วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
อ.นิติศาสตร์มธ.-จุฬาฯ ประสานเสียงย้ำ'กสทช.'อำนาจล้นพิจารณาดีล'ทรู-ดีแทค'

อ.นิติศาสตร์มธ.-จุฬาฯ ประสานเสียงย้ำ'กสทช.'อำนาจล้นพิจารณาดีล'ทรู-ดีแทค'

วันพฤหัสบดี ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565, 14.45 น.
Tag : กสทช. จุฬาฯ ทรู-ดีแทค อ.นิติศาสตร์มธ.
  •  

อ.นิติศาสตร์มธ.-จุฬาฯ ประสานเสียงย้ำ กสทช.อำนาจล้นพิจารณาดีล ทรู-ดีแทค ระบุควบรวมทรู-ดีแทค ส่อทุนนิยมผูกขาดร้ายแรงกว่าเศรษฐกิจสังคมนิยม จี้ กสทช.ดื้อแพ่งไม่ยอมรับอำนาจตัวเองทั้งที่กฎหมายเขียนชัด ย้ำมีอำนาจจะให้หรือไม่ให้ ระบุต้องใช้ดาบที่ตัวเองมีอย่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ม.157 แน่นอน

เมื่อวานนี้ (7 ก.ย.2565) สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้มีการจัดเสวาระดมความเห็นในกรณีที่ “กสทช. มีอำนาจจัดการควบรวม ทรู-ดีแทคหรือไม่" เพื่อระดมแนวคิด และหาทางออกในการคุ้มครองผู้บริโภค จากสถานการณ์การควบรวมกิจการในธุรกิจ


ผ่านมาจนถึงวันนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะพิจารณาการขอรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรูและดีแทค ดูเหมือนว่าแม้บอร์ด กสทช.จะอ่านรายงานจากอนุกรรมการทั้ง 4 ชุดที่ตั้งขึ้นมา ก็ยังสรุปไม่ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อนุกรรมการกฎหมายที่มีเสียง 10 ต่อ 1 ที่ระบุชัดว่า กสทช.มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะ "อนุญาต" หรือ "ไม่อนุญาต" แต่ กสทช.ก็ยังส่งเรื่องอำนาจของตัวเองไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาอำนาจของตัวเองในรอบสอง ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ควรทำดึงฝ่ายบริหารมาเกี่ยวในหน้าที่กำกับดูแลของตัวเอง

ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงพฤติการณ์ของบอร์ด กสทช.ว่า ย้อนไปดูตัวกฎหมายการก่อตั้ง กสทช.สาเหตุที่ต้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลทรัพยากรคลื่นความถี่ของชาติก็เพื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการควบรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งตามข้อ 9 ของประกาศดังกล่าวยังระบุว่า การรายงานตามข้อ 5 ให้ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช. ตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 กสทช. มีอำนาจในการสั่งห้ามการควบรวมนี้ได้ หากเข้าข่ายเป็นการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขัน

สำหรับที่มีการโต้แย้งว่า ที่ผ่านมามีการควบรวมกิจการในประเทศผ่านมาแล้ว 9 ดีลก็ใช้ ประกาศกสทช.ปี 2561 ใช้คำว่า “การรายงานการรวมธุรกิจ”นั่นหมายความว่า เมื่อยึดตามประกาศล่าสุด เท่ากับว่าบริษัทผู้ประกอบการไม่ต้องขออนุญาต ทำแค่เพียงการรายงานให้ทราบเท่านั้น เพราะ กสทช.ไม่ได้มีอำนาจกระทำอันใด

อาจารย์ปริญญา กล่าวว่า ดีลการทรูควบรวมดีแทคไม่สามารถเทียบได้กับดีลที่เคยผ่านมา เพราะมันเข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาด ถือครองคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของชาติ ถือส่วนแบ่งเกินครึ่ง มีอำนาจเหนือตลาดชัดเจนและทำไมถึงใช้ระบบรายงานภายหลังควบรวมไม่ได้

เนื่องจาก 9 ดีลที่ระบุนั้นมี 7 ดีล เป็นการรวมธุรกิจระหว่างผู้รับใบอนุญาตที่เป็นบริษัทในกลุ่มหรือบริษัทในเครือเดียวกัน 1 ดีล เป็นการรวมธุรกิจที่หลังการรวมมีสินทรัพย์ไม่เกินวงเงินที่ประกาศกำหนด 1 ดีล เป็นการควบรวมของรัฐวิสาหกิจ กสท. โทรคมนาคม กับ ทีโอที รวมกันเป็นเอ็นทีตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น การควบรวมที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้วทำให้เอกชนมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า 50% เข้าข่ายเป็นทุนนิยมผูกขาดร้ายแรงยิ่งกว่าเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเสียอีก

ดังนั้น กสทช. ในฐานะองค์กรของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล “คลื่นความถี่” รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคม จึงมี “หน้าที่”ตามมาตรา 27 (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (“พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่”) ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงป้องกัน หรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมตามแนวนโยบายแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดอีกด้วย

"กสทช.อาจจะไม่มั่นใจในอำนาจของตัวเองเพราะนี้เป็นดีลใหญ่ก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่ที่ผ่านมามีทั้งศาลปกครอง คณะอนุกฎหมายก็ชี้แล้วว่ากสทช.มีอำนาจเรื่องนี้ การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้แล้วไปถามกฤษฎีกาอาจจะเข้าข่ายละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติโดยมิชอบ ม.157 "

ด้านรศ.ดร. ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์คณะนิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ธุรกิจโทรคมนาคมต้องใช้ทุนประกอบกิจการมหาศาล และเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของรัฐและผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลจำเป็นต้องดูแลให้เกิดประโยชน์สูงสุดเห็นได้ชัดตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจน จึงต้องจัดให้มีองค์กรของรัฐที่มีการอิสระประโยชน์สาธารณะกับในการนี้ครับองค์กรดังกล่าวต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคหรือเอาเปรียบผู้บริโภค

ดังนั้น สถานะของ กสทช.ที่เป็นองค์กรอิสระ จัดตั้งขึ้นมาตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และได้รับการรับรองความเป็นอิสระโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 60

อีกทั้ง ตามมาตรา 6 รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนการจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้เพื่อส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ รวมตลอดทั้งการให้ประชาชนมีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ด้วย

"การกำกับดูแลธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ชาติมันต้องเข้มข้นเพราะยิ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ทุกอย่างต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและชาติ เขาถึงได้ให้อำนาจเฉพาะมากับ กสทช. ดังนั้น หากถามว่า กสทช.มีอำนาจที่จะพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ ก็ตอบง่ายๆว่ามีอย่างเต็มเปี่ยม"

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กสทช.เตรียมรับรองผลการประมูลคลื่น 850 MHz ,1500 MHz ,2100 MHz และ 2300 MHz วันที่ 2 ก.ค.68 กสทช.เตรียมรับรองผลการประมูลคลื่น 850 MHz ,1500 MHz ,2100 MHz และ 2300 MHz วันที่ 2 ก.ค.68
  • AIS ชนะประมูลคลื่น 2100 MHz ในราคา 14,850 ล้าน AIS ชนะประมูลคลื่น 2100 MHz ในราคา 14,850 ล้าน
  • AIS ผนึกภาครัฐ คุมเข้มสัญญาณสื่อสารชายแดนไทย-กัมพูชา AIS ผนึกภาครัฐ คุมเข้มสัญญาณสื่อสารชายแดนไทย-กัมพูชา
  • กสทช. สาธิตขั้นตอนประมูล กสทช. สาธิตขั้นตอนประมูล
  • ศาลยกคำร้อง!! ระงับประมูลคลื่นฯ กสทช. หลัง สภาผู้บริโภคร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน หวั่นเอกชนผูกขาด ศาลยกคำร้อง!! ระงับประมูลคลื่นฯ กสทช. หลัง สภาผู้บริโภคร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน หวั่นเอกชนผูกขาด
  • กสทช. ผนึกกำลังทุกหน่วยงานสกัดการฟื้นคืนชีพแก๊งคอลฯ กสทช. ผนึกกำลังทุกหน่วยงานสกัดการฟื้นคืนชีพแก๊งคอลฯ
  •  

Breaking News

รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'

'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved