วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
การแพทย์กับการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล

การแพทย์กับการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล

วันเสาร์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : การแพทย์ กีฬาวอลเลย์บอล
  •  

ปัจจุบันการแข่งขันวอลเลย์บอลมี 3 ประเภท คือ วอลเลย์บอล (ในร่ม), วอลเลย์บอลชายหาด (บนทราย),และ วอลเลย์บอลหิมะ ซึ่งเพิ่งเริ่มการแข่งขันได้ไม่กี่ปีไม่มีการแข่งขันในประเทศไทย และยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก

โดยทั่วไป แพทย์จะมีบทบาท หน้าที่ดูแล ป้องกัน รักษานักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีม ตั้งแต่การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เอกซเรย์ ประเมินสภาพร่างกาย การรักษาการบาดเจ็บและเจ็บป่วยในข่วงแข่งขัน ฯลฯ แล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้กีฬาเวชศาสตร์ในด้านการจัดการแข่งขันอีกด้วย


ในการแข่งขันระดับนานาชาติ จะมีการแต่งตั้งผู้แทนด้านการแพทย์ (Medical Delegate) ไปกำกับดูแลการดำเนินการด้านการแพทย์ของการแข่งขัน หากเป็นการแข่งขันระดับโลก สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (International Volleyball Federation หรือ FIVB) จะแต่งตั้งสมาชิกของคณะกรรมาธิการแพทย์ (FIVB Medical Commission) ไปปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการแข่งขันระดับทวีป สหพันธ์วอลเลย์บอลของทวีปนั้นๆ จะแต่งตั้งกรรมการของคณะกรรมการแพทย์ (Medical Committee) ไปปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าภาพต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการด้านการแพทย์ (Local Medical Director) เป็นผู้ประสานงานการดำเนินการกับผู้แทนด้านการแพทย์ล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน

ก่อนการแข่งขันประมาณ 2-3 เดือน เจ้าภาพจะต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดของการดำเนินการด้านการแพทย์ส่งให้สหพันธ์ที่รับผิดชอบเพื่อขอการรับรอง ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยขนาดของพื้นที่ปฏิบัติงานที่สนามแข่งขัน, ประเภทและจำนวนของผู้ปฏิบัติงาน แพทย์ที่ปฏิบัติงานควรผ่านการอบรมด้านกีฬาเวชศาสตร์, อุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน, ขนาดพื้นที่ของห้องที่ใช้เก็บตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดเพื่อตรวจหาสารต้องห้าม, ระยะทางและเวลาจากสนามและโรงแรมไปยังโรงพยาบาลที่รับผิดชอบ ฯลฯ

ก่อนการแข่งขัน จะมีการประชุมผู้ควบคุมการแข่งขันด้านต่างๆ และตรวจความพร้อมของสนามแข่งขัน ซึ่งผู้แทนด้านการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจะใช้โอกาสนี้ตรวจดูความพร้อมของสถานที่แข่งขันในส่วนบริการทางการแพทย์ว่าตรงตามข้อมูลที่เจ้าภาพส่งมาให้หรือไม่ หรือต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ปกติผู้ตัดสินระดับนานาชาติจะต้องส่งผลตรวจร่างกายประจำปีของตนไปยังคณะกรรมาธิการแพทย์ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ รวมทั้งผลการตรวจสอบสมรรถภาพทางกาย เพื่อทราบ หากพิจารณาแล้วว่าผู้ตัดสินผู้นั้นมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น มีดัชนีมวลกาย ความดันเลือด ขนาดเอว เกินกว่าค่าที่กำหนด ฯลฯ ต้องเข้าแผนงานการจัดการสุขภาพ (Health Management Plan) เพื่อประเมินความฟิตเป็นระยะๆ ก่อนจะได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนการแข่งขัน ภายใต้การกำกับของผู้แทนด้านการแพทย์ ผู้ตัดสินทุกคนในรายการนั้นจะต้องได้รับการตรวจวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ซึ่งต้องมีค่าไม่เกิน 30,ความดันเลือด, การมองเห็น, การได้ยิน, และวัดรอบเอว(ไม่เกิน 102 ซม. สำหรับชาย และไม่เกิน 88 ซม.สำหรับหญิง) เพื่อจะได้ทราบว่าผู้ตัดสินพร้อมที่จะปฏิบัติงานหรือไม่ ข้อมูลที่ผิดปกติจะถูกบันทึกและรายงานให้ผู้แทนด้านการตัดสินทราบ

เมื่อหลายสิบปีก่อน พบว่าผู้ตัดสินมีการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีผลต่อการตัดสิน จึงได้มีข้อบังคับให้ 45 นาทีก่อนการแข่งขันทุกคู่ จะมีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจของผู้ตัดสิน, ผู้กำกับเส้น, และผู้บันทึกการแข่งขัน โดยใช้การเป่าลมเข้าเครื่องวัด เพื่อให้การตัดสินและการทำงานถูกต้องยิ่งขึ้น หากพบปริมาณแอลกอฮอล์ 0.1 มก./ลิตรขึ้นไป จะถูกงดการปฏิบัติหน้าที่ แต่ในช่วงระยะการระบาดของโควิด-19 ได้ยกเลิกข้อบังคับนี้ชั่วคราวเพื่อลดการระบาดของโรค

ผู้แทนด้านการแพทย์จะทำหน้าที่กำกับ ให้คำแนะนำการให้บริการด้านการแพทย์ในสนามแข่งขันที่เจ้าภาพจัดไว้ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลของการแพทย์หรือไม่

นอกจากนี้ ผู้แทนด้านการแพทย์ต้องดูแลการจัดการด้านอื่นๆ ของการแข่งขัน เช่น มาตรฐานด้านโภชนาการ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร, กำกับการจัดหาวัตถุดิบที่อาจมีการปนเปื้อนของสารเคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) ที่ใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ แต่ถูกจัดเป็นสารต้องห้ามด้วย, ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19ผู้แทนด้านการแพทย์ต้องเป็นผู้ประสานงานและกำกับดูแลด้านการควบคุมโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ที่ใช้แข่งขัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อให้มากที่สุด

ในการแข่งขันระดับนานาชาติ แทบทุกรายการ จะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารต้องห้าม บางครั้งจะมีการเก็บตัวอย่างเลือดด้วย ผู้แทนด้านการแพทย์จะต้องควบคุมการสุ่มเลือกนักกีฬา การเก็บตัวอย่าง การกรอกแบบฟอร์ม ของเจ้าหน้าที่ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency หรือ WADA หรือ วาด้า) ตัวอย่างที่เก็บได้จะต้องส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่วาด้ารับรองเท่านั้น ซึ่งมี 30 แห่งทั่วโลก, 6 แห่งในเอเชีย และ 1 ในภูมิภาคอาเซียน คือ ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา หรือชื่อใหม่ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล, จากการตรวจหาสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ผ่านมา พบการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬาวอลเลย์บอลค่อนข้างน้อย

โดยสรุป มีการนำการแพทย์หรือกีฬาเวชศาสตร์มาใช้ในการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลเกือบทุกขั้นตอน เพื่อให้นักกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับการดูแล บริการทางการแพทย์อย่างเต็มที่และได้มาตรฐาน และเพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมมากที่สุด

โดย นพ.เรืองศักดิ์ ศิริผล

สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เสริมทัพล่าแชมป์!ผ่าตลาดเดือดพรีเมียร์ลีก2025

พี่โต๊ะคืนสังเวียน!การกลับมาให้เสียง'แจ็คกี้ ชาน'งานพากย์เสียงไทยเรื่องแรกหลังปิดตำนานทีมพากย์พันธมิตร

‘พรรคส้ม-ภาคปชช.’ดักทาง! ‘นิรโทษกรรม’ต้องไม่เลือกปฏิบัติ

BNK48 & CGM48 ฟิตจัด ชวนชมโชว์สุดเซอร์ไพรส์ใน '7 สีคอนเสิร์ตเฟสติวัล'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved