นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (สสว.) เปิดเผยว่าตามที่กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 โดยมีสาระสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของภาครัฐ โดย สสว. ได้จัดเตรียมระบบการลงทะเบียน SME เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือ THAI SME-GPสำหรับให้หน่วยงานของรัฐสามารถใช้ค้นหาสินค้า และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ ด้วยแต้มต่อด้านราคา ที่ให้ SME ที่เสนอสูงกว่าราคาต่ำสุด 10% สามารถเป็นผู้ชนะการแข่งขันได้ ปัจจุบันมี SME ที่ลงทะเบียนในระบบ แล้ว 150,000 รายโดยพื้นที่ที่ลงทะเบียนสูงสุด ได้แก่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ ปทุมธานี นครราชสีมา
สำหรับมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2565 มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดกว่า 1.16 ล้านล้านบาทโดยมีสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างจาก SME กว่า 41.26% มูลค่ารวมกว่า 480,000 ล้านบาท หน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างกับ SME มากที่สุด5 หน่วยงานหลักได้แก่ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกรมโยธาธิการและผังเมือง ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2566ตั้งเป้าที่จะทำให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% จากงบประมาณทั้งหมด
“ที่ผ่านมา ความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐที่ซื้อสินค้า SME มีความหลากหลาย แต่ในปัจจุบันเริ่มจะเห็นแนวโน้มของสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับการรักษ์โลก หรือสินค้ากลุ่ม BCG (ไบโอ, เซอร์คูลาร์, กรีน)มากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเข้ามีการไปสนับสนุน เพื่อให้สินค้าเหล่านั้นขยายตลาดได้ ขณะที่กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ยังได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ส่วนในกรณีที่อาจจะมีการแอบอ้างหรือการสวมรอยของบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาขายสินค้าให้กับรัฐนั้น ปัจจุบันอาจจะทำยากขึ้น เนื่องจากมีมาตรการที่รัดกุมขณะเดียวกัน สสว. ก็ถือว่าเป็นผู้คัดกรองและการันตี ว่าเป็นสินค้า SME จริงๆ แต่การคัดเลือกสินค้าจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งอาจจะเกิดการสอดแทรกในขั้นตอนหลังจากที่ผ่าน สสว. ไปแล้ว”นายวีระพงศ์ กล่าว
นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า สสว. ได้จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนา msme เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยรูปแบบกิจกรรมจัดประกอบด้วยกิจกรรมอบรมให้ความรู้กิจกรรมการให้คำปรึกษาเชิงลึก และถ่ายภาพสินค้าหรือบริการแก่ผู้ประกอบการโดยในปี 2566 นี้ มีหน่วยงานร่วมดำเนินกิจกรรมแบ่งตามพื้นที่ดำเนินการได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ดำเนินกิจกรรม กลุ่มภาคกลางภาคตะวันออกภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร 900 รายมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดำเนินกิจกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือจำนวนกว่า 700 ราย รวมจำนวนการพัฒนาผู้ประกอบการในโครงการนี้ทั้งหมดกว่า 1,600 ราย
นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดกิจกรรม THAI SME GP Road Show ในแต่ละภูมิภาค 5 ครั้ง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ชลบุรี ปัตตานี ขอนแก่น และลำปาง เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสพร้อมจับคู่ธุรกิจให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ขายทั้งผู้ประกอบการ SME และ MSME รวมถึงผู้ซื้อจากหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่ โดยผลของการดำเนินโครงการในปีนี้สามารถลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตสร้างรายได้หรือขยายการลงทุนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 180 ล้านบาท
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี