วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ที่ประชุม'กอวช.'ถกมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในไทย

ที่ประชุม'กอวช.'ถกมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในไทย

วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568, 16.59 น.
Tag : กอวช รถยนต์ไฟฟ้า สอวช อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ EV
  •  

ที่ประชุม"กอวช."ถกมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในไทย "สอวช."เสนอสนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการ

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช.) ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงฯ (สป.อว.) เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้หารือกันถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย


ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่มีการเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งการผลักดันเรื่องนี้ยังสอดรับกับนโยบาย อว. For EV ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.ด้วย

ด้าน ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย นักยุทธศาสตร์ 1 โครงการพิเศษนโยบายเทคโนโลยียานยนต์และการขนส่งแห่งอนาคต ได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า สอวช.ได้ทำการศึกษาข้อมูลความต้องการแบตเตอรี่ของโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2030 จะมีความต้องการแบตเตอรี่รวมกันมากถึง 4,917 กิกะวัตต์-ชั่วโมง (GWh) ต่อปี คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 49.17 ล้านล้าน บาท หรือ 275% ของ GDP ไทยในปี 2023  โดยความต้องการแบ่งออกเป็น EV จำนวน 3,388 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี และ Non-EV จำนวน 1,529 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี ส่วนความต้องการแบตเตอรี่ของไทยนั้น มีการคาดการณ์ว่า หากสัดส่วนความต้องการแบตเตอรี่ของไทย สอดคล้องกับความต้องการแบตเตอรี่ของโลกในปี 2030 ประเทศไทยจะมีความต้องการแบตเตอรี่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 30 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี และสำหรับอุตสาหกรรมอื่นจำนวน 13.5 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี คิดเป็นมูลค่ารวมกัน ประมาณ 4.35 แสนล้านบาทต่อปี หรือเทียบเป็น 2.43% ของ GDP ไทย

ดร.ธนาคาร ยังได้นำเสนอถึงปัญหาอุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย เมื่อเทียบกับนโยบายและมาตรการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในต่างประเทศ ที่มีการออกมาตรการสนับสนุนอย่างจริงจัง ทั้งในด้านอุปทาน (supply) และอุปสงค์ (demand) ไปควบคู่กัน นอกจากนี้ยังมีการให้ทุนวิจัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่โครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่อง 3 - 5 ปี ซึ่งหากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนคาดว่า ภายในปีนี้ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างน้อย 2 ราย จะมีความชัดเจนในการเข้ามาลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ในไทย โดยแต่ละรายจะมีขนาดกำลังการผลิตในเฟสแรกประมาณ 6 - 10 กิกะวัตต์-ชั่วโมง มูลค่าเงินลงทุนเฟสแรกรวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท

ในทางกลับกัน หากไม่ได้รับการสนับสนุนก็จะส่งผลกระทบ 4 ด้าน ได้แก่ 1.สูญเสียเม็ดเงินในเศรษฐกิจ 135,000 - 435,000 ล้านบาทต่อปี 2.สูญเสียการลงทุนในประเทศ 30,000 - 132,000 ล้านบาท จากการตั้งโรงงานในประเทศ 3.สูญเสียโอกาสในการจ้างงาน อย่างน้อย 1,000 อัตรา ซึ่งจะกระทบถึง 500 - 1,000 ครัวเรือน และ 4.สูญเสียโอกาสในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงโอกาสในการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รวมค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ จากการไม่ลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อย่างน้อย 560,000 ล้านบาท (3.1% GDP ไทย) และเสียโอกาสทางตรงต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 140,000 ล้านบาท (0.8% GDP ไทย)

ดร.ธนาคาร ได้นำเสนอร่างข้อเสนอการกำหนดเป้าหมายของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย โดยขอให้ประเทศไทยตั้งเป้าหมายสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ขั้นต่ำสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ใน 2 กลุ่ม คือ 1.ประเทศไทยผลิตแบตเตอรี่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 30 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปีในปี 2030 และ 2.ประเทศไทยผลิตแบตเตอรี่สำหรับ อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ยานยนต์ไฟฟ้า 13.5 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปีในปี 2030 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอมาตรการเร่งด่วนสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย โดยขอให้ใช้มาตรการเจรจาดึงดูดการลงทุน ข้อเสนอมาตรการเร่งด่วน สำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย ตลอดจนมาตรการในช่วงการเจรจาดึงดูดการลงทุน โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งเงื่อนไขการตั้งโรงงานเซลล์แบตเตอรี่ในไทย ดังนี้ 1.ให้พนักงานทั้งหมดรวมถึงสัญญาจ้างและรับจ้างช่วง ควรต้องมีสัญชาติไทย อย่างน้อย 90% ของพนักงานทั้งหมด

2.มีการทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบตเตอรี่ในประเทศ หรือควรต้องตั้งศูนย์ R&D แบตเตอรี่ในประเทศไทย โดยวิศวกรและนักวิจัยในศูนย์ดังกล่าวอย่างน้อย 70% ควรต้องมีสัญชาติไทย 3.ชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ ต้องผลิตในประเทศไทยอย่างน้อย 1 ชิ้น 4.สนับสนุนการจับคู่ธุรกิจให้เกิดการสร้างห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ของชิ้นส่วนต่างๆ ภายในประเทศ 5.สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลกรร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน สนับสนุนให้เกิดการเรียนและฝึกงานทำงานในภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ 6.กรณีที่ลงทุนเครื่องจักรเพื่อการผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงาน (เช่น อุตสาหกรรม โดรน อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เป็นต้น) จะได้รับการสนับสนุนการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม 7.กรณีที่จัดตั้งโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ในจังหวัดรอง จะได้รับการสนับสนุนการลงทุนเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอมาตรการ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้น ขอให้กระทรวง อว.พิจารณาจัดสรรทุนวิจัยขนาดใหญ่ในลักษณะ Multi-year รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรใหม่ และการพัฒนาบุคลากร รีสกิล อัพสกิล วิศวกรและนักวิจัยที่มีอยู่ และนักศึกษาสาย STEM ชั้นปีที่ 3 - 4 ให้สามารถทำงานในโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ได้ สนับสนุนการดึงบุคลากรไทยที่ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กลับมาทำงานให้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของไทย และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณายกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้า รวมถึงพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับแบตเตอรี่เซลล์เพื่อวิจัยพัฒนา และขอให้พิจารณาจัดตั้ง หรือ สนับสนุนให้มีการประชุมของคณะกรรมการหรืออนุกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้อง เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่ใช้ได้กับหลายอุตสาหกรรม

สำหรับมาตรการระยะกลาง ควรมีการจัดสรรทุนวิจัย Multi-year และงบพัฒนาบุคลากรสำหรับการวิจัยการรีไซเคิลแบตเตอรี่ และการผลิตวัตถุดิบจากวัสดุรีไซเคิล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรเงินอุดหนุนแบตเตอรี่ความจุสูง ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ จัดมาตรการลดหย่อนภาษีบุคคล นิติบุคคล พิจารณาปรับขึ้นภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าแบตเตอรี่ความจุสูงจากต่างประเทศเพื่อสร้างอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง และพิจารณาปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับแบตเตอรี่ความจุสูง

ส่วนมาตรการระยะยาว เน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยตลอดห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยสามารถผลิตแบตเตอรี่ใช้เองมากขึ้น ในกรณีที่หากไม่สามารถนำเข้าแบตเตอรี่จากต่างประเทศได้ รวมถึงการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ตลอดจนขยายศักยภาพในการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ค และการทดสอบแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องดังกล่าว โดยในภาพรวมเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สอวช.ขณะเดียวกันได้ขอให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ให้สอดรับกับมาตรการที่ได้นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการ

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บีโอไอ เคาะมาตรการหนุน Local Content นำร่องอุตฯ EV - เครื่องใช้ไฟฟ้า บีโอไอ เคาะมาตรการหนุน Local Content นำร่องอุตฯ EV - เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • AIยานยนต์มาแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต AIยานยนต์มาแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  • ดันไทยฐานผลิตEVอาเซียน   BOIหนุนผู้ประกอบการเข้าซัพพลายเชน ดันไทยฐานผลิตEVอาเซียน BOIหนุนผู้ประกอบการเข้าซัพพลายเชน
  • บีโอไอส่งเสริม EV หนุนผู้ประกอบการเข้าสู่ Supply Chain ครองฐานผลิตอาเซียน บีโอไอส่งเสริม EV หนุนผู้ประกอบการเข้าสู่ Supply Chain ครองฐานผลิตอาเซียน
  • KJL รุกตลาดอีวี – โซลาร์รูฟท็อป ดันรายได้โต 10-15% KJL รุกตลาดอีวี – โซลาร์รูฟท็อป ดันรายได้โต 10-15%
  • สอวช.ผนึก TFGI สิงคโปร์ จัดสัมมนานานาชาติ\'The Evolution of Tech Governance in Southeast Asia\' สอวช.ผนึก TFGI สิงคโปร์ จัดสัมมนานานาชาติ'The Evolution of Tech Governance in Southeast Asia'
  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพฤหัสบดี 3 กรกฎาคม 2568

‘อดิศร’ร่ายกลอนกลางสภาฯ บอก'จงเข้มแข็งแพทองธาร คนหลายล้านเคียงข้างคุณ'

ครม.คึกคัก! รมต.ป้ายแดงแพทองธาร 1/2 ทยอยเข้าทำเนียบฯ

สืบพยานโจทก์'ทักษิณ'นัดสุดท้าย ทนายเผยไม่หนักใจคดี ยันเจ้าตัวเป็นเหยื่อทางการเมือง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved