กกต.เห็นชอบประกาศกำหนด ส.ส.400เขต-กม.แบ่งเขตเลือกตั้ง ชงรัฐบาลประกาศราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าว เรื่องการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด และร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... และแนวทางการแบ่งเขตเลือกตั้ง ว่า วันนี้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณากำหนดจำนวนสมา
ชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด โดยพิจารณาจากจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีจำนวน 66,040,475 คน จึงมีจำนวนราษฎรโดยเฉลี่ยประมาณ 165,226 คน ต่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน และเสนอร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... และแนวทางการแบ่งเขตเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอทั้ง 2 เรื่อง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะได้ส่งเรื่องดังกล่าวข้างต้นให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเร็วต่อไป
สำหรับ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ประกอบด้วย
จังหวัดที่มี ส.ส. 1 คน 4 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสงคราม ระนอง ตราด สิงห์บุรี
จังหวัดที่มี ส.ส. 2 คน 10 จังหวัด ประกอบด้วย สตูล พังงา แม่ฮ่องสอนลำพูน ชัยนาท อุทัยธานี อ่างทองนครนายก อำนาจเจริญ มุกดาหาร
จังหวัดที่มี ส.ส. 3 คน 19 จังหวัด ประกอบด้วย เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ยะลา กระบี่ภูเก็ต พัทลุง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ยโสธร หนองบัวลำภูหนองคาย บึงกาฬ
จังหวัดที่มี ส.ส. 4 คน 12 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสาคร ปัตตานี ตรัง ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย นครพนม
จังหวัดที่มี ส.ส. 5 คน 7 จังหวัด ประกอบด้วย นราธิวาส พิษณุโลกสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี อยุธยา ระยอง
จังหวัดที่มี ส.ส. 6 คน 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครปฐม นครสวรรค์เพชรบูรณ์ มหาสารคาม กาฬสินธุ์
จังหวัดที่มี ส.ส. 7 คน 4 จังหวัด ประกอบด้วย ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี ชัยภูมิ สกลนคร
จังหวัดที่มี ส.ส. 8 คน 5 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ นนทบุรี เชียงราย สุรินทร์ ร้อยเอ็ด
จังหวัดที่มี ส.ส. 9 คน 4 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช สงขลา ศรีสะเกษ อุดรธานี
จังหวัดที่มี ส.ส. 10 คน 2 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี บุรีรัมย์
จังหวัดที่มี ส.ส. 11. คน 3 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ อุบลราชธานี ขอนแก่น
ส่วนจังหวัดที่มี ส.ส. 16 คน 1 จังหวัด คือ นครราชสีมา
และจังหวัดที่มี ส.ส. 33 คน 1 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากจำนวน ส.ส.ดังกล่าวส่งผลให้ภาคกลางมี ส.ส.รวม 122 คน ภาคเหนือ มี ส.ส.39 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ส.ส.132 คน ภาคตะวันออกมี ส.ส.29 คน ภาคตะวันตกมี ส.ส.20 คน และภาคใต้มี ส.ส.58 คน
ทั้งนี้ หลัง กกต.ประกาศจำนวน ส.ส.แต่ละจังหวัดแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะมีการนำข้อมูลจำนวนประชากรแต่ละจังหวัดไปพิจารณาและปรับปรุงรูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 3 รูปแบบ ที่มีการดำเนินการไว้ล่วงหน้าก่อนหน้านี้ให้มีความสมบูรณ์ ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่และรวบรวมข้อมูลเสนอให้ กกต.พิจารณาตัดสิน
สำหรับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ปรากฏตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้.-006