วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ธปท.สู้เต็มที่แล้ว เมินใช้มาตรการQEกดบาทอ่อน ยอดเม็ดเงิน...ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของ‘การลงทุน’

ธปท.สู้เต็มที่แล้ว เมินใช้มาตรการQEกดบาทอ่อน ยอดเม็ดเงิน...ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของ‘การลงทุน’

วันพุธ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : กดบาทอ่อน ธปท. QE
  •  

 

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงสถานการณ์ค่าเงินบาทโดยยืนยันสาเหตุของค่าบาทที่แข็งค่าขึ้นในปี 2562 ไม่ใช่การแข็งค่าเพื่อการเก็งกำไร แต่เป็นเพราะการเกินดุลของบัญชีเดินสะพัด และไทยมีการลงทุนในประเทศอยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข


ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธปท.ชะลอการแข็งค่าของเงินบาทด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์และขายเงินบาท ทำให้ในช่วง 5 ปี ระหว่างปี 2558-2562 ไทยมีเงินกองทุนสำรองเพิ่มขึ้นเกือบ 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

พร้อมยอมรับว่ายังมีความกังวลถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และธปท.ยังมีเครื่องมือเพียงพอที่จะแก้ปัญหา แต่มองว่าหากภาครัฐและเอกชนร่วมมือแก้ปัญหา เช่น การผลักดันการลงทุนในประเทศของภาครัฐ การลงทุนเพิ่มหรือการนำเข้าสินค้าคงทนของภาคเอกชน และการเก็บรายได้ไว้ในบัญชีเงินตราต่างประเทศ จะเป็นการแก้ปัญหาได้ดีกว่าการที่ ธปท.เข้าไปแทรกแซงทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นและผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลเปลี่ยนเงิน เพื่อเอื้อต่อการลงทุนในประเทศและสร้างสมดุลเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าบาท

“การบริหารจัดการค่าเงินต้องให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว ถ้าเราเข้าแทรกแซงจนบาทอ่อนกว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็เท่ากับเป็นการใช้ค่าเงิน
เพื่อให้สินค้าของไทยได้เปรียบประเทศคู่แข่งชั่วคราวซึ่งไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และหากเป็นที่สังเกตของประเทศอื่นๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้าหรือการใช้มาตรการทางภาษีซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อภาคการส่งออกในระยะยาว” นายเมธีกล่าว

ส่วนที่มีข้อเสนอให้ใช้นโยบาย Quantitative Easing (QE) เช่นเดียวกับประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป นั้น ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่าอะไรคือ QE คือการทำนโยบายผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ภาคเอกชนในประเทศจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบปรับสูงขึ้นโดยการทำ QE ของประเทศหลักมักดำเนินการในช่วงที่การส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านสถาบันการเงินไปยังภาคเศรษฐกิจจริงไม่ทำงาน หรือ ประเทศกำลังเผชิญภาวะวิกฤต ซึ่ง QE จะช่วยลดต้นทุนในการกู้ยืมระยะยาวของภาคธุรกิจและครัวเรือน

แต่ในกรณีของไทย ปัจจุบันสภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูงมากอยู่แล้ว การทำ QE จะทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้นแค่กับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น

สำหรับ ค่าเงินบาทแข็งมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ กล่าวคือ ช่วยให้ธุรกิจมีต้นทุนนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรถูกลง ปกติไทยจะมีการนาเข้าเครื่องมือเครื่องจักร ปีละประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐดังนั้น ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้น ประเทศจะประหยัดไปได้ราว 5 หมื่นล้านบาท

ธุรกิจและประชาชนที่เป็นหนี้ต่างประเทศจะมีหนี้ลดลง อย่างตอนนี้ธุรกิจและประชาชนคนไทยมีหนี้ค้างจ่ายต่างประเทศอยู่ราว 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐดังนั้น ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้น ธุรกิจและประชาชนจะมีหนี้ลดลงประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งคนที่จะได้รับประโยชน์ก็คือคนที่จะชำระหนี้คืนนั่นเอง นอกจากนี้มีการนำเข้าน้ำมันดิบปีละประมาณ
2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นก็จะช่วยประหยัดต้นทุนของประเทศไปได้ 2 หมื่นล้านบาทเช่นกัน 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ศก.ไทยพ.ค.ชะลอ การผลิตภาคอุตฯ-ท่องเที่ยวลดลง ศก.ไทยพ.ค.ชะลอ การผลิตภาคอุตฯ-ท่องเที่ยวลดลง
  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank
  • เศรษฐกิจไทยเม.ย.ดีขึ้น การผลิต-บริการ-ลงทุนเอกชนหนุน เศรษฐกิจไทยเม.ย.ดีขึ้น การผลิต-บริการ-ลงทุนเอกชนหนุน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจร่วง  หวั่นเศรษฐกิจไม่แน่นอน ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจร่วง หวั่นเศรษฐกิจไม่แน่นอน
  • คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3% คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3%
  •  

Breaking News

‘สุวินัย’เปิดข้อมูล‘RAND สหรัฐ’ เปรียบไทยไทยตกอยู่ในสถานะ‘ยูเครน 2’ไปครึ่งตัวแล้ว

'รมว.ยุติธรรม'หารือ UNODC ผนึกกำลังคุมเข้มยาเสพติด-สารตั้งต้นในภูมิภาค เตรียมเป็นเจ้าภาพประชุมยาบ้าโลกปี68

จับไต๋เคสอินโดฯเคลียร์ภาษีทรัมป์ ‘กรณ์’ยก 7 ข้อกรณี‘ไทย’ ไม่เปิดตลาด0% ปิดดีลไม่ลง

หนุ่มเกาหลีสุดแสบ! หลอกสาวใต้ 'พี้กัญชา-กินเยลลี่' เมาหนักวิ่งหนีขอชาวบ้านช่วย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved