"โฆษกDSI"เผยคดีอั้งยี่-ฟอกเงิน"ฮั้ว สว." ดีเอสไอทำตามพยานหลักฐาน-ยึดกรอบกฎหมาย ส่วนกรณี"สุขสมรวย"สส.อำนาจเจริญ ภท.ตั้งข้อสังเกต"สุมาลวตี"อดีตผู้สมัคร สว.มีหลักฐานเส้นเงินของ DSI ได้อย่างไร แจงเป็นเรื่องหลักฐานของพนักงานสอบสวน ระบุไม่ขอกำชับการให้สัมภาษณ์ของพยานในคดี เหตุการให้สัมภาษณ์เป็นสิทธิของพยาน แต่ต้องรับผิดชอบการให้สัมภาษณ์นั้นเอง
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 1 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะโฆษกดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีพิเศษที่ 24/2568 กรณีความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) รวมถึงผู้ที่เป็นสมาชิกอั้งยี่และผู้สนับสนุน ว่า โดยข้อกฎหมายแล้ว ในการดำเนินคดีมันเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดีเอสไอดำเนินการตามกรอบกฏหมายปกติ ส่วนกรณีที่ นางสุขสมรวย วันทนียกุล สส.อำนาจเจริญ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท สว.สำรอง เหตุใดจึงมีพยานหลักฐานเลือกเส้นทางการเงินของดีเอสไอ มีใครในดีเอสไอส่งให้หรือไม่นั้น ตนขอเรียนว่ าพนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายสำคัญ คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงพยานหลักฐานทุกชนิด ดังนั้น การได้มาของพยานหลักฐาน ก็มีทั้งการทำหนังสือขอ และการสืบสวน ซึ่งประเด็นสำคัญคือการรวบรวมพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ ประเด็นที่มีสมาชิกวุฒิสภา 22 ราย เขาชื่อร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.และ กกต.ขอให้อธิบดีดีเอสไอหยุดปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงขอให้คณะอนุกรรมการสืบสวนและไต่สวน กกต.พ่วงดีเอสไอ 7 ราย หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว การกระทำลักษณะนี้เป็นเหมือนการแทรกแซงอำนาจการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติตามกรอบกฎหมายหรือไม่ ตนมองว่ามันมองได้ 2 มุม มุมหนึ่งอาจจะคิดแบบนั้นก็ได้ แต่มุมหนึ่งก็ต้องมองว่าจริงๆ แล้ว คือการให้กฎหมายได้มาอธิบายสิ่งที่ดีเอสไอทำ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าเรื่องนี้ถูกอธิบายความมาแล้วว่าเป็นเรื่องของอำนาจหน้าที่ มันก็ทำให้การทำงานมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เมื่อถามว่า ดีเอสไอมีความกังวลหรือไม่ที่ท่าทีของสมาชิกวุฒิสภาจะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถ้าเป็นดีเอสไอจะไม่ยินยอมให้ความร่วมมือ จะกระทบต่อคดีที่ดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่หรือไม่นั้น พ.ต.ต.วรณัน ระบุว่า มันมีกระบวนการตาม กฏหมายอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่ นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท สว.สำรอง ได้มีการยื่นคำร้องขอรับการคุ้มครองพยานจากดีเอสไอ เพราะอาจเกิดความไม่ปลอดภัยนั้น สำหรับกระบวน การคุ้มครองพยาน เป็นกระบวนการที่มีชั้นความลับ ดังนั้น รายละเอียดอาจไม่สามารถลงลึกได้ แต่ดีเอสไอมีกลไกในการคุ้มครองพยานอยู่ ส่วนจะต้องมีการกำชับพยานทุกครั้งที่สัมภาษณ์หรือไม่ เพราะอาจกระทบต่อสำนวน ตนมองว่าพอสมควร เพราะการสอบสวนเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวน ส่วนพยานรู้เห็นข้อเท็จจริงส่วนไหนก็เป็นเรื่องที่เราก็ไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของท่านที่จะต้องรับผิดชอบตัวเอง แต่ย้ำว่าในชั้นการสอบสวนของดีเอสไอ เราใช้การทำงานแบบมืออาชีพในการเก็บรวบรวมหลักฐานตาม ทั้งนี้ หากบุคคลใดได้รับการคุ้มครองพยานโดยดีเอสไอแล้ว แต่กลับยังถูกข่มขู่ คุกคาม รังควานจากบุคคลอื่นนั้น ปกติเรามีขั้นตอนคุ้มครองพยาน หากเห็นว่าพยานอยู่ในเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ตามระเบียบที่สามารถจะคุ้มครองพยานได้ ก็มีทั้งมาตรการการคุ้มครองพยานทั่วไป และมาตรการการคุ้มครองพยานแบบพิเศษที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งถ้าหากเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองพยานแล้ว ในการปฎิบัติหน้าที่ก็จะมีกลไกที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปคุ้มครอง หรือการย้ายที่อยู่ให้พยาน ซึ่งมันมีหลายเงื่อนไข ดังนั้น ถ้าระหว่างการคุ้มครองพยานยังมีกลุ่มคนเข้าไปข้องเกี่ยวอยู่ เราก็จะใช้กฎหมายตามระเบียบคุ้มครองพยานดำเนินการทางคดี เพราะถือเป็นความผิดเฉพาะเรื่อง
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี