เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ (กทช.) ครั้งที่ 1/2568 โดยมี โดยมี นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมว่า การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องสำคัญ ได้แก่ (ร่าง) รายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ พ.ศ. 2567 โดยมีประเด็นปัญหาที่ควรได้รับการบริหารจัดการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ปัญหาแหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่ จังหวัดตรัง - กระบี่ ปัญหาการตัดต้นไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์ และปัญหาความไม่สมบูรณ์ของ ข้อมูลพื้นฐานของประเทศในการรองรับการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง อีกทั้งยังได้ มีการติดตามการแก้ไขปัญหาความเสื ่อมโทรมของคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั ่งในพื ้นที ่อ่าวไทยตอนใน และการระบาดของปลาหมอคางดำ
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 20 เพื่อเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่บริเวณแนวปะทะกระแสน้ำไหล่ ทวีปทะเลอันดามันของประเทศไทย , 2) พื้นที่อุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเล เขาหลัก ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์แต่มีการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรได้ จึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการคุ้มครอง เพื่อสงวนไว้ให้คงความสมบูรณ์ของทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง และมีการบริหารจัดการใช้ประโยชน์ให้เกิดความสมดุลและคงความยั่งยืน รวมถึงเห็นชอบ (ร่าง) กฎกระทรวงตามมาตรา 21 เพื่อกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ครอบคลุม 27 ระบบหาด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายหาดที่มีความสมดุลและมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
ในที่ประชุม ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ 24 จังหวัดชายฝั่ง ในรอบ 6 เดือน (พฤศจิกายน 2567 - เมษายน 2568) พบว่า สถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมเกิดจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ทำให้พะยูนมีการอพยพ ย้ายถิ่นไปยังแหล่งหญ้าทะเลอื่นเพื่อหาอาหาร โดยที่ผ่านมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาพะยูนและหญ้าทะเล ผ่าน 4 มาตรการ ได้แก่ 1) สำรวจพะยูนและประเมินหญ้าทะเลให้เป็นปัจจุบัน 2) ประกาศพื้นที่คุ้มครองและ บังคับใช้มาตรการ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 3) วางแผนช่วยเหลือพะยูนที่มีชีวิตด้วยการทดลองให้อาหารเสริม ทดแทนหญ้าทะเล 4) ฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล และอีกสถานการณ์หนึ่งที่ยังคงเป็นประเด็นปัญหาต่อเนื่อง คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้มีการสำรวจติดตามปลาหมอคางดำในระบบนิเวศ ทางทะเล จากการสำรวจพบการแพร่กระจาย 14 จังหวัดฝั่งอ่าวไทย โดยระบบนิเวศที่พบปลาหมอคางดำ ได้แก่ ปากแม่น้ำ แหล่งหญ้าทะเล และหาดทราย แต่ไม่พบในระบบนิเวศปะการัง ทะเลสาบสงขลา และในทะเลฝั่งอันดามัน
นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตามตรวจสอบพื้นที่ชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบ จากอิทธิพลมรสุม โดยมีพื้นที่ชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้มีแนวทางการดำเนินการระยะสั้น โดยการออกประกาศเตือนภัย ผ่านระบบเตือนภัยท่องเที่ยว ทางทะเลทั้งในรูปแบบของ Website และ Mobile Application
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี