‘นครินทร์’ปัด‘นิติสงคราม’
ศาลรธน.ไม่ใช่ศาลการเมือง
“นครินทร์” ปธ.ศาลรธน. ย้ำ ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาลการเมือง ปฏิเสธเป็น “นิติสงคราม” ยืนยันทำหน้าที่ยึดหลักกฎหมาย แต่เข้าใจคนร้องย่อมมีฝักฝ่าย ยอมรับการสื่อสารเปิดเผยเป็นดาบสองคม ตุลาการต้องระวังตัว
เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่โรงแรมอัศวิน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนถึงผลการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญตลอดปีที่ผ่านมา ว่า การที่คนเรียกเราว่าเป็นศาลการเมืองนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเราเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับคดีรัฐธรรมนูญเท่านั้น อยากให้ผู้สื่อข่าวและประชาชนทำความเข้าใจว่า คดีรัฐธรรมนูญคือเรื่องข้อพิพาท ทะเลาะเบาะแว้ง ที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ โดยคดีที่เข้ามากว่าครึ่งหนึ่ง มาจากศาลด้วยกันเองที่มองว่ามีข้อกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลปกครอง ศาลอาญา เป็นต้น แต่ที่ผ่านมา สื่อหรือคนทั่วไปอาจไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก นอกจากนี้ยังมีคดีอีกประเภทที่เพิ่มขึ้นมารัฐธรรมนูญ ปี 2560 คือคดีที่ประชาชนสามารถมาร้องทุกข์เองได้ ซึ่งนานๆ ทีจะมีมา สัปดาห์ละ 3-4 คดี
“อีกประเภทคือคดีที่มาจากองค์กรอิสระด้วยกัน เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคดีที่มาจากสมาชิกรัฐสภา คือคดีที่ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เราต้องรับคดีที่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า คดีการเมือง แต่ส่วนตัวขอเรียกว่า คดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” นายนครินทร์ กล่าว
เมื่อถามถึงข้อเสนอ ว่าควรมีโฆษกศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายนครินทร์ กล่าวว่า ก็พยายามปรับตัว หน้าที่โฆษกก็ได้มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ช่วงนี้ล้มป่วย และมีรองเลขาธิการฯ รักษาการอยู่ อย่างไรก็ตาม เลขาธิการหรือรองเลขาธิการฯ อยู่ แต่ความสามารถด้านการสื่อสารกับสื่อมวลชนอาจจะยังน้อยไป แต่ส่วนตน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆ ไม่ควรเป็นโฆษกศาลด้วยตนเอง แต่ที่มาของการแถลงข่าววันนี้ เพราะเป็นภารกิจปีละครั้งที่ได้พบสื่อมวลชน แต่ต้องขอความระมัดระวัง ว่าประธานหรือตุลาการไม่ควรแถลงข่าวด้วยตนเอง ควรจะมีโฆษกแยกไปต่างหาก
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า มีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายนครินทร์ กล่าวว่า การปฏิรูปศาลที่สำคัญต้องทำจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศาลเราปฏิรูปตัวเองไม่ได้ และอีกส่วนอาจจะเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยที่กระทำโดยองค์กรของศาลเอง ที่จะมอบหมายให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ ยกตัวอย่างเรื่องเอกสารข่าว หรือ Press Release ของศาล ถ้าติดตามจะเห็นว่า ปัจจุบันละเอียดขึ้นมาก มีการระบุว่าตุลาการเสียงข้างน้อยหรือเสียงข้างมากเป็นใคร ทุกอย่างชัดเจนเปิดเผย
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยเสียงแต่ละฝ่ายของตุลาการนั้น เป็นดาบสองคม แต่ศาลของเราวางกติกามาแบบนี้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 และฉบับปี 2560 ก็รับกติกานี้มา ที่ตุลาการทุกคนต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนและต้องเปิดเผย ซึ่งก็มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ได้ ดังนั้น ตุลาการแต่ละคนก็ต้องระมัดระวังความปลอดภัยของแต่ละบุคคล
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญถูกมองว่า เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง นายนครินทร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา เพราะผู้ร้องเข้ามาก็มีฝักฝ่าย คดีรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ 2 ฝ่ายขัดแย้งกันอยู่เสมอ ถ้าเห็นตรงกันก็จะไม่มีเรื่องร้องเข้ามาที่ศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนคำว่านิติสงคราม นั้นเป็นคำที่พูดกันในสื่อมวลชน แต่เราไม่ได้คิดว่าเป็นนิติสงคราม เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและหน้าที่พิจารณาคดีรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากหลายทาง และแต่ละคดีมีที่มาตามกฎหมายกำหนดไว้
“ศาลก็มีกระบวนการพิจารณา ต้องฟังความเห็นทุกฝ่าย มีขั้นตอนการชี้แจงต่างๆ อีกมากมาย เราก็ต้อง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี