‘นฤมล’ ตีปี๊บแก้หนี้ครู เลงตั้งสหกรณ์ สกสค.รวมหนี้ ดอกเบี้ยต่ำ ปรับโครงสร้างค่าตอบแทน หวังดึงคนเก่งเป็นครู ยกระดับวิชาประสัติศาสตร์หน้าที่พล้มืองแก้ปัญหาเห็นต่างทางการเมือง
วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 ที่ โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ) นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการ กษ. พร้อมด้วยผู้บริหาร ศธ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาและติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา โดยมีนายสมชาย ลีหล้าน้อย ผู้ว่าราชการ จ.นครศรีธรรมราช นายเฉลิมชัย จิตรสำรวย ผู้อำนวยการโรงเรียนฉวางฯ พร้อมผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนให้การต้อนรับ
โดยนางนฤมล กล่าวว่า ในการประชุมมอบนโยบายและรับฟังปัญหาในพื้นที่ ว่า ตนมีความยินดีที่ได้มาพบทุกคน เพื่อรับฟังปัญหา จากบุคลากรและผู้บริหารในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่ได้วางแผนว่าจะมาอยู่ศธ. และเดิมคิดว่าจะได้ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แต่ด้วยสถานการณ์ทางการเมือง ก็ทำให้ได้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการศธ. ซึ่งสงสัยว่าจะเป็นพรมลิขิตจึงได้มาเจอกัน และเมื่อเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศธ. อย่างเป็นทางการ ก็ได้มีการหารือ กับผู้บริหารศธ. ทั้งนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดศธ. ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เลขาธิการ ก.ค.ศ. และเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งหลายคนก็สอบถามตนว่า รัฐมนตรีว่าการศธ. จะมอบนโยบายอย่างเป็นทางการเมื่อไร ซึ่งส่วนตัวเห็นว่านโยบายต้องมาจากคนในกระทรวง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ต้องนำมาผสมผสานกัน แล้วขับเคลื่อนโดยฝ่ายการเมืองเพื่อทำให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
“ซึ่งแต่ละแท่งก็จะทำหลายๆเรื่องไว้ดีอยู่แล้วจากฝ่ายการเมืองที่ผ่านมา หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีหลายเรื่องยังไปไม่สุด ยังมีอุปสรรค เราก็จะมาคุยกันในแต่ละแท่ง เพื่อแก้ปัญหา ส่วนตัวมีเป้าหมายทางการเมือง ที่อยากเข้ามาดำเนินการยกระดับวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เพราะตนรู้สึกว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ความเห็นต่างทางการเมืองทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการบ่มเพราะ ทางการศึกษา เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง บางส่วนหายไป ทำให้ เยาวชนพลเมืองที่โตขึ้นไม่เข้าใจที่มาของตนเองและไม่เข้าใจหน้าที่ของตนเองในฐานะคนภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจึงอยากแก้ปัญหาในระยะยาวคงจะต้องยกวิชานี้ขึ้นมาเป็นวิชาเฉพาะที่ได้รับการรับรองและยอมรับเพื่อให้เยาวชนเข้าใจในหน้าที่ของตัวเอง เป็นระบอบประชาธิปไตยของไทย ที่เป็นรูปแบบเฉพาะเจาะจง และถ่สยทอดไปยังตัวนักเรีบนเยาวชนคนไทย ไม่ใช่ไปดูรูปแบบประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ แล้วติดว่าเราจะต้องเป็นแบบเขา เพราะประเทศที่เจริญแล้วก็มีรูปแบบที่แตกต่างกีน เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ประเทศอังกฤษ ก็มีประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน” นางนฤมล กล่าว
นางนฤมล กล่าวต่อว่า อีกเรื่องที่มีการผลักดันมาตลอด คือการลดภาระครู ซึ่งเชื่อมโยงกับการขอมีและการเลื่อนวิทยฐานะ โดยที่ผ่านมา ตนได้หารือกับนายธนู ขวัญเดช เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และ ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จ เพื่อให้ครูไม่ต้องไปทำงานอื่น ที่ไม่ใช่การสอน และจากการรับฟังปัญหาจากรัฐมนตรีศึกษาหลายท่านที่เข้ามาดูแลกรเทรวงศึกษาฯ ก็พบว่า เป็นเรื่องจริงที่ครูต้องไปทำหน้าที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นงานธุการ พัสดุ การเงิน การทำงานเอกสารต่าง ๆเยอะไปหมด ดังนั้น เราจะต้องมาช่วยกันดูว่าจะลดภาระเหล่านี้ให้ครูได้อย่างไร
“นอกจากนี้ยังมีเรื่อง วิทยฐานะ ถึงแม้ว่าระบบปัจจุบัน จะทำให้การพิจารณาวิทยฐานะเร็วขึ้น แต่จำนวนครูและผู้บริหารที่ผ่านการประเมินกลับน้อยลง ทั้งที่วิทยฐานะเชื่อมโยงกับค่าตอบแทน ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการเป็นครู หากได้ยากและมีอุปสรรคก็อาจทำให้ครูขาดกำลังใจ ดิฉันเคยพูดเล่นๆ ในพรรคว่า หากจะแก้ปัญหาการศึกษาง่ายนิดเดียว ต้องให้คนคุณภาพมาเป็นครู โดยให้มีรายได้เป็นตัวตั้ง ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของค่าตอบแทน ซึ่งฝ่ายอัยการ ศาล ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปแล้ว ทำให้มีเด็กเก่งที่สุดไปเรียนนิติศาสตร์มากขึ้น ดังนั้น ถ้าอยากให้คนเก่งเป็นครู ต้องดูเรื่องค่าตอบแทน แต่การไปเพิ่มเงินเดือน ก็จะไปเป็นภาระกับงบประมาณ ดังนั้น จึงต้องวนกลับไปแก้ปัญหาเรื่องวิทยฐานะ ให้ได้ก่อน แม้อัตราเริ่มต้นของเงินเดือนจะอยู่ที่ 18,000 บาท แต่ถ้า ได้วิทยฐานะมากขึ้น ก็จะทำให้ครูมีรายได้มากขึ้น มีกำลังใจ
รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด 1.4 ล้านล้านส่วนใหญ่เป็นครูเกษียณ ที่เงินวิทยฐานะหาย ไปเหลือแต่เงินบำนาญ รายได้ลดลง หนี้สินที่มีก่อนเกษียณฯ ก็ผ่อนไม่ไหวกลายเป็นปัญหาหนี้เสีย สมัยรัฐบาลหนึ่งเคยมีการรวมหนี้ไปไว้ที่ธนาคารออมสิน กว่า 4 แสนล้ายบาท แต่มีครูก็ยังไปก่อหนี้เพิ่ม ส่วนใหญ่จะไปกู้ที่สหกรณ์อออมทรัพย์ครู หนี้สินส่วนใหญ่ก็ไปอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู กว่า 9 แสนบ้าน เหลืออยู่ที่ ธนาคารออมสิน 3.5 แสนล้านบาท ที่เหลือกระจายอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย กว่า 6 หมื่นล้าน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จากการกู้ซื้อบ้าน กว่า 6 หมื่นล้าน และยังมีสถาบันการเงินอื่นๆ อีก ที่ผ่านมาได้เชิญนายพีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สถาบันการเงิน ผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มาพูดคุย ว่า จะสามารถทำการรวมหนี้อีกครั้งได้หรือไม่ โดยการรวมหนี้ครั้งนี้จะเป็นการโอนทั้งหนี้ทั้งทุนมาไว้ที่สหกรณ์ใหม่ ที่เราจะตั้งขึ้น โดยอาจจะเป็นในรูปของสหกรณ์ สกสค. ซึ่งต้องไปดูข้อกฎหมาย ว่าต้องปรับแก้ตรงไหนอย่างไร ถ้าเรามีสหกรณ์กลาง ซึ่งที่จริงอยากจะเรียกว่าธนาคารครู ที่จะเปิดเป็นทางเลือกให้ครูที่เป็นหนี้ และอยากจะปรับโครงสร้างหนี้ ให้มารวมที่สหกรณ์กลาง โดยรัฐบาล จะหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ มาให้เป็นขั้นบันได ซึ่งถ้าทำได้จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยของครู ที่ปัจจุบันจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ทั้งหมดนี้ยังเป็นตุ๊กตาที่ ต้องหารือเพื่อให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องทำเรื่องสวัสดิการครู ทั้งค่าเดินทาง ค่าที่พัก ที่จะต้องจัดทำให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี