วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
‘สว.เทวฤทธิ์’ จี้รัฐบาลแจงความคืบหน้านโยบาย‘แก้รัฐธรรมนูญ’

‘สว.เทวฤทธิ์’ จี้รัฐบาลแจงความคืบหน้านโยบาย‘แก้รัฐธรรมนูญ’

วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 12.52 น.
Tag : แก้รัฐธรรมนูญ ชูศักดิ์ ศิรินิล เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว.
  •  

‘สว.เทวฤทธิ์’ จี้ถามความคืบหน้านโยบายแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล ด้าน ‘ชูศักดิ์’ รับมีความไม่แน่นอนของรัฐบาล จึงไม่เสนอร่างฯหวั่นถูกตีตกในชั้น ‘สภาสูง’ เสียงอ่อยดูไทม์ไลน์แล้วยาก ทำให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 ก.ค. 2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามของนายเทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ถามน.ส.แพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เรื่องนโยบายการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล แต่ น.ส.แพทองธารแจ้งว่าติดภารกิจที่สำคัญ จึงมอบหมายให้นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาตอบกระทู้แทน


โดยนายเทวฤทธิ์ กล่าวว่า เป็นการเดินทางไกลเกือบ 20 ปีในความพยายามที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจากเกิดการรัฐประหารตั้งแต่วันที่ 19ก.ย.2549 มีการล้มลุกคลุกคลานตลอดแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ นอกจากนี้เราถูกฉีกรัฐธรรมนูญด้วยคณะรัฐประหาร แม้จะมีการบอกว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญที่มีประชาชนมาทำประชามติให้ความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว มีเนื้อหาที่อ้างว่าเป็นการปราบโกง แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาด้านต่างๆ อยู่ เช่น ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ประชาชนเลือกบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองหนึ่งมา แต่ด้วยบทบัญญัติทำให้เราไม่สามารถส่งมอบเจตจำนงของประชาชนให้พวกเขามาเป็นรัฐบาลได้ อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้กลไกของสถาบันทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญไม่สมดุลอีกต่อไป เกือบ 1 ปีแล้วที่ฝ่ายบริหารโดยนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกถอดถอนด้วยมาตรฐานจริยธรรม ฝ่ายนิติบัญญัติโดยพรรคฝ่ายค้านถูกยุบพรรคด้วยกระบวนการทางกฎหมายนิติบัญญัติ นี่เป็นสิ่งที่เราเห็นปัญหา ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่ยุคนายเศรษฐา มาจนถึงน.ส.แพทองธารก็ได้แถลงว่าจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นายเทวฤทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่จนถึงปัจจุบัน ตนยังไม่เห็นผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ของรัฐบาลที่จะดำเนินการตามนโยบายที่จะเร่งทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด ฉะนั้น จึงขอถามว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาชน (ปชน.) มีความพยายามที่จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ แต่ทำไมไม่มีร่างของรัฐบาลเข้ามาประกบ ในอนาคตจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีร่างของรัฐบาลเข้ามาประกบ ปัญหาและอุปสรรคในการเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของรัฐบาลคืออะไร มีมาตรการการแก้ไขอย่างไร มีแนวทางที่ชัดเจนหรือไม่อย่างไรในการที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามที่เคยแถลงไว้ มีกรอบระยะเวลาอย่างไร

ด้านนายชูศักดิ์ ชี้แจงว่า เหตุผลที่ครม.ไม่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะขณะนี้มีความไม่แน่นอนต่อประเด็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อจำนวนครั้งของการทำประชามติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาส่วนของพยานผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น เมื่อมีความไม่แน่นอน ตนจึงเสนอ ครม.ว่ายังไม่ควรเสนอร่างแก้ไขฉบับของครม. เพราะหากเสนอไปแล้ว ทำไม่ได้ ครม.จะเสียหาย แต่ขณะนี้มีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในระเบียบวาระรัฐสภา 2 ฉบับ คือฉบับของพรรค พท.และพรรคปชน.

นายเทวฤทธิ์ กล่าวว่า ที่มีการบอกว่ามีความไม่แน่นอนของรัฐบาลจึงไม่เสนอร่างฯ ตนก็เห็นว่าเป็นเช่นนั้น และเห็นว่าน่าจะมีการเลือกตั้งในเร็ววันนี้ บางคนบอกว่าอาจจะเป็นต้นปีหน้า ตนไม่ได้แช่ง และร่างพ.ร.บ.ประชามติที่เพิ่งผ่านสภาฯ ไปก็สามารถจัดการทำประชามติไปพร้อมกับการเลือกตั้งได้ไม่ว่าจะเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งท้องถิ่น จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าจะมีมติ ครม. ในการจัดทำประชามติที่ตอนนี้เราไม่ต้องสนใจแล้วว่าจะทำ 2 หรือ 3 ครั้ง แต่ให้ถามประชาชนไปเลยจะได้ชัดเจนว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และรัฐบาลต่อไปจะได้ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ที่คำถามในการทำประชามติจะเป็นคำถามที่ชัดเจนหรือถ้าไม่เป็นคำถามที่ชัดเจนก็ขอให้เป็นคำถามย่อยๆ

นายชูศักดิ์ ชี้แจงว่า สำหรับนโยบายของรัฐบาลมีความแน่วแน่ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาหลายอย่าง อาทิ การถ่วงดุลอำนาจ ที่มาของสว. แต่การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นยังมีเงื่อนไขที่ต้องรอ คือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องรอ เพราะหากมีคำวินิจฉัยว่าให้ทำประชามติ 2 ครั้ง ร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่ค้างอยู่ทั้ง 2 ฉบับ สามารถเดินต่อไป แต่ตนยังหวั่นวิตกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เขียนให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จัดอยู่ในประเภทที่ไม่อยากให้แก้ไขได้ เช่น วาระแรก ต้องใช้เสียง สว. เห็นชอบด้วย 1 ใน 3 ของสว.ที่มีหากปัจจุบันมี สว. 200 คน ต้องได้เสียงสว. 67 คน ดังนั้น หากถึงเวลานั้นต้องขอให้สว. ช่วยกันลงเสียงให้ แต่ตนยังหวั่นวิตกว่า สุดท้ายอาจจะตกไปอีกก็ได้

"หากไม่สนใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง และใช้มติครม. เลย ผมมองว่าเมื่อได้ถามศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ควรรอคำตอบก่อน แต่หากตัดสินใจเลย ทำกับว่าต้องทำประชามติ  3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่เบาเหมือนกัน” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในความตั้งใจของรัฐบาล หากพูดตรงไปตรงมา คือ ไม่อยากให้ไม่สำเร็จ เหมือนที่เคยทำมาที่ท้ายสุดจะผ่านวาระสามแล้ว แต่มีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญ จนเป็นที่มาของคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ดังนั้นหากอยากทำให้สำเร็จ ต้องตัดอุปสรรคที่ไม่มั่นใจ และต้องทำให้แน่ใจถึงจะเดินไปได้ ทั้งนี้ รัฐบาลบริหารมาแล้ว 2 ปี เหลือเวลาไม่นานจะครบ 4 ปีตามมวาระของรัฐบาล เมื่อคำนวณไทม์ไลน์ การแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า6 เดือน เสร็จแล้วต้องถามประชามติ ซึ่งต้องมีเวลา 3-5 เดือน เพื่อทำความเข้าใจประชาชนหลังจากประชามติเสร็จแล้ว ต้องเข้าสู่การเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยคาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือน

“ดูไทม์ไลน์แล้วยากลำบากจะทำให้สำเร็จในเวลานี้ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ แต่ผมได้ปวารณาตัวว่า หากมีข้อยุติในหลายประเด็นแล้วและเดินหน้าต่อไป ขอให้ตั้ง สสร.ไว้ และให้ทำร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลกำหนดวาระ อย่างน้อยมีสสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญไป หากทำถึงขนาดนี้ได้แม้อาจไม่สำเร็จ แต่เป็นการดี ซึ่งตามไทม์ไลน์อาจมีปัญหาที่ทำให้สำเร็จไม่บริบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์” นายชูศักดิ์ กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘สว.พันธุ์ใหม่’ย้ำคำเดิม ‘สว.’ต้องชะลอเลือก‘องค์กรอิสระ’ ท่ามกลางครหา ‘คดี ฮั้ว’ ‘สว.พันธุ์ใหม่’ย้ำคำเดิม ‘สว.’ต้องชะลอเลือก‘องค์กรอิสระ’ ท่ามกลางครหา ‘คดี ฮั้ว’
  • สว.พิสิษฐ์ไม่กังวลชงกกต.ฟัน138สภาสูง  กังขาDSIจองเวรลามสอบ \'ผช.สว.\'โยงคดีฮั้วเลือกสว. สว.พิสิษฐ์ไม่กังวลชงกกต.ฟัน138สภาสูง กังขาDSIจองเวรลามสอบ 'ผช.สว.'โยงคดีฮั้วเลือกสว.
  • ‘อดีตผู้พิพากษา’เลคเชอร์ 3 ข้อ ทุบเปรี้ยงคดี‘ฮั้ว สว.’แค่พิสูจน์‘เลือกไม่สุจริต’ก็พอ ‘อดีตผู้พิพากษา’เลคเชอร์ 3 ข้อ ทุบเปรี้ยงคดี‘ฮั้ว สว.’แค่พิสูจน์‘เลือกไม่สุจริต’ก็พอ
  • ‘หมอวี’ฟาดนักการเมือง วางผลประโยชน์ส่วนตัว หันมาดูแลประชาชน ‘หมอวี’ฟาดนักการเมือง วางผลประโยชน์ส่วนตัว หันมาดูแลประชาชน
  • ‘ภูมิธรรม’ยืนยัน เดินตามไทม์ไลน์แก้‘รัฐธรรมนูญ’ ‘ภูมิธรรม’ยืนยัน เดินตามไทม์ไลน์แก้‘รัฐธรรมนูญ’
  • ‘สภาฯ’ผ่าน‘ร่างกฎหมายประชามติ’ ยึดตามร่างเดิมทำ‘ชั้นเดียว’ ‘สภาฯ’ผ่าน‘ร่างกฎหมายประชามติ’ ยึดตามร่างเดิมทำ‘ชั้นเดียว’
  •  

Breaking News

‘อธิบดีที่ดิน’ส่งรายงานแจงปมที่ดิน‘เขากระโดง’แล้ว เตรียมทำรายงานสรุป‘มท.1’

เปิดตัวน้ำหมักชีวภาพสูตรปลาหมอคางดำ Waste , Not Wasted

'บิ๊กเต่า'พบเส้นเงินพระลูกวัดนครสวรรค์-ฆราวาส โยงสีกา 2 ราย-เร่งสอบทุนสร้างพุทธอุทยาน

ชำแหละ 4 ข้อปมพิพาทไทย-กัมพูชา ‘เกมหักหลัง’ระดับชาติ เงียบงันแต่ร้อนแรงกว่าสงครามปืนกล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved