วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
กิจการอวกาศยุคใหม่ (New Space)...โอกาสและความท้าทายของไทย

กิจการอวกาศยุคใหม่ (New Space)...โอกาสและความท้าทายของไทย

วันพุธ ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563, 16.46 น.
Tag : กสทช. กิจการอวกาศ โอกาส New Space
  •  

กิจการอวกาศยุคใหม่ (New Space)...โอกาสและความท้าทายของไทย

ในอดีตที่ผ่านมากิจการอวกาศเป็นการถูกผูกขาดไว้สำหรับภาครัฐและความมั่นคงเท่านั้น โดยเฉพาะที่สหรัฐเมื่อพูดถึงอวกาศ หน่วยงานที่ชื่อ NASA จะต้องถูกนึกถึงไว้เป็นอันดับแรก แต่ในปี 2010 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศนโยบายอวกาศแห่งชาติที่เปลี่ยนเป้าหมายจากการเดิมคือการส่งมนุษย์ไปที่ดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ ไปยังเป้าหมายใหม่คือดาวอังคาร แต่ทั้งนี้เองโอบามาก็ได้เปิดโอกาสว่าด้วยเป้าหมายนี้ทาง NASA เองก็ไม่สามารถทำได้โดยการตั้งงบประมาณโดยลำพัง


จึงเป็นที่มาของการเปิดโอกาสในการสร้างกิจการอวกาศเชิงพาณิชย์ (Commercial Space) ทำให้เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ความสนใจ เช่น Richard Branson แห่งบริษัท Virgin ได้มีการลงทุนตั้งบริษัท Virgin Garlactic เพื่อสร้างยานอวกาศเพื่อสร้างการเดินทางไปกลับระหว่างอวกาศกับโลก, บริษัท Oneweb ที่ได้เงินทุนจำนวนหนึ่งพันล้านเหรียญจากลุ่มทุน Softbank แห่งญี่ปุ่นเพื่อสร้างดาวเทียมนับพันดวงเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง Jeff Brazo, Ellon Musk แห่ง Tesla ก็มีการสร้างบริษัท SpaceX ขึ้นมาเพื่อดำเนินการกิจการอวกาศ และล่าสุด Jeff Brazo แห่ง Amazon ที่ลงทุนในโครงการ Kuiper ที่จะลงทุนดาวเทียมมากกว่าสามพันดวงเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ในกิจการอวกาศยุคใหม่มีธุรกิจต่างๆจะเกิดขึ้นมากมายเช่น Human Spacecraft, Space Mining, Space Tourism, และ Satellite ที่ไม่ได้มีแต่เพียงดาวเทียมสื่อสารเท่านั้น

แต่จะมีการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ จากดาวเทียมนำทาง มีการคาดการณ์ว่าในปี 2017 บริษัท Morgan Stanley คาดว่า Space Economy มีมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ และจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 1.1ล้านล้านเหรียญในปี 2040 รวมทั้ง Bank of America ที่คาดการณ์ในปี 2050 จะมีมูลค่าถึง 2.7 ล้านล้านเหรียญ ทำให้หลายประเทศตื่นตัวทั้งสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย แม้กระทั้งมาเลเซียที่มีการประกาศแผนนโยบายอวกาศ 2030 และเมื่อปี 2017 สิงคโปร์เองก็มีนโยบายสนับสนุนการลงทุน Startup ในกิจการอวกาศ เช่น Low cost Rocket ที่ชัดเจนคือการตั้งหน่วยงานสนับสนุนการลงทุนด้านกิจการอวกาศยุคใหม่

พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ความยากในการเปิดตลาดของกิจการดาวเทียมที่มีมากกว่ากิจการโทรคมนาคมเนื่องจากกิจการโทรคมนาคมเป็นการแข่งขันกันภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีการเปิดให้มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมทั้งรายเก่ารายใหม่แต่เมื่อบริษัทแม้ว่าจะเป็นสัญญาต่างประเทศเข้ามาแต่ก็ยังเป็นการแข่งขันกันเฉพาะบนภาคพื้นดิน (Ground Segmemt) ในประเทศไทยเท่านั้น แต่การแข่งขันของกิจการดาวเทียมเป็นการเปิดการแข่งขันใน 2มิติ คือ การแข่งขันทั้งในภาคอวกาศ และภาคพื้นดิน คือเปิดโอกาสให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันให้มีการพัฒนาดาวเทียมสัญชาติไทยไปสู่อวกาศ และเปิดโอกาสให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันสามารถใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติในประเทศไทยหรือ Landing Right ได้

“กสทช.กำกับดูแลกิจการสื่อสารเป็นหลัก แต่พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ใหม่ ให้เราดูแลเรื่องดาวเทียมด้วย ถ้าพูดถึงสเปซ อวกาศ   (Space agency) จะต้องมีองค์กรกิจการอวกาศ ตอนพ.ร.บ.ไม่ผ่านสนช. พ.ร.บ.นั้นให้มีสำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ แต่เมื่อไม่มีพ.ร.บ.นี้ เค้าให้ กสทช.เป็นผู้ดูแลก่อน  สิ่งที่คิดว่าได้อะไร มองโลกในแง่ดี ผมอยากให้กิจการดาวเทียม และกิจการอวกาศ การบาลานซ์ ผู้เล่นรายเก่ารายใหม่  มีมติบนอวกาศ มีดาวเทียมต่างชาติที่จะมาให้บริการประเทศไทย จะต้องบาลานให้เค้าแข่งเท่าเทียมกัน”  พล.อ.ท.ธนพันธุ์ กล่าว

พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กมธ.ดีอี กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของกิจการอวกาศ ประเด็นไม่ใช่แค่ความมั่นคง การดิสรับชั่นเป็นแนวคิด ประเทศที่ล่าหลังจะไม่เปิดน่านฟ้าได้หากมีองค์กรหน่วยงานที่ปิดกั้น กลัวความมั่นคง จึงทำให้เราไม่สามารถพัฒนาประเทศไปสู่โลกข้างหน้าได้ ดังนั้นควรที่จะเปิดกว้างรับความรู้และการพัฒนาสู่ยุคโลกที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆ

นี่เป็นอีกประเด็นที่สำคัญของประเทศไทยคือการที่จะต้องมีแผนระดับชาติที่ชัดเจนเกี่ยวกับกิจการอวกาศยุคใหม่ และต้องสร้างความเข้าใจใหม่ว่ากิจการอวกาศไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องดาวเทียมที่ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ โดยใช้ดาวเทียมไม่กี่ดวง แต่จำเป็นจะต้องมีการตั้ง Space Agency ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการอวกาศทั้งหลายของประเทศ เปิดเสรีทางกิจการอวกาศขึ้น

โดยการสร้างระบบใบอนุญาตเพื่อให้มีการระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนากิจการอวกาศ ต้องสร้างความชัดเจนหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐต่างๆเช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) , จิสด้า (GISTDA) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว), กสทช รวมทั้งคณะกรรมการกิจการอวกาศแห่งชาติ

หากรัฐบาลให้นโยบายให้ความสำคัญกับ Digital Economy แล้ว Space Economy ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตสำหรับรุ่นลูกหลานต่อไป การวางรากฐานที่มีการเริ่มต้นที่ดีและก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ย่อมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ดี....

น้ำฝน บำรุงศิลป์/รายงาน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กสทช.เตรียมรับรองผลการประมูลคลื่น 850 MHz ,1500 MHz ,2100 MHz และ 2300 MHz วันที่ 2 ก.ค.68 กสทช.เตรียมรับรองผลการประมูลคลื่น 850 MHz ,1500 MHz ,2100 MHz และ 2300 MHz วันที่ 2 ก.ค.68
  • AIS ชนะประมูลคลื่น 2100 MHz ในราคา 14,850 ล้าน AIS ชนะประมูลคลื่น 2100 MHz ในราคา 14,850 ล้าน
  • AIS ผนึกภาครัฐ คุมเข้มสัญญาณสื่อสารชายแดนไทย-กัมพูชา AIS ผนึกภาครัฐ คุมเข้มสัญญาณสื่อสารชายแดนไทย-กัมพูชา
  • กสทช. สาธิตขั้นตอนประมูล กสทช. สาธิตขั้นตอนประมูล
  • ศาลยกคำร้อง!! ระงับประมูลคลื่นฯ กสทช. หลัง สภาผู้บริโภคร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน หวั่นเอกชนผูกขาด ศาลยกคำร้อง!! ระงับประมูลคลื่นฯ กสทช. หลัง สภาผู้บริโภคร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน หวั่นเอกชนผูกขาด
  • กสทช. ผนึกกำลังทุกหน่วยงานสกัดการฟื้นคืนชีพแก๊งคอลฯ กสทช. ผนึกกำลังทุกหน่วยงานสกัดการฟื้นคืนชีพแก๊งคอลฯ
  •  

Breaking News

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น

'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved