วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
รถไฟฟ้า 20 บาท ฝันดีปีเดียว! 'ดร.สามารถ' ชี้ 6 ข้อกังวล งบไม่พอ-ยังไม่คุยเอกชน-ไม่ยั่งยืน

รถไฟฟ้า 20 บาท ฝันดีปีเดียว! 'ดร.สามารถ' ชี้ 6 ข้อกังวล งบไม่พอ-ยังไม่คุยเอกชน-ไม่ยั่งยืน

วันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 07.36 น.
Tag : ประชาธิปัตย์ สามารถราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รถไฟฟ้า20บาท
  •  

วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte”  ระบุว่า  รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “ฝันดีปีเดียว?”

รัฐบาลบอกว่าเพื่อประชาชน แต่นี่อาจเป็นแค่ “ยาแก้ปวดชั่วคราว” ก่อนเลือกตั้ง ใครเห็นข่าวแล้วเฮ…ฟังทางนี้ก่อน พร้อมกับช่วยกันค้นหาคำตอบต่อคำถามสำคัญ “มันจะไปได้นานแค่ไหน?” หรือ “แค่ฝันดีปีเดียวแล้วตื่นมาจ่ายแพงเหมือนเดิม?”


ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อเร็วๆ นี้ ให้เริ่มดำเนินนโยบาย “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2568 – 30 กันยายน 2569 ครอบคลุมรถไฟฟ้าทุกสาย ทุกสี 

นโยบายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบขนส่งมวลชน

อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายจะดูเป็น "ของขวัญเพื่อประชาชน" แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด กลับมีข้อกังวลหลายประการที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน เช่น

1. งบประมาณที่จัดสรรยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ในปีแรกของการดำเนินนโยบาย รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 5,668 ล้านบาท (ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยบอกว่าจะต้องใช้เงินชดเชยประมาณ 8,000 ล้านบาท/ปี) โดยแบ่งเป็นค่าชดเชยค่าโดยสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รฟท., รฟม., กทม. รวม 5,512 ล้านบาท และค่าพัฒนาระบบบริหารจัดการรายได้กลาง 156 ล้านบาท
แต่ข้อมูลจาก กทม.ระบุว่า เฉพาะในส่วนของ กทม.เพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องใช้เงินชดเชยถึง 11,059 ล้านบาท เท่ากับว่างบที่ได้รับจริง (2,525 ล้านบาท) นั้น ไม่ถึงหนึ่งในสี่ของความต้องการ

2. เจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานยังไม่ชัดเจน

รถไฟฟ้าหลายสายดำเนินการภายใต้สัมปทานให้เอกชน ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสว่า ภาครัฐได้ตกลงค่าชดเชยรายได้กับเอกชนได้ผลเป็นที่ยุติหรือไม่ แต่ผมรู้มาว่า ยังไม่ได้ข้อยุติ

3. ความยั่งยืนในระยะยาวยังไม่แน่นอน

นโยบายนี้ครอบคลุมเพียง 1 ปีเท่านั้น โดยไม่มีแผนรองรับหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2569 หากไม่มีการจัดทำแผนการเงินที่ยั่งยืน นโยบายนี้จะกลายเป็นเพียง "มาตรการชั่วคราว" ที่อาจยุติลงทันทีเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
ยิ่งไปกว่านั้น หากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะ "ซื้อสัมปทานคืน" ทั้งหมดจากเอกชน ตัวเลขการลงทุนอาจสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งต้องการการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ

4. ประชาชนทุกกลุ่มอาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "ทุกคน" สามารถรับสิทธิ์ใช้รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้ แต่เงื่อนไขการใช้งานจริงระบุว่า ผู้ใช้ต้องมีการลงทะเบียนผ่านระบบแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" หรือใช้บัตร EMV (Europay, Mastercard และ Visa) หรือ Rabbit Card เท่านั้น กลุ่มประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้น้อย อาจไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์นี้ได้โดยสะดวก

5. แหล่งรายได้ชดเชยระยะยาวยังไม่ชัดเจน

มีการเสนอแนวคิด "ค่าธรรมเนียมรถติด" หรือ Congestion Charge เพื่อเป็นรายได้เพิ่มเติมสำหรับชดเชยค่าโดยสารในอนาคต แต่แนวคิดนี้ยังคงอยู่ในระดับ "การศึกษา" และยังไม่มีความคืบหน้าในเชิงนโยบายหรือข้อกฎหมาย

6. ผู้ให้บริการเตรียมหารถไฟฟ้าเพิ่มไว้หรือยัง?

เมื่อค่าโดยสารถูกลง จะมีผู้โดยสารรถไฟฟ้ามากขึ้นแน่นอน แต่คำถามคือ...ผู้ให้บริการเตรียมรถไฟฟ้าเพิ่มไว้หรือยัง? ถ้าไม่ทันรับมือ แบบนี้คนได้ประโยชน์จะเป็นใครกันแน่?
สรุป

นโยบาย "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" มีเจตนาที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีคำถามสำคัญหลายข้อ ทั้งในเรื่องความโปร่งใส การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ การบริหารจัดการสัมปทานกับเอกชน และความยั่งยืนของนโยบายในระยะยาว

หากรัฐบาลต้องการให้นโยบายนี้ “อยู่ยาว” และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะ ก็ต้องเริ่มวางแผนอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะแผนทางการเงินที่ชัดเจน และการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่รอให้คนขึ้นแน่นก่อนแล้วค่อยคิด

"นโยบายที่ดี ไม่ควรเป็นแค่ของขวัญปีเดียว...หากต้องการให้เป็นรากฐานของความเสมอภาคในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศ"

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ชัยชนะ\'ย้ำจุดยืน\'ปชป.\'ต้านนิรโทษฯ ม.112–คดีทุจริตเลือกตั้ง 'ชัยชนะ'ย้ำจุดยืน'ปชป.'ต้านนิรโทษฯ ม.112–คดีทุจริตเลือกตั้ง
  • ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! \'ชานน สัมพันธารักษ์\'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
  • ‘วัชระ’ย้อนเกล็ด‘นิพนธ์’ บอก‘ปชป.’หมดสิ้น แล้วทำไม‘ลูกชาย’ยังสังกัดอยู่ ‘วัชระ’ย้อนเกล็ด‘นิพนธ์’ บอก‘ปชป.’หมดสิ้น แล้วทำไม‘ลูกชาย’ยังสังกัดอยู่
  • \'อดีตแม่ยก ปชป.\'ลิสต์ 5 ข้อ พรรคที่ ปชช. อยากเลือก ลั่น\'หัวหน้าต้องมีสัจจะ-ไม่เอาพรรคเป็นสาขาใคร\' 'อดีตแม่ยก ปชป.'ลิสต์ 5 ข้อ พรรคที่ ปชช. อยากเลือก ลั่น'หัวหน้าต้องมีสัจจะ-ไม่เอาพรรคเป็นสาขาใคร'
  • 79 ปีหมดสิ้นแล้ว! \'นิพนธ์\'ลั่นความเป็นสถาบันทางการเมือง ของประชาธิปัตย์ไม่เหลือแล้ว 79 ปีหมดสิ้นแล้ว! 'นิพนธ์'ลั่นความเป็นสถาบันทางการเมือง ของประชาธิปัตย์ไม่เหลือแล้ว
  • \'สส.ปชป.\'เอกฉันท์ชง\'สุณัฐชา\'นั่งประธานกมธ.ตำรวจแทน\'ชัยชนะ\' 'สส.ปชป.'เอกฉันท์ชง'สุณัฐชา'นั่งประธานกมธ.ตำรวจแทน'ชัยชนะ'
  •  

Breaking News

'หลิงหลิง'ยอมรับผิดขายขนมEgg Rollsไม่มีอย. ลั่นเป็นแม่ค้ามือใหม่ไม่รู้กฎหมายเมืองไทย

(คลิป) เปิดจักรวาล! เซียนพระสีกากอล์ฟ นักล่า! เจ้าคณะ เจ้าอาวาส เบอร์1

(คลิป) 'กกต.'อยู่ไหน! ยุบพรรคเพื่อไทย ด่วน! 12/7/2568

'ปู่เดือนชัย'ชี้ 'พระ'มีเมียไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะสึกดีกว่าทำเสื่อม เชื่อบาปมีอยู่จริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved