30 ตุลาคม 2563 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ในหัวข้อเรื่อง "ถอดบทเรียนนอกตำราเพื่อสร้างความเข้าใจอันถูกต้องจากการคุกคามต่อผู้เห็นต่างทางการเมืองและปัญหาความแตกแยกของสังคม
1] จุดเริ่มต้น มาจากกลุ่มแฟนเพจของผมที่เป็นผู้ปกครองที่ลูกหลานมีความเห็นต่างทางการเมือง ส่งความกังวลมาปรับทุกข์ และหาแนวทางรับมือ
2] ผมโพสต์วิธีการเลี้ยงลูกของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนโซลูชั่นต่อกัน
3] บทสรุปของผม ก็คือวิธีเลี้ยงลูกของคนรุ่นปู่ย่า ที่ถ่ายทอดมาสู่พ่อ(คือตัวผม) และพ่อนำมาใช้ต่อกับลูก
4] บทสรุปดังกล่าวคือ มีเรื่องบางเรื่อง หรือหลายเรื่องที่เด็กๆไม่เข้าใจ หรือเรื่องบางเรื่องที่ทำให้เด็กและผู้ใหญ่ไม่เข้าใจกัน โดยอ้างอิงถึงคำสอนของพ่อผม ที่สอนผมมาว่า “ถ้าในเวลานี้ที่ยังฟังไม่เข้าใจ ก็ให้ไว้ใจพ่อ ด้วยการทำตามที่พ่อสอน แล้ววันหนึ่งข้างหน้าจะเข้าใจไปเองในที่สุด”
5] ซึ่งบทสรุปนี้ ถูกนักศึกษาแพทย์ นำไปล้อเลียนด้วยวาจาหยาบคาย
6] เมื่อเริ่มต้นประชุม อ.ต่อตระกูล ก็เปิดเผยว่า ท่านก็มีปัญหาเดียวกันนี้ คือมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่างกันในครอบครัวเช่นกัน
7] ท่านคณบดี เสริมว่า ครอบครัวท่านก็มีบรรยากาศที่มีความเห็นทางการเมืองต่างกันเช่นกัน
8] ผมจึงอยากจะขอสรุปประเด็นนี้ ด้วยการย้อนไปที่จุดเริ่มต้น ที่มีแฟนเพจมากมายประสบปัญญาแตกแยกทางความคิดทางการเมืองในครอบครัว จนเกิดความเครียด เพราะมองไม่เห็นทางออก โดยผมอยากจะบอกว่า ไม่ใช่แต่ชาวบ้านที่ประสบปัญหานี้ ครอบครัวของบุคคลในระดับที่มีชื่อเสียงแถวหน้าของเรา เช่น อ.ต่อตระกูล และอาจารย์หมอประสิทธิ์ ก็ประสบปัญหาเดียวกันกับเรา
9] ถ้าฟังจากคลิปดีๆ จะได้ยินวิธีการรับมือ และการแก้ปัญหานี้จากอาจารย์ผู้ใหญ่ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งผมขอสรุปประเด็นนี้จากคำพูดของอาจารย์ทั้ง 2 สั้นๆ ว่า ให้จับเข่าคุยกันกัน และให้ความใกล้ชิดในครอบครัวเป็นยาใจ
10] อ.ต่อตระกูล ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในสังคมประชาธิปไตย แต่ชีวิตประจำวันจริงๆ ของเราอยู่กับเผด็จการ อยู่บ้านก็มีพ่อแม่เป็นเผด็จการ ที่เด็กต้องทำตาม อยู่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ก็มีครูอาจารย์เป็นเผด็จการ อยู่ที่ทำงาน ก็มีนายจ้างเป็นเผด็จการ
11] อ.ต่อตระกูล ยังเปิดเผยอีกว่า สมัยเป็นนิสิตจุฬา ท่านก็เป็นนักต่อต้าน และเป็นระดับแกนนำ ที่ในที่สุดได้พบว่า การร่วมพลังเรียกร้องนั้นได้รับการตอบรับจากสังคม และจากจุดนั้นก็พัฒนาไปจนมีเหตุการณ์เดือนตุลาในที่สุด
12] ผลจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ กลับมาเป็นบทเรียนที่สำคัญในชีวิตว่า ได้ทำเรื่องที่ผิดพลาดอะไรลงไปบ้าง
13] อาจารย์หมอประสิทธิ์เสริมว่า ท่านก็คือคนเดือนตุลา ที่หมายความว่าท่านก็คือหนึ่งในนักศึกษาที่ผู้ที่อยู่ในประวัติศาสตร์หน้านั้น
14] ทั้ง อ.ต่อตระกูล และ อ.หมอประสิทธิ์ สรุปคล้ายกันว่า เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในเด็กๆ นักเรียนนักศึกษาในยุคนี้ เพราะก็เคยทำคล้ายๆ กันมาก่อน แต่ที่แตกต่างคือ อาจารย์ได้ผ่านประสบการณ์นั้น ด้วยความเสียใจ ในขณะที่เด็กยุคนี้ยังไปไม่ถึงจุดนั้น
15] ซึ่งผมจะขอสรุปประเด็นนี้ ด้วยคำสอนของพ่อผม ที่ยังก้องอยู่ในหูผมว่า “ให้เชื่อใจพ่อ และทำตามที่พ่อบอก แล้ววันหนึ่งข้างหน้า ก็จะเข้าใจ”
16] อาจารย์หมอประสิทธิ์ กล่าวถึง พระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบรมชนก ที่ว่า ไม่อยากให้(นักศึกษา) เป็นหมออย่างเดียว แต่ให้เป็น”คน”ด้วย
17] ซึ่งคำสอนนั้นจะเข้าใจได้มากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่าง ซึ่งอาจารย์คงหมายรวมถึง เหตุการณ์ในครั้งนี้ด้วย
18] อ.แก้วสรร กล่าวว่า “คนเรามักหวั่นไหวต่อความเกลียดชัง” ปัญหาความไม่พอใจเล็กๆ ที่ผสมกับความหวั่นไหวต่อความเกลียดชัง จะทำลายชีวิตตนเองและชาติบ้านเมือง
19] อ.แก้วสรร ชี้ว่า “ถึงมีความเห็นที่ต่างกัน ก็ไม่จำเป็นต้องเกลียดกัน”
20] อ.แก้วสรร ย้ำว่า “สังคมต้องอยู่ด้วยความสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่เรื่อง สิทธิและความเสมอภาค”
21] บทสรุปที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ อ.แก้วสรรคือ “อย่าดูถูกเหยียดหยาม ความเคารพบูชาและศรัทธาของผู้อื่น” เช่นคนรุ่นพ่อแม่ มีความเคารพบูชา ศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่คนรุ่นใหม่อาจไม่มี แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรจะมี คือให้ความเคารพในความศรัทธาของผู้อื่น
22] อ.ต่อตระกูล สรุปว่า ความเข้าใจที่ว่า ที่เด็กๆ ออกมาต่อต้านสังคมอยู่ในขณะนี้เพราะโดนปลุกปั่นนั้น ความจริงมีสาเหตุใหญ่กว่าเรื่องนั้น และปัญหานี้ใหญ่โตจนมองไม่เห็นทางออก
23] บทเรียนครั้งนี้ อาจารย์หมอประสิทธิ์ จะนำเข้าที่ประชุมของกรรมการของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าภาควิชาต่างๆ ให้ได้ถอดบทเรียนนี้ เพื่อนำไปป้องกัน แก้ไข และอบรมสั่งสอนนักศึกษาต่อไป
24] ผมขอสรุปสุดท้ายว่า บทเรียนในเรื่องนี้ จะถูกถ่ายทอดไปสู่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ไม่เฉพาะศิริราช หรือมหิดล แต่จะไปสู่ในวงกว้าง และจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ที่สำคัญจะสามารถเปิดใจเยาวชนบางคนให้เห็นอีกมุมหนึ่งของชีวิต จากผู้ใหญ่ที่ผ่านประสบการณ์เดียวกันมาก่อน
25] สุภาพษิตโบราณที่ว่า อาบน้ำร้อนมาก่อน หมายความว่า เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มาก่อน เช่น การต่อต้านสังคม การมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง การก่อการชุมนุม ข่าวลือ การปลุกปั่น เกิดขึ้นมานานแล้ว และมันวนเวียนมาเกิดซ้ำ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คนอาบน้ำร้อนมาก่อนอยากจะเตือนคนรุ่นใหม่ว่า มันจะเป็นตราบาปตลอดไป
26] การสำนึกผิด การให้อภัย การเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อจะได้ Move on ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน คือความดีงามของชีวิต
............................................................................
ผมไม่ได้พูดอะไรมากนัก เนื่องด้วยมีอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ได้ให้โอวาทที่เป็นประโยชน์ครบถ้วนแล้ว ใครมีปัญหาความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองในครอบครอง ลองพิจารณาจากบทสรุปที่ผมได้พิมพ์ไว้นี้ พร้อมชมคลิปนี้ไปด้วยกัน
หมายเหตุ ผมตัดต่อคลิปให้สั้นลงเล็กน้อย และไม่เปิดเผยหน้าตาของนักศึกษา เพื่อเป็นการให้โอกาสและเป็นกำลังใจสำหรับน้องนักศึกษาที่สำนึกผิดและพร้อมจะเป็นคุณหมอที่ดีเพื่อสังคมไทยต่อไป
คงมีคำถามว่า ตัวน้องนักศึกษาสำนึกผิดจริงหรือไม่ ซึ่งในที่ประชุม พวกเราทุกคนเชื่อว่าน้องสำนึกผิดจริงครับ แต่ถ้าไม่เป็นดังนั้นจริง ก็ขึ้นอยู่กับ สติปัญญา และบุญกุศลของตัวน้องและประเทศชาติ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของใครทั้งสิ้น
กราบขอบพระคุณ: ท่านคณบดี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา, รองคณบดี รศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช, รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, อ.แก้วสรร อติโพธิ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี