วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 10 กันยายน 2562

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 10 กันยายน 2562

วันอังคาร ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562, 16.16 น.
Tag : คณะรัฐมนตรี ครม. สรุปมติคณะรัฐมนตรี
  •  

วันนี้ (10 กันยายน 2562) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)

 

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

รง. เสนอว่า

1.โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังนี้ (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุด้ทาย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย  สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และ (6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2.สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549  โดยขอแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าชดเชย  และเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน ปรับเพิ่มในอัตราสูงสุดจาก 300 วัน  เป็น 400 วัน

3.ในการประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามข้อ 2 ในข้อ 59 (5) (6) และข้อ 61 (3) โดยปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยและปรับเพิ่มเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย  400 วัน  และกำหนดสิทธิการได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน ให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด  ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562

4.พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างและมาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติให้มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

5.ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ยังเห็นควรกำหนดให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ  หรือคำสั่งของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 จึงจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวโดยเร่งด่วน

สาระสำคัญของร่างประกาศ (ที่มีการปรับปรุง)

1.กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้รับสิทธิค่าชดเชย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (ปรับจากประกาศปัจจุบันให้เกิดความชัดเจน)

2.กำหนดให้ขยายสิทธิได้รับค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (เพิ่มเติมจากประกาศปัจจุบัน)

3.กำหนดให้ขยายสิทธิให้แก่ลูกจ้างผู้ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน (เพิ่มเติมจากประกาศปัจจุบัน)

4.กำหนดสิทธิการได้รับเงินตอบแทนความชอบในการทำงานตามอัตราที่กำหนดโดยให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ  ข้อกำหนด  ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 เป็นต้นไป (เพิ่มเติมจากประกาศปัจจุบัน)

 

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ….

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. …. ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างประกาศ 

                   1. กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง โดยมีผู้แทน สคร. ที่ผู้อำนวยการ สคร. มอบหมาย เป็นเลขานุการ 

                   2. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

                   3. กำหนดวิธีการได้มาซึ่งรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ให้กรรมการสรรหาเสนอชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในสาขาความเชี่ยวชาญตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด พร้อมทั้งประวัติย่อและความยินยอมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ และวิธีการอื่นที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร  

                   4. กำหนดวิธีการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้

                             4.1 เมื่อได้รายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมให้จัดทำบัญชีรายชื่อแยกเป็นรายสาขา ความเชี่ยวชาญตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด  

                             4.2 ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อให้เหลือจำนวน 2 เท่าของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                             4.3 ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามก่อนเสนอรายชื่อพร้อมทั้งประวัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  

                             4.4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาคัดเลือกบุคคลแล้วเสนอรายชื่อพร้อมทั้งประวัติของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยวิธีสรรหาต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป

 

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ….

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                   ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เป็นการยุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 เนื่องจากได้มีการโอนภารกิจหน้าที่ของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 แล้ว ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 24 กันยายน 2562 และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

 

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. ….

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   อว. เสนอว่า

                   1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 33 บัญญัติให้ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2562) มาตรา 20 บัญญัติให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

                   2. โดยที่มาตรา 20 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้หลักเกณฑ์วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงจึงได้ยกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวขึ้น

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   1. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา

                   2. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา คราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน 

                   3. กำหนดเหตุแห่งการพ้นตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา

                   4. กำหนดวิธีการสรรหาและการเลือกประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่ดำเนินการ ประสานงาน กำหนดกรอบเวลา ตลอดจนทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการในการดำเนินการจนเสร็จสิ้น 

                   5. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐอื่น ตามนัยมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐอื่น ตามนัยมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   เป็นการกำหนดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐอื่น ตามนัยมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่สามารถจัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐขึ้นใช้เองทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ เป็นไปด้วยความคล่องตัว และเหมาะสม

 

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                   กำหนดให้มีการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยให้ยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563  

                   ทั้งนี้ ภายใต้หลักการ ดังนี้

                   1. กำหนดให้มีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 

                   2. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

 

เศรษฐกิจ - สังคม

7. เรื่อง ข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน เรื่อง แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand  National Digital  Trade  Platform)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้

1.เห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform : NDTP) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ดำเนินการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทยให้มีความสอดคล้องกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กำหนด รวมทั้งสอดคล้องกับระบบบริการดิจิทัลอื่นๆ เช่น ระบบ National Single Window ของกระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) เป็นต้น เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

2.ให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นำความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เช่น ประเด็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการค้าดิจิทัล (Digital Trade) ระหว่างประเทศกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประเด็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเด็นการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย ประเด็นการพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าวให้รองรับการค้าภายในประเทศในระยะต่อไป เป็นต้น

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform : NDTP) ตามข้อเสนอแนะจากการประชุมหารือร่วมกันของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากที่ประชุมฯ เห็นว่า ในปัจจุบันการพัฒนาด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนยังอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน และมิได้เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีการดำเนินนโยบายเชื่อมโยงข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศอยู่แล้ว และสามารถดำเนินการได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดทำระบบ National Single Window (NSW) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 ธันวาคม 2548) ให้กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดตั้งระบบ NSW] การจัดทำระบบ Doing  Business Portal [คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 ตุลาคม 2560) เห็นชอบในหลักการการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) เป็นต้น ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนา NDTP ที่เสนอในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศที่มีมาตรฐานทางดิจิทัลเดียวกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะพัฒนา NDTP ให้เชื่อมต่อกับระบบ NSW ด้วย โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าว ร่วมกับ กกร.เพื่อให้แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มข้างต้นเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว กกร.จะศึกษาและสรรหาเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มที่สามารถตอบสนองต่อแนวคิดในภาพรวมของ NDTP รวมถึงศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ของ NDTP และประสานสำนักงาน ก.พ.ร.ต่อไป

 

8. เรื่อง ขอเสนอโครงสร้าง และอัตรากำลัง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

                   คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้

                   1. อนุมัติการกำหนดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน และภารกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เสนอ และให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจัดส่งร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งกำหนดโครงสร้างในเรื่องนี้ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้

                   2. อนุมัติกรอบอัตรากำลัง

                             2.1 อัตรากำลังข้าราชการ รวม 1,170 อัตรา

                             2.2 อัตรากำลังพนักงานราชการ รวม 73 อัตรา

และให้ความเห็นชอบหน้าที่และลักษณะงานตามกรอบบัญชีอัตรากำลังของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเสนอ

                   ศรชล. เสนอว่า

                   1. ศรชล. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการ และการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและหน้าที่และอำนาจของส่วนงานและอัตรากำลังให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ดังนั้น ศรชล. จึงได้กำหนดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน และภารกิจ รวมทั้งอัตรากำลัง หน้าที่และลักษณะงานตามกรอบบัญชีอัตรากำลังของ ศรชล.เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

                   2. สำหรับอัตรากำลังประกอบด้วย

                             2.1 ข้าราชการ จำนวน 1,170 อัตรา ประกอบด้วย กองทัพเรือ จำนวน 652 อัตรา ตำรวจน้ำ จำนวน 47 อัตรา กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร และกรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง จำนวนหน่วยละ 45 อัตรา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 23 อัตรา และสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน  268 อัตรา

                             2.2 พนักงานราชการ จำนวน 73 อัตรา เสนอขอจากสำนักงาน ก.พ.

                   3. การบริหารกำลังพลของ ศรชล. ในส่วนของหน่วยงานตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร กรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้น จะกำหนดให้หมุนเวียนมาปฏิบัติหน้าที่คราวละ 2 ปี โดยไม่กระทบกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งในสายงานปกติ และจะพิจารณากำหนดอัตราในสายงานกฎหมาย การเงิน การบัญชี สารบรรณ และธุรการ

                   4. นอกจากนี้ ในส่วนของอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ยังมีข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ควบกับหน้าที่โดยตำแหน่งอื่น จำนวน 34 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจน้ำ อธิบดีกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ภาค 1 ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ภาค 2 ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ภาค 3 และผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล

                   5. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กำหนดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน และภารกิจของ ศรชล. รวมทั้งอัตรากำลังหน้าที่และลักษณะงานตามกรอบบัญชีอัตรากำลังของ ศรชล. ดังนี้

                   1. ศรชล. มีภารกิจหน้าที่ และโครงสร้าง ดังนี้

                             1.1 ภารกิจหน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยวางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และรายงานคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและคณะรัฐมนตรีต่อไป

                             1.2 โครงสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนงาน ดังนี้

                                      1.2.1 ส่วนบริหาร ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชา

                                       1.2.2 ส่วนอำนวยการ ประกอบด้วย (1) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร  (2) กลุ่มตรวจสอบภายใน (3) สำนักบริหารกลาง (4) สำนักนโยบายและแผนความมั่นคงทางทะเล (5) สำนักปลัดบัญชี (6) สำนักสืบสวนสอบสวน และกฎหมาย (7) สำนักการฝึกและฝึกอบรม (8) ศูนย์ยุทธการ

                                      1.2.3 ส่วนปฏิบัติการ ประกอบด้วย สำนักปฏิบัติการที่ 1 – 6 นอกจากนี้ มีหน่วยปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย (1) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 – 3 (2) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัด (3) ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือ

                   2. กรอบอัตรากำลัง ประกอบด้วย อัตรากำลังข้าราชการ รวม 1,170 อัตรา และอัตรากำลังพนักงานราชการ รวม 73 อัตรา

                   3. หน้าที่และลักษณะงานตามกรอบบัญชีอัตรากำลังของ ศรชล. เช่น

                             3.1 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศรชล. มีหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน ศรชล. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลงานของทางราชการ

                             3.2 กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารเรือดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ศรชล. มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการ ศรชล. ในการประสานสภาความมั่นคงแห่งชาติ บริหารงานทรัพยากร สำนักงบประมาณ สำนักกฎหมาย บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และกำหนดหลักนิยม อำนวยการให้หน่วยงานหรือส่วนราชการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารงานของคณะกรรมการบริหาร ศรชล. กำกับดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผน ประสานกับหน่วยงานภายใน ศรชล. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติ และเสนอแนวทางการดำเนินงานของ ศรชล. ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

 

9. เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขการจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลังของ กอ.รมน.

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบดังนี้

                   1. อนุมัติการจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน และอำนาจหน้าที่ของส่วนงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ

                   2. เห็นชอบในหลักการร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดำเนินการต่อไปได้

                   3. อนุมัติกรอบอัตรากำลังช่วยราชการ รวม 1,452 อัตรา และอัตรากำลังประจำ รวม 171 อัตรา ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ

                   4. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรรับความเห็นของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                   สาระสำคัญของร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี

                   ปรับปรุงการจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน หน้าที่และอำนาจของส่วนงาน และอัตรากำลังของ  กอ.รมน. ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 179/2552 เรื่อง การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลังของ กอ.รมน. ดังนี้

                   1. ปรับปรุงการจัดโครงสร้างและการแบ่งส่วนงาน จากเดิม 12 ส่วนงาน เป็น 17 ส่วนงาน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

การแบ่งส่วนงานและอัตรากำลังปัจจุบัน

การแบ่งส่วนงานและอัตรากำลังที่ขอปรับปรุง

(1) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

(2) กลุ่มตรวจสอบภายใน

(3) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

(4) สำนักการข่าว

(5) สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ

(6) สำนักบริหารงานบุคคล

(7) สำนักงบประมาณและการเงิน

(8) สำนักบริหารงานทั่วไป

(9) ศูนย์ติดตามสถานการณ์

(10) ศูนย์ประสานการปฏิบัติ

(11) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค

(12) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (คงเดิม)

กลุ่มตรวจสอบภายใน (คงเดิม)

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (คงเดิม)

 

สำนักการข่าว (คงเดิม)

สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ (คงเดิม)

สำนักบริหารงานบุคคล (คงเดิม)

สำนักงบประมาณและการเงิน (คงเดิม)

สำนักส่งกำลังบำรุง (เปลี่ยนชื่อ)

สำนักบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน (เปลี่ยนชื่อ)

ศูนย์ประสานการปฏิบัติ (คงเดิม)

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค (คงเดิม)

 

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (คงเดิม)

 

สำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน (ตั้งใหม่)

สำนักงานเลขานุการ (ตั้งใหม่)

สำนักจเร (ตั้งใหม่)

ศูนย์ดิจิทัลเพื่อความมั่นคง (ตั้งใหม่)

ศูนย์การศึกษาและวิทยาการด้านความมั่นคง (ตั้งใหม่)

                             1.1 สำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน  และกำกับดูแลเกี่ยวกับกิจการด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนของ กอ.รมน. ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง คดีอาญา คดีแพ่ง และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และดำเนินการเกี่ยวกับนิติกรรม สัญญา และการสงเคราะห์ทางกฎหมาย ในความรับผิดชอบของ กอ.รมน. เป็นต้น

                             1.2 สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการและธุรการของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รองเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย การประชาสัมพันธ์โดยบูรณาการเครื่องมือทั้งภาครัฐและเอกชน และเป็นหน่วยงานกลางในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งรับผิดชอบงานธุรการและงานสารบรรณ

                             1.3 สำนักจเร มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ตรวจสอบ ประเมินผล และสอบสวนอย่างอิสระในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน กอ.รมน. สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องการร้องทุกข์ร้องเรียน และให้คำแนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติงานของส่วนราชการใน กอ.รมน. ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น

                             1.4 ศูนย์ดิจิทัลเพื่อความมั่นคง มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ของ กอ.รมน. เป็นต้น

                             1.5 ศูนย์การศึกษาและวิทยาการด้านความมั่นคง มีหน้าที่และอำนาจจัดอบรมด้านการรักษาความมั่นคงภายในให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมทุกระดับ ทุกภาคส่วน และจัดทำหลักนิยม องค์ความรู้ ตำรา คู่มือ และหลักสูตรการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                   2. ปรับปรุงอัตรากำลัง ประกอบด้วยอัตรากำลังช่วยราชการ จากเดิม 1,578 อัตรา ลดลงเหลือ 1,452 อัตรา ส่วนอัตรากำลังประจำ รวม 171 อัตรา เป็นการบริหารจัดการภายใต้กรอบอัตรากำลังประจำที่มีอยู่เดิม

                   3. ให้หน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนการอำนวยการของ กอ.รมน. และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน. ตามที่ได้รับการประสานและร้องขอ

 

10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง ปี 2562 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ

                    คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง ขออนุมัติงบกลาง ปี 2562 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 261,533,200 บาท เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ  ของกรมชลประทาน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมจำนวน 78 โครงการ โดยให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้  การดำเนินการดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขป้องกันอุทกภัยอย่างยั่งยืน ความคุ้มค่าในการดำเนินงานและประโยชน์สุงสุดของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการอื่นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน และสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในเดือนกันยายน  2562 และเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินโครงการต่อสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในโอกาสแรก เพื่อรายงานถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                    สาระสำคัญ

                    1. สทนช. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กรมชลประทาน  กรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562  ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณากำหนดแนวทางการพิจารณาแผนงานโครงการที่จะดำเนินการในระยะเร่งด่วน ดังนี้

(1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันหรือแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากอุทกภัยในพื้นที่  และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

(2) เป็นโครงการที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที โดยให้หน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดทำแบบรูปรายการ และประมาณราคาค่าก่อสร้าง (ปร.4  ปร.5) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนด และสามารถใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายในเดือนกันยายน 2562

(3) ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการโดยพิจารณาแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการขอรับจัดสรร

(4) กรณีพื้นที่ดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ อปท.มีหนังสือยืนยันความจำเป็นและความต้องของประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องการให้ส่วนราชการที่มีภารกิจหน้าที่นั้นๆ สนับสนุนการดำเนินงาน

                    2. สทนช.ได้รวบรวมแผนงานโครงการและข้อคิดเห็นจากหน่วยงานตามแนวทางข้างต้น โดยมี 2 หน่วยงานที่เสนอแผนงานโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ กรมชลประทาน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมวงเงินทั้งสิ้น 261.5332 ล้านบาท ส่วนกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ไม่เสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เสนอให้มีแผนงานโครงการเป่าล้างบ่อบาดาลที่เสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นภารกิจถ่ายโอน ซึ่งต้องรอให้ระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงเพียงพอในระดับที่จะเคลื่อนย้ายเครื่องจักรเข้าดำเนินการในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ เห็นควรแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำรวจบ่อบาดาลที่ถูกน้ำท่วมไหลลงสู่บ่อบาดาลในพื้นที่รับผิดชอบ และดำเนินการตามภารกิจฯ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลยินดีให้การสนับสนุนด้านเทคนิค วิธีการและวิชาการด้านน้ำบาดาล ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการแก้ไขปัญหา

 

11. เรื่อง มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้”

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” (มาตรการฯ) ดังนี้

                   กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการปกครอง และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินมาตรการฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) และติดตามความคืบหน้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นว่ามีประเด็นวิธีการดำเนินมาตรการที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและเกิดประโยชน์กับประชาชนมากยิ่งขึ้น

                   การดำเนินมาตรการฯ นี้จะเริ่มต้นในวันที่ 27 กันยายน 2562 จึงจำเป็นที่จะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการดำเนินมาตรการฯ โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้จัดทำระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ และสามารถประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจการดำเนินมาตรการฯ อย่างถูกต้อง

                   สาระสำคัญ

                   ขอแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินมาตรการฯ โดยมีประเด็นที่จะแก้ไขเพิ่มเติม และเหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ดังนี้

มติคณะรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562

(เฉพาะที่ขอแก้ไข)

ประเด็นที่จะแก้ไขเพิ่มเติม

เหตุผลของการแก้ไข

เพิ่มเติม

4.1) ประชาชนที่สนใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อเข้าร่วมมาตรการ โดยระบุจังหวัดที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวซึ่งต้องไม่ใช่จังหวัดที่ระบุในบัตรประจำตัวประชาชน และต้องลงทะเบียนก่อนเดินทางท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 วัน

4.1) ประชาชนสัญชาติไทยที่สนใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อเข้าร่วมมาตรการ โดยระบุจังหวัดที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวซึ่งต้องไม่ใช่จังหวัดที่ระบุในทะเบียนบ้าน และต้องลงทะเบียนก่อนเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด

เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจสอบข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

4.2) ผู้ลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วน เพื่อใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดที่เลือก ดังนี้

     4.2.1) รัฐบาลสนับสนุนวงเงินเพื่อเป็นสิทธิ์ในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 1,000 บาทต่อคน

     4.2.2) กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน)

 

4.2) ผู้ลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วน เพื่อใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดที่เลือก ดังนี้

     4.2.1) รัฐบาลสนับสนุนวงเงินเพื่อเป็นสิทธิ์ในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 1,000 บาทต่อคน

     4.2.2) กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พักรวมถึงบริการต่าง ๆ ตามปกติของที่พักนั้น ค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น ค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้น เช่น สปา การเช่าพาหนะ ค่าบริการนำเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดเงินชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน)

1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวแบบครบวงจร

2. เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และให้การใช้จ่ายกระจายไปยังเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น

 

ต่างประเทศ

12. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเชีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (Indonesia - Malaysia – Thailand Growth Triangle: IMT-GT) (Draft Joint Statement of the Twenty-Fifth Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle Ministerial Meeting) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สามารถดำเนินการได้ โดย สศช. จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลังหากมีการปรับปรุงแก้ไขพร้อมด้วยเหตุผลประกอบ รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำแผนงาน IMT-GT และเข้าร่วมการประชุมและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 แผนงาน IMT –GT พร้อมทั้งได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ โดยไม่มีการลงนาม ในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 แผนงาน IMT –GT ในวันที่ 13 กันยายน 2562 และให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนดังกล่าว เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีของไทยในแผนงาน IMT-GT โดยต่อเนื่องต่อไป ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ

(การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 แผนงาน IMT-GT จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 13 กันยายน 2562 ณ จังหวัดกระบี่)

                   สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นการชื่นชมความก้าวหน้าในการดำเนินงานในรอบปี 2561 – 2562 และการยืนยันการขับเคลื่อนตามแผนดำเนินงานระยะห้าปี ปี 2560 – 2564 โดยมอบหมายให้คณะทำงานระดับต่าง ๆ ดำเนินการตามข้อสั่งการจากการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 12 ตลอดจนการยืนยันเจตนารมณ์ในการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาโครงการเพื่อการเชื่อมโยงทางกายภาพ (เช่น ทางด่วน ท่าเรือ และด่านศุลกากร) เพื่อเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจทั้งหกของ IMT-GT ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดเพื่อการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาค IMT-GT ความร่วมมือด้านเกษตร ทั้งประมง ปศุสัตว์ และพันธุ์พืช การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลสู่มาตรฐานสากล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา รวมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและการพัฒนาเมืองสีเขียว

 

13. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกและการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกัน ระหว่างกองทัพอากาศกับกองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (พ.ศ. 2562 – 2571)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึก และการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกัน ระหว่างกองทัพอากาศ (ทอ.) กับกองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (ทอ.สิงคโปร์) (พ.ศ. 2562 – 2571) และให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ ผบ.ทอ. หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจ ให้กระทรวงกลาโหม พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กระทรวงกลาโหมเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึก และการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกันระหว่างกองทัพอากาศกับกองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (พ.ศ. 2562 – 2571) เพื่อใช้แทนบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 เห็นชอบไว้ ซึ่งจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ กองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวด้วยแล้ว ซึ่งสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดข้อตกลงและความเข้าใจระหว่างกันเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการฝึกและการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกัน (2) ความเข้าใจทั่วไป (เช่น การฝึกภาคอากาศเกิดขึ้นในประเทศไทย การจัดทำข้อตกลงส่วนเสริม ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึก ระบบอาวุธ ยุทโธปกรณ์และพื้นที่การฝึก รวมถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนการฝึกและการส่งกำลังบำรุง ข้อตกลงด้านการเงิน ภายหลังที่บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ เป็นต้น (3) การระงับความขัดแย้งดำเนินการโดยเจรจาร่วมกันระหว่าง (4) ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2571 ทั้งนี้ กองทัพอากาศทั้งสองประเทศจะมีการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในโอกาสการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ในวันที่ 20 กันยายน 2562 ณ กรุงเทพมหานคร

 

14. ร่างตราสารขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการลงนามตราสารขยายระยะเวลาการใช้บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในเอกสารฯ ข้างต้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

                  สาระสำคัญของเรื่อง

                  ตราสารฯ มีสาระสำคัญคือ รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เห็นชอบร่วมกันในการต่ออายุการใช้บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชฉบับปัจจุบันที่จะสิ้นอายุลงไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2564

การลงนามมาตราสารฯ ดังกล่าวจะช่วยให้การดำเนินความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเป็นไปอย่างต่อเนื่องและผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนอย่างเป็นรูปธรรม

 

15. เรื่อง การทดลองขยายเวลาทำการด่านศุลกากรสะเดา – บูกิตกายูฮิตัม เป็น 24 ชั่วโมง (เพิ่มเติมอีก 9 เดือน)

                   คณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบการทดลองขยายเวลาทำการด่านศุลกากรสะเดา 24 ชั่วโมง จากระยะทดลองเดิม 3 เดือน (ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน 2562 -16 กันยายน 2562) เพิ่มเติมอีก 9 เดือน (ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2562 – 16 มิถุนายน 2563) ซึ่งครบกำหนด 1 ปี ให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องต่อไป และให้จังหวัดสงขลาร่วมกับกรมศุลกากร ขนส่งจังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ เรื่องการเปิดทดลองขยายเวลาด่านฯ เพิ่มเติมอีก 9 เดือน ให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทราบ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิด – ระงับหรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ ครั้งที่ 2/2562 โดยมีพลเอก วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติ เห็นชอบการทดลองขยายเวลาด่านศุลกากรสะเดา 24 ชั่วโมง จากระยะทดลองเดิม 3 เดือน (ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน 2562 – 16 กันยายน 2562) เพิ่มเติมอีก 9 เดือน (ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2562 – 16 มิถุนายน 2563) ซึ่งครบกำหนด 1 ปี โดยให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

แต่งตั้ง

16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

                   1. นายปิยกร อภิบาลศรี รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2562

                   2. ร้อยตำรวจโทหญิง ศรัณย์กร เลิศโอภาส ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้านวิชาการคลังสูง) กองกฎหมาย กรมบัญชีกลาง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและระเบียบการคลัง (นิติกรทรงคุณวุฒิ) กรมบัญชีกลาง ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2562

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง นายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการป่าไม้) ระดับสูง) สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า (นักวิชาการป่าไม้ทรงคุณวุฒิ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)  

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้  

                   1. นายไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561

                   2. นางสาววนิดา สาดตระกูลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง) โรงพยาบาลสิงห์บุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสิงห์บุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2561

                   3. ร้อยตำรวจเอก รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักงาน (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

                   4. นายอุดม ภู่วโรดม สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2562 

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 

                   1. นายธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาประสาทศัลยกรรม) กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ กลุ่มภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาประสาทศัลยกรรม) กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ กลุ่มภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2561 

                   2. นายสธน บุญลิขิต นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ – นรีเวชกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ – นรีเวชกรรม) โรงพยาบาล      ราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2561 

                   3. นายไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2562

                   4. นางสาวพรทิพย์ ศิริภานุมาศ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองแผนงาน กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางนภัสชล ทองสมจิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองเศรษฐกิจ (นักวิเคราะห์นโนยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

21. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการต่างๆ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) จากรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการต่าง ๆ และได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่มีรายชื่อดังกล่าวแล้วว่าเป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ.2551 จำนวน 35 ราย ดังนี้

รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี/ส่วนราชการ

รายชื่อ ปคร.

1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

พลอากาศเอก ธนู ปานสุวรรณ

ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี

2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)

นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

4. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)

นายพลพีร์ สุวรรณฉวี

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

5. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

(นายเทวัญ ลิปตพัลลภ)

นายธงชัย ลืออดุลย์

เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

6. กระทรวงกลาโหม

พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

7. กระทรวงการคลัง

นายยุทธนา หยิมการุณ

รองปลัดกระทรวงการคลัง

8. กระทรวงการต่างประเทศ

นางต้องฤดี มากบุญ

เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง

9. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นางสุภัชชา สุทธิพล

รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

10. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

11. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นางคนึงนิจ คชศิลา

ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

12. กระทรวงพลังงาน

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์

รองปลัดกระทรวงพลังงาน

13. กระทรวงมหาดไทย

นายพรพจน์ เพ็ญพาส

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

14. กระทรวงยุติธรรม

พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ

รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

15. กระทรวงแรงงาน

นายอภิญญา สุจริตตานันท์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน

16. กระทรวงวัฒนธรรม

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

17. กระทรวงสาธารณสุข

นายไพศาล ดั่นคุ้ม

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

18. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นางประภาศรี บุญวิเศษ

รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

19. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

20. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์

รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ

รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

21. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

นายเกียรติศักดิ์ วรจิตรานนท์

รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

22. สำนักงบประมาณ

นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร

ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ

23. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์

รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

24. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

นายดนัย มู่สา

รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

25. สำนักงาน ก.พ. 

นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ

รองเลขาธิการ ก.พ.

26. สำนักงาน ก.พ.ร.

นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ

รองเลขาธิการ ก.พ.ร.

27. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายวิโรจน์ นรารักษ์

รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

28. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

นางสาววัชรี วัฒนไกร

ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา

29. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ

เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา

30. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พลตำรวจโท สุรพล อยู่นุช

ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

31. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

นายนิยม เติมศรีสุข

เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

ยาเสพติด

 

32. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

พลตำรวจตรี ปรีชา เจริญสหายานนท์

รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 

33. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

นายภูมิวิศาล เกษมศุข

รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

34. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวม 6 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้

                   1. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการ 

                   2. นางกรรณิการ์ งามโสภี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณ การตรวจสอบประเมินผล และการบริหารความเสี่ยง)  

                    3. นายประพันธ์ จันทร์วัฒนพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารจัดการและการบริหารทรัพยากรบุคคล)  

                   4. นายภุชงค์ อุทโยภาศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล)

                   5. นายสมคิด จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล)

                   6. นายสราวุธ ปิติยาศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมายเทคโนโลยีดิจิทัล)

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2562 เป็นต้นไป

 

23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รวม 11 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน จำนวน 6 คน ดังนี้

                   1. ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ

                             1.1 นายครรชิต สุขเสถียร ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร และด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

                             1.2 นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร และด้านเทคโนโลยีการเกษตร 

                             1.3 นายสุจิโรจน์ คงเมือง ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

                             1.4 นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

                             1.5 นายวิเชียร บุตรศรี ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

                   2. ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน

                             2.1 นายนำชัย พรหมมีชัย ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และด้านเทคโนโลยีการเกษตร  

                             2.2 นายเวชสิทธิ์ วิริยะภาค ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร 

                             2.3 นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตร และด้านการฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

                             2.4 นายสมพาศ นิลพันธ์ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร และด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

                             2.5 นายสุรัชต์ ธวัชโยธิน ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

                             2.6 นายภาคภูมิ ปุผมาศ  ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2562 เป็นต้นไป

 

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอแต่งตั้ง หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล รองเลขาธิการ ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เพื่อทดแทนผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ดังนี้

                   1. พลตำรวจโท สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข เป็นกรรมการ

                   2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนวรรธน์ พลวิชัย เป็นกรรมการ

                   3. พลโท ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม เป็นกรรมการ

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2562 เป็นต้นไป

 

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง) ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้ง นางสาวชวนชม กิจพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง) แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘พิชัย’ปัดข่าว! ถอนชื่อ‘ผู้ว่าแบงก์ชาติ’คนใหม่ ยันไม่มีมูล ‘พิชัย’ปัดข่าว! ถอนชื่อ‘ผู้ว่าแบงก์ชาติ’คนใหม่ ยันไม่มีมูล
  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2568
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • เลขาฯครม.บอก ครม.ยังไม่เสนอแต่งตั้ง\'ผู้ว่า ธปท.\'คนใหม่ ชี้มีหลายปัจจัย เลขาฯครม.บอก ครม.ยังไม่เสนอแต่งตั้ง'ผู้ว่า ธปท.'คนใหม่ ชี้มีหลายปัจจัย
  • ครม.มีมติแต่งตั้ง \'หมอสมฤกษ์\'นั่ง\'ปลัดกระทรวงสาธารณสุข\' ครม.มีมติแต่งตั้ง 'หมอสมฤกษ์'นั่ง'ปลัดกระทรวงสาธารณสุข'
  • อุบ\'ดร.รุ่ง-วิทัย\'เข้าวิน \'พิชัย\'รับจ่อชงชื่อ\'ผู้ว่าแบงก์ชาติ\'คนใหม่ เข้าครม.วันนี้ อุบ'ดร.รุ่ง-วิทัย'เข้าวิน 'พิชัย'รับจ่อชงชื่อ'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'คนใหม่ เข้าครม.วันนี้
  •  

Breaking News

เมื่อไม่มีเธอ 'จะร้องเพลงนี้ให้ใครฟัง (Song For)' ซิงเกิลเศร้าล่าสุดจาก 'Whal & Dolph'

'อนุทิน'โต้'เดชอิศม์'ปมทุ่มงบจว.‘สีน้ำเงิน’ บอกไม่กังวลถูกเช็กบิล ลั่นไม่เคยทำอะไรผิด

เรื่องยุ่งอีรุงตุงนังในมุ้งผีแดง

เสริมทัพล่าแชมป์!ผ่าตลาดเดือดพรีเมียร์ลีก2025

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved