1.โดยที่พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2453 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 61 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กำหนดความโดยสรุปว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดต้องได้รับโทษ ทั้งนี้ วินัยและโทษผิดวินัยให้ใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
2.ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 106 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าข้าราชการพลเรือนผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำการหรือละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออกจากราชการเพราะตาย ผู้บังคับบัญชามีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาทางวินัยต่อไปได้ เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
3.ประเด็นของปัญหาครั้งนี้ มีข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการป.ป.ท.ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงกรณี นายส.ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับแจ้งการปลูกบ้านใหม่(แบบท.ร.9) ให้กับนายพ.โดยไม่มีตัวบ้านจริง เพื่อนำไปแจ้งออกเลขที่บ้านใหม่ต่อนายทะเบียนโดยมิชอบ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.2555 คณะกรรมการป.ป.ท.มีมติชี้มูลเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2564 โดยสรุปว่า การกระทำของนายส.มีมูลเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 162(1) (4)มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2534 และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 82 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ประกอบกับมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ตามนัยมาตรา 61 ทวิแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457
4.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับเรื่องแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีประเด็นที่เป็นปัญหาทางกฎหมายว่า คณะกรรมการป.ป.ท.ได้มีมติชี้มูลความผิดเรื่องนี้เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 ขณะที่นายส.ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2558แล้วเช่นนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงขอให้เสนอกรณีดังกล่าวหารือคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป
5.คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า มาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติิระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติที่บัญญัติถึงกระบวนการในการดำเนินการเพื่อยุติเรื่องที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมีการบัญญัติซึ่งต้องใช้กฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ในขณะพิจารณาเรื่อง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คณะกรรมการป.ป.ท.ได้ไต่สวนชี้มูลเมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2564 ว่าการกระทำของนายส.เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ภายหลังจากนายส.พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 จึงต้องนำมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(2562) มาใช้บังคับ ซึ่งบัญญัติความโดยสรุปว่า ข้าราชการพลเรือนผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตายมีการกล่าวหาว่าก่อนออกจากราชการได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษได้เสมือนว่า ผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ดังนั้น สำหรับกรณีนายส.นี้จึงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยกับนายส.ได้เพราะมิได้ดำเนินการสั่งลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ (มติของคณะกรรมการฯ คณะที่ 1ในการประชุมครั้งที่ 15/2565 วันที่ 3 สิงหาคม 2565)
6.เรียกว่า ทำถูกต้องแต่ไม่เกิดผลเพราะมาช้าไปครับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี