นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธาน ส.อ.ท. และประธานสายงานการค้าและการลงทุนในนามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ได้เดินทางเข้าร่วมประชุม 25th Meeting of Japan-Thailand Joint Trade and Economic Committee ณ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านธุรกิจที่สำคัญระหว่างสองฝ่าย เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น นโยบายต่างประเทศและกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โลก และความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม โดยมีวิทยากรจากฝั่งไทยเข้าร่วมบรรยายให้กับทางฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อรับทราบข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ
สำหรับหน่วยงาน Keidanren เป็นองค์กรตัวแทนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนในญี่ปุ่น และเป็นหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับ กกร. มาโดยตลอด โดยในทุกปีจะมีการแลกเปลี่ยนการประชุมร่วมกันระหว่างสองฝ่ายเพื่ออัปเดตข้อมูลด้านเศรษฐกิจการค้าร่วมกันมาตลอด
นายเกรียงไกร กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายนายเวทิต โชควัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และคณะกรรมการ ส.อ.ท.ให้การต้อนรับและหารือกับคณะกรรมการด้านการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) จากสหพันธ์การขนส่งและการจัดซื้อของจีน (China Federation of Logistics & Purchasing: CFLP) เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระหว่างกัน โดยมี Mr.Qin Yu ming เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งและการจัดซื้อของจีน เป็นผู้นำคณะผู้ประกอบด้านโลจิสติกส์ของจีนกว่า20 รายเข้าร่วมการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนและหารือร่วมกันที่ ส.อ.ท.
ทั้งนี้ สหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน (CFLP) เป็นสมาคมที่ครอบคลุมเพียงแห่งเดียวในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการจัดซื้อในประเทศจีนที่ได้รับการรับรองการจัดตั้งจากรัฐบาลจีนมีภารกิจหลักในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน การพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลและองค์กร และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับธุรกิจการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) ทั้งไทยและจีน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ระบบการขนส่งแบบควบคุมอุุณหภูมิซึ่งจากสถิติตัวเลขของจีน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ปี 2567 ความต้องการโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นของจีนมีทั้งหมดประมาณ 220 ล้านตัน และตลาดโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณภูมิของจีนมีมูลค่ารวม 278.5 พันล้านหยวน ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 ตลาด Cold Chain Logistics ประมาณการไว้ที่ 928.44 ล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าในปี 2572 จะมีมูลค่า 1.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ในการเข้าพบและหารือร่วมกันในครั้งนี้ ฝ่ายจีน เล็งเห็นถึงโอกาส และมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจ Cold Chain Logistics ในประเทศไทย โดย ทางสถาบันเศรษฐกิจและการลงทุนไทย-จีน ของ ส.อ.ท. ยินดีที่จะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในด้านข้อมูลสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับฝ่ายจีนเพื่ออำนวยความสะดวกและเข้ามาลงทุนในระยะต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี