วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ไทยตั้งเป้า1ใน30ประเทศ  นวัตกรรมโลก  หวังหลุดพ้นกับดัก

ไทยตั้งเป้า1ใน30ประเทศ นวัตกรรมโลก หวังหลุดพ้นกับดัก

วันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : นวัตกรรมโลก เศรษฐกิจไทย
  •  

ไทยตั้งเป้า1ใน30ประเทศ

นวัตกรรมโลก

หวังหลุดพ้นกับดัก

รายได้คนปานกลาง

เร่งสนับสนุนเอกชน

ช่วยรัฐกระตุ้นศก.

รัฐบาลตั้งเป้าไทยอยู่ 1 ใน 30 ประเทศนวัตกรรมโลก ภายในปี 2573 ปัจจัยสำคัญหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2565 (Global Innovation Index 2022 : GII 2022) ประเทศไทยยังครองอันดับที่ 43 ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน จาก 132 ประเทศทั่วโลก โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มุ่งสานความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน มีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อน เพื่อเร่งผลักดันให้ไทยเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” โดยกำหนดเป้าหมายก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573


ผลการจัดอันดับ GII 2022 โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO) ถือเป็นการวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศรวม 132 ประเทศทั่วโลก โดย อันดับ GII 2022 ครั้งนี้ 5 อันดับ แรกของโลกได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยยังคงอันดับที่ 43 และถือเป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน รองจากอันดับ 7 สิงคโปร์ และอันดับ 36 มาเลเซีย รวมทั้งถือเป็นลำดับที่ 5 เมื่อเทียบกับ 37 ประเทศ กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางในระดับสูง (Upper Middle-Income Group) ลำดับที่ 1-4 ได้แก่ จีน บัลแกเรีย มาเลเซีย และตุรกี ซึ่งปัจจัยตัวชี้วัดทางนวัตกรรมของไทยที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายมวลรวมด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ และสัดส่วนการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ ถือเป็นอันดับ 1 ของโลก มากไปกว่านั้น ยังพบหลายด้านที่ทำได้ดีขึ้น อาทิ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันดับดีขึ้น 14 อันดับ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภาพรวมดีขึ้น 7 อันดับ โดยเฉพาะประสิทธิภาพด้านการขนส่งโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในระดับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน

ทั้งนี้ GII วัดความสามารถด้านนวัตกรรมในดัชนี 2 กลุ่ม 7 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ดัชนีย่อยปัจจัยนำเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index) ประกอบด้วย 1. สถาบัน (Institution) 2. ทุนมนุษย์และการวิจัย (Human capital and research) 3. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) 4. ระบบตลาด (Market sophistication) 5. ระบบธุรกิจ (Business sophistication) และดัชนีย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) ประกอบด้วย 1. ผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge and technology outputs) 2. ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ (Creative outputs)

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ผลการจัดอันดับสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำมาโดยตลอดถึงความสำคัญและการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรรม เพราะเป็นปัจจัยสำคัญให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูง รัฐบาลพร้อมทำงานสนับสนุนและเคียงข้างไปกับภาคเอกชน ผลักดันผลงานทางวิชาการสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้จริง ตั้งเป้าการขับเคลื่อนนวัตกรรมประเทศไทยให้เป็น 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573 ซึ่งการดำเนินการจะมุ่งเน้นประเด็น อาทิ การสนับสนุนการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การกระตุ้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรและใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเสี่ยง ปัจจัยการเมืองภายในกดดัน-ตลาดโลกผันผวน มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเสี่ยง ปัจจัยการเมืองภายในกดดัน-ตลาดโลกผันผวน
  • โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2  มาแล้ว!! โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2 มาแล้ว!!
  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
  • ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank
  • เศรษฐกิจไทยเม.ย.ดีขึ้น การผลิต-บริการ-ลงทุนเอกชนหนุน เศรษฐกิจไทยเม.ย.ดีขึ้น การผลิต-บริการ-ลงทุนเอกชนหนุน
  •  

Breaking News

‘เพศทางเลือก’เฮ! บอร์ดสปสช.ไฟเขียว‘บัตรทอง’ครอบคลุม‘ฮอร์โมน’ยืนยันเพศสภาพ

อดีตทหารพรานเดือด สาวหมัดใส่ทหารเขมรที่ตาเมือนธม ตร.ลุยสอบ เอาผิดทำร้ายร่างกาย!

ไล่ประเด็น‘ฮุน เซน’ทิ้งบอมบ์ 2-3 เรื่องใหญ่ที่‘ทักษิณ’นิ่งไม่ได้

แยกขยะ ’ไม่เทรวม‘ ได้จ่าย 20 เท่าเดิม นับถอยหลัง 80 วัน เก็บอัตราใหม่ต.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved