรและประชาชนในเรื่องการบริหารจัดการการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร  โดยให้ปรับแผนงบประมาณ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ในปี 2562 ด้วย ตามที่ พณ. เสนอ ทั้งนี้ รายละเอียดงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   พณ. รายงานว่า

  1. โครงการประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและ

ต่างประเทศ  ปี 2563 – 2565 เป็นการดำเนินโครงการเชิงรุกในการขยายตลาดและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องขั้นต่ำ  3 ปี (ปี 2563 – 2565) เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยโครงการมีการดำเนินการที่สำคัญ จำนวน 11 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรม / หน่วยงาน

รายละเอียดการดำเนินการ

กิจกรรมในต่างประเทศ (ด้านการตลาด)

  1. การจับคู่ธุรกิจสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว

เพื่อเร่งรัดการส่งออก (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พณ.)

เชิญผู้นำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวรายสำคัญเดินทางมาเจรจาการค้าและสั่งซื้อสินค้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว

  1. การส่งเสริมตลาดสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว

ต่าง ๆ ของไทย ผ่านทางออนไลน์ และเครือข่ายพันธมิตรออนไลน์สร้างความร่วมมือกับ e-Marketplace ชั้นนำ (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พณ.)

สร้างความร่วมมือกับ e-Marketplace ชั้นนำ เพื่อส่งเสริมการซื้อ – ขายสินค้าข้าวและผลิตภัณธ์จากข้าวของไทยควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับข้าวและสินค้าข้าวไทยผ่านการเชิญ Key Opinion Leader หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และนำไปเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง

กิจกรรมด้านมาตรฐาน

3.การจัดคณะผู้แทนไทยไปหารือกับผู้นำเข้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน (กรมการค้าต่างประเทศ พณ.)

ติดตามคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย สำรวจตลาดและการใช้เครื่องหมายรับรองฯ ในต่างประเทศ

4. การจัดประชุมสัมมนาชี้แจงมาตรฐานข้าวไทยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (กรมการค้าต่างประเทศ พณ.)

ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในโอกาสที่มีการเชิญประชุมอัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (58 แห่ง)

5. การจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย/ เครื่องหมายการค้าในประเทศที่เป็นตลาดสำคัญของข้าวไทย (กรมการค้าต่างประเทศ พณ.)

-

6. การพัฒนาฐานข้อมูลโภชนาการข้าวและห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ข้าวตามมาตรฐานสากล  (กรมการข้าว กษ.)

จัดทำฐานข้อมูลโภชนาการข้าวและพัฒนาฐานข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ ศึกษาโภชนาการคุณสมบัติเฉพาะในข้าว กรณีการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในข้าว พัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์กลูเตนและคลอเลสเตอรอล

7. การพัฒนาและส่งเสริมการตามสอบสินค้าข้าว (กรมการข้าว กษ.)

พัฒนาและปรับปรุงระบบการตามสอบสินค้าข้าว (Traceability) เพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ จำนวน 5 ภาษา ได้แก่  ภาษาอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส  เยอรมัน  และอารบิค  รวมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ระบบฯ 

8. การส่งเสริมการผลิตและประชาสัมพันธ์สินค้าข้าวพันธุ์แท้เพื่อรองรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมการข้าว กษ.)

ส่งเสริมการผลิตสินค้าข้าวที่ได้เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ โดยได้สินค้าข้าวที่ได้เครื่องหมายข้าวพันธุ์แท้ 5 ชนิดสินค้า ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ กข 43 สังข์หยด  ทับทิมชุมแพ และมะลินิลสุรินทร์ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ในต่างประเทศ จำนวน                    6 ประเทศ ระบบการขอรับรองข้าวพันธุ์แท้ จำนวน 1 ระบบ และประชาสัมพันธ์เครื่องหมายรับรองพันธุ์แท้ให้แก่ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

กิจกรรมในประเทศ

9. การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้คุณประโยชน์ข้าวและการส่งเสริมการบริโภคข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP (กรมการค้าภายใน พณ.)

ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สปอตวิทยุ สื่อออนไลน์ แอพพลิเคชั่น  และรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคร่วมกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ห้างสรรพสินค้า  สมาคมภัตตาคาร สถานพยาบาล เป็นต้น

10. การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการรณรงค์

การบริโภคข้าวไทย (กรมการค้าภายใน พณ.)

จัดงานแถลงข่าว จัดทำ VDO  (Motion Graphic)  รูปแบบ (Infographic เผยแพร่ในงานแถลงข่าวสื่อต่าง ๆ  และ ณ จุดซื้อ (Point of Purchase)  ที่ห้างสรรพสินค้า/ห้างค้าปลีกสมัยใหม่อย่างน้อย  4 แห่ง

11. การจัดงานแสดง Thai Rice Expo (กรมการค้าภายใน พณ.)

จัดนิทรรศการแสดงสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าว ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การตลาด  นวัตกรรมและการศึกษาวิจัย จัดสัมมนาเชิงวิชาการ/เสวนา/การสาธิตเทคโนโลยีและนวัตกรรม ออกบูธ/จัดคูหาจำหน่ายสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และจับคู่ธุรกิจ

 

                   2. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินตามโครงการฯ  ดังนี้

                             2.1 โอกาสในการขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุกผ่านช่องทางทั้งด้านออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อรักษากลุ่มเป้าหมายเดิมและเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ตลอดจนสร้างการยอมรับและเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวของประเทศไทย

                             2.2 คุณภาพและมาตรฐานข้าวไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดเก่าและตลาดใหม่ ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมั่น ยอมรับในคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย มีการสั่งซื้อข้าวไทยอย่างต่อเรื่อง ส่งผลถึงราคาและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย

                             2.3 เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  รวมถึงได้รับการส่งเสริม/กำกับดูแลใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยเชิงรุก รวมถึงมีระบบการกำกับดูแลเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ ทำให้การร้องเรียนจากผู้นำเข้าลดลง

                             2.4 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพมาตรฐานข้าวดำเนินได้ด้วยความรวดเร็วเป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินการ

 

12.เรื่อง การขอรับเงินอุดหนุนรายปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และทุนประเดิมงวดที่สอง

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบแผนการใช้เงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ กสศ. ตามที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. เห็นชอบแล้ว ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท เพื่อ กสศ. จะได้จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ต่อไป

                   2. เห็นชอบในหลักการในการจัดสรรทุนประเดิมงวดที่ 2 แก่ กสศ. จำนวน 300.00 ล้านบาท               เพื่อ กสศ. จะได้จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กสศ. รายงานว่า

                   1. กสศ. เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561) โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม รวมทั้งมีศักยภาพที่จะดำรงชีวิตโดยพึ่งพาตนเองได้                 อย่างมั่นคง

                   2. ที่ผ่านมา กสศ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้

                             2.1 ทุนประเดิมงวดแรก จำนวน 700.00 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561

                             2.2 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 499.19 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561

                             2.3 เงินรายปีสำหรับดำเนินภารกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 2,537.37 ล้านบาท ตามนัยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

                   3. คณะกรรมการบริหาร กสศ. (ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561) มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เห็นชอบแผนการใช้เงิน กสศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. ได้อนุมัติด้วยแล้ว โดยแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีสาระสำคัญ ดังนี้

                             3.1 วิสัยทัศน์ : เด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

                             3.2 พันธกิจ : การบรรลุวิสัยทัศน์ระดับประเทศข้างต้น กสศ. จะเน้นบทบาท ดังนี้                (1) ลงทุนที่ใช้ความรู้นำเพื่อช่วยเหลือและสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย (2) พัฒนาตัวแบบปฏิรูปหรือนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งผ่านตัวแบบปฏิรูปไปยังหน่วยงานหลักสำหรับขยายผลในระยะยาว              (3) เสนอแนะมาตรการหรือจัดการศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และ (4) ระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน

                             3.3 เป้าประสงค์ : (1) ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือและมีโอกาสในการศึกษาพัฒนาตามศักยภาพ (2) ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และ (3) ภาครัฐและสังคมมีแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่ได้ผลยิ่งขึ้น

                             3.4. ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

                                      1) สร้างความมั่นใจในศักยภาพและประสิทธิภาพหน่วยบริการ

                                      2) กระตุ้นการให้ทุนการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศ

                                      3) เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกับภาคี

                                      4) สร้างความเข้มแข็งให้จังหวัดมีกลไกความพร้อมในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

                                      5) ยกระดับความสามารถในการพัฒนาครูทั้งในระบบและนอกระบบ

                                      6) พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                                      7) กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

                             3.5. แผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563   กสศ. ได้ปรับแผนการดำเนินงาน ปี 2563 ให้มี 7 กลุ่มแผนงาน หรือ 15 แผนงาน (จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีจำนวน 12 แผนงาน) ที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยมีแผนการใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวงเงิน 6,063.04 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากกว่า 1.8 ล้านคน ดังนี้

                                      1) กลุ่มแผนงานพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ (1.1) พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลต่อเนื่อง (1.2) พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนภาคีและ กสศ. และ (1.3) พัฒนาองค์ความรู้เชิงระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา

                                      2) กลุ่มแผนงานระบบเงินอุดหนุนต้นแบบ ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน [สถานศึกษากว่า 30,000 แห่ง นักเรียนยากจนพิเศษระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 1.50 ล้านคน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนอนุบาลยากจน จำนวน 184,021 คน ในสังกัด ศธ.]

                                      3) กลุ่มแผนงานพัฒนาครูและสถานศึกษา ได้แก่ (3.1) ครูนอกระบบการศึกษา และ (3.2) โรงเรียนและสถานศึกษา

                                      4) กลุ่มแผนงานส่งเสริมการจัดระบบพื้นที่ต้นแบบสำหรับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กนอกระบบการศึกษา และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 17 – 24 ปี) ประกอบด้วย (4.1) พัฒนากลไกจังหวัดตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (4.2) เด็กนอกระบบการศึกษา – สำรวจและนำเข้าสู่ระบบการศึกษา (4.3) ประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส – ฝึกอาชีพระยะสั้น และ (4.4) เด็กปฐมวัย – เตรียมความพร้อมเข้าสู่โรงเรียน

                                      5) กลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูง* ได้แก่ สร้างนวัตกรสายอาชีพ สร้างครูรุ่นใหม่สำหรับพื้นที่ห่างไกล (*หมายเหตุ : โครงการตามกลุ่มแผนงานสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูงเป็นงบประมาณผูกพันจนกว่าผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร)

                                      6) กลุ่มแผนงานสร้างการมีส่วนร่วมและระดมทุน ได้แก่ การมีส่วนร่วม               อย่างสร้างสรรค์

                                      7) กลุ่มแผนงานพัฒนาระบบงาน ได้แก่ สร้างเสริมระบบธรรมาภิบาลและ              การบริหารจัดการความเสี่ยง บริหารและพัฒนาระบบงาน

 

13.เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้

                   1. เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                   2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม
เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

                   สำนักงบประมาณรายงานว่า

                   ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 (1) กำหนดให้ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ เมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้ 4 หน่วยงานข้างต้น ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาประมาณการรายได้ กำหนดนโยบาย วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 8 มกราคม 2562 นั้น

                   สำนักงบประมาณได้ดำเนินการตามนัยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว

                   1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                             1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ

                                  เศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ภาคการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นตามการเร่งเบิกจ่ายของโครงการลงทุนสำคัญที่มีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2563 – 2564 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีการขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 0.8 – 1.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 5.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

                             1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล

                                  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,256,500              ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีการส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,750,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ จำนวน 2,550,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 200,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.8

                             1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                                  จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนการปฏิรูปประเทศและนโยบายรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 450,000 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่กำหนดไว้ 3,000,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 200,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7 โดยมีสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 3,200,000 ล้านบาท ดังนี้

                                      1) โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้

                                                (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,358,410.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 85,754.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.7 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.8

                                                (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 62,709.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งไม่มีการเสนอตั้งงบประมาณ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของวงเงินงบประมาณรวม

                                                (3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 691,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 42,061.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

                                                (4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 87,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 9,474.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของวงเงินงบประมารรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 2.6

                                   2) รายได้สุทธิ จำนวน 2,750,000 ล้านบาท

                                   3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 450,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสัดส่วน           ร้อยละ 2.6

                                    ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,200,000 ล้านบาท ดังกล่าวเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2563 – 2565) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีจำนวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

 

14.เรื่อง แนวทางการจัดซื้อยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการจัดซื้อยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา  ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย

ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการนโยบาย) ได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายในการประชุมครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย ดังนี้

                   1. ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย มูลค่ารวมไม่น้อยกว่าร้อยละ30 ของแผนความต้องการจัดซื้อยาตามชื่อสามัญ (Generic name)  หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยารายการที่ตรงกับบัญชีนวัตกรรมไทยทั้งหมดของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้

                             1.1 จัดซื้อยาทั่วไป (ยาเคมี) ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยตามบัญชีรายการยาของหน่วยงานนั้น ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่ารวมของเงินงบประมาณค่าจัดซื้อยาทั่วไป  (ยาเคมี)  ตามชื่อสามัญที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ณ ต้นปีงบประมาณ

                             1.2 จัดซื้อยาชีววัตถุ ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยตามบัญชีรายการยาชีววัตถุของหน่วยงานนั้น ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่ารวมของเงินงบประมาณค่าจัดซื้อยาชีววัตถุตามชื่อสามัญที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ณ ต้นปีงบประมาณ

 

                   2. วิธีการจัดซื้อในบัญชีนวัตกรรมไทย

                             2.1 หากรายการยาตามชื่อสามัญ (Generic name)  ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามบัญชีนวัตกรรมไทยรายการใด มีผู้แทนจำหน่ายเอกชนเพียงรายเดียว และมีองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร ได้ผลิตออกจำหน่ายด้วยแล้ว หน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้แทนจำหน่ายเอกชน  องค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยรายใดก็ได้ 

                             2.2 หากรายการยาตามชื่อสามัญ (Generic name)  ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามบัญชีนวัตกรรมไทยรายการใด มีผู้แทนจำหน่ายเอกชนหลายราย  และมีองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย  หรือโรงงานเภสัชกรรมทาหร ได้ผลิตออกจำหน่ายด้วยแล้ว หากหน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อจากผู้แทนจำหน่ายเอกชน  ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก  แต่หากจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร  หน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร  ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยรายใดก็ได้

                             อนึ่ง หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้นโดยเคร่งครัด หากในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถจัดซื้อยาทั่วไป  (ยาเคมี) หรือ ยาชีววัตถุ ได้ตามสัดส่วนร้อยละที่กำหนดไว้ในข้อ 1.1 และข้อ 1.2 หน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งจะต้องรายงานเหตุผลความจำเป็นไปยังหน่วยงานต้นสังกัดทุกรายไตรมาส เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดรายงานไปยังสำนักงบประมาณต่อไป

 

15.เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เกี่ยวกับการกู้เงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เกี่ยวกับการกู้เงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) โดยเห็นชอบให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมและนำมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้ต่อ  สำหรับการดำเนินโครงการฯ ภายใต้กรอบวงเงิน 166,342.61 ล้านบาท  โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่ รฟท. เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินโดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น  ดอกเบี้ย  และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับ รฟท. ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

 

16.เรื่อง มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้

                   1. รับทราบมาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ

                   2. ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามข้อ 1 ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมผลการดำเนินการรายงานต่อคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในการพิจารณาดำเนินการดังกล่าวให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                   3. เห็นชอบแนวปฏิบัติในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ดังนี้

                              1) ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่อง ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่สมควรเป็นเจ้าภาพหลัก/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา แล้วแจ้งผลการดำเนินการ/ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

                              2) ให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งผลการดำเนินการ/ความเห็นไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                              3) เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งผลการดำเนินการ/ความเห็นจากส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเรื่องของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมผลการดำเนินการ/ความเห็นต่าง ๆ ดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ ต้องก่อนครบกำหนด 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช

          มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะซึ่งเป็นมาตรการเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติราชการหรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตและกระทำความผิดในกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาตรการฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

 

มาตรการ

สรุปสาระสำคัญ

1) มาตรการระยะเร่งด่วน

1.1 มาตรการทางการบริหาร ที่ควรดำเนินการเสร็จภายใน 6 เดือน เช่น 1) ป้ายโฆษณาทุกประเภทต้องมีเลขทะเบียนควบคุมเป็นระบบเดียว ซึ่งบ่งบอกหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตหรือกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความเข้มงวดในการกำกับดูแล และจัดระเบียบ 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสมสำหรับแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งมีแนวทางการจัดการที่ชัดเจนและรายงานผลการดำเนินการภายหลัง

1.2) มาตรการทางกฎหมาย ที่ควรดำเนินการเสร็จภายใน 1 ปี เช่น (1) กำหนดนิยามของคำว่าป้ายโฆษณาให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดลักษณะ รูปแบบ และขนาด ของป้ายโฆษณาให้เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางในการควบคุมดูแล (2) กำหนดค่ามาตรฐานความเข้มของแสงบนป้ายโฆษณาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และ (3) ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตติดตั้งให้เหมาะสมกับปัจจุบัน

2) มาตรการระยะยาว

ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยควรจัดให้ความรู้ทางกฎหมายแก่สมาคมโฆษณา สมาคมคอนโดมิเนียม หรือสมาคมภาคธุรกิจเอกชนอื่น ๆ ที่มีความประสงค์จะติดตั้งป้ายโฆษณาในพื้นที่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และควรรณรงค์ให้เครือข่ายประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ

 

17.เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก ปี 2562 ของกระทรวงการคลัง

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการทางด้านภาษีรวม 2 มาตรการ และมาตรการทางด้านการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึกของ SFIs ทั้ง 7 แห่ง รวมจำนวน 19 มาตรการ และเห็นชอบมาตรการทางด้านภาษี รวม 2 มาตรการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้  กระทรวงการคลังจะรายงานผลความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กระทรวงการคลังเสนอมาตรการทางด้านภาษีและมาตรการทางด้านการเงินผ่าน SFIs ดังนี้

                   1. มาตรการทางด้านภาษี

                             1.1 มาตรการหักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

                                      การบริจาคให้กับผู้ประสบอุทกภัยผ่านหน่วยงานส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล องค์การหรือสถานสาธารณกุศล เช่น กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น หรือผ่านเอกชนที่เป็นตัวแทนรับบริจาคที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพากรเพื่อนำไปบริจาคต่อให้กับผู้ประสบภัย สามารถนำมาหักลดหย่อนทางภาษี ดังนี้

                                      - บุคคลธรรมดา สามารถนำเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ

                                      - บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

 

                             1.2 มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค

                                      ผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับบริจาค ให้ได้รับการยกเว้น โดยไม่ต้องนำ 1) จำนวนเงินชดเชยจากรัฐบาล และ 2) จำนวนหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนอกเหนือจากเงินชดเชยจากรัฐบาล มาคำนวณเป็นเงินได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ได้รับ

                             ทั้งนี้ มาตรการ 1.1 และ 1.2 ข้างต้น ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมาวลรัษฎร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554

                             1.3 มาตรการยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก

                                      กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคารหรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด และจ่ายระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุ
โซนร้อนปาบึก

                             1.4 มาตรการยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก

                                      กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถ และจ่ายระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 3 หมื่นบาท สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุโซนร้อนปาบึก

                             ทั้งนี้ มาตรการ 1.3 และ 1.4 สามารถดำเนินการได้โดยการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                             อนึ่ง การดำเนินมาตรการฯ ตามข้อ 3 เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และเข้าข่ายการเสนอยกเว้นหรือลดภาษีอากรตามบทบัญญัติในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ วินัยการเงินการคลังฯ) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่องการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 โดย สศค. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และ 32 เรียบร้อยแล้ว

                   2. มาตรการทางด้านการเงินของ SFIs

                             SFIs 7 แห่ง ได้แก่ 1) ธนาคารออมสิน 2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) 5) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และ 7) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก รวมจำนวน 19 มาตรการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

                             2.1 ธนาคารออมสิน จำนวน 1 มาตรการ ได้แก่ มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับบุคคลที่มีที่พักอาศัยหรือสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือรายได้ลดลงสามารถพักชำระหนี้ได้ จะได้รับการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน

                             2.2 ธ.ก.ส. จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

                                      2.2.1 มาตรการขยายระยะเวลาชำระหนี้ กรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้ ธ.ก.ส. จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความหนักเบาของผู้ประสบภัยทุกราย

                                      2.2.2 มาตรการสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและฟื้นฟูการประกอบอาชีพ

                             2.3 ธอส. จำวนวน 6 มาตรการ ได้แก่

                                      2.3.1 มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย จะสามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา 4 เดือน

                                      2.3.2 มาตรการให้สินเชื่อ สำหรับลูกค้าใหม่หรือลูกหนี้ของ ธอส. ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย สามารถขอกู้เพิ่มเติมหรือกู้ใหม่เพื่อซ่อมแซม หรือทดแทนอาคารเดิมได้ โดยมีวงเงินกู้ไม่เกิน              1 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี

                                      2.3.3 มาตรการประนอมหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย และกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ จะสามารถขอประนอมหนี้ได้ โดยมีระยะเวลาประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี               4 เดือน โดย 4 เดือนแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี และเดือนที่ 5 – 16 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

                                      2.3.4 มาตรการประนอมหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ สามารถขอประนอมหนี้ได้ โดยมีระยะเวลาประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

                                      2.3.5 มาตรการช่วยเหลือกรณีลูกหนี้เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา

                                      2.3.6. มาตรการช่วยเหลือกรณีที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ได้รับความเสียหายทั้งหลัง ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น

                   2.4 ธพว. จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

                                      2.4.1 มาตรการพักชำระหนี้ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term Loan) เป็นระยะเวลา 6 เดือน และพักชำระหนี้ดอกเบี้ยสำหรับสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

                                      2.4.2 มาตรการวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับความเสียหายมีเงินทุนไปฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการ วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปีแรก และคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.415 ต่อเดือน ตลอดอายุสัญญา ทั้งนี้ลูกหนี้สามารถให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อได้

                   2.5 ธอท. จำนวน 3 มาตรการ ได้แก่

                                      2.5.1 มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับบุคคลที่มีที่พักอาศัยหรือสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยพักชำระหนี้เงินต้นและกำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน และพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 36 เดือน

                                      2.5.2 มาตรการให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม สำหรับบุคคลที่มีที่พักอาศัยหรือสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยมีวงเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือตามความจำเป็น อัตรากำไรร้อยละ SPRR – 3.5 ต่อปี หรือ SPRL – 2.75 ต่อปี ระยะเวลา 5 ปี และยกเว้นค่าการประเมินราคาหลักประกันและจดจำนอง

                                      2.5.3 โครงการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อพี่น้องมุสลิมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยพายุปาบึก สำหรับบุคคลที่มีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ SPRR – 3.5 ต่อปี ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่ต้องมีหลักประกัน

                   2.6 ธสน. จำนวน 3 มาตรการ ได้แก่

                                       2.6.1 มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน

                                      2.6.2 มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน ซึ่งธนาคารจะพิจารณาตามความรุนแรงหรือผลกระทบที่ลูกค้าได้รับเพื่อเป็นการช่วยเหลือ

                                      2.6.3 มาตรการเงินกู้เพื่อซื้อ/ซ่อมแซมเครื่องจักร/อาคารโรงงานที่ได้รับความเสียหาย โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยให้เงินกู้ระยะเวลา 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี ในปีแรก

                   2.7 บสย. จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

                                      2.7.1 มาตรการขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่ออายุค้ำประกันสินเชื่อ สามารถขอขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันออกไปได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน

                                      2.7.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยร่วมกับธนาคารพันธมิตรที่ร่วมโครงการกับ บสย. โดยวงเงินค้ำประกันสูงสุดไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมการค้ำประกันร้อยละ 0 เป็นระยะเวลาสูงสุด 2 ปี

 

18.เรื่อง ความต้องการงบประมาณของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ศปมผ. ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562 ภายในกรอบวงเงิน 520,455,636 บาท โดยใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   ศปมผ. รายงานว่า

                             1. ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม กำหนดให้จัดตั้ง ศปมผ. เป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการ ศปมผ. ทั้งนี้ ศปมผ. ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) รวมทั้งอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้เกิดการจับกุมและดำเนินคดีผู้กระทำผิดจำนวนมาก รวมทั้งการดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2562 และแผนปฏิบัติการระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ. 2558 – 2562 ซึ่งได้ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป

                             2. การดำเนินงานของ ศปมผ. ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 จะเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติราชการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 โดยเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ดำเนินการตรวจเรือประมงและโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำตามเป้าหมายที่กำหนด การนำแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2558 -2562 แผนปฏิบัติการระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ. 2558 – 2562 แผนการควบคุมและตรวจตราการประมงระดับชาติ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ แผนงานเร่งด่วนตามข้อเสนอแนะของผู้แทนสหภาพยุโรปไปสู่การปฏิบัติ และการเตรียมความพร้อมในการส่งผ่านการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานหลักต่อไป โดยคำนึงถึงการบูรณาการขีดความสามารถ ฐานข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดความต้องการงบประมาณในการบำรุงรักษาระบบ ให้การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งได้พิจารณาความต้องการงบประมาณให้เป็นไปโดยประหยัดและมีความพร้อมที่จะปฏิบัติในกรอบระยะเวลา โดยมีความต้องการงบประมาณจากงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงินรวม 520,455,636 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของ ศปมผ. ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว

 

ต่างประเทศ

19.เรื่อง การเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของไทยในองค์กร Asian Forest Cooperation Organization (AFoCO)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกองค์กร Asian Forest Cooperation Organization (AFoCO) โดยกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำภาคยานุวัติสารและดำเนินการมอบภาคยานุวัติสารให้แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในฐานะผู้เก็บรักษา หรือผู้อำนวยการบริหารของสำนักเลขาธิการฯ (Executive Director of the Secretariat) แล้วแต่กรณีตามนัยข้อ 18 ของข้อตกลงฯ [หัวข้อการเก็บรักษา (ตามข้อ3.2)] ของข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือด้านป่าไม้แห่งเอเชีย (AFoCO) (ข้อตกลงฯ)  ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ

                   สำหรับงบประมาณที่เป็นเงินอุดหนุนรายปีในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กร Asian Forest Cooperation Organization (AFoCO) ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

                    Asian Forest Cooperation Organization (AFoCO) จัดตั้งขึ้นจากการประชุม ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry เมื่อปี พ.ศ. 2557 ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี และการประชุม 6th  Meeting of the Dialogue for the Establishment of Asian Forest Cooperation Organization เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558  ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการอนุรักษ์และป้องกันการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ สนับสนุนการบริหารจัดการป่าไม้ยั่งยืน และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบันมีประเทศผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก AFoCO อย่างเป็นทางการแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต ราชอาณาจักรภูฏาน ราชาอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

                   ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการด้านป่าไม้จากรัฐบาลเกาหลีด้วยดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดภายใต้ความร่วมมือ ASEAN-ROK Forest Cooperation: AFoCo ทั้งทางด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ การฝึกอบรมและสัมมนา การสนับสนุนการศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ Korea Forest Service of Republic of Korea มีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือด้านป่าไม้แห่งเอเชีย (AFoCO) โดยการที่ประเทศไทยสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้จะก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีโดยรวมของประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการป่าไม้ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

20. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 22

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงข่าวของประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 22: การยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายออกแถลงข่าวของประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 22 : การยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ

                   สาระสำคัญของร่างเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้

                   1. ร่างแถลงข่าวของประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ  ร่างแถลงข่าวฯ สะท้อนผลการหารือในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งแรกภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของไทยในปี 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย แนวนโยบายในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนของไทยในฐานะประธานอาเซียนภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งรวมถึงเรื่องการสร้างความเชื่อมโยงที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ การส่งเสริมความยั่งยืนและเสถียรภาพในภูมิภาค และการเตรียมความพร้อมและวางแผนสำหรับอนาคต เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่มั่นคง เข้มแข็ง และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่าง ๆ อาทิ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution) รวมถึงภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ และภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนวทางในการเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการปฏิสัมพันธ์กับภาคีภายนอก ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาการที่สำคัญต่าง ๆ ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ

                   2. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 22: การยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ถ้อยแถลงร่วมฯ เน้นย้ำค่านิยมร่วมของอาเซียนและสหภาพยุโรปในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การเคารพในอธิปไตย ความเสมอภาค แนวคิดภูมิภาคนิยมและพหุภาคีนิยม กฎระเบียบระหว่างประเทศ และการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี อีกทั้งยังแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน การบูรณาการระดับภูมิภาค ทั้งนี้ โดยที่อาเซียนและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลายด้าน รัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและสหภาพยุโรปจึงเห็นพ้องที่จะยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านการเมืองและความมั่นคง ความเชื่อมโยง การค้า การลงทุน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และการจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ให้สำเร็จโดยเร็ว

 

แต่งตั้ง

21.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายภานุวัฒน์ ณ นครพนม ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์ (นักวิชาการสหกรณ์ทรงคุณวุฒิ) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

22.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสุดธิดา หมีทอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เคมี) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

 

23.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายปัญญาพล ศรีแสงแก้ว ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

 

24.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 10 ราย ดังนี้

                   1. นายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   2. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                   3. นางสาวประดินันท์ สดีวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   4. นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   5. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 (ปทุมธานี) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   6. นายประหยัด อนุศิลป์ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 (นครศรีธรรมราช) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   7. นายสันติ แสงระวี รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 (ยะลา) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   8. นายชอุ่ม กรไกร รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 (อุบลราชธานี) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 (ชลบุรี) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   9. นายธีรพงษ์ สารแสน รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 (อุดรธานี) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   10. นายนิสิต ชายภักตร์ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 (ภูเก็ต) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 (เชียงใหม่) สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่ง           ที่ว่าง

 

25.เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา รวม 7 คน ดังนี้

                   1. นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ

                    2. นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ

                   3. นายฆนัท ครุธกูล (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) กรรมการ

                   4. นางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์ (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) กรรมการ

                   5. นายอุกฤษฏ์ มนูจันทรัถ กรรมการ

                   6. นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กรรมการ

                   7. นางสาวชุติมา ศรีปราชญ์ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) กรรมการ

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

 

26.เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง รวม 6 คน ดังนี้

                   1. นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์            ประธานกรรมการ

                   2. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                   3. นางพิลาสลักษณ์ ยุคเกษมวงศ์             กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                   4. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                   5. นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                   6. นางสีลาภรณ์ บัวสาย                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

27.เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้ นางสาวกัญญวิมว์  กีรติกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปี ในวันที่  9 มกราคม 2562 คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • งบ’69ฉลุยแน่  พรรคร่วมพร้อมโหวตหนุน  ครม.เคาะวงเงิน3.78ล้านล้าน งบ’69ฉลุยแน่ พรรคร่วมพร้อมโหวตหนุน ครม.เคาะวงเงิน3.78ล้านล้าน
  • ครม.ไฟเขียวแผนขับเคลื่อนศก.  อนุมัติ1.57แสนล.  กระจายลง4โครงการขนาดใหญ่ ครม.ไฟเขียวแผนขับเคลื่อนศก. อนุมัติ1.57แสนล. กระจายลง4โครงการขนาดใหญ่
  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
  • เปิดสัดส่วน‘งบ69’ ครม.ไฟเขียววงเงิน 3.78 ล้านล้าน เปิดสัดส่วน‘งบ69’ ครม.ไฟเขียววงเงิน 3.78 ล้านล้าน
  • เช็คด่วนที่นี่!!! อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 13 สาขา เช็คด่วนที่นี่!!! อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 13 สาขา
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  •  

Breaking News

ตร.บก.ปปป.ลงพื้นที่ตรวจสอบ อดีตนายกฯเล็ก ละเว้นการอนุญาตปชช.ก่อสร้างทำประโยชน์ในที่ดินของตน

ไม่อยากรู้‘อิ๊งค์’รวย! ‘โฆษก พปชร.’งงตรรกะ‘ภูมิธรรม’ แจงภารกิจ‘นายกฯ’บินอังกฤษ

ทบ.แจงปม'น้ำมันหาย' ชี้เหตุเกิดปี 66 เร่งสอบข้อเท็จจริงเพิ่ม

วิสามัญ 2 ศพ! 'กกล.ผาเมือง'ปะทะเดือด'แก๊งขนยานรก' ยึดยาบ้า 500,000 เม็ด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved