วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘สจล.’แนะ4แนวทาง เสริมอาคารรับแผ่นดินไหว

ดูทั้งหมด

  •  

ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่หนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ นั่นคือ “แผ่นดินไหว” ขนาด 7.8 แมกนิจูด บริเวณดินแดนที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง 2 ประเทศ คือตุรกีกับซีเรีย เมื่อวันที่6 ก.พ. 2566 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5 หมื่นศพจากนั้นยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 แมกนิจูด เมื่อวันที่27 ก.พ. 2566 ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 1 ศพ ขณะที่รัฐบาลตุรกีตั้งคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับ “การก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน” ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูญเสียเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เบื้องต้นสอบสวนผู้ต้องสงสัยไปแล้ว 600 ราย


กลับมาที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยแพร่บทความ “ผู้เชี่ยวชาญ สจล. แนะออกแบบอาคาร และวิธีลดความเสี่ยงอาคารถล่ม รับมือแผ่นดินไหว” โดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สจล. เผยว่า ในประเทศไทยนั้นมีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พื้นที่ที่อยู่ตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกก็มีโอกาสจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ

และในประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย เมื่อปี 2557 มีขนาดความรุนแรง 6.3 แมกนิจูดสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้น หากจะหาวิธีป้องกันการทรุดตัว ถล่มของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ก็สามารถทำได้ ซึ่งประเทศไทยเองได้มีกฎหมายรองรับเกี่ยวกับแนวทางการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวแล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 พ.ย. 2564 ก็ทำให้สิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ที่เกิดขึ้นในหลายๆ จังหวัดของประเทศได้มีการออกแบบโครงสร้างที่สามารถรองรับและต้านทานแผ่นดินไหวมากขึ้น

ดร.ภาณุมาศ ไทรงาม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว กล่าวว่า ส่วนสำคัญประการหนึ่งในการออกแบบโครงสร้างเพื่อรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวนั้น จะมีการออกแบบให้เสามีขนาดใหญ่ขึ้นจากเมื่อก่อน เพราะผลกระทบโดยตรงของอาคารสิ่งปลูกสร้างจากแผ่นดินไหว จะเป็นแรงที่กระทำจากด้านข้างนั้นคือจะส่งผลกระทบไปที่เสา เวลาออกแบบก่อสร้าง

จึงต้องออกแบบให้เสามีขนาดใหญ่ขึ้นโดยที่เราจะใช้ระบบที่เรียกว่า “เสาแข็งคานอ่อน” เพราะถ้าเสามีความแข็งแรงมากๆ โอกาสที่เสาจะเอนก็จะน้อยลง รวมถึงทำอาคารให้มีความเหนียวมากขึ้นโดยการเพิ่มรายละเอียดเหล็กเสริม และเหล็กปลอกของโครงสร้างอาคาร สำหรับอาคารเก่าที่เจ้าของมีความกังวล เราอาจจะตั้งสมมุติฐานว่าอาคารเหล่านี้อาจจะถูกออกแบบมารับแรงในแนวโน้มถ่วงอย่างเดียว ซึ่งในหลักการของทางวิศวกรรมเราอาจจะต้องทำการวิเคราะห์อาคารเหล่านั้นได้

และถ้าผลวิเคราะห์ออกมาพบว่าเป็นอาคารที่ไม่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ ก็จะทำการเสริมกำลังอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว โดยมี 4 แนวทางดังนี้ 1.เสริมกำลังด้วยคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม (Concrete jacketing) ซึ่งเป็นเป็นวิธีการเสริมแรงแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่มีผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างด้านการเสริมกำลังด้วยโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเป็นวิธีดังเดิมที่ถูกใช้ในหลายประเทศ

2.เสริมกำลังด้วยแผ่นเหล็กที่เสาจะทำให้อาคารมีการรับแรงด้านข้างได้มากขึ้น (Steel jacketing)แทนการเอาเหล็กเสริมและคอนกรีตเข้าไปพอกที่เสาเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว และมีผู้เชี่ยวชาญในการก่อสร้างงานด้านการเสริมกำลังด้วยโครงสร้างเหล็ก 3.เสริมกำลังโดยให้กำแพงสามารถรองรับแรงเฉือน (Shear wall) ซึ่งอาคารสูง หรืออาคารสาธารณะในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯมีการออกแบบรับแรงด้านข้างมานานแล้ว จากปกติที่ผนัง หรือกำแพงจะเป็นแค่อิฐเพียงอย่างเดียว

ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้กับอาคารสูง เนื่องจากจะได้รับผลกระทบทั้งแรงลม หรือแผ่นดินไหวมากกว่าอาคารต่ำ วิธีการคือใส่เหล็กเพื่อช่วยรับแรงด้านข้างดังกล่าว หรือเรียกว่าเป็น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก กำแพงแบบนี้จะไม่มีโครงสร้างเสาคานให้เห็น ซึ่งเกิดจากการออกแบบให้มันรับน้ำหนักแทนเสาและคาน ผนังแบบนี้แข็งแรงกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่มีข้อเสียตรงที่เราไม่สามารถปรับแต่งต่อเติม หรือเจาะผนังได้ เพราะจะเกิดความเสียหาย

และ 4.เสริมกำลังด้วยโครงแกงแนง (Bracing)ซึ่งจะช่วยรับแรงด้านข้างได้ดี มีลักษณะของการเสริมกำลังด้วยการใช้เหล็กแท่งเสริมเข้าไประหว่างเสา 2 ต้น เพื่อเพิ่มการรับแรงกระทำจากด้านข้าง การยึดรั้ง และเพิ่มเสถียรภาพและความแข็งแรงทางด้านข้าง ซึ่งเป็นระบบที่ถูกใช้เสริมกำลังอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวในหลายประเทศ ทั้งนี้ “สำหรับอาคารยุคเก่า กลุ่มแรกที่ควรได้รับการตรวจสอบ และวิเคราะห์ เป็นกลุ่มอาคารสาธารณะที่มีผู้คนใช้งานเป็นจำนวนมาก”เพื่อหาแนวทางป้องกัน และเสริมกำลังให้ต้านทานแผ่นดินไหวต่อไป

สามารถติดตามข่าวสาร และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th/ หรือ https://www.facebook.com/kmitlofficial รวมถึงผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2329-8000

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:08 น. ฟันเปรี้ยง!‘อดีตบิ๊กอนาคตใหม่’เชื่อ กกต.ยกคำร้อง ‘พิธา’ขึ้นเป็นนายกฯ
12:03 น. เผย6นักเตะต่างชาติฤดูใหม่ปี2566-2567ของสิงห์เจ้าท่า
11:54 น. ดัน‘พิธา’สุดลิ่ม!‘เสรีพิศุทธ์’พร้อมช่วยทุกทาง-คุย ส.ว.เปิดทางนั่งนายกฯ
11:50 น. 'บิ๊กบี้'ย้ำโยกย้ายนายทหารยังเป็นศูนย์ ถามใครจะเช็คบิล พูดติดตลก ไปทานข้าวต้องเช็คบิลอยู่แล้ว
11:49 น. ไทยลีก1ฤดูใหม่ที่27 เปิดสนาม11ส.ค.2566
ดูทั้งหมด
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 4 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ฟันเปรี้ยง!‘จตุพร’ย้ำ‘ก้าวไกล’ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เปิดชื่อ‘นายกฯ’ปชช.ลุกฮือ-ทหารยึดอำนาจ
พรรคไหนซวย? ว่าที่ส.ส.เจอร้องสอยพุ่ง 30 คน-ปม'คะแนนเขย่ง'โผล่กระทบปาร์ตี้ลิสต์
กระบะส่งพัสดุหลับในข้ามเลนประสานงาปาเจโร่ดับคารถทั้ง 2 ฝ่าย 3 รายรับวันพระใหญ่
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 5 - 11 มิ.ย.66
ดูทั้งหมด
อย่าให้บ้านเมืองต้องบอบช้ำกว่านี้เลย
ตลาดหลักทรัพย์ฯสะท้อนผลจากภาวะการเมือง
แวดวงการเงิน : 7 มิถุนายน 2566
‘เครือข่ายโรงพยาบาลปัจจัยขับเคลื่อน’
บดบี้ขยี้แหลก
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฟันเปรี้ยง!‘อดีตบิ๊กอนาคตใหม่’เชื่อ กกต.ยกคำร้อง ‘พิธา’ขึ้นเป็นนายกฯ

ดัน‘พิธา’สุดลิ่ม!‘เสรีพิศุทธ์’พร้อมช่วยทุกทาง-คุย ส.ว.เปิดทางนั่งนายกฯ

'ก้าวไกล'โวย กกต. สอบ คดีอิลูมินาติภาค 2 เหตุ โพสต์มีรูป 'ค้อนเคียว' เป็นปฏิปักษ์การปกครองฯ

'บิ๊กบี้'ย้ำโยกย้ายนายทหารยังเป็นศูนย์ ถามใครจะเช็คบิล พูดติดตลก ไปทานข้าวต้องเช็คบิลอยู่แล้ว

ปศุสัตว์เชียงรายเข้ม!บุกตรวจห้องเย็นป้องกันลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน

ผบ.ทบ. ลงโทษต้นสังกัด บกพร่องไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานให้ไว้ เซ่นพลทหารเสียชีวิต

  • Breaking News
  • ฟันเปรี้ยง!‘อดีตบิ๊กอนาคตใหม่’เชื่อ กกต.ยกคำร้อง ‘พิธา’ขึ้นเป็นนายกฯ ฟันเปรี้ยง!‘อดีตบิ๊กอนาคตใหม่’เชื่อ กกต.ยกคำร้อง ‘พิธา’ขึ้นเป็นนายกฯ
  • เผย6นักเตะต่างชาติฤดูใหม่ปี2566-2567ของสิงห์เจ้าท่า เผย6นักเตะต่างชาติฤดูใหม่ปี2566-2567ของสิงห์เจ้าท่า
  • ดัน‘พิธา’สุดลิ่ม!‘เสรีพิศุทธ์’พร้อมช่วยทุกทาง-คุย ส.ว.เปิดทางนั่งนายกฯ ดัน‘พิธา’สุดลิ่ม!‘เสรีพิศุทธ์’พร้อมช่วยทุกทาง-คุย ส.ว.เปิดทางนั่งนายกฯ
  • \'บิ๊กบี้\'ย้ำโยกย้ายนายทหารยังเป็นศูนย์ ถามใครจะเช็คบิล พูดติดตลก ไปทานข้าวต้องเช็คบิลอยู่แล้ว 'บิ๊กบี้'ย้ำโยกย้ายนายทหารยังเป็นศูนย์ ถามใครจะเช็คบิล พูดติดตลก ไปทานข้าวต้องเช็คบิลอยู่แล้ว
  • ไทยลีก1ฤดูใหม่ที่27  เปิดสนาม11ส.ค.2566 ไทยลีก1ฤดูใหม่ที่27 เปิดสนาม11ส.ค.2566
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง  ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

3 มิ.ย. 2566

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

27 พ.ค. 2566

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

20 พ.ค. 2566

เส้นทางสู่ความยั่งยืน  ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

เส้นทางสู่ความยั่งยืน ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

13 พ.ค. 2566

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

6 พ.ค. 2566

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

29 เม.ย. 2566

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

22 เม.ย. 2566

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ  ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

15 เม.ย. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved