20 พ.ค. 2568 พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตแกนนำพรรคอนาคตใหม่ และอดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เนื้อหาดังนี้
กรณีข้อพิพาทพรมแดนไทยกับกัมพูชา
ความเห็นส่วนตัวคิดว่าเกิดเองไม่ได้ถ้าไม่มีผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งอาจเป็นการคิดมากไปเองก็ได้ สำคัญคือไม่ทราบและไม่อาจเดาได้ว่าใคร
ที่ผิดสังเกตคือมีการทดสอบความเข้มแข็งในการป้องกันพรมแดนซ้ำๆ กันมาหลายครั้งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ขอเสนอความเห็นในเรื่องดินแดนว่าเราจำเป็นต้องแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนให้มั่นคง
เมื่อยังไม่ปักปันเขตแดน อาจมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง ดังนั้นจำเป็นต้องยืนยันการอ้างสิทธิอย่างเต็มที่ไว้ก่อน
เมื่อต่างคนต่างอ้างก็เริ่มเจรจาหาความร่วมมือกันได้ โดยกำหนดเป็นเขตห้ามเข้าจากทั้งสองฝ่าย (no man’s land) เมื่อปักปันเสร็จแล้วก็จะจบเรื่องไป
เวลานี้ยังไม่มีข้อตกลงกันดังกล่าวข้างต้น จะไปยอมรับการอ้างสิทธิของประเทศอื่นก่อนมีข้อตกลงเรื่อง “เขตห้ามเข้า” ไม่ได้
พูดโดยสรุป “ห้ามถอย” ถอยเมื่อไหร่เท่ากับยอมรับการอ้างสิทธิของอีกฝ่ายอยู่ข้างเดียวทันที ไม่อยากพูดเกินเลยไป แต่เรียกว่าเสียเปรียบก็แล้วกัน
ทีนี้ควรทำอย่างไร ก็ยืนยันสิทธิของประเทศไทย แล้วหากต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิก็เริ่มการเจรจาเรื่อง“เขตห้ามเข้า”เสีย ตรงไหนไม่มีปัญหาก็ทำมาหากินกันปกติ
แล้วที่ถอยทั้งสองฝ่ายจะเกิดเมื่อไหร่?
จะเกิดได้เฉพาะเมื่อจะมีการเจรจาเรื่อง “เขตห้ามเข้า” เท่านั้น หรือมีการปะทะกันแล้ว
ถ้าเราถอนกำลังโดยยังไม่มีการประกาศเจรจากันหรือมีการปะทะกันแล้วจะเสียเปรียบอยู่ฝ่ายเดียวทันที
ก็ลองเอาข้อคิดไปศึกษากันดีๆ ครับ
ขอบคุณเรื่องจาก
043...
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี