คุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน
เรื่องการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น เรามีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2471 เป็นกฎหมายกำหนดเรื่องคุณสมบัติทั่วไป และลักษณะต้องห้ามไว้เป็นหลักการใหญ่ในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือนโดยรวมข้าราชการฝ่ายพลเรือนในกระทรวงการทหารด้วย แต่ไม่รวมข้าราชการฝ่ายตุลาการ หลังจากนั้น ก็มีการพัฒนาปรับปรุง รูปแบบและหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นข้าราชการพลเรือน จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เป็นฉบับปัจจุบัน และมีการแยกข้าราชการออกเป็นหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ พนักงาน มหาวิทยาลัย พนักงานราชการ เป็นต้น
ณ เวลานี้ เราจะมาบอกกล่าวกันถึงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันและมีการปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง แต่สิ่งที่เราจะมาบอกเล่าสู่กันเป็นเรื่องคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนว่าเป็นประการใดครับ
1.ประการแรก ผู้ที่เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (มาตรา 36 วรรคหนึ่ง) ดังต่อไปนี้
ก.คุณสมบัติทั่วไป
(1)มีสัญชาติไทย
(2)มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(3)เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข.ลักษณะต้องห้าม
(1)เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมือง
(2)เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎก.พ.
(3)เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(4)เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(อ่านต่ออาทิตย์หน้า)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี