วันจันทร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / มองมุมหมอ
มองมุมหมอ

มองมุมหมอ

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร
วันจันทร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.

เตรียมตัวรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นกันเถอะครับ

ดูทั้งหมด

  •  

สถานการณ์การระบาดทั่วโลกของโรคโควิด-19 เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนพอสมควร ทั้งนี้ น่าจะเป็นผลมาจาก เชื้อที่ระบาดอยู่เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งแม้จะติดต่อกันง่ายแต่ก็ไม่มีความรุนแรง ยกเว้นเสียแต่ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อันได้แก่ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวที่เรียกกันว่ากลุ่ม 608 ประกอบกับการที่ประชาชนส่วนใหญ่ทั่วโลก ได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้นตามลำดับ

ตัวเลขของผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมทั้งหมดถึงวันที่ 21 พฤษภาคม มีอยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 526 ล้านราย มีผู้เสียชีวิตรวมกันประมาณ 6.3 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต ประมาณ 1.2% ซึ่งต่ำกว่าระยะที่มีการระบาดรุนแรง มากพอสมควร ประเทศที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยรวมเกือบ 85 ล้านรายและเสียชีวิตไปมากกว่า 1 ล้านราย อันดับ 2 คือประเทศอินเดีย มีผู้ป่วยรวมมากกว่า 43 ล้านราย และเสียชีวิตไปมากกว่า 5.2 แสนราย ถัดไปคือประเทศบราซิล ฝรั่งเศสและเยอรมนีตามลำดับ ส่วนประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เริ่มการระบาดรวมทั้งสิ้นมากกว่า4.4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมรวมเกือบ 3 หมื่นรายเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การระบาดของโลกนี้ในช่วงระยะ 2 ปีเศษ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก อันเป็นผลมาจากแนวทางการดำเนินชีวิตที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนไป ผู้คนทั่วโลกถูกจำกัดบริเวณในการใช้ชีวิตแบบปกติ ทำให้การดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ เกิดผลกระทบทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งการเดินทางฝทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งในการติดต่อค้าขายต่างๆ และการท่องเที่ยว ซึ่งมีผลโดยรวมต่อการทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงด้วย ฉะนั้นเมื่อสถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นจึงทำให้ประเทศต่างๆ ก้าวเข้าสู่การเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งประเทศไทยด้วย


ในส่วนของประเทศไทยนั้น ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ที่มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นมือไม้ที่สำคัญในการดำเนินการตามนโยบาย ได้เริ่มเกริ่นถึงการที่จะปรับเปลี่ยนสถานะของโรคระบาดร้ายแรงโควิด-19 ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก มาเป็นโรคประจำถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว และหลังจากติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด จากการศึกษาสถิติตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวัน ความรุนแรงของโรค จำนวนผู้ที่เจ็บป่วยรุนแรง และผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่ลดลงในทุกส่วน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวัน ณ ขณะนี้ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5,000 ราย และบางวันก็ลดลงต่ำสู่ระดับ 4,000 ราย ตลอดจนจำนวนผู้เสียชีวิตที่เริ่มลดน้อยลงต่ำกว่าระดับ 40 รายต่อวัน เมื่อนำมาประกอบกับ จำนวนตัวเลขของประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนรวมทั้งสิ้นมากกว่า 136 ล้านครั้ง โดยมีผู้ฉีดเข็มที่ 1 ไปแล้วมากกว่า 56 ล้านราย คิดเป็น 81 เปอร์เซ็นต์เศษ ของผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ฉีดเข็ม 2 ไปแล้วมากกว่า 52 ล้านราย คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ และฉีดเข็ม 3 ไปแล้วมากกว่า 27 ล้านราย หรือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และยังรวมไปถึงพฤติกรรมของประชาชน ที่อยู่ในระเบียบวินัยเป็นอันดี ในการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และการล้างมืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกเรื่องที่กล่าวมานี้ล้วนมีส่วนเสริมทำให้การระบาดของโรคลดน้อยลงอย่างชัดเจนตามลำดับ ตลอดจนความรุนแรงของอาการก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกับโรคประจำถิ่น จึงทำให้ศบค.พร้อมที่จะประกาศว่าโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยแล้ว ซึ่งอาจจะเร็วกว่าที่เคยกำหนดไว้ คือวันที่ 1 กรกฎาคม นี้มาเป็นประมาณวันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป

ขณะนี้จึงมีมาตรการหลายอย่างในลักษณะผ่อนคลายถูกนำออกมาใช้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านโรคนี้ให้เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งจะขอแยกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ 1.มาตรการที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาพยาบาล ซึ่งนอกจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ก็มีหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องที่สำคัญอีกอย่างน้อย 4-5 หน่วยงาน คือสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สํานักงานประกันสังคมและกรมบัญชีกลาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ต้องรวมถึงสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นตัวกลางในการประสานงานความร่วมมือของโรงพยาบาลเอกชนเกือบทั่วประเทศด้วย 2.มาตรการที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล ให้เกิดการขับเคลื่อนทางธุรกิจ และสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้กลับคืน ซึ่งในส่วนนี้ประกอบด้วยหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ เข้ามามีบทบาทร่วมกัน

ในส่วนของมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาพยาบาลนั้น ภาครัฐมีส่วนสำคัญที่สุดในการจัดหาวัคซีนหลากหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ มาฉีดให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วอย่างดี และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้แล้ว และหากมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นองค์กรของภาครัฐตามที่กล่าวไว้นั้น รวมทั้งส่วนของโรงพยาบาลเอกชน ก็ได้ให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี แต่เมื่อถึงระยะเวลาที่จะมีการประกาศให้โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น รูปแบบของการรักษาจะเปลี่ยนไป โดยจะเน้นให้ประชาชนที่ติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เข้าสู่การรักษาในรูปแบบของผู้ป่วยนอก โดยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ์พื้นฐาน การตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตัว ATK จะถูกยกเลิก รวมทั้งการตรวจ RT-PCR จะถูกนำมาใช้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเพื่อยืนยันโรค หรือตรวจหาไวรัสที่กลายพันธุ์เท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรง ก็เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ์เช่นกัน เว้นเสียแต่ว่าอาการเข้าขั้นฉุกเฉินวิกฤต อาจจะเข้ารักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ โดยโรงพยาบาลที่รักษาสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้จากกองทุน UCEP ซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว

ในส่วนของมาตรการกำกับดูแลให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจนั้น จะได้มีการเปลี่ยนการกำหนดสีของพื้นที่ใหม่ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน จะมีจังหวัดสีฟ้ารวม17 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว มีจังหวัดสีเขียวซึ่งถือเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง 14 จังหวัด และที่เหลืออีก46 จังหวัด จะเป็นจังหวัดสีเหลือง ซึ่งยังเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง แต่ก็ได้ผ่อนคลายให้พื้นที่ทุกสี สามารถจะเปิดให้บริการสถานบันเทิง ประเภทผับและบาร์ได้แล้ว แต่ยังมีมาตรการในการควบคุมผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้เกิดขึ้นอีก

ซึ่งในส่วนของการท่องเที่ยวนั้น จะมีการเปิดประเทศมากขึ้นกว่าเดิม โดยผู้เดินทางจากต่างประเทศ เฉพาะที่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้น จะต้องมีการขอรับเอกสารไทยแลนด์พาสซึ่งสามารถจะทำได้ง่ายๆ โดยสแกน QR Code ได้เลยเพียงแต่ ยังต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบเกณฑ์มาตรฐาน และ/หรือการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าและมีวงเงินประกันสุขภาพ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นการสร้างรายได้จำนวนมหาศาล ซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกภาคส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้มีอาชีพที่โยงใยไปถึงการท่องเที่ยวทั้งหมด

ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้โรงเรียนทั่วประเทศ สามารถเปิดให้มีการเรียนการสอนตามปกติได้แล้ว และส่วนใหญ่ของโรงเรียนก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้แล้ว แต่เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้กลับคืนมา ก็ได้มีมาตรการ ที่นักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ภายใต้ความรับผิดชอบในการตรวจสอบของทุกโรงเรียน ทั้งในเรื่องของการให้นักเรียนได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ การใส่หน้ากากอนามัย การจัดการเรื่องระยะห่างการติดตามสังเกตอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น การจัดกิจกรรมในโรงเรียนอย่างเหมาะสม รวมทั้งอาจจะมีการตรวจคัดกรองเป็นระยะด้วย ซึ่งจากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้พบว่า เด็กนักเรียนในช่วงอายุ 12-17 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ 2 เข็มแล้ว มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กช่วงอายุ 5-11 ปี ซึ่งเพิ่งได้รับการอนุญาตให้ฉีดวัคซีนได้ ก็ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม มากกว่า 53 เปอร์เซ็นต์ และในระยะเวลาไม่นานจากนี้ ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ 2 เข็ม มากกว่า 80% ซึ่งจะทำให้ป้องกันการเกิดอาการรุนแรง หากมีการติดเชื้อได้อย่างแน่นอน

เมื่อ 2 วันที่ผ่านมานี้ เป็นครั้งแรกที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันในกรุงเทพมหานคร ลดต่ำลงกว่า 2,000 ราย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี เพราะเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดกว่าจังหวัดอื่นใด ส่วนจังหวัดอื่นๆ นั้น ไม่พบว่ามีจังหวัดใดที่มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันเกินกว่า 200 รายแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และหากตัวเลขเหล่านี้ยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ก็เชื่อว่าการประกาศอย่างเป็นทางการของประเทศไทยที่จะบอกว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น น่าจะเป็นจริงไม่เกินวันที่ 15 มิถุนายน นี้

การประกาศ ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างเป็นทางการ คงจะเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาหรืออย่างช้าที่สุดก็ภายในวันนี้อย่างแน่นอน ไม่ว่า จะได้ใครมาเป็นผู้ว่าคนใหม่ ประชาชนก็ต้องยอมรับ และก็คงเป็นหน้าที่ของประชาชนเช่นกัน ในการติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าคนใหม่ ให้เป็นไปตามครรลองครองธรรมที่ควรจะเป็น ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีตามที่มีบางคนหาเสียงไว้ เพราะน่าจะเป็นเรื่องนอกเหนือหน้าที่ แต่สิ่งที่จะต้องทำนั้นคือ ทำอย่างไร ให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างมีความสุข ทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อม ความสะอาดสวยงาม ระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกปลอดภัย และระบบสาธารณูปโภคที่มีความสมบูรณ์พร้อม ทำได้เท่านี้ก็ถือว่าดีแล้วครับ หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:05 น. วงเสวนาหนุนสร้างกระบวนการยุติธรรมเป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ
21:54 น. สาวไทยพ่าย!ฝากมะกันคว่ำเยอรมนี-รอตั๋วไฟนอลส์8
21:22 น. ‘ก๊วนสปีดโบ๊ท’ให้ปากคำเพิ่ม ‘แซน-กระติก’ประกาศลุยฟ้องแหลก ฝากถึงใคร‘อย่ามาแถ’?
20:42 น. เจ้าของเซ็ง! เชื่อ 'น้องหมา' ยันรถซาเล้งไหลลงบ่อน้ำลึก 6 เมตร นักประดาน้ำรุดช่วย
20:37 น. ทิ้ง จม.ลาโลก! อดีตผู้รับเหมาป่วยซึมเศร้าผูกคอดับคาศาลาวัดดังเมืองคอน
ดูทั้งหมด
ฮือฮา! พบสมุนไพรหายาก'โด่ไม่รู้ล้ม' ชายกินได้หญิงกินดี กินแล้วคึก 3 วัน 3 คืน
เปิดงานวิจัย‘โควิด’แพร่ไกลกว่า 2 เมตร ‘หมอธีระ’ย้ำมี 2 อาวุธหลักป้องกัน
ราชกิจจาฯประกาศให้ 'พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์' อดีตปลัดกลาโหม เป็นคนไร้ความสามารถ
‘อดีตสหาย’พรึ่บ!ประกาศปกป้องสถาบันฯ หนุน‘มาตรา 112’ฟันกลุ่มจาบจ้วง
กูรู‘ไพศาล’ฟันธง!‘นายกฯ’8ปีม.158,ม.264 ชัดเจนอยู่แล้ว.!!
ดูทั้งหมด
วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2565
เหม็นน้ำลายนักการเมืองให้ร้ายประเทศไทย
ท่องเที่ยว คือ ชีวิต รู้จักตัวตน และบ้านเมืองของเรา ได้ความรู้และความสุขเพลิดเพลิน
ปีศาจรถไฟฟ้า
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เจ้าของเซ็ง! เชื่อ 'น้องหมา' ยันรถซาเล้งไหลลงบ่อน้ำลึก 6 เมตร นักประดาน้ำรุดช่วย

+697เลขอันตราย! เตือนโทร.เข้ามาอย่ารับเด็ดขาด

แชมป์รอบ2ปี!‘น้องเมย์’ตบสนั่นเฉือนจีน ผงาดแชมป์มาเลเซีย โอเพ่น

ทิ้ง จม.ลาโลก! อดีตผู้รับเหมาป่วยซึมเศร้าผูกคอดับคาศาลาวัดดังเมืองคอน

เตือนภัย! มิจฉาชีพออกอาละวาดกระชากกระเป๋าผู้หญิงขับมาคนเดียว

รวบคนขับ จยย.พาคนร้ายยิงเด็กเก็บเงินกู้รายวันดับคาที่ มือปืนยังหนีกบดาน

  • Breaking News
  • วงเสวนาหนุนสร้างกระบวนการยุติธรรมเป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ วงเสวนาหนุนสร้างกระบวนการยุติธรรมเป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ
  • สาวไทยพ่าย!ฝากมะกันคว่ำเยอรมนี-รอตั๋วไฟนอลส์8 สาวไทยพ่าย!ฝากมะกันคว่ำเยอรมนี-รอตั๋วไฟนอลส์8
  • ‘ก๊วนสปีดโบ๊ท’ให้ปากคำเพิ่ม ‘แซน-กระติก’ประกาศลุยฟ้องแหลก ฝากถึงใคร‘อย่ามาแถ’? ‘ก๊วนสปีดโบ๊ท’ให้ปากคำเพิ่ม ‘แซน-กระติก’ประกาศลุยฟ้องแหลก ฝากถึงใคร‘อย่ามาแถ’?
  • เจ้าของเซ็ง! เชื่อ \'น้องหมา\' ยันรถซาเล้งไหลลงบ่อน้ำลึก 6 เมตร นักประดาน้ำรุดช่วย เจ้าของเซ็ง! เชื่อ 'น้องหมา' ยันรถซาเล้งไหลลงบ่อน้ำลึก 6 เมตร นักประดาน้ำรุดช่วย
  • ทิ้ง จม.ลาโลก! อดีตผู้รับเหมาป่วยซึมเศร้าผูกคอดับคาศาลาวัดดังเมืองคอน ทิ้ง จม.ลาโลก! อดีตผู้รับเหมาป่วยซึมเศร้าผูกคอดับคาศาลาวัดดังเมืองคอน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น

วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น

4 ก.ค. 2565

ใช้แนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่  ให้เป็นวิถีชีวิตแบบปกติ

ใช้แนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ให้เป็นวิถีชีวิตแบบปกติ

27 มิ.ย. 2565

บทสุดท้ายของโควิด-19 กำลังจะมาถึง

บทสุดท้ายของโควิด-19 กำลังจะมาถึง

20 มิ.ย. 2565

‘กัญชา’อย่าให้เป็นดาบสองคม

‘กัญชา’อย่าให้เป็นดาบสองคม

13 มิ.ย. 2565

สถานการณ์ของโควิด-19 และของประเทศ  กำลังเข้าสู่ภาวะปกติ

สถานการณ์ของโควิด-19 และของประเทศ กำลังเข้าสู่ภาวะปกติ

6 มิ.ย. 2565

วัคซีนโควิด-19 เรื่องจำเป็นสำหรับเด็ก

วัคซีนโควิด-19 เรื่องจำเป็นสำหรับเด็ก

30 พ.ค. 2565

เตรียมตัวรับโควิด-19  เป็นโรคประจำถิ่นกันเถอะครับ

เตรียมตัวรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นกันเถอะครับ

23 พ.ค. 2565

MIS-C โรคอันตรายในเด็ก  หลังจากติดเชื้อโควิด-19

MIS-C โรคอันตรายในเด็ก หลังจากติดเชื้อโควิด-19

16 พ.ค. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved