วันที่ 15 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบให้เป็นไปตามรูปแบบการร่างกฎหมายมาแล้ว แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และ กรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และมีประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจและการพิจารณาบำเหน็จความชอบมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับปรุงแก้ไข ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามมติที่ประชุมซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอให้เป็นไปตามรูปแบบการร่างกฎหมายแล้ว
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
1. หน้าที่และอำนาจของ ตช. กำหนดหน้าที่และอำนาจของ ตช. ไว้เช่นเดิม แต่มีการกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของ ตช. ได้แก่ ภารกิจของกองบังคับการตำรวจรถไฟ ภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภารกิจงานจราจรเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการจราจร การกวดขันวินัยจราจร และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกในความผิดฐานจอดรถโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไปให้แก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นโดยตรงรับไปดำเนินการ และโอนอัตรากำลังนั้นไปปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นภารกิจหลักของ ตช. เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของตำรวจสอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจอย่างแท้จริง และให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับโอนภารกิจไปดำเนินการจึงมีการกำหนดระยะเวลาในการโอนภารกิจแต่ละภารกิจที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้ ก.ตร.พิจารณาทบทวนหน้าที่และอำนาจของ ตช. หรือข้าราชการตำรวจในส่วนที่มีกฎหมายกำหนดให้ ตช. หรือข้าราชการตำรวจมีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตหรือการจดทะเบียน โดยหากพิจารณาแล้วเห็นว่าที่มีความจำเป็นต้องกำหนดให้ ตช. หรือข้าราชการตำรวจมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไว้ ให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อพิจารณา
2. การจัดระเบียบราชการใน ตช. กำหนดให้ในการแบ่งส่วนราชการของ ตช. อย่างน้อยต้อง มีหน่วยงาน ดังนี้ กองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค กองบังคับการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรจังหวัด และสถานีตำรวจ เพื่อให้ความสำคัญแก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบริการและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยตรง และกำหนดให้ ตช. ต้องจัดอัตรากำลังให้แก่สถานีตำรวจและตำรวจภูธรจังหวัดตามลำดับให้ครบถ้วนตามกรอบอัตรากำลังก่อน รวมทั้งได้กำหนดระดับของสถานีตำรวจออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สถานีตำรวจที่มีผู้กำกับการ และสถานีตำรวจที่มีรองผู้กำกับการหรือตำแหน่งเทียบเท่า โดยคำนึงถึงปริมาณงาน ความหนาแน่นของประชากรในเขตรับผิดชอบ จำนวนอัตรากำลังและสถานที่ตั้งของสถานีตำรวจ เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน
3. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ กำหนดหลักการในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
3.1 แบ่งข้าราชการตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการตำรวจที่มียศ และข้าราชการตำรวจที่ไม่มียศ
3.2 แบ่งสายงานออกเป็น 5 กลุ่มสายงาน คือ กลุ่มสายงานบริหาร กลุ่มสายงานอำนวยการและสนับสนุน กลุ่มสายงานสอบสวน กลุ่มสายงานป้องกันและปราบปราม และกลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะ เพื่อให้เกิดการสร้างความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในแต่ละสายงานและเป็นการสร้างความก้าวหน้าในสายงานนั้น ๆ
3.3 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งไว้ให้ชัดเจนในกฎหมายว่าการจะแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดจะต้องเป็นข้าราชการตำรวจยศใด และเคยดำรงตำแหน่งใดมาแล้วจำนวนกี่ปี และในการแต่งตั้งจะต้องคำนึงถึงความอาวุโสในการดำรงตำแหน่ง ความรู้ความสามารถที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในบริการที่ประชาชนได้รับ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมิน ที่ชัดเจน เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาและทำให้ข้าราชการตำรวจสามารถมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
3.4 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งของสายงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถเติบโตก้าวหน้าในสายงานตามความรู้ความสามารถได้
3.5 กำหนดให้ข้าราชการตำรวจสามารถร้องทุกข์ ต่อ ก.พ.ค.ตร. ในกรณีที่เห็นว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเรียงลำดับอาวุโสหรือในการแต่งตั้ง รวมทั้งกำหนดบทลงโทษผู้ที่ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดหรือแอบอ้างอำนาจของบุคคลใด หรือเรียก รับ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือกระทำการใดอันมิชอบ เพื่อให้มีการแต่งตั้งหรือไม่แต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่ง โดยระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
3.6 กำหนดห้ามมิให้สั่งให้ข้าราชการตำรวจที่สังกัดสถานีตำรวจหรือตำรวจภูธรจังหวัดไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการอื่น เว้นแต่ในคำสั่งนั้นจะสั่งให้ข้าราชการตำรวจอื่นมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจแทน เพื่อให้ความสำคัญแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยตรง นอกจากนี้ หากผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มาปฏิบัติราชการติดต่อกันเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจผู้นั้น เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังที่มีอยู่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ กำหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ทำหน้าที่ทั้งในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจและกำกับดูแล ตช. ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบแบบแผน รวมทั้งกำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจ กำกับดูแลการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจของผู้บังคับบัญชาทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และกฎ ก.ตร. โดยเคร่งครัด ตลอดจนดูแลการเกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการตำรวจไปให้สถานีตำรวจให้เพียงพอต่อการปฏบัติหน้าที่และกำกับดูแลการจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการในหน่วยปฏิบัติให้เพียงพอ โดยมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการที่เป็นข้าราชการตำรวจ ได้แก่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจเรตำรวจแห่งชาติ มีกรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 5 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการ ก.พ. อัยการสูงสุด และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คนทั้งนี้ ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกกรรมการ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิไว้ให้ชัดเจนในกฎหมาย รวมทั้งกำหนดห้ามผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใดสั่งการ ข่มขู่ หรือชักจูงด้วยประการใด ๆ เพื่อให้เลือกหรือมิให้เลือกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นหลักประกันในการได้มาซึ่งกรรมการ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นอิสระโดยปราศจากการครอบงำหรือการแทรกแซง
5. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) เพื่อเป็นที่พึ่งของข้าราชการตำรวจในการปลดเปลื้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจที่เกิดจากผู้บังคับบัญชา โดยมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะต่อ ก.ตร. เพื่อให้ ก.ตร. ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารงานบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ และพิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม ซึ่ง ก.พ.ค.ตร. จะประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือก ก.พ.ค.ตร. และเป็นผู้ซึ่งสามารถทำงานได้เต็มเวลา เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวมีความเป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและ ก.ตร.
6. คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมของประชาชนจากการกระทำหรือไม่กระทำการของข้าราชการตำรวจอันมิชอบ หรือการประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสมและเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำรวจ กระทำผิดวินัย หรือละเมิดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ เพื่อเป็นกลไกในการปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่ประชาชนอันเกิดจากข้าราชการตำรวจ โดย ก.ร.ตร. ประกอบด้วยประธานและกรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมจำนวน 9 คน และ มีจเรตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
7. การให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริหารงานใน ตช. โดยกำหนดให้ ตช. จัดระบบบริหารงานให้เหมาะสมกับความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและชุมชนและกำหนดให้เงินอุดหนุนที่ อปท. จัดสรรให้แก่สถานีตำรวจให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจและกิจการในสถานีตำรวจนั้น โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญาและการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่นหรือชุมชน กองบัญชาการตำรวจนครบาลหรือตำรวจภูธรจังหวัดจะจัดให้มีแผนหรือมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน โดยในการจัดทำแผนหรือมาตรการดังกล่าวให้หารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าสถานีตำรวจ อปท. และชุมชน และเมื่อ ก.ตร. และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนหรือมาตรการดังกล่าวแล้ว ให้ สงป. และ ตช. พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามแผนหรือมาตรการดังกล่าว
8. กองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา จัดตั้งกองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
9. บัญชีอัตราเงินเดือน ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการรับเงินเดือนของข้าราชการตำรวจ โดยตัดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำในระดับที่ไม่ได้มีการรับในอัตรานั้นออก แต่ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนแต่อย่างใด
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (30 กรกฎาคม 2562) รับทราบแล้ว ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่ |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง |
1 |
22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 |
1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 |
2 |
22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 |
1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 |
3 |
22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 |
1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 |
4 |
22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 |
1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 |
2. ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาขยายเวลาประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2563 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น จึงสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองสำหรับปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บางประการ สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร และรถจักรยานยนต์ สามารถใช้ช่องเดินรถด้านขวาได้ในกรณีจำเป็น และแก้ไขเพิ่มเติมน้ำหนักของรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่ไม่ต้องใช้ช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง จากหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นสองพันสองร้อยกิโลกรัม
2. ปรับปรุงลักษณะความผิดเกี่ยวกับการขับรถ โดยให้ความในมาตรา 43 (8) กำหนดเฉพาะความผิดกรณีการขับขี่ที่เห็นได้ว่าไม่คำถึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น และเพิ่มเติมอัตราโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้น ส่วนการขับรถที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นได้แยกนำไปรวมกับเรื่องการขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจรในมาตรา 43 (3) เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ใกล้เคียงกัน
3. กำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจสอบการมีสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือการทดสอบความเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
4. ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ดังนี้
4.1 กำหนดหน้าที่ของผู้ขับขี่และคนโดยสารให้ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์ โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยได้ในบางกรณี
4.2 กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมการโดยสารรถนั่งสองแถว รถบรรทุกคนโดยสารขนาดเล็กที่มีการจัดที่นั่งตามความยาวของรถ รถกระบะ รถกึ่งกระบะ หรือรถยนต์อื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยหากมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการบรรทุกคนโดยสารและการใช้อัตราความเร็วตามที่กำหนดแล้ว ให้คนโดยสารที่อยู่ในรถนั้น นอกจากคนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย
4.3 กำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในขณะที่มีคนโดยสารนั่งแถวตอนหน้าเกินสองคน หรือคนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าไม่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตามที่กำหนด
4.4 กำหนดหน้าที่ของผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะหรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างต้องแจ้งเตือนให้คนโดยสารปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งก่อนออกรถหรือก่อนการใช้เส้นทางตามสภาพของทางที่กำหนด ทั้งนี้ หากผู้ขับขี่รถยนนต์สาธารณะหรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างไม่แจ้งเตือน และมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นเหตุให้คนโดยสารในรถได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย ผู้ขับขี่นั้นต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้
4.5 กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อผ่อนผันให้รถบางประเภทหรือบางลักษณะที่ในปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไม่ได้บังคับให้ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเป็นเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับรถดังกล่าว ให้สามารถโดยสารรถนั้นโดยไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติเรื่องหน้าที่การรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยเจ้าของรถต้องนำรถไปติดตั้งเข็มขัดนิรภัยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากโครงสร้างของรถไม่ได้ออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อรองรับการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย เจ้าของรถก็สามารถขอรับยกเว้นจากนายทะเบียนได้ แต่ต้องใช้รถภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
5. ปรับปรุงมาตรการป้องกันการแข่งรถในทาง ดังนี้
5.1 กำหนดให้ผู้ที่รวมกลุ่มหรือมั่วสุมกันในทางพร้อมด้วยรถตั้งแต่ห้าคันขึ้นไป โดยมีการนัดหมายเพื่อแข่งรถในทาง หรือรถที่ใช้ในการรวมกลุ่มหรือมั่วสุมกัน มีการปรับแต่งรถให้มีสภาพไม่ถูกต้อง หรือมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถในทาง ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามแข่งรถในทาง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อการอื่นหรือตนมิได้ร่วมหรือมีส่วนรู้เห็นว่าจะมีการแข่งรถในทาง
5.2 ปรับปรุงบทบัญญัติที่กำหนดความผิดฐานเป็นผู้จัด โฆษณา ประกาศ ชักชวน หรือดำเนินการด้วยวิธีการใดเพื่อให้มีการแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต และกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าว
5.3 กำหนดให้ผู้ที่รับดำเนินการปรับแต่งรถเพื่อนำไปสู่การแข่งรถในทาง ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการแข่งรถในทาง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็น หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ว่าจะนำรถดังกล่าวไปใช้ในการแข่งรถในทาง
5.4 กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทาง เพื่อมิให้กระทำความผิดซ้ำอีก โดยกรณีผู้กระทำความผิดมีอายุไม่เกินยี่สิบปี ให้ศาลมีอำนาจวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังผู้นั้นไม่ให้กระทำความผิดซ้ำอีกตลอดเวลาที่ศาลกำหนดและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องชำระต่อศาลเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซ้ำ หรือกรณีผู้กระทำความผิดมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำทัณฑ์บน โดยกำหนดจำนวนเงินทัณฑ์บนเพื่อประกันว่าผู้นั้นจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
6. ปรับปรุงมาตรการควบคุมการใช้รถที่มีสภาพไม่ถูกต้อง ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงยิ่งขึ้น โดยในกรณีที่รถมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงและหากให้ใช้รถต่อไปอาจเกิดอันตรายได้ ให้เจ้าพนักงานจราจรสั่งห้ามการใช้รถนั้นและผู้ขับขี่ต้องนำรถดังกล่าวให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด และในกรณีที่รถมีสภาพไม่ถึงกับไม่ปลอดภัยในการใช้ ให้เจ้าพนักงานจราจรสั่งระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราว เพื่อให้เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถ หรือผู้ขับขี่นำรถดังกล่าวไปซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ใช้รถได้ไปพลางก่อน
7. กำหนดเพิ่มเติมให้ความผิดฐานขับรถในขณะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เนื่องจากหมดคะแนนความประพฤติในการขับรถ เป็นความผิดที่พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตักเตือนได้
8. ปรับปรุงบทกำหนดโทษเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยร่างพระราชบัญญัตินี้ เช่น เพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานขับรถในขณะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ ปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานขับรถก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินและไม่หยุดรถเพื่อให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพิ่มโทษกรณีผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ หรือในระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่หรือถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ และปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น หากกรณีผู้กระทำความผิดเป็นผู้ขับขี่รถสาธารณะหรือรถขนส่งผู้โดยสาร เป็นการกระทำความผิดซ้ำ หรือเป็นการขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ หรือใบอนุญาตขับขี่ถูกพักใช้หรือเพิกถอน
9. กำหนดให้ศาลแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ อันเนื่องมาจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี เพื่อให้นายทะเบียนรับทราบคำสั่งดังกล่าว และดำเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
10. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง นอกจากนี้ ได้กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองตามหลักการใหม่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงจำนวน 12 ฉบับ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้มีความเหมาะสม และเป็นไปตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 โดยกำหนดให้มีมาตรการหรือกลไกเพื่อช่วยสนับสนุนด้านการควบคุม การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีสู่สังคม และเอื้ออำนวยต่อการบริหารงานตามภารกิจของกรมราชทัณฑ์ในปัจจุบันให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของเครื่องพันธนาการที่ใช้แก่ผู้ต้องขัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดประเภทเครื่องพันธนาการที่จะใช้แก่ผู้ต้องขัง ซึ่งมีจำนวน 7 ประเภท ได้แก่ สายรัดข้อมือ เสื้อพันธนาการ กุญแจมือ กุญแจเท้า ชุดกุญแจมือและกุญแจเท้า ตรวน และโซ่ล่าม
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือชนิดของอาวุธอื่นนอกจากอาวุธปืนที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงมีไว้ในครอบครองหรือใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดอาวุธอื่นนอกจากอาวุธปืนที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะมีไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีจำนวน 3 ประเภท ได้แก่ ตะบองไม้กลม ตะบองโลหะชนิดยืดหดได้ และตะบองพลาสติกหรือไฟเบอร์หรือทำจากวัสดุสังเคราะห์อื่นที่คล้ายกัน
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดสถานที่คุมขัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำให้เป็นสถานที่คุมขัง เพื่อดำเนินกิจการตามภารกิจของกรมราชทัณฑ์ เช่น สถานที่คุมขังต้องเป็นสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำซึ่งเป็นสถานที่ของทางราชการ หรือเอกชนที่เจ้าของหรือผู้ปกครองดูแลรักษาสถานที่อนุญาตหรือยินยอมเป็นหนังสือให้ใช้ประโยชน์ในการควบคุมผู้ต้องขัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติตามระบบการจำแนกและการแยกคุมขัง การดำเนินการตามระบบพัฒนาพฤตินิสัย การรักษาพยาบาลหรือการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง การควบคุมและการแยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง เช่น การจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นพื้นฐาน 2) ขั้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัย และ 3) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนไป พร้อมกำหนดแนวทางการควบคุม การแยกคุมขังผู้ต้องขัง และการย้ายผู้ต้องขัง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับเรือนจำ
5. ร่างกฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใด ๆ หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์
6. ร่างกฎกระทรวงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศและตั้งครรภ์
7. ร่างกฎกระทรวงการคำนวณรายได้เป็นราคาเงินและการจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ต้องขังซึ่งการงานที่ได้ทำนั้นก่อให้เกิดรายได้ซึ่งคำนวณเป็นราคาเงินได้ พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 50 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณรายได้เป็นราคาเงินและการจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ต้องขังที่ทำงานซึ่งก่อให้เกิดรายได้และคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น การคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร รวมตลอดถึงสัดส่วนการจ่ายเงินรางวัลที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ต้องขัง
8. ร่างกฎกระทรวงการรับเงินทำขวัญของผู้ต้องขังซึ่งได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือตาย เนื่องจากการทำงาน พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินทำขวัญให้แก่ผู้ต้องขังซึ่งได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือตาย เนื่องจากการทำงาน เช่น กรณีบาดเจ็บจนเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
9. ร่างกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 55 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการส่งตัวผู้ต้องขังที่มีอาการเจ็บป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นโรคติดต่อออกไปรักษาตัวภายนอกเรือนจำ
10. ร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินของผู้ต้องขังเป็นสิ่งของที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 62 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดทรัพย์สินของผู้ต้องขังเป็นสิ่งของที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ
11. ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการทางวินัยผู้ต้องขัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 69 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ต้องขัง เช่น ขั้นตอนการพิจารณาการลงโทษทางวินัย การออกคำสั่งลงโทษ การเพิกถอนคำสั่งลงโทษ การเปลี่ยนแปลง การงด หรือการรอการลงโทษ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของผู้ต้องขัง และการเยียวยาผู้ต้องขังภายหลังเพิกถอนคำสั่งลงโทษ
12. ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการกับสิ่งของต้องห้ามตามมาตรา 73 ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย พ.ศ. .... สาระสำคัญ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 74 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการกับสิ่งของต้องห้ามตามมาตรา 73 ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย
5. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สิทธิประโยชน์อื่นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะไม่ปกติ พ.ศ. .... และร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชดเชยค่าเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริตซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สิทธิประโยชน์อื่นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะไม่ปกติ พ.ศ. .... และร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชดเชยค่าเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริตซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวม 2 ฉบับ ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างระเบียบและร่างหลักเกกณฑ์ ที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะไม่ปกติ และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชดเชยค่าเสียหายแก่ประชาชนผู้สุจริตซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อให้ได้รับการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 มาตรา 39 ที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้สุจริต อันเกิดจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และมาตรา 40 วรรคสอง ที่กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะไม่ปกติ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
สาระสำคัญของร่างระเบียบและร่างหลักเกณฑ์
1. ร่างระเบียบว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สิทธิประโยชน์อื่นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะไม่ปกติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดบทนิยามคำว่า “เงินช่วยเหลือ” “พื้นที่ที่มีภาวะไม่ปกติ” “ทุพพลภาพ”“ผู้ได้รับผลกระทบ” “คณะอนุกรรมการ” และ “คณะอนุกรรมการภาค”
1.2 การได้รับสิทธิประโยชน์เงินช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามระเบียบนี้ ในกรณีที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องเดียวกันอยู่แล้วตามกฎหมายอื่นหรือตามมติคณะรัฐมนตรี หากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นได้รับเพิ่มขึ้นจนเต็มจำนวน
1.3 การจ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีภาวะไม่ปกติ ให้ ศรชล. จ่ายจากเงินงบประมาณของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
1.4 ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับความเสียหายหรือที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีภาวะไม่ปกติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.4.1 ผู้เสียชีวิต ไม่เกินคนละ 500,000 บาท
1.4.2 ผู้ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพจนต้องออกจากราชการ ไม่เกินคนละ 300,000 บาท
1.4.3 ผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องเสียอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ไม่เกินคนละ 200,000 บาท
1.4.4 ผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ไม่เกินคนละ 60,000 บาท
1.4.5 ผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัส ไม่เกินคนละ 10,000 บาท
1.4.6 ผู้เจ็บป่วย ไม่เกินคนละ 10,000 บาท
1.4.7 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับบาดเจ็บ และต่อมาปรากฏว่าได้ถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บจนทุพพลภาพจนต้องออกจากราชการ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้น แต่รวมแล้วไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1.4.1 และ 1.4.2
1.5 ให้คณะอนุกรรมการหรือคณะอนุกรรมการภาคมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่มีภาวะไม่ปกติ และในกรณีที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการภาค ให้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหาร ศรชล. เป็นที่สุด
2. ร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชดเชยค่าเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริตซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดบทนิยามคำว่า “ผู้ได้รับความเสียหาย” “ผู้ได้รับผลกระทบ” “ทุพพลภาพ” และ “ทายาท”
2.2 การชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบตามประกาศนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิประโยชน์ที่ผู้นั้นได้รับตามกฎหมายอื่นหรือตามมติของคณะรัฐมนตรี
2.3 การให้ความช่วยเหลือชดเชยค่าเสียหายผู้ได้รับความเสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการดำเนินการต่าง ๆ ตามระเบียบนี้ ให้ใช้เงินจากงบประมาณของ ศรชล.
2.4 ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือชดเชยค่าเสียหายผู้ที่ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ หมายถึง
2.4.1 ค่าช่วยเหลือเยียวยาในกรณีที่ผู้ได้รับความเสียหายถึงแก่ความตายหรือทุพพลภาพ รายละไม่เกิน 100,000 บาท
2.4.2 ค่าช่วยเหลือเยียวยาในการรักษาพยาบาล รวมทั้งการส่งต่อเพื่อฟื้นฟูผู้พิการหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ และการติดตามเยี่ยมเยียน เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินรายละ 70,000 บาท
2.4.3 ค่าช่วยเหลือเยียวยาการขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ไม่เกินกว่า 20 วัน รายละไม่เกิน 40,000 บาท
2.4.4 กรณีได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ใช่กรณีตามข้อ 2.4.2 และข้อ 2.4.3 รายละไม่เกิน 20,000 บาท
2.4.5 ค่าช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้านทรัพย์สินตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินรายละ 10,000 บาท
2.4.6 ให้คณะกรรมการบริหาร ศรชล. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาค่าเสียหายให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และในกรณีที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหาร ศรชล. เป็นที่สุด
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงานและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
2. กำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทานเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้กระทำการใด ๆ ในเขตทางหลวงก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับที่ไม่ได้ชำระค่าใช้เขตทางหลวง หรือได้ชำระค่าใช้เขตทางหลวง แต่ไม่เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องมาชำระค่าใช้เขตทางหลวงตามอัตราที่กำหนด นับแต่วันที่กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป หากไม่นำมาชำระภายในกำหนด ให้ผู้อำนวยการทางหลวงมีหนังสือเพิกถอนการอนุญาต
กำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน ดังนี้
ลำดับ |
ประเภท/ลักษณะ |
ค่าใช้พื้นที่เขตทางหลวง |
|
|
อัตรา |
บาท/หน่วย/ปี |
|
||
1. |
ป้ายบอกทาง |
|
||
1.1 ป้ายชี้ทาง |
7,000 |
บาท/ป้าย/ปี |
|
|
1.2 ป้ายติดตั้งข้างทาง |
11,000 |
บาท/ป้าย/ปี |
|
|
1.3 ป้ายชนิดแขวนยื่น |
45,000 |
บาท/ป้าย/ปี |
|
|
1.4 ป้ายชนิดคร่อมผิวจราจร |
124,000 |
บาท/ป้าย/ปี |
|
|
2. |
สะพาน |
1,600 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
3. |
อุโมงค์ |
110 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
4. |
ระบบราง |
|
||
4.1 ระบบรางอยู่เหนือผิวดินขึ้นไป |
1,600 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
|
4.2 ระบบรางอยู่ใต้ผิวดินลงไป |
110 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
|
5. |
อุปกรณ์ |
|
||
5.1 อุปกรณ์ด้านยาวสุดยาวไม่เกิน 0.25 เมตร |
10 |
บาท/หน่วยนับ/ปี |
|
|
5.2 อุปกรณ์ด้านยาวสุดยาวมากกว่า 0.25 เมตร แต่ยาวไม่เกิน 1.00 เมตร |
100 |
บาท/หน่วยนับ/ปี |
|
|
5.3 อุปกรณ์ด้านยาวสุดยาวมากกว่า 1.00 เมตร |
200 |
บาท/หน่วยนับ/ปี |
|
|
6. |
อาคารหรือสิ่งอื่น ๆ |
100 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
7. |
การปักเสา |
|
||
เสาสูงไม่เกิน 12 เมตร |
30 |
บาท/ต้น/ปี |
|
|
เสาสูงมากกว่า 12 เมตร แต่สูงไม่เกิน 16 เมตร |
60 |
บาท/ต้น/ปี |
|
|
เสาสูงมากกว่า 16 เมตร |
200 |
บาท/ต้น/ปี |
|
|
8. |
การพาดสาย |
|
||
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 40 มิลลิเมตร |
80 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
|
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 40 มิลลิเมตรแต่ไม่เกิน 80 มิลลิเมตร |
160 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
|
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 80 มิลลิเมตร |
310 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
|
9. |
การร้อยสายไปในท่อของผู้อนุญาต |
|
||
|
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 40 มิลลิเมตร |
10 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 40 มิลลิเมตรแต่ไม่เกิน 80 มิลลิเมตร |
20 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
|
สายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 80 มิลลิเมตร |
40 |
บาท/กิโลเมตร/เส้น/ปี |
|
|
10. |
การวางท่อ 10.1 การวางท่อน้ำใต้ระดับผิวดิน |
|
||
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 100 มิลลิเมตร |
400 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 100 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 150 มิลลิเมตร |
600 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 150 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 200 มิลลิเมตร |
800 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 200 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 400 มิลลิเมตร |
1,500 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 400 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตร |
3,600 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร |
7,100 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
10.2 การวางท่อน้ำเหนือระดับผิวดิน |
|
|
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 100 มิลลิเมตร |
7,100 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 100 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 150 มิลลิเมตร |
10,600 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 150 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 200 มิลลิเมตร |
14,200 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 200 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 400 มิลลิเมตร |
28,300 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 400 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตร |
70,700 |
บาท/กิโลเมตร/ปี
|
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร |
142,300 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
11. |
การวางท่อร้อยสายโทรคมนาคม 11.1 การวางท่อร้อยสายโทรคมนาคมใต้ระดับผิวดิน |
|
||
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 60 มิลลิเมตร |
300 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 60 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 120 มิลลิเมตร |
500 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 120 มิลลิเมตร |
900 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
11.2 การวางท่อร้อยสายโทรคมนาคมเหนือระดับผิวดิน |
|
|
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 60 มิลลิเมตร |
900 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 60 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 120 มิลลิเมตร |
1,700 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 120 มิลลิเมตร |
3,400 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
12. |
การวางท่อร้อยสายไฟฟ้า 12.1 การวางท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ระดับผิวดิน |
|
||
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 25 มิลลิเมตร |
100 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 50 มิลลิเมตร |
200 |
บาท/กิโลเมตร/ปี
|
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 50 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร |
400 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 100 มิลลิเมตร |
800 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
12.2 การวางท่อร้อยสายไฟฟ้าเหนือระดับผิวดิน |
||||
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 25 มิลลิเมตร |
400 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 50 มิลลิเมตร |
800 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 50 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร |
1,500 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 100 มิลลิเมตร |
2,900 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
13. |
การวางท่อเชื้อเพลิงใต้ระดับผิวดิน |
|
||
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 100 มิลลิเมตร |
800 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 100 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 150 มิลลิเมตร |
1,100 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 150 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 200 มิลลิเมตร |
1,500 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 200 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 400 มิลลิเมตร |
2,900 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 400 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตร |
7,100 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร |
14,200 |
บาท/กิโลเมตร/ปี |
|
|
14. |
อาคารหรืออุปกรณ์ |
100 |
บาท/ตารางเมตร/ปี |
|
หมายเหตุ
1. ในการคิดค่าใช้เขตทางหลวง เศษของตารางเมตร เมตร หรือกิโลเมตร ให้ถือเป็นหน่วยเต็ม
2. การจัดเก็บค่าใช้เขตทางหลวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 กิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้บริการได้โดยไม่ถูกเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการ ให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงในอัตรา 500 บาท ต่อการอนุญาต 1 ครั้ง
2.2 กิจกรรมเพื่อให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน หมายถึง กิจกรรมที่ให้บริการสาธารณะ ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้บริการได้โดยถูกเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการให้จัดเก็บร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด
2.3 กิจกรรมเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมที่แสวงหากำไรหรือ เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ขออนุญาต ให้จัดเก็บตามอัตราที่กำหนด
3. กิจกรรมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง ให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงในอัตรา 500 บาท ต่อการอนุญาต 1 ครั้ง
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
คค. เสนอว่า
1. กรมการขนส่งทางบกได้จัดประชุม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 เพื่อพิจารณาทบทวนการขยายอายุรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) จาก 9 ปี เป็น 12 ปี โดยมีอธิบดีกรมการขนส่งทางบกเป็นประธาน พิจารณาปรับปรุงร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และได้นำร่างกฎกระทรวงที่ปรับปรุงแล้วเสนอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อมา สศช. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ปรับปรุงแล้ว เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการปรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการต่ออายุการใช้งานของรถยนต์รับจ้างให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่ารถยนต์รับจ้างที่จะได้ต่ออายุการใช้งานได้ตามเกณฑ์การตรวจสภาพทั้งด้านความปลอดภัยและมลพิษไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และเห็นควรติดตามและประเมินผลการขยายอายุการใช้งานรถยนต์รับจ้างจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นหรืออาจจะไม่สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองก็เห็นสมควรให้ทบทวนกฎกระทรวงดังกล่าวต่อไป สำหรับ ทส. ไม่ขัดข้อง และเห็นว่า คค. ควรจัดทำเกณฑ์และความถี่ใน การตรวจสภาพรถเพื่อป้องกันมลพิษจากไอเสียรถแท็กซี่ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 9 ปี รวมถึงเกณฑ์การพิจารณามิให้มีการดัดแปลงชิ้นส่วนรถซึ่งทำให้ค่ามลพิษเพิ่มมากขึ้น
2. ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และสอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารซึ่งมีอุปกรณ์อื่นที่มีระบบหรือเทคโนโลยีติดตามรถที่สามารถนำมาใช้แทนเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาและค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้าง จึงควรกำหนดให้อุปกรณ์อื่นที่มีระบบหรือเทคโนโลยีดังกล่าวนำมาใช้ในรถยนต์รับจ้างได้ด้วย และกำหนดให้รถยนต์รับจ้างที่ครบอายุการใช้งาน 9 ปี หากมีการปรับปรุงสภาพรถและผ่านการตรวจสภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสามารถใช้งานเป็นรถยนต์รับจ้างต่อไปอีกไม่เกิน 12 ปีนับแต่วันจดทะบียนครั้งแรก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่เจ้าของรถและผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดเพิ่มเติมให้รถยนต์รับจ้างใช้อุปกรณ์อื่นที่มีระบบหรือเทคโนโลยีติดตามรถที่สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่สามารถส่งข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้ เพื่อรองรับระบบและเทคโนโลยีติดตามที่มีการพัฒนามากขึ้น และเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างเลือกใช้แทน เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ
2. ขยายอายุการใช้งานของรถยนต์รับจ้างจาก 9 ปีเป็น 12 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สามารถใช้งานรถยนต์รับจ้างได้ยาวนานขึ้น โดยผ่านการตรวจสภาพรถตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งนี้ เป็นการขยายอายุรถยนต์รับจ้างสำหรับรถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
เศรษฐกิจ - สังคม
8. เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 ในวงเงิน 68,044,000 บาท ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นกรณีเฉพาะราย สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้เร่งดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในทุกมิติอย่างเคร่งครัดเท่าที่จำเป็น และขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอน ส่วนงบประมาณที่เหลือ ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2566 โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรปรับหรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณแล้วแต่กรณีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงคมนาคม (คค.) รายงานว่า
1. เพื่อให้การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 เป็นรูปธรรมมากขึ้น คค. (สนข.) ได้เสนอร่างขอบเขตโดยละเอียดของค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และต่อมาสำนักงบประมาณ (สงป.) ได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ คค. (สนข.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมฯ ระยะเวลาดำเนินการ 30 เดือน ในวงเงิน 68.044 ล้านบาท เบิกจ่ายในงบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 17.011 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ จำนวน 51.033 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2566 ต่อไป ทั้งนี้ คค (สนข.) จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 42
2. ร่างขอบเขตโดยละเอียดของค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
2.1 ขอบเขตงาน
เป็นการศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย – อันดามัน) การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน การศึกษาปริมาณการค้าโลกและสำรวจความต้องการขนส่งสินค้าในระดับมหภาคที่พาดผ่านพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย การศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน การวิเคราะห์จัดทำรูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) การออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และการจัดทำรายงานการให้เอกชนร่วมลงทุน (Public Private Partnership : PPP) ร่วมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ตลอดจนการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
2.2 แผนดำเนินงาน
คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ระยะเวลาดำเนินการ 30 เดือน กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2566
2.3 แผนการใช้จ่ายเงิน วงเงินรวม 68.044 ล้านบาท แบ่งเป็น
2.3.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 17.011 ล้านบาท
2.3.2 ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2566 จำนวน 51.033 ล้านบาท (แบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 10.2066 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 20.4132 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 20.4132 ล้านบาท)
2.4 ประโยชน์ที่จะได้รับ
2.4.1 โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้จะได้รับ การพัฒนาเพิ่มศักยภาพเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
2.4.2 มีรูปแบบโมเดลการพัฒนาและการลงทุนที่เหมาะสมกับการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
9. เรื่อง ขอยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 ให้แก่บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 แก่บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 9/2546/66 เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเป็นผู้ยื่นขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าเพื่อการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง หรือกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมต่อกรมป่าไม้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และให้ พน. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กรกฎาคม 2546) อนุมัติให้สัมปทานปิโตรเลียมแก่ บริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L15/43 และ L27/43 โดยกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการออกสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 9/2546/66 เพื่อสิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้ว เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (14 กุมภาพันธ์ 2549) อนุมัติให้บริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด โอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะตามสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดของสัมปทานรวม 2 แปลงสำรวจ ให้แก่บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานแต่เพียงผู้เดียว โดยในปัจจุบันบริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ได้ดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่สัมปทานครบถ้วนตามข้อผูกพันที่มีต่อรัฐในช่วงระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมแล้ว และได้เข้าสู่ช่วงระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม 20 ปี ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการดำเนินการผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากจะต้องขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าเพื่อการสำรวจปิโตรเลียม การผลิตปิโตรเลียม การเก็บรักษา การขนส่ง หรือกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมก่อน
บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 9/2546/66 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L15/43 ประสงค์ขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า เพื่อการสำรวจปิโตรเลียม การผลิตปิโตรเลียม การเก็บรักษา การขนส่ง หรือกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม แต่เนื่องจากบริษัทฯ มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงฯ ดังนี้
กฎกระทรวงฯ |
บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด |
บริษัทฯ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ |
|
กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลนั้นต้องจดทะเบียนในประเทศไทย |
เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย |
ขอยกเว้นหลักเกณฑ์ |
|
ผู้ขออนุญาตที่เป็นนิติบุคคลต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าวโดยเฉพาะหรือเป็นส่วนใหญ่ |
ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลต่างด้าวทั้งหมด (ร้อยละ 100) |
ในกรณีที่นิติบุคคลนั้นมีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทยเกินสองในสามของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยต้องถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด |
ผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาและบุคคลธรรมดาสัญชาติอเมริกัน |
ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลที่ขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 (1) คือ เป็นบุคคลธรรมดาที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย มีสัญชาติไทย ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย |
กรรมการของบริษัทมี 3 คน โดยกำหนดเงื่อนไขจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ คือ กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท โดยเป็นผู้มีสัญชาติไทย 2 ราย อายุ 44 และ 46 ปี และสัญชาติอินโดนีเซีย 1 ราย อายุ 59 ปี |
บริษัทฯ จึงยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์ตามที่กฎกระทรวงกำหนดได้ ในกรณีที่เห็นว่าการอนุญาตดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 ให้บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด สามารถเป็นผู้ยื่นขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าต่อกรมป่าไม้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ผู้ขออนุญาตจะต้องได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าตามกฎกระทรวงฯ ก่อนที่จะดำเนินการในพื้นที่ป่าและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องจักรกลเพื่อการเตรียมความพร้อมแก้ไขและบรรเทาอุทกภัย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอให้ กษ. โดยกรมชลประทานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 284.86 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องจักรกลเพื่อการเตรียมความพร้อมแก้ไขและบรรเทาอุทกภัย และให้ กษ. (กรมชลประทาน) รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. ปัจจุบันกรมชลประทานมีเครื่องจักรกลที่ใช้เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัยไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานในภาวะวิกฤติ และส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรกลที่มีสภาพเก่ามาก ใช้เทคโนโลยีไม่ทันสมัย ดังนั้น กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักรกลทดแทนให้เพียงพอในการปฏิบัติภารกิจของกรมชลประทาน รวมทั้งเป็นการดำเนินงานตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของกรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เพื่อเตรียม ความพร้อมในการแก้ไขปัญหา ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ การป้องกันบรรเทาอุทกภัยตลอดจนการบริหารจัดการน้ำ ของประเทศ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. กษ. (กรมชลประทาน) ได้ขอให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องจักรกลดังกล่าว รวม 4 รายการ จำนวน 206 เครื่อง/คัน/ลำ วงเงิน 979.39 ล้านบาท ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นความจำเป็นในการจัดหาเครื่องจักรกลดังกล่าว รวม 3 รายการ จำนวน 61 เครื่อง/คัน/ลำ ในวงเงิน 327.36 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและทดแทนของเดิมโดยให้เพียงพอเป็นระยะ ๆ ทั้งแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งตามงบประมาณที่มีอยู่ อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 284.86 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน 42.50 ล้านบาท ให้พิจารณาปรับแผน การปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากโครงการ/รายการที่ดำเนินการบรรวัตถุประสงค์แล้วและมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจำเป็น และ/หรือรายการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในลักษณะของการโอน/เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามขั้นตอนต่อไป สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทรายการ |
จำนวนหน่วย |
ราคาต่อหน่วย |
งบประมาณ |
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น |
44 |
- |
284.86 |
1) เครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ |
39 เครื่อง |
- |
123.00 |
1.1) เครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว |
15 เครื่อง* |
2.50 |
37.50 |
1.2) เครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว |
3 เครื่อง |
2.95 |
8.85 |
1.3) เครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 12 นิ้ว |
21 เครื่อง |
3.65 |
76.65 |
2) รถปั้นจั่น ล้อยาง ขนาด 50 ตัน (All Terrain Crane) |
3 คัน |
48.96 |
146.98 |
3) เรือขุดชนิดปูตักแบบแบคโฮลงโป๊ะ ขนาดไม่น้อยกว่า 130 แรงม้า |
2 ลำ |
7.49 |
14.98 |
ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
17 |
2.5 |
42.50 |
เครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว |
17 เครื่อง* |
2.5 |
42.50 |
รวมทั้งสิ้น |
61 |
- |
327.36 |
หมายเหตุ : * นายกรัฐมนตรีอนุมัติเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่งขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว จำนวน 32 เครื่อง อย่างไรก็ตาม กษ. ได้เสนอขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในครั้งนี้ จำนวน 15 เครื่อง ส่วนอีก 17 เครื่อง จะปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
11. เรื่อง การปรับแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (แนวทางการประเมินส่วนราชการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 โดยไม่ต้องนำผลการดำเนินงานของส่วนราชการมาประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563
2. เห็นชอบกรอบและแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของส่วนราชการไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า ในคราวประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติที่สำคัญ 2 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบการปรับแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เนื่องจากการปรับรายละเอียดของตัวชี้วัด เป็นการคาดการณ์ผลการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งยังมีความ ไม่แน่นอนและไม่สะท้อนกับผลการปฏิบัติงานที่จะเกิดขึ้นจริง รวมทั้งไม่สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพของส่วนราชการได้หากเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ในระยะที่สองหรือเกิดสภาวะวิกฤตอื่น ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างไปจากแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2563 ดังนี้
แนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 |
แนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ตามมติ ก.พ.ร. ครั้งที่ 3/2563 |
1. ให้ส่วนราชการสามารถปรับรายละเอียดหรือยกเลิกตัวชี้วัดเดิมตามภารกิจหลักที่ได้รับผลกระทบจากโรค COVID – 19 2. ให้ส่วนราชการเสนอตัวชี้วัดใหม่ในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19
|
ไม่นำผลการดำเนินงานของส่วนราชการมาประเมินผลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการฯ โดย 1. ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเดิมเพื่อใช้ในการติดตาม (monitoring) แต่จะไม่นำมาประเมินผล 2. ให้ส่วนราชการถอดบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน 3. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. สรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบในภาพรวมของส่วนราชการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ หากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต |
2. เห็นชอบกรอบและแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยเป็นการนำองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบเดิมตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (6 พฤศจิกายน 2561) ไว้ มาจัดกลุ่มและจำแนกเป็น 2 องค์ประกอบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.1 กรอบการประเมิน
องค์ประกอบการประเมิน |
ประเด็นการประเมิน |
1. การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 จำนวน 3 – 5 ตัวชี้วัด |
1.1 ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายสำคัญของรัฐบาลมติคณะรัฐมนตรี หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ (Agenda KPI) 1.2 ผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ (บังคับส่วนราชการระดับกรม) 1.3 ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่เป็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน (Joint KPIs) 1.4 ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ หรือภารกิจในพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Function KPI / Area KPI) |
2. การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 จำนวน 1 ตัวชี้วัด |
ผลการพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 15) เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) และการเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) เป็นต้น 2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (Public Sector Management Quality Award – PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 15) |
2.2 เกณฑ์การประเมิน จะพิจารณาจากคะแนนในภาพรวมโดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับผลการดำเนินงาน |
คะแนนผลการดำเนินงาน (ร้อยละ) |
1. ระดับคุณภาพ |
90.00 – 100.00 |
2. ระดับมาตรฐาน -ชั้นสูง -ชั้นต้น |
75.00 – 89.99 60.00 – 74.99 |
3. ระดับต้องปรับปรุง |
ต่ำกว่า 60.00 |
2.3 รอบระยะเวลาการประเมิน : 1 ตุลาคม – 30 กันยายน ของทุกปี (ปีละ 1 ครั้ง)
2.4 กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน : ส่วนราชการและจังหวัด (สำหรับส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้ และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับส่วนราชการ)
2.5 ผู้ทำหน้าที่ในการประเมิน : เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้ประเมินส่วนราชการ (ฝ่ายบริหาร) และจังหวัดในเบื้องต้น แล้วรายงานผลการประเมินต่อรัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการของหน่วยงาน และรายงานนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป
12. เรื่อง ขออนุมัติแผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของแผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร รวม 5 ด้าน ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563 - 2572) รวมจำนวน 62 โครงการ วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 7,445.22 ล้านบาท โดยให้เร่งรัดดำเนินการแผนงานระยะเร่งด่วนให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. มอบหมายให้จังหวัดสกลนครและกระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พัฒนาหนองหารบริเวณเหนือหนองหารและพื้นที่ต้นน้ำ
3. มอบหมายให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำในหนองหาร
4. มอบหมายให้ สทนช. ร่วมกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการในแผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนครต่อไป
5. มอบหมายให้ สทนช. ร่วมกับจังหวัดสกลนครติดตามและขับเคลื่อนแผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 อย่างเคร่งครัด
สาระสำคัญของเรื่อง
สทนช. รายงานว่า
1. มท. โดยจังหวัดสกลนครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการแผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร เสนอ กนช. เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาหนองหารที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ซึ่ง กนช. ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแผนหลักการพัฒนาหนองหารจังหวัดสกลนคร ปี 2563 – 2572 จำนวน 5 ด้าน 65 โครงการ วงเงินรวม 7,445.22 ล้านบาท และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนระยะเร่งด่วน ปี 2563 – 2565 โดยเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้จังหวัดสกลนครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ กนช. และข้อสั่งการเพิ่มเติมของประธาน กนช. (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ไปดำเนินการ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ซึ่งต่อมาจังหวัดสกลนครได้ปรับปรุงแผนงาน/โครงการฯ เป็นจำนวน 62 โครงการ ในกรอบวงเงินงบประมาณเดิม 7,445.22 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับปรุงแผนปฏิบัติเร่งด่วน (ปี พ.ศ. 2563 - 2565) โดยปรับรวมรายการเพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน รวมทั้งปรับปรุงรายการตามข้อเสนอและข้อห่วงใยในคราวตรวจราชการในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่ง กนช. ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
2. แผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 สภาพปัญหาของพื้นที่บึงหนองหาร พบว่ามีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับราษฎรที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาแนวเขตหนองหาร คือ การออกเอกสารสิทธิการถือครองที่ดินที่อยู่ในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในบริเวณหนองหาร พ.ศ. 2484 และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ เช่น ปัญหาน้ำท่วมขัง เนื่องจากการตื้นเขินของหนองหารและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น
2.2 รายละเอียดของแผนหลักการพัฒนาหนองหาร ประกอบไปด้วย 5 ด้าน 62 โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 7,445.22 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
ด้าน/เป้าหมาย |
ระยะเวลาดำเนินการ |
งบประมาณรวม (ล้านบาท) |
|
ระยะเร่งด่วน ปี พ.ศ. 2563 – 2565 |
ระยะปานกลาง – ยาว ปี พ.ศ. 2566 - 2572 |
||
1. แผนด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 7 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2564 - 2570 |
|||
เป้าหมาย : การจัดหาน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชนครบทุกหมู่บ้าน ชุมชนเมือง แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ การจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุน |
จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 4.92 ล้านบาท เช่น โครงการขยายเขตจำหน่ายน้ำบ้านดอนเชียงคูณ หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นต้น |
จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 288.40 ล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
293.32 |
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ : การประปาส่วนภูมิภาค |
|||
2. แผนด้านการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 2 โครงการ รวมระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2564 – 2569 |
|||
เป้าหมาย : การพัฒนาเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพของปริมาณน้ำที่สามารถสนับสนุนได้ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากน้ำในหนองหาร |
- จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 166.66 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการศึกษาสำรวจออกแบบรายการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำรอบหนองหาร และ 2) โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำรอบหนองหาร จำนวน 32 แห่ง |
เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 897.96 ล้านบาท |
1,064.62 |
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ : กรมชลประทาน |
|||
3. แผนด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 15 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2563 - 2569 |
|||
เป้าหมาย : เพื่อการบรรเทาอุทกภัย ทั้งระบบลุ่มน้ำโดยพิจารณาความเหมาะสมในการบรรเทาอุทกภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงท้ายน้ำ รวมทั้งความจำเป็นที่ต้องบริหารน้ำให้เพียงพอต่อการใช้น้ำประโยชน์ในด้านต่าง ๆ |
- จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 440.04 ล้านบาท เช่น โครงการศึกษาบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งลุ่มน้ำหนองหาร ลุ่มน้ำพุง และลุ่มน้ำก่ำ โครงการปรับปรุงพนังกั้นน้ำ อาคารประกอบ และ ก่อสร้างแก้มลิง เป็นต้น - จำนวน 1 โครงการ ไม่ขอรับจัดสรรงบประมาณ |
- จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 1,151.20 ล้านบาท เช่น โครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำพุง บ้านทามไฮ ตำบลม่วงลาย อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นต้น - จำนวน 1 โครงการได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว |
1,591.24 |
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ : กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง |
|||
4. แผนด้านการจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 23 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2563 – 2570 |
|||
เป้าหมาย : บำบัดน้ำเสียที่ไหลลงหนองหาร และการควบคุมวัชพืชไม่ให้กระทบคุณภาพน้ำในหนองหาร เพื่อให้คุณภาพน้ำเหมาะสมต่อการใช้เพื่ออุปโภคบริโภค เป็นแหล่งบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำและมีระบบนิเวศที่ดี |
จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 661.99 ล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียระดับครัวเรือน โครงการกำจัดวัชพืชลอยน้ำในหนองหาร ระยะที่ 1 เป็นต้น |
เป็นโครงการระยะปานกลาง – ยาว จำนวน 14 โครงการ วงเงิน 3,666.90 ล้านบาท และเป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะเวลาเร่งด่วน จำนวน 4 โครงการ เช่น โครงการออกแบบรายละเอียดเพื่อขุดลอกตะกอนดินในหนองหาร เป็นต้น |
4,328.89 |
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ : สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร เทศบาลนครสกลนคร เทศบาลตำบลท่าแร่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และกรมประมง |
|||
5. แผนด้านการบริหารจัดการ 15 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2564 - 2572 |
|||
เป้าหมาย : มีองค์กรและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลหนองหาร และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ |
จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 62.20 ล้านบาท เช่น การจัดทำทะเบียนข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่หนองหาร การมีส่วนร่วมในการสำรวจ และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทิ้งลงหนองหาร เป็นต้น |
- จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 104.95 ล้านบาท และเป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะเวลาเร่งด่วน จำนวน 8 โครงการ เช่น แผนงานวิจัยผลกระทบของการขุดลอกต่อระบบนิเวศในหนองหาร เป็นต้น - จำนวน 2 โครงการ ไม่ขอรับจัดสรรงบประมาณ |
167.15 |
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ : สำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนคร สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร |
หมายเหตุ : ในระยะเร่งด่วน ปี พ.ศ. 2563 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีแล้ว ปี พ.ศ. 2564 – 2565 ได้เสนอบรรจุเข้าแผนเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 จะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อดำเนินการต่อไป
13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 19/2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2563 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้
1. รับทราบผลการพิจารณากลั่นกรองโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) พร้อมทั้งมอบหมายให้ อว. และ สทบ. เร่งดำเนินการตามข้อสังเกตและมติ คกง. และ เสนอโครงการฯ ให้ คกง. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามขั้นตอนต่อไป
2. อนุมัติโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กรอบวงเงินรวม 13,904.50 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งพิจารณากำหนดแนวทางการอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคลตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการภายใต้รูปแบบที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งรับความเห็น และข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการดังนี้
2.1 ดำเนินโครงการให้เป็นไปตามหลักการทั้ง 8 ข้อ ของ คกง. (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563) โดยเฉพาะในประเด็นการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ที่ต้องดำเนินการประมาณค่าใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบของทางราชการและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยเคร่งครัด
2.2 จัดทำประมาณการความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือนเพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
2.3 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้ สบน. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
2.4 ประสานกับ กค. ในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ ด้วย
3. อนุมัติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จากเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นเดือนกันยายน 2563 ตามที่ พม. เสนอ พร้อมทั้งรับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการต่อไป
4. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปรับปรุงรายละเอียดโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในวันธรรมดา เพิ่มความถี่การพักค้าง และกระตุ้นการใช้จ่ายกลุ่มศักยภาพ ดึงกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ เช่น ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้ออกเดินทางท่องเที่ยวตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
5. รับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ของกรมหม่อนไหม กษ. พร้อมทั้งเห็นควรให้กรมหม่อนไหมใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ตามขั้นตอนต่อไป
14. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ)
2. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ)
3. ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตต่อการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ)
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)จะดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการตามพระราชกำหนดดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
1. ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนดฯ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ (2) พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ และ (3) พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1.9 ล้านล้านบาท ต่อมาได้มีนักวิชาการ สื่อมวลชน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและที่ประชุมวุฒิสภาแสดงความคิดเห็นและข้อห่วงใยต่อการดำเนินการตามพระราชกำหนดดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า หรือไม่เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดฯ รวมทั้งอาจเกิดการทุจริตจากการดำเนินตามแผนงาน/โครงการได้
2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คาดว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะเร่งดำเนินการเสนอโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้ทันท่วงที จึงอาจเร่งดำเนินการทำให้การพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการไม่รอบคอบเท่าที่ควร และอาจมีการยกเว้นกฎระเบียบบางประการอันอาจนำไปสู่ช่องทางในการทุจริตได้
3. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 70/2563 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชกำหนดจำนวน 3 ฉบับ แล้ว ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้นำข้อสังเกตของที่ประชุมฯ ไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมแล้วเสนอให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยรายละเอียดของข้อเสนอแนะฯ สรุปได้ ดังนี้
3.1 พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
3.1.1 ควรกำหนดมาตรการเสริมในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) เช่น หมวด 2 ของระเบียบสำนักนายกรัฐนตรีฯ การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ ควรกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จัดทำโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ จะต้องมีการวางกระบวนการ/กิจกรรม รวมทั้งการประเมินเพื่อลดความเสี่ยงและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นไว้ในโครงการที่จะเสนอด้วย โดยนำข้อกำหนดตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายนำมาปรับประยุกต์ใช้เท่าที่ไม่ขัดหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ หากโครงการที่ไม่มีกระบวการที่ว่าไว้นี้ ผู้มีอำนาจพิจารณาในแต่ละลำดับอาจมีความเห็นให้ทบทวนหรือไม่อนุมัติโครงการได้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ (คกง.) ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการทุจริตก่อนพิจารณาอนุมัติโครงการ เป็นต้น
3.1.2 ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
1) หมวด 2 การเสนอ การพิจารณากลั่นกรองและการอนุมัติโครงการ ควรขยายระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้เกิดความคุ้มค่าและสามารถแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง
2) ควรกำหนดบทลงโทษ กรณีหน่วยงานของรัฐใดได้รับการกลั่นกรองและอนุมัติโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้จาก คกง. แล้ว แต่ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปดำเนินโครงการอย่างอื่นโดยยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก คกง. ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
3.1.3 คกง. ควรกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอโครงการในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel และนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยควรมีคณะตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของโครงการซึ่งเป็นผู้แทนจากภาคเอกชนร่วมด้วย
3.1.4 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ควรจัดทำ “เว็บไซต์เฉพาะ” สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากมีการจัดซื้อจัดจ้างควรเปิดเผยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐแบบ Real Time Online ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
3.1.5 ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เป็น คกง. ร่วมด้วย เพื่อให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจโครงการ
3.1.6 ควรกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ทุกโครงการควรมีการลงนามในข้อตกลงคุณธรรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตหรือคณะอนุกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตกำหนดและในกรณีโครงการขนาดใหญ่ ควรเข้าร่วมโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ
3.2 พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ได้รับการช่วยเหลือ โดยคำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการและอาจเปิดเผยผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ ธปท. หรือเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3.3 พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฯ เช่น (1) ธปท. ควรกำหนดหลักกณฑ์การพิจารณา โดยให้สถาบันการเงินประเมินแผนงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ขอกู้เงิน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (2) ธปท. ควรเปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบนเว็บไซต์ของ ธปท. แบบ Real Time รวมทั้งควรส่งรายชื่อดังกล่าวให้บริษัทข้อมูลเครติตแห่งชาติ จำกัด เป็นต้น
15. เรื่อง การยกเลิกการจัดประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2020 ณ ประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการยกเลิกการจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2020 ณ ประเทศไทย สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 มิถุนายน 2562) เห็นชอบในหลักการให้ วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2020 ณ ประเทศไทย ตามที่ วธ. เสนอ
2. World Association of Marching Show Band หรือ WAMSB เป็นองค์กรกลางด้านการพัฒนาและจัดการแข่งขันดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ได้ร่วมกับสมาชิกจัดการแข่งขันชิงแชมป์โลก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนประเทศเจ้าภาพระหว่างทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นประจำทุกปี และในปี 2559 ผู้บริหาร WAMSB ได้มีโอกาสเยือนประเทศไทย และได้เห็นถึงความพร้อมของประเทศทั้งในด้านบุคลากร ความสามารถ ความพร้อมในด้านสนามแข่งขัน ที่พัก และแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ทาบทามประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลกในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งจะดำเนินการโดยสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ประจำประเทศไทย
3. วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากลกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2020 ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม- 2 สิงหาคม 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีโลก โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 19,675,900 บาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประชาคมโลกยังคงมีความไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อผู้สนใจเข้าร่วมการประกวดและผู้สนใจเข้าชมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศในด้านการเตรียมการฝึกซ้อม การจัดเตรียมงบประมาณในสถานศึกษา และการวางแผนการเดินทาง ทำให้ไม่สามารถประเมินสถานการณ์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมได้ ดังนั้น ในการประชุมวิสามัญโดยกรรมการบริหารของ WAMSB มื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติให้ยกเลิกการจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2020 ณ ประเทศไทย โดยประเทศไทยสามารถเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอีกครั้งได้ในปี ค.ศ. 2025
4. สำหรับงบประมาณที่สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากลได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจัดการประกวดจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 19,675,900 บาท โดยได้ใช้จ่ายงบประมาณไปแล้ว จำนวน 1,327,310 บาท เป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าจัดทำคลิปสำหรับใช้ระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันและคลิป “World Virtual Band & Orchestra” และค่าบริการออกแบบกระบวนการการจัดพิธีเปิดและการประกวด ซึ่งทางสมาคมดนตรีฯ ได้ดำเนินการคืนงบประมาณที่เหลือ จำนวน 18,348,590 บาท ให้แก่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมด้วยแล้ว
5. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับทราบและไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของ วธ. ในการยกเลิกการจัดประกวดฯ ดังกล่าว
16. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไปพลางก่อน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไปพลางก่อน เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จะประกาศใช้บังคับไม่ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 (ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 141 ที่บัญญัติให้ในกรณีพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 12 ที่บัญญัติให้ในกรณีที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมาใช้ไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการ สงป. กำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การจัดสรรงบประมาณ
หน่วยรับงบประมาณ |
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณฯ |
1. หน่วยรับงบประมาณทั่วไป |
ให้ สงป. มีอำนาจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้หน่วยรับงบประมาณได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ ของกรอบวงเงินของแผนงานและรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมถึงที่มีการโอนงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 การโอนตามกฎหมายอื่น และการโอนตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
2. หน่วยรับงบประมาณที่ตั้งขึ้นใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ได้รับโอนงบประมาณรายจ่ายมาจากหน่วยรับงบประมาณอื่น* |
- ให้ สงป. มีอำนาจจัดสรรงบประมาณได้เต็มจำนวนงบประมาณรายจ่ายแต่ละแผนงานตามที่ได้รับโอนมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และหากยังไม่เพียงพอ สงป. อาจจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นได้ |
3. เทศบาลนคร เทศบาลเมือง* |
- ให้ สงป. จัดสรรงบประมาณให้ได้เฉพาะค่าใช้จ่ายบุคลากรและเงินสงเคราะห์หรือสวัสดิการที่จ่ายแก่ประชาชน ไม่เกินหนึ่งในสี่ของงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น |
*ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้ สงป. จัดสรรโดยไม่ต้องเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
2. การจัดสรรงบประมาณเกินกว่าหรือนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ข้างต้น ให้ สงป. มีอำนาจจัดสรรงบประมาณได้ตามความจำเป็น เฉพาะกรณี เช่น รายจ่ายตามข้อผูกพันสัญญาการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และการดำเนินการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแต่ต้องไม่เกินวงเงินงบประมาณรายจ่ายตามที่กำหนดไว้ในแต่ละแผนงานและรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมถึงที่มีการโอนงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 การโอนตามกฎหมายอื่นและการโอนตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
3. การใช้จ่ายงบประมาณ ให้หน่วยรับงบประมาณจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยใหถือเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ให้ สงป. มีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติในการอนุมัติเงินจัดสรรการบริหารงบประมาณรายจ่าย และการหักงบประมาณรายจ่ายออกจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และให้ผู้อำนวยการ สงป. มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้
4. การกำหนดวิธีปฏิบัติฯ สงป. จะแจ้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้ให้หน่วยรับงบประมาณทราบและให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันในไตรมาสที่ 1 และส่งให้ สงป. ภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 และเมื่อ สงป. พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จะอนุมัติเงินจัดสรรให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
17. เรื่อง การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วง กม.4 + 100.000-กม.9 + 000.000 (ช่วง 3)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วง กม.4 + 100.000-กม.9 + 000.000 (ช่วง 3) ระยะทางยาวประมาณ 4.900 กิโลเมตร ในวงเงินค่าก่อสร้าง 1,479.75 ล้านบาท กำหนดเวลาทำการ 930 วัน โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2566 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (29 สิงหาคม 2560) รับทราบรายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (ช่วง 3) ในวงเงิน 1,522.87 ล้านบาท กำหนดเวลาก่อสร้าง 960 วัน แต่ได้มีการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างเนื่องจากเกิดความคลาดเคลื่อนในการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างใหม่
2. ในครั้งนี้ กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (ช่วง 3) วงเงิน 1,479.75 ล้านบาท โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2566 ซึ่งสำนักงบประมาณได้เห็นชอบความเหมาะสมของราคาค่าก่อสร้างดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากเป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จึงต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้
18. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบปรระมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกล ไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ (เพิ่มเติม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 810,000,000 บาท ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เพื่อจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ ที่เหลืออีกจำนวน 18 คัน คันละ 45,000,000 บาท
สาระสำคัญ
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจากข้อมูลสถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน โดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้การในเขื่อนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใน 25 ลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ ประกอบกับสถิติการประกาศภัยแล้ง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555-2561 พบว่า 39 จังหวัด มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตาม รถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ ที่ได้รับอนุมัติให้จัดหาแล้ว จำนวน 18 คัน ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤติ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยแล้งและเป็นการสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการบูรณาการการจัดการภัยแล้งในภาพรวมของประเทศให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและเกิดวิกฤตการณ์ขาดน้ำต้นทุนอย่างรุนแรง รวมทั้งหากเกิดอุทกภัยก็สามารถช่วยระบายน้ำไปยังพื้นที่กักเก็บน้ำระยะไกลได้อย่างทันท่วงที จึงขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ ที่เหลืออีกจำนวน 18 คัน วงเงิน 810,000,000 บาท ประจำ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์เขต เขตละ 1 คัน
19. เรื่อง การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
สำนักงบประมาณเสนอว่า ด้วยขณะนี้เป็นช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 43 ได้กำหนดว่าการขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินจากคลังได้ภายในปีงบประมาณให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังได้ เฉพาะในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณและได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว รายการที่อนุมัติจัดสรรและไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้จะไม่ได้รับอนุมัติให้กันเงิน ประกอบกับรัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงบประมาณจึงเห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณชะลอการดำเนินการ ในกรณีดังต่อไปนี้
1. รายการที่หน่วยรับงบประมาณได้รับอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ไม่สามารถขอรับจัดสรรงบประมาณได้ภายในวันที่ 24 กันยายน 2563
2. รายการที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรให้หน่วยรับงบประมาณแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันหรือออกประกาศเชิญชวนได้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2563 ทั้งนี้ ให้หน่วยรับงบประมาณแจ้งส่งคืนงบประมาณดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณภายในวันที่ 18 กันยายน 2563 เพื่อนำไปใช้ในโครงการที่มีความสำคัญและเร่งด่วนต่อไป
20. เรื่อง แนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ และให้ กก. ไปหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดอีกครั้ง ดังนี้
1) อนุมัติหลักการให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 เป็นบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย
1.2 ยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน (ALSQ)
1.3 มีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย (Long Stay)
1.3.1 หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก (ALSQ) หรือโรงพยาบาลที่พัก (AHQ) ภายในประเทศไทย
1.3.2 หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.3.2.1 หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก ที่จะใช้เป็นที่พักหลังจากออกจากโรงแรมที่พักที่เป็นสถานที่กักตัว (ALSQ) หรือโรงพยาบาลที่พัก (AHQ) ตามระยะเวลาที่ประสงค์จะพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย
1.3.2.2 หลักฐานสำเนาโฉนดห้องชุดของที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลต่างด้าวหรือบุคคลในครอบครัวของบุคคลต่างด้าว
1.3.2.3 หลักฐานการเช่าที่พักประเภทคอนโดมิเนียมหรือบ้านพัก
1.3.2.4 หลักฐานการชำระเงินดาวน์ของบุคคลต่างด้าวในการซื้อหรือเช่าที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่บุคคลต่างด้าวสามารถซื้อได้ตามกฎหมาย
โดยบุคคลต่างด้าวจะต้องผ่านการดำเนินการตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ Special Tourist Visa (STV) โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ครั้งละ 2,000 บาท ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 90 วัน
2) ภายหลังจากที่ครบกำหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 90 วัน โดยคนต่างด้าวต้องยื่นคำขอตามแบบและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด
3) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. เสนอแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เพื่อนำนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเดินทางเข้าราชอาณาจักรเนื่องด้วยปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปไม่สามารถเดินทางได้ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว แต่เนื่องจากประเทศไทยสามารถบริหารจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จนได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีความปลอดภัยเป็นอันดับ 1 ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ภายในประเทศไทย ทำให้คนต่างด้าวที่เรียกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและมีศักยภาพจากทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการเดินทางเข้ามาพร้อมครอบครัวเพื่อมาพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย
ประกอบกับในระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทย นำเงินตราเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศขาดรายได้และได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วน รัฐบาลมีนโยบายที่จะเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย ในพื้นที่ปิดที่สามารถควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
21. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,082.7605 ล้านบาทให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อดำเนินโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และให้พิจารณาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. ให้หน่วยรับงบประมาณ ได้แก่ จังหวัด 30 แห่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ และเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของระเบียบและแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป
2. ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการอย่างเคร่งครัด และเร่งรัดการดำเนินการเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือนกันยายน 2563 ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
3. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขากองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ รวมถึงสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไปด้วย
สาระสำคัญของโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ ในฤดูฝนปี 2563
1. ความเป็นมา
สืบเนื่องจากการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน 2563 ตาม 8 มาตรการเตรียมความพร้อมรองรับน้ำฝน ปี 2563 สำนักงานทรัพยากรน้ำ (สทนช.) พบว่าในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 มีพื้นที่เฝ้าระวังที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 32 จังหวัด 140 อำเภอ 366 ตำบล ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่นซินลากู และจะต้องเฝ้าระวังเพิ่มมากขึ้นในเดือนกันยายน 2563 โดยมีพื้นที่ที่จะต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ 54 จังหวัด 317 อำเภอ 1,566 ตำบล จากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และยังคงต้องมีการเตรียมการเพื่อรับมือพายุดีเปรสชั่นฮีโกสซึ่งจะพัดเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ประกอบกับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและทำให้การบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี 2563 สามารถดำเนินการได้ตาม 8 มาตรการเตรียมความพร้อมรองรับน้ำฝน ปี 2563 เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) จึงได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแผนงานเร่งด่วนเพื่อเตรียมการรับมือ แก้ไข และบรรเทาปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนปี 2563 เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 อีกทั้งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยได้ดำเนินการสำรวจตรวจสอบแผนงาน/โครงการเร่งด่วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สามารถสรุปแผนงานโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนปี 2563 ดำเนินการโดย 3 กระทรวง 6 หน่วยงานและจังหวัด 30 แห่ง วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,082.7605 ล้านบาท
2. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยแล้งและน้ำท่วม
1.2 เพื่อสนับสนุนด้านการเกษตร เช่น เกษตรแปลงใหญ่ และด้านการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน
1.3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้และการจ้างแรงงานให้กับประชาชน และผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและอุทกภัยในระดับชุมชน
1.4 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
3. พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ทั้งประเทศ
4. แนวทางการดำเนินการ
1. เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและทางราชการ
2. เป็นโครงการที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที โดยให้หน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดทำแบบรูปรายการ และประมาณราคาค่าก่อสร้าง (ปร.4 ปร.5) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางกำหนด
3. ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการโดยพิจารณาแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการขอรับจัดสรร
5. แผนงาน/โครงการที่เห็นควรเสนอขอรับการสนับสนุบงบกลางปี 2563 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
สทนช. ได้สรุปโครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ 60 จังหวัด ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการเร่งด่วนในปี 2563 ที่สามารถแก้ไข และบรรเทาปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำได้อย่างทันท่วงที และแผนงานที่มีสถานะพร้อมดำเนินการได้ทันที จำนวนทั้งสิ้น 9 โครงการ งบประมาณรวม 5,082.7605 ล้านบาท จำแนกตามหน่วยงาน จำนวน 6 หน่วยงานและจังหวัด 30 แห่ง ดังนี้
ลำดับ |
หน่วยงาน |
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (บาท) |
|
รวม |
9 |
5,082.7605 |
1 |
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล |
1 |
706.5962 |
2 |
กรมทรัพยากรน้ำ |
2 |
1,796.1018 |
3 |
กรมชลประทาน |
3 |
1,482.1930 |
4 |
กรุงเทพมหานคร |
1 |
340.000 |
5 |
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น |
1 |
23.6007 |
6 |
จังหวัด 30 แห่ง |
1 |
734.2688 |
6. ประเภท/ลักษณะงาน
1. ขุดลอกและปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 2. ระบบประปา 3. งามซ่อมแซม/ปรับปรุง 4. ขุดแหล่งเก็บน้ำใหม่ 5. บ่อน้ำบาดาล 6. ฝาย/ฝายชะลอน้ำ 7. ระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำ 8. ระบบระบายน้ำชุมชน 9. ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำและกำจัดวัชพืช 10. เครื่องจักร/เครื่องมือ
22. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 : การบริหารจัดการการประมงทะเล ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 : การบริหารจัดการการประมงทะเลของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 : การบริหารจัดการการประมงทะเล ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้มีข้อเสนอแนะและข้อสังเกต ดังนี้ 1) การพัฒนาการทำประมง 2) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3) ประเด็นการให้ความสำคัญในเชิงนโยบาย 4) ประเด็นการบริหารจัดการ “จุดอ้างอิง” ที่มีประสิทธิภาพ 5) ประเด็นระบบ (Monitoring Control and Surveillance : MCS) ที่มีประสิทธิภาพ 6) ประเด็น IUU-Free Thailand และ 7) ประเด็นการเชื่อมโยงการบริหารงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
กษ. เสนอว่า ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาข้อเสนอแนะและข้อสังเกตขอคณะกรรมาธิการฯ แล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
1. การพัฒนาการทำการประมง ฟื้นฟูแหล่งประมงและสิ่งแวดล้อมให้มีระบบนิเวศที่เหมาะสม กรมประมงได้ดำเนินการผลิตและปล่อยลูกพันธุ์สัตว์น้ำทั้งน้ำจืดและชายฝั่ง บูรณะแหล่งน้ำด้วยการขุดลอกและกำจัดวัชพืช และได้ดำเนินโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้มีระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2521 - 2561 รวมทั้งสิ้น 631 แห่ง และเฉพาะในช่วงปี 2561 - 2563 ได้ดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) ในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมทั้งสิ้น 8 แห่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสตูล และจังหวัดปัตตานี สำหรับแผนงานที่จะดำเนินการในปี 2563 - 2565 ได้กำหนดไว้ในแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล พ.ศ. 2563 - 2565 โดยเพิ่มจำนวนแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 5 แห่ง/ปี
2. การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยพัฒนาทั้งการเพาะเลี้ยงน้ำจืดและชายฝั่ง ปรับปรุงพื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และได้ดำเนินโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกร/ผู้ประกอบการที่ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แปรรูปสัตว์น้ำ มีการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต และปรับปรุงระบบการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ออกสู่ผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้สินค้าเกษตรปลอดภัยและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
3. ประเด็นการให้ความสำคัญในเชิงนโยบาย คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการโดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการประมง รวมทั้งได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) อีกทั้ง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ/คณะอนุกรรมการ ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ประเด็นการบริหารจัดการ “จุดอ้างอิง” ที่มีประสิทธิภาพ กรมประมงได้จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการคำนวณ (Maximum Sustainable Yield: MSY) และเสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์จุดอ้างอิงของประเทศไทยซึ่งปัจจุบันใช้วิธีแบบจำลองผลผลิตส่วนเกินของฟอกซ์ (Fox Surplus Production Model) ซึ่งมีความเหมาะสมเนื่องจากทรัพยากรประมงของไทยมีลักษณะเฉพาะของเขตร้อน (tropical multi-species fishery) จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์จุดอ้างอิงแบบกลุ่มสัตว์น้ำดังที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งยังได้จัดจ้างที่ปรึกษาชาวออสเตรเลีย เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงทะเล (Fisheries Management Plan: FMP) โดยที่ปรึกษาได้ตรวจสอบขั้นตอนและวิธีการประเมิน MSY แล้ว มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานภายใต้ FMP บนพื้นฐานของผลการประเมิน MSY ในปัจจุบัน ตลอดจนได้จัดทำโครงการ“การพัฒนาระบบเชื่อมโยงการคาดการณ์และการประเมินสภาวะการประมง เพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจการบริหารจัดการการทำประมง” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้น
5. ประเด็นระบบ (Monitoring Control and Surveillance : MCS) ที่มีประสิทธิภาพ กรมประมงดำเนินการตรวจสอบเรื่อ IUU list ที่ผ่านเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านระบบ Windward Intelligence โดยศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง (Fisheries Monitoring Center : FMC) โดย FMC มีภารกิจในการตรวจสอบและเฝ้าระวังทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับ ศรชล. และมีการบูรณาการร่วมกันในการทำงาน โดยการส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในช่องทางต่าง ๆ เช่น ไลน์กลุ่ม E - mail นอกจากนี้ กรมเจ้าท่ามีระบบ Single Window @ Marine Department ในการแจ้งเรือเข้า-ออกเรือ ซึ่งข้อมูลจากระบบดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลใบแจ้งอนุญาตเข้าเทียบท่าของเรือประมงต่างประเทศ และ Port Clearance ผ่านระบบ NSW
6. ประเด็น IUU-Free Thailand ประเทศไทยมุ่งมั่นจะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 แนวทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ IUU-free Thailand ภายในปี 2567 ได้แก่ 1) การดำเนินนโยบาย IUU-free Thailand อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ การติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูล 3) การพัฒนามาตรฐานการควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำ และ 4) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับของไทย ทั้งนี้ จะได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนและงบประมาณต่อไป
7. ประเด็นการเชื่อมโยงการบริหารงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ประกอบด้วยคณะกรรมการเฉพาะกิจแกไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการทำประมงและแรงงานในภาคประมง โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และแรงงานในภาคประมงให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งได้มีการพิจารณากลั่นกรองการออกกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับภาคประมงและแรงงานในภาคประมง การบังคับใช้กฎหมาย ปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายรวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการบังคับใช้กฎหมาย
ต่างประเทศ
23. เรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B -17 & C - 19 เพื่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่ายตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B -17 & C -19 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา คือ บริษัท PC JDA Limited (PC JDAL) และบริษัท PTTEP International Limited และเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B - 17 & C - 19 กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงพลังงานขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B -17 & C - 19 เพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่ายตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม (น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ) ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย จากเดิมกำหนดให้ผู้รับสัญญาสามารถหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการประกอบกิจการได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นไม่เกินร้อยละ 60 ของผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด เนื่องจากบริษัทผู้ได้รับสัญญาได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมระยะที่ 5 ของแปลง B -17 & C -19 ตามมติที่ประชุมองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียทำให้ต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น บริษัทผู้ได้รับสัญญาจึงขอเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถหักค่าใช้จ่ายในการลงทุนทั้งหมดได้ครบเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการแบ่งปันผลผลิตสิ้นสุด ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2572
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้รายได้ภาครัฐและองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียลดลง เนื่องจากภาครัฐจะได้รับภาษีในอัตราร้อยละ 10 คงเดิม และในส่วนขององค์กรร่วมฯ แม้จะได้รับส่วนแบ่งของผลกำไรจากผลผลิตปิโตรเลียมที่ลดลง แต่เมื่อคำนวณจากผลผลิตทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมแล้วจะทำให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นจากเดิม
24. เรื่อง องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B - 17 C -19 และแปลง B - 17 - 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C - 19 และแปลง B - 17 - 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท PTTEP International Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ และเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C -19 และแปลง B - 17 - 01 ฉบับดังกล่าวกับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงพลังงานขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C - 19 และแปลง B - 17 - 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท PTTEP International Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ โดยมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติไปจากสัญญาเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กันยายน 2552) เห็นชอบไว้ สรุป ดังนี้
หน่วย : ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ที่เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี |
||
ช่วงที่ 1 |
||
วันที่ |
ปริมาณซื้อขายเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรี (29 กันยายน 2552) |
ปริมาณซื้อขาย ตามข้อเสนอของ พน. ในครั้งนี้ (DCQ2) |
1 มกราคม 2564 - 1 มกราคม 2569 |
250 |
320 |
ช่วงที่ 2 |
||
1 มกราคม 2569 - 1 มกราคม 2570 |
ไม่ได้ระบุในสัญญา |
255 |
1 มกราคม 2570 - 1 มกราคม 2571 |
210 |
|
1 มกราคม 2571 - 1 มกราคม 2572 |
165 |
ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบร่างสัญญาเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย กับคู่สัญญามาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณีการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติของแปลง A -18 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 และ 22 ตุลาคม 2556 เป็นต้น
ในคราวประชุมคณะกรรมการองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 129 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B - 17 & C - 19 และแปลง B - 17 - 01 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่าการทำร่างสัญญาเพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อขายก๊าซธรรมชาติหลังจากมีการสำรวจและค้นพบก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะสามารถซื้อขายได้เพิ่มเติม (Additional Volume 2) นั้น เป็นการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาแหล่งพลังงานในพื้นที่พัฒนาร่วม เนื่องจากผู้ขายก๊าซ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ขายได้มากขึ้น จึงให้นำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศต่อไป และกระทรวงพลังงานได้ส่งร่างสัญญาดังกล่าวให้ อส. ตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว
25. เรื่อง การให้เงินสนับสนุนผ่านโครงการ Project - Based Programme ให้แก่ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหม สนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 565,840.- บาท (ห้าแสนหกหมื่นห้าพันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ผ่านโครงการ Project - Based Programme ให้แก่ ASEAN Center of Military Medicine (ACMM) ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
การให้เงินสนับสนุนแก่ ACMM เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในกรณีจำเป็นตามที่ ACMM ร้องขอ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกตามที่ระบุไว้ในเอกสารขอบเขตการปฏิบัติงาน (Terms of Reference : TOR) ของ ACMM เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้ ACMM แสดงบทบาทด้านการแพทย์ทหารในการตอบสนองต่อ COVID - 19 ตั้งแต่ต้นทางได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้การป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ในการลดการขาดแคลนด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการร่วมมือกันเพื่อควบคุมโรคระบาดของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งเป็นการแสดงบทบาทนำของประเทศไทยในการสนับสนุน ACMM ผ่านโครงการ Project - Based Programme ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้ประเทศคู่เจรจา ประเทศอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศได้มีบทบาทในการสนับสนุน ACMM เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าว ใช้งบประมาณเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 565,840.- บาท (ห้าแสนหกหมื่นห้าพันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแก่ประเทศไทยในระยะยาวแต่อย่างใด
26. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญ
1. ร่างเอกสารท่าทีไทยฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับคณะผู้แทนไทยพิจารณาใช้ในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75 โดยมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ และส่งเสริมให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ ที่ผ่านมา ไทยมีบทบาทที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยน้อมนำและเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมทั้งแสดงจุดยืนและท่าทีของไทยในประเด็นต่าง ๆ ระดับโลกที่มีความสำคัญและเป็นข้อห่วงกังวลของประชาคมระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน เช่น สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การพัฒนา สตรี เด็ก และผู้พิการ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง
2. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการเข้าร่วมประชุมต่าง ๆ ในช่วงสัปดาห์ การประชุมระดับผู้นำ (High-level Week) รวมทั้งการประชุมสมัยหลักของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75 โดยประสานท่าทีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอย่างใกล้ชิด และผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตามการประชุมต่าง ๆ ผ่านระบบการประชุมทางไกลของสหประชาชาติ
3. ร่างเอกสารท่าทีไทยฯ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75 ที่ไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1) หมวด A การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) หมวด B การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) หมวด C การพัฒนาทวีปแอฟริกา 4) หมวด D สิทธิมนุษยชน 5) หมวด E การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 6) หมวด F ความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) หมวด G การลดอาวุธ 8) หมวด H การควบคุมสารเสพติด การป้องกันอาชญากรรมและการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศทุกรูปแบบ และ 9) หมวด I การบริหารจัดการอื่น ๆ
27. เรื่อง ปฏิญญาการรำลึกถึงการครบรอบ 75 ปี สหประชาชาติ (Declaration for the Commemoration of the 75th Anniversary of the United Nations)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปฏิญญาการรำลึกถึงการครบรอบ 75 ปี สหประชาชาติ (Declaration for the Commemoration of the 75th Anniversary of the United Nations) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนให้การรับรองปฏิญญาฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศใช้ดุลยพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญ
1. ปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเพื่อรำลึกถึงการครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งสหประชาชาติเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองและความมุ่งมั่นของรัฐสมาชิกเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของกลไกสหประชาชาติ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายที่โลกประสบอยู่ในปัจจุบันและอนาคต อาทิ ความไม่เท่าเทียม ความยากจน ความหิวโหย ความขัดแย้งทางอาวุธ การก่อการร้าย ความไม่มั่นคงปลอดภัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาด โดยมีกลไกของสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างประเทศ
2. ปฏิญญาฯ ระบุถึงความร่วมมือในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งทุกประเทศต้องยึดมั่นในระบบพหุภาคี เนื่องจากจะเป็นหนทางที่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ในโอกาสวาระครบรอบ 75 ปีนี้ รัฐสมาชิกกำหนดเป้าหมายสำหรับสหประชาชาติและ ความร่วมมือกันในอนาคต ได้แก่ 1) การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2) ความร่วมมือในการปกป้องโลกจากภัยคุกคามต่าง ๆ 3) การส่งเสริมสันติภาพและป้องกันความขัดแย้ง 4) การปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศและยึดมั่นใน ความยุติธรรม 5) การส่งเสริมบทบาทของสตรีและเด็กหญิง 6) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ 7) การส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิทัล 8) การปฏิรูปสหประชาชาติ 9) การสร้างความมั่นคงทางการเงินของสหประชาชาติ 10) การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับภาคส่วนต่าง ๆ 11) การรับฟังและทำงานร่วมกับเยาวชน และ 12) การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ
28. เรื่อง การเจรจาจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreement: VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU)
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อกรอบการเจรจาการทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreement: VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade : FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (European Union : EU)
2. เห็นชอบท่าทีการเจรจาการทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU)
3. เห็นชอบหลักการในการดำเนินการตามกรอบการเจรจาการทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU)
4. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย ในการเจรจาการทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU
สาระสำคัญ
1. กรอบการเจรจาจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
(1) การกำหนดคำนิยามและกรอบสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย
(2) กำหนดการรับรองแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ประเทศไทยส่งออกสู่ตลาดสหภาพยุโรป
(3) การปรับปรุงและกำหนดหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติในการรับรองแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งการลดอุปสรรคทางการค้าของสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทยให้มากที่สุด เพื่อขยายการส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทยอย่างยั่งยืน
(4) มีมาตรฐานการป้องกันและเยียวยาสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม้ประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบการทำ VPA
(5) ให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(6) ให้มีมาตรการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป เช่น การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปให้ใช้สินค้าไม้ของประเทศไทย ผ่านทางการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมไม้ของประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น
(7) ให้มีการเจรจาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในภาพรวม
2. ท่าทีการเจรจาการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) การเจรจาจะต้องพิจารณาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด
(2) การเจรจาจะใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่ หากจะต้องมีการปรับแก้กฎหมายหรือตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ จะกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทย และสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยต้องไม่ลิดรอนสิทธิ์ของคนไทยรวมทั้งไม่เป็นการกีดกันทางการค้า
(3) มีมาตรการคุ้มครองหรือลดหย่อนพิธีการทางศุลกากรอำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากไทยไปยังสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในระหว่างที่ประเทศไทยยังจัดทำข้อตกลงดังกล่าวและหลังจากที่การเจรจาสำเร็จลุล่วง
3. หลักการในการดำเนินการตามกรอบการเจรจาการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 มีสาระสำคัญโดยสรุป คือ จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบการเจรจาที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 โดยคณะกรรมการการเจรจาการทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU) แต่งตั้งโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นคณะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมเจรจาเพื่อพิจารณาภาคผนวกที่จะใช้ประกอบข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจฯ
4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำข้อตกลง VPA
(1) เมื่อข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) สำเร็จจนประเทศไทยได้รับสิทธิในการออกใบรับรองเฟล็กที (FLEGT License) จะช่วยให้ผู้ส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทยสามารถส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปได้สะดวกและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งเป็นการรักษาตลาดและขยายโอกาสทางการค้าของสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทยในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีความสามารถในการซื้อสูง ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการยืนยันการประกอบการที่สอดคล้องกับธรรมาภิบาลของประเทศไทยในตลาดโลกอีกด้วย
(2) นอกจากนี้ยังเป็นการยับยั้งการผลิตสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากแหล่งที่มาที่ผิดกฎหมาย หรือจากการบุกรุกทำลายป่า โดยจะช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ สร้างความยั่งยืนต่อป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร ความหลากหลายทางชีวภาพ การสงวนรักษาพันธุ์พืช สมุนไพร สัตว์ป่าและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
(3) การเจรจาจัดทำข้อตกลง VPA นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทยแล้ว ยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทยไปยังต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีน ก็มีนโยบายมาตรการในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากต่างประเทศในลักษณะเดียวกัน
(4) เมื่อการขยายตัวของธุรกิจไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มมากขึ้น ความต้องการแรงงานก็จะเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นการสร้างงานให้กับประชาชนชาวไทยอีกทางหนึ่ง
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อนุมัติองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการเจรจาระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป สำหรับการจัดประชุมระหว่างประเทศและการแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาลหรือคณะผู้แทนรัฐบาลเพื่อเข้าร่วมการประชุมในระดับต่ำกว่ารัฐมนตรี ดังนี้
5.1 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทน
5.2 อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทน
5.3 อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือผู้แทน ผู้แทน
5.4 อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้แทน ผู้แทน
5.5 อธิบดีกรมยุโรป หรือผู้แทน ผู้แทน
5.6 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย หรือผู้แทน ผู้แทน
5.7 อธิบดีกรมป่าไม้ หรือผู้แทน ผู้แทน
5.8 ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือผู้แทน ผู้แทน
5.9 ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง ผู้แทน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน
5.10 ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจป่าไม้ กรมป่าไม้ ผู้แทน
โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางและวางกรอบเจรจาให้รอบคอบ รัดกุม มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์รวมทั้งเจรจา ควบคุม กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสรุปผลการเจรจา จัดทำรายงาน ข้อดี - ข้อเสีย และความเห็นของคณะกรรมการฯ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แต่งตั้ง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสมฤทัย ช่วงโชติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยา) สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยา) สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายถิระศักดิ์ ทองศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ) กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นางสาวชมนาด ศรีสวาสดิ์ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
32. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รวม 5 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
1. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ประธานกรรมการ
2. พลเรือตรี สุวิน แจ้งยอดสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย โสวรรณวณิชกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
33. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ รวมจำนวน 13 คน ตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ดังนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ประกอบด้วย
ด้านการผังเมือง จำนวน 5 คน 1. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 2. นายรัชทิน ศยามานนท์ 3. นายจรูญเดช เจนจรัสสกุล 4. นายไพโรจน์ เผือกวิไล 5. นายพสุ โลหารชุน
ด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวน 2 คน 6. ชายชโยดม สรรพศรี 7. นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ
ด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 2 คน 8. ร้อยตำรวจโท อาทิตย์ บุญญะโสภัต 9. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
ด้านภูมิศาสตร์ จำนวน 2 คน 10. นางสาวศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ 11. นางสาวพันธ์ทิพย์ จงโกรย
สาขาวิชาการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน 12. นายเสรี ศุภราทิตย์
13. พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก สังกัด กองทัพบก กระทรวงกลาโหม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง
นางสาวพรรณประภา ยงค์ตระกูล ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง พลตรี วิระ โรจนวาศ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 8 ราย ดังนี้
1. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง (แทนตำแหน่งเกษียณ)
2. นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง (แทนตำแหน่งเกษียณ)
3. นายประยูร อินสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง (แทนลำดับที่ 5)
4. นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) (วิศวกรชลประทานทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง (แทนตำแหน่งเกษียณ)
5. นายพิศาล พงศาพิชณ์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (แทนตำแหน่งเกษียณ)
6. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมวิชาการเกษตร (แทนตำแหน่งเกษียณ)
7. นายปราโมทย์ ยาใจ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมหม่อนไหม(แทนตำแหน่งเกษียณ)
8. นายฉันทานนท์ วรรณเขจร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (แทนลำดับที่ 1)
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ทดแทนตำแหน่งเกษียณอายุราชการ
2. นายทวี เกศิสำอาง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ในตำแหน่งที่ว่างอยู่
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
40. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 265 /2563 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
1. ยกเลิกข้อ 1.3.3 และข้อ 2.3.3
2. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6.2.6
“6.2.6 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แบบบูรณาการ”
3. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6.4
“6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.4.1 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ในภูมิภาค
6.4.2 กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค”
4. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7.2.7
“7.2.7 กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี