วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารอาหาร ต้านฝุ่นจิ๋ว PM2.5

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารอาหาร ต้านฝุ่นจิ๋ว PM2.5

วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

พิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 กำลังปกคลุมไปทั่วประเทศ เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ทำให้แทรกเข้าไปสู่ร่างกายถึงในระดับเซลล์ได้เลย จากหลอดลมไปหลอดเลือด เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ และภาวะการอักเสบขึ้นในร่างกาย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ หอบหืด เรื้อรัง โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคมะเร็ง รวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด

วิธีการป้องกัน PM2.5 ก็คือ การอยู่ภายในอาคารบ้านเรือน บางสถานที่อาจมีเครื่องกรองอากาศเป็นตัวช่วย ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านไปในที่กลางแจ้งก็ควรใส่หน้ากากกรองฝุ่น เช่น N95 และสวมแว่นตา แต่งกายให้มิดชิด เพื่อลดการสัมผัสหรือได้รับฝุ่น PM2.5 และควรงดการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬากลางแจ้งต่างๆ


นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าสารอาหารบางชนิด มีคุณสมบัติช่วยต้านความเป็นพิษของฝุ่นPM2.5 ได้

วิตามิน A และเบต้า-แคโรทีน พบมากในแครอท ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศ มันหวาน มะม่วง มะละกอ ฯลฯ มีส่วนช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น
ดังนั้น ช่วงนี้อาจจะรับประทานเมนูเหล่านี้บ่อยขึ้น เช่น แกงจืดตำลึง ผัดผักบุ้งไฟแดง ฟักทองผัดไข่ แครอทลวกจิ้มน้ำพริก และอาหารว่างอาจเป็นมะละกอ มะม่วง มันเทศ มันหวาน ที่อุดมไปด้วยวิตามิน A ก็จะช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย พร้อมต้านฤทธิ์พิษฝุ่นจิ๋ว

วิตามิน C และวิตามิน E พบมากในผลไม้และผักใบเขียวต่างๆ ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดภาวะการอักเสบที่อาจเกิดจากฝุ่นจิ๋วนี้ได้ ดังนั้นช่วงนี้ต้องเน้นรับประทานพืชผักผลไม้ให้เพียงพอ วันละ 400 กรัม หรือประมาณ 5-7 กำมือ นอกจากนี้ ยังมีรายงานการศึกษาที่พบว่า การรับประทานวิตามิน C เสริมวันละ 500 มก. ก็ช่วยลดระดับอนุมูลอิสระในกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในเขตที่มีมลพิษทางอากาศได้

โอเมก้า-3 พบมากในปลาต่างๆ มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อาศัยในแหล่งที่มีฝุ่น PM2.5 สูง พบว่าการได้รับน้ำมันปลา 2 กรัม/วัน ช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพของฝุ่นจิ๋วนี้ได้ ดังนั้น การรับประทานปลาเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเล หรือปลาน้ำจืด เช่น ปลาทู ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ฯลฯ ก็อาจมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพจากผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ได้เช่นกัน

ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) พบมากในบร็อคโคลีและผักตระกูลกะหล่ำต่างๆ มีคุณสมบัติโดดเด่น ช่วยในกระบวนการกำจัดสารพิษและต้านมะเร็งได้ มีรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ พบว่าการได้รับสารซัลโฟราเฟนจากบร็อคโคลี อาจช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพของเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ได้

แม้ว่าข้อมูลการศึกษาวิจัยเรื่องสารอาหารกับฝุ่นPM2.5 ยังมีไม่มากนัก แต่ก็มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสารอาหารต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการกำจัดสารพิษของร่างกาย นอกจากนี้ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สวมแว่น ใส่หน้ากาก เมื่อออกภายนอกอาคารบ้านเรือนไปในที่กลางแจ้ง ก็จะช่วยเป็นเกราะกำบัง ช่วยป้องกัน หรือลดผลกระทบจากมลพิษร้ายของเจ้าฝุ่นละอองจิ๋ว PM2.5 นี้ได้

อ้างอิงและเรียบเรียง : https://www.exta.co.th/article/Health/277-5-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-pm-2-5

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1)
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved