‘สำนักงาน กกต.’แจงไม่ได้รับเรื่องแจ้งจาก‘ผู้ตรวจการเลือกตั้ง’ เหตุทุจริต‘เลือก สว.’ระดับประเทศ 26 มิ.ย. ชี้บางสื่อนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อน ขณะที่ในข้อเท็จจริงมีการยื่นแจ้งต่อ‘ประธาน กกต.’ลงวันที่ 28 มิ.ย.67 พร้อมแจงจัด 6 มาตรการ ดักทางทุจริต
20 พ.ค.68 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง( กกต.) ออกเอกสารชี้แจงกรณีที่มีบางสื่อนำเสนอข่าวว่านายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ไม่ได้ดำเนินการกรณีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด ตามที่มีการแจ้งว่า จะมีโพยฮั้ว สว. ซึ่งเป็นการเอื้อให้มีการฮั้วในวันเลือกระดับประเทศ 26 มิถุนายน 2567 ที่อิมแพ็ค ฟอรั่มเมืองทองธานี โดยชี้แจงว่า
1.ในวันดังกล่าวไม่ได้ปรากฏว่ามีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้ใด รายงานการกระทำผิดตามแบบรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยผู้ตรวจการเลือกตั้งข้อ 32 แต่อย่างใด ซึ่งหากพบการกระทำผิดเป็นหน้าที่ของกำหนดการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องรายงาน กกต.ทันทีเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และตามอำนาจต่อไป และแบบรายงานดังกล่าวจะเป็นต้นเรื่องเพื่อให้สำนัก งาน กกต.พิจารณาดำเนินการตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด ปี 2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่5ปี 2566 ต่อไป แต่ปรากฏภายหลังการเลือก สว.ระดับประเทศผ่านไปแล้วว่าผู้จัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ยื่นแบบตรวจการเลือกตั้ง ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ต่อประธาน กกต. ซึ่งผ่านการเลือกระดับประเทศไปแล้ว
2.ในวันเลือกระดับประเทศ พนักงานสืบสวน ที่ถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หรือร้องคัดค้านในการกระทำผิดในสถานที่เลือก ก็ไม่ได้รายงานว่ามีผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัดผู้ใดยื่นแบบรายงานต่อพนักงานสืบสวน หรือมีผู้สมัครคนใดมาร้องหรือให้ถ้อยคำต่อพนักงานสืบสวน ที่จุดรับเรื่องร้องเรียนในสถานที่เลือก ถึงเหตุที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งการนำเสนอข่าวดังกล่าวที่มีการแจ้งว่ามีการกระทำผิดนั้นจึงไม่เป็นความจริง
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความสุจริตและเที่ยงธรรมในสถานที่เลือก กกต. และผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับประเทศไม่มีมาตรการเพื่อการเลือกเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม 6 มาตรการ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. จัดให้มีจุดรับเรื่องร้องเรียนเรื่องที่กระทำผิดอันอาจเป็นความผิดในสถานที่เลือก
2. จากสถานที่ให้สื่อมวลชนสังเกตการณ์มองได้อย่างชัดเจน
3. อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ ตัวแทนจากสถานทูตประจำประเทศไทย หรืออียูและองค์กรเอกชนไทย เข้าไปสังเกตการณ์ในสถานที่เลือก
4. สั่งให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งระดับจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เข้าไปตรวจในสถานที่เลือก
5. บันทึกภาพวิดีโอจากกล้องวงจรปิด ตั้งแต่เหตุการณ์ผู้มาสมัครรายงานตัว การลงคะแนน การนับคะแนน การประกาศผลคะแนน
6. สั่งการให้ชุดสืบสวนหาข่าวแฝงตัวในพื้นที่สถานที่เลือกและโรงแรมที่ผู้สมัครมาพักโดยรอบ เพื่อหาข่าวเกี่ยวกับการกระทำความผิดก่อนวันเลือกจนถึงสิ้นสุดกระบวนการเลือก
โดยได้แนบตัวอย่างเอกสารแบบรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด ที่จะมีการบันทึกแจ้งเหตุการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการ เมืองหรือการกระทำใดที่เป็นเหตุให้การเลือกไม่สุจริตและเที่ยงธรรมชอบด้วยกฎหมาย 2 หน้ากระดาษ ซึ่งเป็นเอกสารลับ
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี