วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เจลบีด จากสารสกัดเมล็ดมะขาม  ...new ingredient เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เจลบีด จากสารสกัดเมล็ดมะขาม ...new ingredient เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

วันอาทิตย์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

มะขาม (Tamarind) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาที่ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เช่น เนื้อมะขามนอกจากใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่ม ยังเป็นยาระบายอ่อนๆ ในอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้สารประเภทกัม (gum) คือเจลโลส (jellose)ที่ได้จากเนื้อในเมล็ดมะขาม สำหรับเปลือกเมล็ดมะขามมีสีน้ำตาล นอกจากใช้เป็นสีย้อมผ้าได้แล้ว ยังมีสารซึ่งมีคุณสมบัติต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (antioxidant activity) ได้ จึงสามารถใช้เป็นส่วนประกอบเชิงหน้าที่ (functional ingredients) ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางได้ ซึ่งศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้นำสารสกัดจากเมล็ดมะขามมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ไอออน-แทม (IONTAM Encapsule) ใช้เทคโนโลยีเอ็นแคปซูเลชั่น (encapsulation) สารสกัดเมล็ดมะขามในโซเดียมอัลจิเนตเจลบีด เพื่อยกระดับคุณภาพของสารสำคัญ (Ingredient) ของสารสกัดเมล็ดมะขามให้มีประสิทธิภาพและความคงตัวเพิ่มมากขึ้น โดยการเตรียมในรูปแบบเจลบีด หรือเรียกเทคนิคการเตรียมว่า “ไอโอโนโทรปิกเจลเลชั่น(Ionotropic gelation)” คือใช้หลักการเรียงตัวและความแตกต่างระหว่างประจุของโซเดียมอัลจินเต ซึ่งมีประจุลบกับเกลือที่มีประจุบวก ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถกักเก็บสารสำคัญกลุ่มฟินอลิก (Phenolic compounds) ได้มากกว่า 80% ตลอดจนสามารถควบคุมการปลดปล่อยได้มากกว่า 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ เทคโนโลยีการเตรียมนี้ยังผ่านการทดสอบความปลอดภัยระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง โดยจากการทดสอบพบว่าไม่เกิดความเป็นพิษในเซลล์ (cytotoxicity test) และไม่เกิดความเป็นพิษเฉียบพลันจากการกิน (Oral acute toxicity test) และเทคโนโลยีนี้ได้ผ่านการยื่นจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย

ผลิตภัณฑ์ไอออน-แทม จึงถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำเทคโนโลยีนี้ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ โดยใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไอศกรีม ซูชิ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และขนมปัง เป็นต้น


กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'

'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'

จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved