วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
‘อธิบดีโยธาฯ’รายงานคืบหน้าสอบ‘ตึก สตง.’ถล่ม พุ่งเป้า‘คำนวณ-แก้ไขแบบก่อสร้าง’

‘อธิบดีโยธาฯ’รายงานคืบหน้าสอบ‘ตึก สตง.’ถล่ม พุ่งเป้า‘คำนวณ-แก้ไขแบบก่อสร้าง’

วันศุกร์ ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 15.06 น.
Tag : กรมโยธา ตึกถล่ม ตึกสตง. ตึกสตง.ถล่ม แบบก่อสร้าง
  •  

‘อธิบดีโยธาฯ’​รายงานคืบหน้าสอบโครงสร้าง‘ตึก สตง.’ถล่มต่อ‘มท.1’ พุ่งเป้า‘คำนวณ-แก้ไขแบบก่อสร้าง’ ยันใช้‘แบบจำลองทางคณิตศาสตร์’​เข้าช่วย สามารถสาวหาต้นเหตุได้​ มีความแน่นอน แจงต้องใช้หลายหน่วยงานร่วมมือป้อง ‘Human error’

2 พฤษภาคม 2568 ที่กระทรวงมหาดไทย(มท.) นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) กล่าวภายหลังเข้ารายงานความคืบหน้าผลการตรวจสอบกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยว่า​ เข้ารายงานใน​ 3 ประเด็น​ คือเรื่องการตรวจสอบความเสียหายของอาคาร​ โดยแบ่งเป็นการคารทั้งของภาครัฐและเอกชน​ ในพื้นที่กรุงเทพฯ​และต่างจังหวัด​ โดยในเบื้องต้นมีการตรวจสอบอาคารภาครัฐในกทม.​ 300 กว่าหน่วยงาน​ ประมาณ​ 900  กว่าอาคาร​ พบว่ามีความเสียหายรุนแรงกระทบต่อการใช้งานเพียง​ 1 อาคาร​ คือ​ อาคารของสตง.​  ส่วนต่างจังหวัดจะเน้นไปที่อาคารโรงเรียน​ /โรงพยาบาล​ อาคารราชการ​ ซึ่งได้มีการตรวจสอบไปแล้ว​ 3,000 กว่าหน่วยงาน​ ประมาณ​ 9,000 กว่าอาคาร​ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งมีอาคารที่เสียหายและปิดการใช้ 16​ อาคาร​ จากทั้งหมด​ 76 จังหวัด​


ทั้งนี้ อาคารที่เสียหาย จะเห็นได้ว่ามีน้อยมาก และความรุนแรงระดับที่สามารถซ่อมแซมได้ตามหลักวิชาการก่อนที่จะเปิดบริการให้ใช้ ในส่วนที่เป็นอาคารของเอกชน มีการแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือเป็นอาคาร 9 ประเภท ตามกฎหมายที่ต้องมีการตรวจสอบทุกปี ให้แก่อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารที่มีการชุมนุมที่มีพื้นที่เกิน​ 1,000 ตารางเมตร​ โรงมหรสพ สถานบริการที่มีพื้นที่ มากกว่า 200 ตารางเมตร โรงแรมที่เกิน​ 80 ห้อง​ อาคารชุด​ หอพักที่มีเนื้อที่เกิน​ 2000 ตารางเมตร​ และโรงงานที่มีความสูง​ 1 ชั้นขึ้นไป​ และมีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร​ และป้ายที่มีความสูง​ เกิน​ 15 เมตร​ โดยอาคาร​ 9 ประเภทเหล่านี้​ โดยปกติต้องมีการตรวจสอบทุกปี​โดยผู้ตรวจสอบที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ​กรมโยธาธิการ​และ​ผังเมือง​

อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวต่อว่า​ หลังจากเกิดเหตุ​การณ์​แผ่นดินไหว​ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา​ นายอนุทิน​ ได้มีการสั่งการให้มีการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง​ ว่าแผ่นดินไหวกระทบต่ออาคาร​ 9 ประเภท​ เหล่านี้หรือไม่​ ซึ่งในกทม.​ นายชัชชาติ​ สิทธิ​พันธุ์​ ผู้ว่าการ​กรุงเทพ​มหา​นคร​ ได้ออกคำสั่งให้เจ้าของอาคาร​ 9 ประเภทได้มีการตรวจสอบ​ และได้มีการออกคำสั่งไปแล้ว​ 11,000  อาคารในเขต​กทม.​และได้มีการตรวจสอบแล้ว​ 5,000 กว่าอาคาร​ ที่มีการตรวจสอบและได้มีการรายงานมาแล้วไม่ได้รับความเสียหาย​รุนแรงขึ้นขั้นต้องปิดการใช้หรือถึงขั้นสีแดง

นายพงษ์นรา กล่าวอีกว่า ในส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด มีประมาณ 6 หมื่นกว่าอาคาร ใน 76 จังหวัด ทางท้องถิ่นได้มีการแจ้งให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอยู่ การรายงานให้กรมโยธาธิการทราบในทุก 15 วัน ในกรณีที่เป็นอาคาร 9 ประเภท ส่วนอาคารอื่นๆ อาคารขนาดเล็ก ทางกทม. จะรับเรื่องร้องเรียน ผ่านTraffy fondue ของกทม. เพื่อให้ชาวบ้านได้ร้องเรียน เพื่อกทม.จะได้เข้าไปตรวจสอบ ในปัจจุบันได้มีการแจ้งเรื่องให้ไปตรวจสอบประมาณ​20,000 เรื่อง และกทม.เองได้มีการดำเนินการตรวจสอบและแนะนำแล้ว ประมาณ 18,000 กว่าเรื่อง เหลืออยู่ประมาณ 1,000 กว่าเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในส่วนอาคารต่างจังหวัดสำนักโยธาธิการและผังเมืองทางจังหวัด ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คำปรึกษาแนะนำกับประชาชน

อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวด้วยว่า​ การรายงานความก้าวหน้าในการสืบสวน สืบหาเหตุการณ์ความถล่มของอาคาร สตง. ได้นำเรียนในเบื้องต้นว่า เราได้ตรวจสอบในเรื่องของการคำนวณ ซึ่งกำลังตรวจสอบในเรื่องของรายละเอียด เนื่องจากว่ามีรายละเอียดจำนวนมาก ที่กำลังตรวจสอบในเรื่องรายละเอียดอยู่ และมีแนวเรื่องที่กำลังทำคู่ขนานกันไป คือการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่าอาคารสตง.มีการทางถล่มเกิดจากการออกแบบหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้ขอเวลาการพิสูจน์ ต่อนายกรัฐมนตรีไว้​ 90 วัน​ ซึ่งตามแผนมีอยู่​ 4 สูตร​ ไปไทม์ไลน์​ที่กำหนด ในระยะเวลา 90 วันนี้ ก็จะได้ผลว่าการออกแบบตามแบบทำให้อาคารพังหรือไม่​ วิธีการคือ​สร้างแบบจำลองโดยนำแบบเข้าในคอมพิวเตอร์​ และกำหนดคุณสมบัติของวัสดุ​เข้าไปในแบบจำลอง​ และให้แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริงกระทำกับอาคาร​ จึงจะทำให้รู้ว่าอาคารสตง.นี้พังหรือไม่​ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ​ และภายใน​ 90 วันก็จะสามารถพิสูจน์ได้​

ส่วนการตรวจสอบเอกสารได้มีการร่วมตรวจสอบเอกสาร​จากการไปตรวจยึด​ ในพื้นที่ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ​ ดีเอสไอ​ ก็จะมีการตรวจสอบในเรื่องของรายงานประจำวัน​  ประจำสัปดาห์​ การขออนุมัติ​ การเทคอนกรีต​ และในเรื่องการทดสอบวัสดุต่างๆ​ ส่วนวัสดุที่เก็บหน้างานมีการเก็บร่วมกับตำรวจ​ และทางตำรวจได้มีการอายัดไว้ไปตรวจสอบ​

อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวว่า​ นอกจากนี้ ยังได้รายงานอีกว่า​ ต้องไปปรับปรุง​กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง​ ว่าจะมีการออกกฎหมาย​กฎระเบียบ​ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.วิชาชีพวิศวกร​ และมาตรฐานของการก่อสร้าง​ของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกัน​

เมื่อถามว่ากรอบระยะเวลา​ 90 วันจะสามารถสร้างแบบจำลองทาง​คณิตศาสตร์​ได้ใช่หรือไม่​ อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวว่า​ ขณะนี้ใช้เวลาดำเนินการไปแล้ว​ 1 เดือน​ และแบบจำลองนี้ทำโดย  5 หน่วยงาน​ แล้วมาวิเคราะห์​ร่วมกัน​ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในแบบจำลอง​ และทำออกมาเป็นบทสรุป​

เมื่อถามว่าขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ พุ่งเป้าไปที่ประเด็นใด อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวว่า สิ่งที่ดูได้ทันทีคือการคำนวณตามแบบที่มีการจ้างการก่อสร้างที่มีอยู่แล้ว​  และที่มีการแก้ไขแบบว่าปัจจุบันที่อาคารก่อสร้างหลังนี้มีการออกแบบก่อสร้างคู่สัญญา และมีการแก้ไขแบบส่วนใดบ้าง ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง เราจะมีการนำเข้าแบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองชุดนี้ เหมือนกับนำอาคารจริง ก่อนที่จะมีการพังถล่ม​ และมีการรันโมเดลเข้าไปในระบบ

เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้ที่ รศ.เอนก ศิริพานิชกร ที่ปรึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์​ หรือ​ วศท.​ ให้ความเห็นว่าแบบไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง​ อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวว่า​ ตอนนี้ต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการฯ เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมตนไม่สามารถพูดก่อนได้​

เมื่อถามย้ำถึงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จะมีผลทดสอบแล้วผลจะแน่นอน ออกมาเป็นคำตอบให้สังคมได้ใช่หรือไม่ นายพงษ์นรา​ กล่าวว่า ยืนยันว่าได้​ ซึ่งแบบจำลองที่เราตรวจสอบดำเนินการเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว​ แต่ต้องมีการสร้างแบบจำลองให้ครอบคลุม​ในหลายสถานะ​ ในรายละเอียดคงต้องให้ทางคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงไปพิจารณา การสอบสวนข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่ 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบแรกคือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง​ คือสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และมีสถาบันการศึกษาเข้ามาร่วมด้วย​  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ​ สมอ.​ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือ ปภ.​และกทม. รวมไปถึงข้าราชการของกรมโยธาธิการ​และ​ผังเมือง​ ที่มีความรู้และการชำนาญการเรื่องนี้โดยมี วิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธานกรรมการ สภาวิศวกรเป็นที่ปรึกษา โดยจะเห็นว่าองค์ประกอบของคณะทำงานชุดนี้ครอบคลุมผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านนี้โดยตรง ตนเชื่อว่าเมื่อผลออกมา จะสร้างความชัดเจนให้กับ โครงการนี้ได้ ว่าสาเหตุของอาคารนี้ที่ถล่มเป็นเพราะอะไร​

เมื่อถามว่าขณะ อยู่ระหว่างการดำเนินการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใช่หรือไม่ อธิบดีกรมโยธาฯ​ กล่าวว่า ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งมี​อยู่​ 4 ลำดับ​ ในลำดับแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว  มีการคีย์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว พร้อมยอมรับว่ามีอยู่หลายขั้นตอนจึงต้องใช้เวลา ​ และหลังจากเสร็จแล้ว จะต้องมีการประชุมหารือเพราะเราต่างคนต่างทำ​ เพราะถ้าหากทำหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง อาจจะมีเรื่อง​ Human error เพราะการคีย์ข้อมูลต้องใช้การคีย์โดยคน เพราะฉะนั้นหากต่างคนต่างคีย์ข้อมูลเข้าไป ต้องมีการเช็คกัน และต้องมีการคุยถึงหลักเกณฑ์​ต่างๆ​ว่าจะใช้หลักใด​ เพื่อให้เป็นฐานเดียวกัน​ ก่อนที่จะประมวลเป็นผลมา และต้องดูว่าผลของแต่ละสถาบันออกมาในแนวทางเดียวกันหรือไม่​ จึงออกมาเป็นผลสรุป​ของคณะกรรมการฯชุดนี้​

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มท.1ยันมิ.ย.รู้ผล  สอบตึกสตง.ถล่ม  รอข้อมูลครบถ้วน  เคาะสาเหตุตรงกัน มท.1ยันมิ.ย.รู้ผล สอบตึกสตง.ถล่ม รอข้อมูลครบถ้วน เคาะสาเหตุตรงกัน
  • \'ปลอดประสพ\'ท้อ!! โพสต์ฟ้องปชช.ขอแรงบี้ ‘ผู้ว่าฯ สตง.’หลังชิ่งแจงกมธ. 4 ครั้งแล้ว 'ปลอดประสพ'ท้อ!! โพสต์ฟ้องปชช.ขอแรงบี้ ‘ผู้ว่าฯ สตง.’หลังชิ่งแจงกมธ. 4 ครั้งแล้ว
  • ‘เรืองไกร’บี้นายกฯยกเลิกมติ ครม.อนุมัติงบเพิ่มค่าก่อสร้าง‘ตึก สตง.’แห่งใหม่ ‘เรืองไกร’บี้นายกฯยกเลิกมติ ครม.อนุมัติงบเพิ่มค่าก่อสร้าง‘ตึก สตง.’แห่งใหม่
  • คืบหน้า​ตึก​ สตง.ถล่ม! ‘กมธ.ติดตามงบ​ฯ’เรียก‘ผู้ว่า​ สตง.-อธิบดีโยธาฯ’แจง คืบหน้า​ตึก​ สตง.ถล่ม! ‘กมธ.ติดตามงบ​ฯ’เรียก‘ผู้ว่า​ สตง.-อธิบดีโยธาฯ’แจง
  • ยังข้องใจตึก สตง.ถล่ม! \'กมธ.ป.ป.ช.\'เชิญ\'กรมบัญชีกลาง-สรรพากร-ผู้ออกแบบ\'แจง ยังข้องใจตึก สตง.ถล่ม! 'กมธ.ป.ป.ช.'เชิญ'กรมบัญชีกลาง-สรรพากร-ผู้ออกแบบ'แจง
  • \'กมธ.ป.ป.ช.\'ตีธงสอบ 2 ประเด็นร้อน เชิญ\'กรมบัญชีกลาง\'ขึงพืดปม\'ตึก สตง.\'ถล่ม 'กมธ.ป.ป.ช.'ตีธงสอบ 2 ประเด็นร้อน เชิญ'กรมบัญชีกลาง'ขึงพืดปม'ตึก สตง.'ถล่ม
  •  

Breaking News

'วิโรจน์' ลั่น ปชน.ไม่ติดเป็นใคร พร้อมยกมือโหวตนายกฯ ชั่วคราว หากรับเงื่อนไขได้

'ดวงดาว'พูดครั้งแรก! ปมดราม่าลูกสะใภ้ปะทะเดือดสาวสอง ลั่นปัญหาใครไปจัดการเอง

พรรคประชาชนชี้ควร ตั้งคกก.กลั่นกรองคดี 112 ย้ำจุดยืนกฎหมายนิรโทษกรรม

'ในหลวง' ทรงมีพระราชสาส์นอำนวยพร ในโอกาสวันเอกราชของสาธารณรัฐโบลีวาร์เวเนซุเอลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved