วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ค้านเปิดตลาดสินค้าเนื้อสัตว์  หวั่นส่งผลกระทบอาชีพเกษตรกรไทย

ค้านเปิดตลาดสินค้าเนื้อสัตว์ หวั่นส่งผลกระทบอาชีพเกษตรกรไทย

วันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : สินค้าเนื้อสัตว์ เกษตรกรไทย
  •  

 

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เปิดเผยว่า สมาพันธ์ปศุสัตว์ฯ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงรมว.พาณิชย์ เสนอความเห็นต่อการเปิดตลาดสินค้าเกษตร สหรัฐอเมริกา โดยเสนอว่า รัฐบาลต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยไม่ควรเปิดตลาดสินค้าทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู และเครื่องในรวมถึงเนื้อไก่ เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภคในประเทศ อาทิ การห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 รวมถึงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ พ.ศ.2559 เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาในผู้บริโภค แม้ว่าสินค้าบางรายการจะเป็นสินค้าพรีเมี่ยม เช่น เนื้อวัว ก็มีต้นทุนในระดับที่สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศ ตลอดห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะต้นน้ำ อาทิ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และมันสำปะหลัง


ส่วนของวัตถุดิบอาหารสัตว์ อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ไทยขาดแคลน สามารถเปิดตลาดให้นำเข้าจากสหรัฐได้ รวมถึงข้าวสาลีกากถั่วเหลือง โดยภาครัฐต้องลดอัตราภาษีกากถั่วเหลืองที่ 2% เพื่อจูงใจการนำเข้าพร้อมกำหนดปริมาณนำเข้าให้เท่ากับปริมาณที่ขาดแคลนในประเทศ และกำหนดช่วงเวลานำเข้า เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับช่วงที่เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของไทย ซึ่งตรงกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า เพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เท่านั้น นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีการนำเข้าเครื่องมือทางการเกษตรที่ทันสมัยด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตร

ปัจจุบันความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยอยู่ที่ 9.2 ล้านตัน แต่ผลิตในประเทศได้ 5 ล้านตัน และที่ผ่านมานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศ
เพื่อนบ้าน 2 ล้านตัน และนำเข้าข้าวสาลีอีกประมาณ 1.7 ล้านตัน แต่จากปัญหาฝุ่น PM2.5 และหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงอาจเปลี่ยนมาเป็น
นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาแทน

นายพรศิลป์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลเป็นหลักด้วยเหตุผลด้านต้นทุน เนื่องจากโปรตีนถั่วเหลืองบราซิลสูงกว่าสหรัฐ หากสหรัฐ จำหน่ายถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองในราคาที่แข่งขันได้ จะเพิ่มโอกาสให้นำเข้าจากสหรัฐ ได้มากขึ้น นอกจากนี้การตรวจวัดโปรตีนระหว่างไทยกับสหรัฐ ยังมีความแตกต่างกัน จึงควรทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่กี่ยวข้องเพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเข้าจากสหรัฐได้มากขึ้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จัดThai Fruit Festival  ช่วยเกษตรกรระบายผลผลิต จัดThai Fruit Festival ช่วยเกษตรกรระบายผลผลิต
  •  

Breaking News

ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved